ภาวะเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจโลก: นายโดมินิก สเตราส์-คาห์น ผ.อ. ไอเอ็มเอฟ คาดว่า เศรษฐกิจโลกจะหดตัวร้อยละ 0.5 – 1.0 ในปีนี้ และอาจฟื้นตัวในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปีหน้า สำหรับผลการประชุมของกลุ่ม G20 ที่ประชุมมีมติจัดสรรเงินจำนวน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ในการต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเงินส่วนหนึ่งจะนำไปเพิ่มเงินกองทุนของ IMF และอีกส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้สนับสนุนการค้า
สหรัฐอเมริกา: ข้อมูลเศรษฐกิจที่ประกาศในรอบสัปดาห์นี้ ส่วนใหญ่บ่งชี้ไปในทิศทางที่ดี โดยข้อมูลเศรษฐกิจของเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าที่คาด ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.9 ซึ่งลดลงน้อยกว่าที่ตลาดคาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.8 ยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 สูงกว่าที่ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในขณะที่ข้อมูลเดือนมีนาคม ที่ถึงแม้จะบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยังคงหดตัวต่อเนื่อง แต่ความรุนแรงของการหดตัวน้อยลง โดยดัชนี ISM ภาคการผลิตเพิ่มขึ้นสู่ 36.3 ในเดือนมีนาคม จาก 35.8 ในเดือนกุมภาพันธ์
ซึ่งบ่งชี้ว่า ภาคการผลิตหดตัวน้อยลง ยอดขายรถยนต์ลดลงร้อยละ 37 ในเดือนมีนาคม ซึ่งน้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ ส่งผลให้ตลาดคาดว่าตลาดรถยนต์อาจจะแตะจุดต่ำสุดแล้ว และถึงแม้ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเดือนมีนาคม ลดลง 663,000 ตำแหน่ง ซึ่งลดลงมากกว่าที่ตลาดคาด และส่งผลให้ตัวเลขอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ร้อยละ 8.5 จากร้อยละ 8.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ก็เป็นสิ่งที่ตลาดคาดหมายไว้อยู่แล้วว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมอาจออกมาแย่กว่าที่คาด
ยุโรป: ธนาคารกลางยุโรปประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 สู่ร้อยละ 1.25 ซึ่งน้อยกว่าที่ตลาดคาดว่าจะลดลงสู่ร้อยละ 1.00 แถลงการณ์ของผู้ว่าการธนาคารกลางยุโรป ระบุว่า ความเสี่ยงจากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกยังคงมีอยู่ และธนาคารกลางจะพิจารณาใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม โดยโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยจะลดลงอีกยังคงมีอยู่ และธนาคารกลางให้คำมั่นว่าจะเปิดเผยแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในเดือนหน้า สำหรับอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อัตราการว่างงานของยูโรโซนเพิ่มขึ้นสู่ร้อยละ 8.5 ในเดือนกุมภาพันธ์ จากร้อยละ 8.3 ในเดือนมกราคม โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราการว่างงานของยูโรโซนจะเพิ่มขึ้นสู่ร้อยละ 10 ในปีนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการของยูโรโซน ปรับตัวขึ้นสู่ 40.9
ในเดือนมีนาคม จาก39.2 ในเดือนกุมภาพันธ์ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอยู่ที่ 33.9 ในเดือนมีนาคม ใกล้เคียงกับระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนก่อนหน้าที่ 33.5 ในเยอรมนี อัตราการว่างงานของเยอรมนีในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นสู่ร้อยละ 8.1 โดยจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 69,000 ราย จากเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่ ยอดค้าปลีกเดือนกุมภาพันธ์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า
อังกฤษ: ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ 39.1 ในเดือนมีนาคม จาก 34.9 ในเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนที่ 45.5 ในเดือนมีนาคม จาก 43.2 ในเดือนกุมภาพันธ์
ญี่ปุ่น: อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นพุ่งขึ้นสู่ร้อยละ 4.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ จากร้อยละ 4.1 ในเดือนมกราคม ซึ่งนับเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี ในขณะที่การใช้จ่ายภาคครัวเรือนหดตัวร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 9.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งนับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 อย่างไรก็ตาม ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนจากสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอาจจะแตะจุดต่ำสุดในเร็วนี้ สำหรับผลสำรวจทังกันของธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุว่า ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่นอยู่ที่ -58 ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
จีน: ตัวเลขอย่างเป็นทางการระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของจีนเพิ่มขึ้นสู่ 52.4 ในเดือนมีนาคม จาก 49.0 ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยระดับสูงกว่า 50 หมายถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ไทย: ธปท. เผย เศรษฐกิจไทยในเดือนกุมภาพันธ์ ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ปีที่แล้ว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 19.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากเดือนมกราคม การลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และลดลงร้อยละ 2.9 จากเดือนก่อนหน้า การบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และลดลงร้อยละ 4.8 จากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่การส่งออกหดตัวร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยการส่งออกทองคำช่วยชะลอการหดตัวของการส่งออกโดยรวม การนำเข้าลดลงร้อยละ 43.5 เมื่อเทียบปีต่อปี เนื่องจากผู้ประกอบการปรับตัวเรื่องการสะสมสต็อกสินค้า โดยดุลการค้าในเดือนกุมภาพันธ์ เกินดุล 3.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 4.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมีนาคม ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2551 เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เนื่องจากหมวดอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงผักและผลไม้มีราคาสูงขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมหมวดอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2551 และทรงตัวจากเดือนกุมภาพันธ์ 2552 นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า ธปท. จะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 – 0.5 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 8 เมษายนนี้
ตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลง 10 bps ในทุกช่วงอายุ เนื่องจากสภาพคล่องในตลาดยังมีอยู่มาก การปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 19.8 ของดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ สะท้อนถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ในขณะที่ อัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคมที่ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2551 ช่วยสนับสนุนคาดการณ์ของตลาดว่า ธปท. จะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 – 0.5 สู่ร้อยละ 1.00 – 1.25 ในการประชุม กนง. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 8 เมษายนนี้
AYFMTFI และ AYFMTDIV จะได้ประโยชน์จากการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทน อย่างไรก็ตาม การลงทุนในกองทุนที่มีลักษณะการบริหารแบบ active ควรมีระยะเวลาการลงทุนอย่างน้อย 6 เดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนอาจส่งผลให้มูลค่าหน่วยลงทุนมีความผันผวนได้
ตลาดตราสารทุน
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวลดลงในวันแรกของสัปดาห์ หลังจากที่ทางการสหรัฐฯปฏิเสธแผนฟื้นฟูกิจการของจีเอ็ม และไครส์เลอร์ ดัชนีดาวโจนส์ค่อยๆปรับตัวขึ้นในระหว่างสัปดาห์โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาแข็งแกร่งกว่าที่คาด ตลาดหลักทรัพย์ไทยและตลาดหลักๆทั่วโลกต่างปรับตัวขึ้นมากในวันพฤหัสบดี หลังจากที่ประชุม จี 20 มีมติจัดสรรเงินจำนวน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโลก ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลงเล็กน้อย จาก 950 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ สู่ 896 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
เศรษฐกิจโลก: นายโดมินิก สเตราส์-คาห์น ผ.อ. ไอเอ็มเอฟ คาดว่า เศรษฐกิจโลกจะหดตัวร้อยละ 0.5 – 1.0 ในปีนี้ และอาจฟื้นตัวในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปีหน้า สำหรับผลการประชุมของกลุ่ม G20 ที่ประชุมมีมติจัดสรรเงินจำนวน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ในการต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเงินส่วนหนึ่งจะนำไปเพิ่มเงินกองทุนของ IMF และอีกส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้สนับสนุนการค้า
สหรัฐอเมริกา: ข้อมูลเศรษฐกิจที่ประกาศในรอบสัปดาห์นี้ ส่วนใหญ่บ่งชี้ไปในทิศทางที่ดี โดยข้อมูลเศรษฐกิจของเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าที่คาด ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.9 ซึ่งลดลงน้อยกว่าที่ตลาดคาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.8 ยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 สูงกว่าที่ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในขณะที่ข้อมูลเดือนมีนาคม ที่ถึงแม้จะบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยังคงหดตัวต่อเนื่อง แต่ความรุนแรงของการหดตัวน้อยลง โดยดัชนี ISM ภาคการผลิตเพิ่มขึ้นสู่ 36.3 ในเดือนมีนาคม จาก 35.8 ในเดือนกุมภาพันธ์
ซึ่งบ่งชี้ว่า ภาคการผลิตหดตัวน้อยลง ยอดขายรถยนต์ลดลงร้อยละ 37 ในเดือนมีนาคม ซึ่งน้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ ส่งผลให้ตลาดคาดว่าตลาดรถยนต์อาจจะแตะจุดต่ำสุดแล้ว และถึงแม้ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเดือนมีนาคม ลดลง 663,000 ตำแหน่ง ซึ่งลดลงมากกว่าที่ตลาดคาด และส่งผลให้ตัวเลขอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ร้อยละ 8.5 จากร้อยละ 8.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ก็เป็นสิ่งที่ตลาดคาดหมายไว้อยู่แล้วว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมอาจออกมาแย่กว่าที่คาด
ยุโรป: ธนาคารกลางยุโรปประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 สู่ร้อยละ 1.25 ซึ่งน้อยกว่าที่ตลาดคาดว่าจะลดลงสู่ร้อยละ 1.00 แถลงการณ์ของผู้ว่าการธนาคารกลางยุโรป ระบุว่า ความเสี่ยงจากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกยังคงมีอยู่ และธนาคารกลางจะพิจารณาใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม โดยโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยจะลดลงอีกยังคงมีอยู่ และธนาคารกลางให้คำมั่นว่าจะเปิดเผยแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในเดือนหน้า สำหรับอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อัตราการว่างงานของยูโรโซนเพิ่มขึ้นสู่ร้อยละ 8.5 ในเดือนกุมภาพันธ์ จากร้อยละ 8.3 ในเดือนมกราคม โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราการว่างงานของยูโรโซนจะเพิ่มขึ้นสู่ร้อยละ 10 ในปีนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการของยูโรโซน ปรับตัวขึ้นสู่ 40.9
ในเดือนมีนาคม จาก39.2 ในเดือนกุมภาพันธ์ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอยู่ที่ 33.9 ในเดือนมีนาคม ใกล้เคียงกับระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนก่อนหน้าที่ 33.5 ในเยอรมนี อัตราการว่างงานของเยอรมนีในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นสู่ร้อยละ 8.1 โดยจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 69,000 ราย จากเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่ ยอดค้าปลีกเดือนกุมภาพันธ์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า
อังกฤษ: ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ 39.1 ในเดือนมีนาคม จาก 34.9 ในเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนที่ 45.5 ในเดือนมีนาคม จาก 43.2 ในเดือนกุมภาพันธ์
ญี่ปุ่น: อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นพุ่งขึ้นสู่ร้อยละ 4.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ จากร้อยละ 4.1 ในเดือนมกราคม ซึ่งนับเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี ในขณะที่การใช้จ่ายภาคครัวเรือนหดตัวร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 9.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งนับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 อย่างไรก็ตาม ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนจากสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอาจจะแตะจุดต่ำสุดในเร็วนี้ สำหรับผลสำรวจทังกันของธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุว่า ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่นอยู่ที่ -58 ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
จีน: ตัวเลขอย่างเป็นทางการระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของจีนเพิ่มขึ้นสู่ 52.4 ในเดือนมีนาคม จาก 49.0 ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยระดับสูงกว่า 50 หมายถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ไทย: ธปท. เผย เศรษฐกิจไทยในเดือนกุมภาพันธ์ ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ปีที่แล้ว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 19.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากเดือนมกราคม การลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และลดลงร้อยละ 2.9 จากเดือนก่อนหน้า การบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และลดลงร้อยละ 4.8 จากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่การส่งออกหดตัวร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยการส่งออกทองคำช่วยชะลอการหดตัวของการส่งออกโดยรวม การนำเข้าลดลงร้อยละ 43.5 เมื่อเทียบปีต่อปี เนื่องจากผู้ประกอบการปรับตัวเรื่องการสะสมสต็อกสินค้า โดยดุลการค้าในเดือนกุมภาพันธ์ เกินดุล 3.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 4.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมีนาคม ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2551 เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เนื่องจากหมวดอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงผักและผลไม้มีราคาสูงขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมหมวดอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2551 และทรงตัวจากเดือนกุมภาพันธ์ 2552 นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า ธปท. จะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 – 0.5 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 8 เมษายนนี้
ตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลง 10 bps ในทุกช่วงอายุ เนื่องจากสภาพคล่องในตลาดยังมีอยู่มาก การปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 19.8 ของดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ สะท้อนถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ในขณะที่ อัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคมที่ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2551 ช่วยสนับสนุนคาดการณ์ของตลาดว่า ธปท. จะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 – 0.5 สู่ร้อยละ 1.00 – 1.25 ในการประชุม กนง. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 8 เมษายนนี้
AYFMTFI และ AYFMTDIV จะได้ประโยชน์จากการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทน อย่างไรก็ตาม การลงทุนในกองทุนที่มีลักษณะการบริหารแบบ active ควรมีระยะเวลาการลงทุนอย่างน้อย 6 เดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนอาจส่งผลให้มูลค่าหน่วยลงทุนมีความผันผวนได้
ตลาดตราสารทุน
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวลดลงในวันแรกของสัปดาห์ หลังจากที่ทางการสหรัฐฯปฏิเสธแผนฟื้นฟูกิจการของจีเอ็ม และไครส์เลอร์ ดัชนีดาวโจนส์ค่อยๆปรับตัวขึ้นในระหว่างสัปดาห์โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาแข็งแกร่งกว่าที่คาด ตลาดหลักทรัพย์ไทยและตลาดหลักๆทั่วโลกต่างปรับตัวขึ้นมากในวันพฤหัสบดี หลังจากที่ประชุม จี 20 มีมติจัดสรรเงินจำนวน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโลก ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลงเล็กน้อย จาก 950 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ สู่ 896 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์