ASTVผู้จัดการรายวัน - สภาพัฒน์แถลงเศรษฐกิจไตรมาสแรกหดตัว 7.1% ระบุรุนแรงกว่าที่คาดหลังเศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรง คาดจีดีพีทั้งปีติดลบ 3.5 ถึงติดลบ 2.5% ผู้บริหารแบงก์ชาติยอมรับตัวเลขลบ 7.1% เป็นไปตามประมาณการขั้นเลวร้ายสุด เผยยังไม่เห็นแววมีการลงทุนภาคเอกชนภายในปีนี้ ตามคาดโยนภาระให้ภาครัฐกระตุ้นเศรษฐกิจดันความเชื่อมั่น
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวถึงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไตรมาสแรกปี 52 (ม.ค.-มี.ค.) ว่า มีอัตราการหดตัวที่ร้อยละ 7.1 ต่อเนื่องจากการหดตัวร้อยละ4.2 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 51 เหตุที่รุนแรงกว่าที่คาด เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเข้าสู่สภาวะที่ถดถอยที่รุนแรงมากขึ้น และต่ำสุดในเดือน เม.ย.52 ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ได้ปรับลดการประมาณการเศรษฐกิจโลกลงจากที่คาดไว้ในเดือน ม.ค. ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.5 มาเป็นการหดตัวที่ร้อยละ 1.3
ในขณะที่ภาคนอกการเกษตร หดตัวร้อยละ 8.1 เช่น การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวที่ร้อยละ 2.6 และ 17.7 ตามลำดับ จากที่มีการขยายตัวร้อยละ 2.1 และหดตัวเพียงร้อยละ 1.3 ในไตรมาส 4 ปี 51 แม้ภาคอุตสาหกรรมจะหดตัวร้อยละ 14.9 ภาคก่อสร้างหดตัวร้อยละ 7.8 ภาคท่องเที่ยวและบริการหดตัวร้อยละ 5.0 แต่มีภาคการเกษตร กลับขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 ถือเป็นภาคที่สร้างให้เศรษฐกิจของประเทศไม่หดตัวมากกว่านี้
สำหรับ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 52 คาดว่าจะหดตัวต่อเนื่องครั้งแรก โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวเฉลี่ยทั้งปี จะอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ -3.5 ถึง ร้อยละ -2.5 ซึ่งเป็นการลดการประมาณการจากเดิม ร้อยละ 3.1 ถึง ร้อยละ 0 อย่างไรก็ตาม คาดว่า ก็มีโอกาสที่จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในครึ่งหลังของปี52 และช่วยให้การหดตัวของทั้งปีไม่รุนแรง
นายอำพนกล่าวว่า สภาพัฒน์ขอส่งสัญญาณไว้ว่า แม้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรก จะถดถอยโดยติดลบที่ร้อยละ 7.1 แต่เชื่อว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3-4 จะต้องเกิดขึ้นจากแผนการลงทุนจากภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ รวมทั้งโครงการไทยเข้มแข็งที่รัฐจะลงทุน 1.1 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์การลงทุนในเศรษฐกิจโลกเห็นได้ว่า อัตราเฉลี่ยการลงทุนอยู่ที่ร้อยละ 70 ขณะที่ประเทศไทยมีอัตราการลงทุนเพียงร้อยละ 57 แม้จะปรับตัวในไตรมาสแรกที่ร้อยละ 60.7
"ถ้าไม่ดำเนินการในเดือน ก.ย.-ต.ค.52 นี้ หรือจะไปรอภาคเอกชนลงทุนก็จะลำบาก หากรัฐบาลทำทันในเดือน ก.ย.52 นี้ เชื่อว่าการลงทุนในไตรมาส 1 ของปี 53 ก็จะเห็นผลที่ดี"
นอกจากนี้ ยังต้องระมัดระวังโดยจับตามองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะเป็นจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการตอบสนองเพื่อการผลิตจากไตรมาสี่ของปี 51 เท่านั้น และจะต้องดูเสถียรภาพของภาคเอกชนที่มีปัญหาภาคการผลิตต่ำกว่าร้อยละ 75
ประการสุดท้าย ในเรื่องของความผันผวนค่าเงินบาท และความผันผวนของราคาน้ำมัน เนื่องจากประมาณการไตรมาสแรกในปี 52 ราคาน้ำมันอยู่ที่ 50-55 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาเรลล์ แต่ขณะนี้ในเดือน พ.ค.52 ประมาณ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคากลับสูงกว่า 61 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาเรลล์ ส่วนความผันผวนของค่าเงินบาทต้องระมัดระวังการเคลื่อนย้ายเงินทุน
นายอำพนกล่าวด้วยว่า สภาพัฒน์ฯยังไม่กล้ายืนยันการเจริญเติบโตไตรมาสสองของปี 52 จะไปในทิศทางใด แม้จะเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองในเดือนเม.ย. จากม็อบคนเสื้อแดง และปัญหาไข้หวัด 2009 รวมทั้งยังไม่ประเมินมาตรการที่เป็นนโยบายของรัฐบาล ทั้งเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท เงินช่วยผู้สูงอายุและ อสม. 500 บาท ดังนั้นถ้ายังมีความวุ่นวายอยู่ ตนก็ยังไม่กล้ายืนยัน เพราะปัจจัยในประเทศ ถือว่าจะทำให้ประเทศฟื้นฟูไปทิศทางใด แต่หากไปในในทางที่ดีไตรมาส 3-4 ก็จะได้ประโยชน์
"จากความเสียดทานในไตรมาสแรกต่อไตรมาสสอง หากมีความเสียดทานดี คาดว่า ไตรมาสสองดีที่สุดจะอยู่ที่ 0% แต่ใน 3-4 เดือนนี้เศรษฐกิจอาจจะต้องเดินหน้า เศรษฐกิจก็จะหมุนไป เนื่องจากเศรษฐกิจโลกก็มีการเริ่มเดินหน้าแล้ว" นายอำพนกล่าว
***ธปท.ยอมรับเลวร้ายสุด
วันเดียวกัน นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่สภาพัฒน์ ได้ประกาศอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจแท้จริงของไทยไตรมาสแรกของปีนี้ติดลบ 7.1% อยู่ในระดับที่ ธปท.ประเมินไว้ แต่ยอมรับว่าอยู่ในด้านแย่ เป็นกรณีเลวร้าย โดยในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุดเดือน เม.ย. ธปท.ประเมินว่าเศรษฐกิจไตรมาสแรกติดลบมากกว่า 7% ซึ่งมีโอกาสความเป็นไปได้แค่ 5% ขณะที่เศรษฐกิจติดลบ 5-6% ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุด คือ 43%
“แม้เศรษฐกิจไทยติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน แต่ไม่ได้เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ดังนั้น ภาพเศรษฐกิจทุกอย่างคลายเหมือนเดิม ซึ่ง ธปท. แต่ตัวเลขเป็นเพียงการยืนยันขนาดว่าไปด้านแย่กว่าที่ประเมินไว้ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อเครื่องชี้เศรษฐกิจบางตัวขึ้นไปแรง เมื่อตกมาจะหวังให้เริ่มขึ้นมาเร็วคงเป็นไปไม่ได้”
ทั้งนี้ ธปท.ยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยเมื่อเทียบเป็นกับช่วงเดียวกันปีก่อนติดลบอยู่แล้ว เพราะฐานปีก่อนสูง ขณะที่เมื่อเทียบอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจเริ่มหดตัวในระดับชะลอตัวลง โดยเมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส คือ จากไตรมาส 4 ปี 51 เทียบไตรมาส 3 ปี 51 หดตัว 6.1% แต่ไตรมาสแรกปีนี้เทียบกับไตรมาส 4 ปี 51 หดตัวแค่ 1.9% แต่สิ่งเหล่านี้ไม่มีใครรู้ว่าจะดีต่อเนื่องได้แค่ไหน
ประกอบกับขึ้นอยู่กับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ของรัฐบาล ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ว่าจะดึงความเชื่อมั่นเอกชนกลับมาด้วย อย่างไรก็ตาม ธปท.มองเช่นเดียวกัน สศช.ที่ว่าการลงทุนภาคเอกชนในปีนี้ยังติดลบอยู่ ซึ่งสะท้อนได้จากอัตรากำลังการผลิตในช่วงไตรมาสแรกยังมีการลงทุนเพียงเล็กน้อย แม้บางภาคธุรกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นทั้งกำลังการผลิตและดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม จึงขึ้นอยู่กับภาคธุรกิจและเงินทุนที่เข้ามาจริงว่าจะสามารถเพิ่มอัตรากำลังการผลิตในอนาคตได้แค่ไหน.
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวถึงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไตรมาสแรกปี 52 (ม.ค.-มี.ค.) ว่า มีอัตราการหดตัวที่ร้อยละ 7.1 ต่อเนื่องจากการหดตัวร้อยละ4.2 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 51 เหตุที่รุนแรงกว่าที่คาด เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเข้าสู่สภาวะที่ถดถอยที่รุนแรงมากขึ้น และต่ำสุดในเดือน เม.ย.52 ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ได้ปรับลดการประมาณการเศรษฐกิจโลกลงจากที่คาดไว้ในเดือน ม.ค. ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.5 มาเป็นการหดตัวที่ร้อยละ 1.3
ในขณะที่ภาคนอกการเกษตร หดตัวร้อยละ 8.1 เช่น การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวที่ร้อยละ 2.6 และ 17.7 ตามลำดับ จากที่มีการขยายตัวร้อยละ 2.1 และหดตัวเพียงร้อยละ 1.3 ในไตรมาส 4 ปี 51 แม้ภาคอุตสาหกรรมจะหดตัวร้อยละ 14.9 ภาคก่อสร้างหดตัวร้อยละ 7.8 ภาคท่องเที่ยวและบริการหดตัวร้อยละ 5.0 แต่มีภาคการเกษตร กลับขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 ถือเป็นภาคที่สร้างให้เศรษฐกิจของประเทศไม่หดตัวมากกว่านี้
สำหรับ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 52 คาดว่าจะหดตัวต่อเนื่องครั้งแรก โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวเฉลี่ยทั้งปี จะอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ -3.5 ถึง ร้อยละ -2.5 ซึ่งเป็นการลดการประมาณการจากเดิม ร้อยละ 3.1 ถึง ร้อยละ 0 อย่างไรก็ตาม คาดว่า ก็มีโอกาสที่จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในครึ่งหลังของปี52 และช่วยให้การหดตัวของทั้งปีไม่รุนแรง
นายอำพนกล่าวว่า สภาพัฒน์ขอส่งสัญญาณไว้ว่า แม้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรก จะถดถอยโดยติดลบที่ร้อยละ 7.1 แต่เชื่อว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3-4 จะต้องเกิดขึ้นจากแผนการลงทุนจากภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ รวมทั้งโครงการไทยเข้มแข็งที่รัฐจะลงทุน 1.1 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์การลงทุนในเศรษฐกิจโลกเห็นได้ว่า อัตราเฉลี่ยการลงทุนอยู่ที่ร้อยละ 70 ขณะที่ประเทศไทยมีอัตราการลงทุนเพียงร้อยละ 57 แม้จะปรับตัวในไตรมาสแรกที่ร้อยละ 60.7
"ถ้าไม่ดำเนินการในเดือน ก.ย.-ต.ค.52 นี้ หรือจะไปรอภาคเอกชนลงทุนก็จะลำบาก หากรัฐบาลทำทันในเดือน ก.ย.52 นี้ เชื่อว่าการลงทุนในไตรมาส 1 ของปี 53 ก็จะเห็นผลที่ดี"
นอกจากนี้ ยังต้องระมัดระวังโดยจับตามองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะเป็นจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการตอบสนองเพื่อการผลิตจากไตรมาสี่ของปี 51 เท่านั้น และจะต้องดูเสถียรภาพของภาคเอกชนที่มีปัญหาภาคการผลิตต่ำกว่าร้อยละ 75
ประการสุดท้าย ในเรื่องของความผันผวนค่าเงินบาท และความผันผวนของราคาน้ำมัน เนื่องจากประมาณการไตรมาสแรกในปี 52 ราคาน้ำมันอยู่ที่ 50-55 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาเรลล์ แต่ขณะนี้ในเดือน พ.ค.52 ประมาณ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคากลับสูงกว่า 61 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาเรลล์ ส่วนความผันผวนของค่าเงินบาทต้องระมัดระวังการเคลื่อนย้ายเงินทุน
นายอำพนกล่าวด้วยว่า สภาพัฒน์ฯยังไม่กล้ายืนยันการเจริญเติบโตไตรมาสสองของปี 52 จะไปในทิศทางใด แม้จะเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองในเดือนเม.ย. จากม็อบคนเสื้อแดง และปัญหาไข้หวัด 2009 รวมทั้งยังไม่ประเมินมาตรการที่เป็นนโยบายของรัฐบาล ทั้งเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท เงินช่วยผู้สูงอายุและ อสม. 500 บาท ดังนั้นถ้ายังมีความวุ่นวายอยู่ ตนก็ยังไม่กล้ายืนยัน เพราะปัจจัยในประเทศ ถือว่าจะทำให้ประเทศฟื้นฟูไปทิศทางใด แต่หากไปในในทางที่ดีไตรมาส 3-4 ก็จะได้ประโยชน์
"จากความเสียดทานในไตรมาสแรกต่อไตรมาสสอง หากมีความเสียดทานดี คาดว่า ไตรมาสสองดีที่สุดจะอยู่ที่ 0% แต่ใน 3-4 เดือนนี้เศรษฐกิจอาจจะต้องเดินหน้า เศรษฐกิจก็จะหมุนไป เนื่องจากเศรษฐกิจโลกก็มีการเริ่มเดินหน้าแล้ว" นายอำพนกล่าว
***ธปท.ยอมรับเลวร้ายสุด
วันเดียวกัน นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่สภาพัฒน์ ได้ประกาศอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจแท้จริงของไทยไตรมาสแรกของปีนี้ติดลบ 7.1% อยู่ในระดับที่ ธปท.ประเมินไว้ แต่ยอมรับว่าอยู่ในด้านแย่ เป็นกรณีเลวร้าย โดยในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุดเดือน เม.ย. ธปท.ประเมินว่าเศรษฐกิจไตรมาสแรกติดลบมากกว่า 7% ซึ่งมีโอกาสความเป็นไปได้แค่ 5% ขณะที่เศรษฐกิจติดลบ 5-6% ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุด คือ 43%
“แม้เศรษฐกิจไทยติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน แต่ไม่ได้เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ดังนั้น ภาพเศรษฐกิจทุกอย่างคลายเหมือนเดิม ซึ่ง ธปท. แต่ตัวเลขเป็นเพียงการยืนยันขนาดว่าไปด้านแย่กว่าที่ประเมินไว้ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อเครื่องชี้เศรษฐกิจบางตัวขึ้นไปแรง เมื่อตกมาจะหวังให้เริ่มขึ้นมาเร็วคงเป็นไปไม่ได้”
ทั้งนี้ ธปท.ยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยเมื่อเทียบเป็นกับช่วงเดียวกันปีก่อนติดลบอยู่แล้ว เพราะฐานปีก่อนสูง ขณะที่เมื่อเทียบอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจเริ่มหดตัวในระดับชะลอตัวลง โดยเมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส คือ จากไตรมาส 4 ปี 51 เทียบไตรมาส 3 ปี 51 หดตัว 6.1% แต่ไตรมาสแรกปีนี้เทียบกับไตรมาส 4 ปี 51 หดตัวแค่ 1.9% แต่สิ่งเหล่านี้ไม่มีใครรู้ว่าจะดีต่อเนื่องได้แค่ไหน
ประกอบกับขึ้นอยู่กับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ของรัฐบาล ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ว่าจะดึงความเชื่อมั่นเอกชนกลับมาด้วย อย่างไรก็ตาม ธปท.มองเช่นเดียวกัน สศช.ที่ว่าการลงทุนภาคเอกชนในปีนี้ยังติดลบอยู่ ซึ่งสะท้อนได้จากอัตรากำลังการผลิตในช่วงไตรมาสแรกยังมีการลงทุนเพียงเล็กน้อย แม้บางภาคธุรกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นทั้งกำลังการผลิตและดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม จึงขึ้นอยู่กับภาคธุรกิจและเงินทุนที่เข้ามาจริงว่าจะสามารถเพิ่มอัตรากำลังการผลิตในอนาคตได้แค่ไหน.