วันนี้คอลัมน์ Q&A ขออาสาพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับตราสารอนุพันธ์กันนะครับ ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) คือ ตราสารทางการเงินชนิดหนึ่งที่มูลค่าของมันไปขึ้นอยู่กับราคาของสินค้าอ้างอิง(underlying Assets) ซึ่งในปัจจุบันตราสารอนุพันธ์ที่มีอยู่แล้วในตลาดหุ้นที่พวกเราชาวหุ้นรู้จักกันดีก็คือ Warrant นั่นเอง ซึ่งถ้าท่านเคยลงทุนใน Warrant หรือเคยศึกษาเกี่ยวกับ Warrant มาก่อน
ก็จะทราบดีว่ามูลค่าของ Warrant นั้น จะขึ้นอยู่กับราคาของหุ้นแม่ ถ้าราคาของหุ้นแม่สูงขึ้น มูลค่าของWarrant ก็จะสูงขึ้นตาม แต่ถ้าราคาของหุ้นแม่ลดลง มูลค่าของ Warrant ก็จะลดลงตามไปด้วย ทั้งนี้ ตราสารอนุพันธ์นั้น สามารถแบ่งได้ออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ด้วยกันคือ Forward Futures Options และ SWAP โดยตราสารที่จะทำการซื้อขายในตลาด TFEX จะมีอยู่แค่ตราสารประเภท Futures และ Options เท่านั้น
ออปชัน (Options) คือ ตราสารสิทธิ ที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อหรือผู้ที่ถือออปชันในการซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิง ณ ราคาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าที่เรียกกันว่าราคาใช้สิทธิ (Exercise Price หรือ Strike Price) ในปริมาณและภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ให้สิทธิในวันนี้ในการซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิงในอนาคต และเนื่องจากออปชันเป็นสิทธิ ไม่ได้เป็นภาระผูกพัน แสดงว่าเราจะใช้สิทธินั้นหรือไม่ก็ได้ไม่มีการบังคับ และเราก็มักจะใช้สิทธินั้นต่อเมื่อเราได้ประโยชน์หากทำการใช้สิทธิ แต่ถ้าหากว่าใช้สิทธิแล้วไม่เกิดประโยชน์ต่อเราหรือทำให้เราเสียประโยชน์เราก็จะไม่ใช้สิทธินั้นให้เสียเวลาหรือเจ็บตัวเล่น ทั้งนี้
ผู้ซื้อหรือผู้ถือออปชัน (Options Holder) นั้น เราจะมีศัพท์ทางการเงินหรูๆ เรียกว่า เขามีสถานะแบบ "Long Position" ซึ่งผู้ที่ซื้อออปชันมานั้นจะมีสิทธิที่จะใช้สิทธิในการซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิงนั้นในอนาคตหรือไม่ก็ได้ โดยหากผู้ซื้อออปชันไม่ต้องการใช้สิทธิก็เพียงแค่ปล่อยให้สิทธินั้นหมดอายุไป
ผู้ขายออปชัน (Option Writer) นั้น ในทางการเงินเราเรียกว่าเขามีสถานะแบบ "Short Position" ซึ่งผู้ที่ขายออปชันนั้นจะมีภาระผูกพันที่จะต้องทำการขายหรือซื้อสินค้าอ้างอิงในอนาคตกับผู้ที่ถือออปชัน หากมีใช้สิทธิในการซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิงขึ้นมาในอนาคต "ให้จำไว้ว่าคำว่า Long คือการซื้อตราสารตัวนั้น ส่วนคำว่า Short คือการขายตราสารตัวนั้น"
เนื่องจากออปชันนั้นเป็นสิทธิ และผู้ที่ถือออปชันอยู่นั้นจะใช้สิทธิหรือไม่ใช่สิทธิที่มีอยู่ก็ได้ ซึ่งถ้าอยู่ดีๆ จะมีใครมาให้สิทธิ (ออปชัน) แก่คนอื่นกันฟรีๆ ก็คงจะไม่มีใครยอม ดังนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ (ออปชัน) ผู้ที่อยากได้ก็ต้องมีการจ่ายค่าพรีเมี่ยม ให้แก่อีกฝ่ายซึ่งเป็นผู้ขายสิทธิ (ออปชัน) เป็นการตอบแทน หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ต้องยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อออปชันมานั่นเอง ซึ่งค่าพรีเมี่ยมก็คือ ราคาของออปชันที่เราได้จ่ายไปเพื่อซื้อออปชันมานั่นเอง
ในเมื่อผู้ที่ถือออปชันจะใช้สิทธิต่อเมื่อตัวเองได้ประโยชน์ ก็แสดงว่าผู้ขายออปชันต้องเป็นคนเสียประโยชน์หากมีการใช้สิทธิเกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ขายออปชันเกิดการบิดพริ้วไม่ยอมทำตามภาระผูกพันที่ตนมีเวลาที่ตนเสียประโยชน์ ผู้ขายออปชันจึงต้องมีการวาง "เงินประกัน (Margin)" เอาไว้เป็นค่ามัดจำกันบิดพริ้วด้วย
ประเภทของ Options ทีนี้เรามาพูดถึงประเภทของออปชันกันบ้าง ซึ่งออปชันนั้นสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้สิทธิ (Right) แก่ผู้ถือออปชัน คือ
- "Call Options" ซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อสินค้าอ้างอิง ตามราคา ปริมาณ และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยผู้ถือ Call Options จะใช้สิทธิก็ต่อเมื่อราคาของสินค้าอ้างอิงสูงกว่าราคาใช้สิทธิ ก็คือ "ใช้สิทธิแล้วซื้อสินค้าอ้างอิงได้ถูกกว่าไปซื้อที่ตลาด (ใช้สิทธิต่อเมื่อได้ประโยชน์)"
ตัวอย่าง เช่น ถ้าหุ้น PTT มีราคาตลาดอยู่ที่ 250 บาท แล้วผมมี Call Options ของหุ้นPTT ที่มีราคาใช้สิทธิในการซื้อหุ้น PTT ที่ราคา 200 บาท ถามว่าผมจะใช้สิทธิหรือไม่ ซึ่งคำตอบก็คือ ผมจะใช้สิทธิเพราะผมสามารถใช้สิทธิในการซื้อหุ้น PTT ได้ในราคาเพียง 200 บาท ซึ่งถูกกว่าไปซื้อหุ้น PTT ที่ตลาดหุ้นโดยตรงในราคาสูงถึง 250 บาท
นอกจากนี้ ยิ่งถ้าราคาสินค้าอ้างอิงสูงขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งหมายความว่า เราสามารถใช้สิทธิในการซื้อสินค้าอ้างอิงได้ถูกกว่าไปซื้อที่ตลาดได้มากขึ้นเท่านั้น ก็ยิ่งทำให้ Call Options ที่เราถืออยู่ในมือมีมูลค่า (ราคา) สูงขึ้นตามไปด้วย
"Put Options" ซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ถือในการขายสินค้าอ้างอิง ตามราคา ปริมาณ และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยผู้ถือ Put Options จะใช้สิทธิก็ต่อเมื่อราคาของสินค้าอ้างอิงต่ำกว่าราคาใช้สิทธิ ก็คือ "ใช้สิทธิแล้วขายสินค้าอ้างอิงได้แพงกว่าไปขายที่ตลาด (ใช้สิทธิต่อเมื่อได้ประโยชน์)"
ตัวอย่าง เช่น ถ้าหุ้น PTT มีราคาตลาดอยู่ที่ 250 บาท แล้วผมมี Put Options ของหุ้น PTT ที่มีราคาใช้สิทธิในการขายหุ้น PTT ที่ราคา 300 บาท ถามว่าผมจะใช้สิทธิหรือไม่ ซึ่งคำตอบก็คือ ผมจะใช้สิทธิเพราะผมสามารถใช้สิทธิในการขายหุ้น PTT ได้ในราคาสูงถึง 300 บาท ซึ่งแพงกว่าไปขายหุ้นPTT ที่ตลาดหุ้นโดยตรงในราคาเพียง 250 บาท
นอกจากนี้ ยิ่งถ้าราคาสินค้าอ้างอิงลดลงเท่าไหร่ ก็ยิ่งหมายความว่าเราสามารถใช้สิทธิในการขายสินค้าอ้างอิงได้แพงกว่าไปขายที่ตลาดได้มากขึ้นเท่านั้น ก็ยิ่งทำให้ Put Options ที่เราถืออยู่ในมือมีมูลค่า (ราคา) สูงขึ้ตามไปด้วย
สำหรับท่านผู้อ่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวม หรือสงสัยในกองทุนที่ท่านผู้อ่านเข้าไปลงทุน ทางเรายินดีเป็นสื่อกลางให้ครับ ท่านสามารถส่งคำถามมาได้ที่อีเมล์ fund@manager.co.th หรือโพสต์คำถามไว้ที่ www.manager.co.th ในหน้ากองทุนรวม ทีมงานเต็มใจที่จะหาคำตอบให้ทางผู้อ่านได้ทราบอย่างเเน่นอนครับ
ก็จะทราบดีว่ามูลค่าของ Warrant นั้น จะขึ้นอยู่กับราคาของหุ้นแม่ ถ้าราคาของหุ้นแม่สูงขึ้น มูลค่าของWarrant ก็จะสูงขึ้นตาม แต่ถ้าราคาของหุ้นแม่ลดลง มูลค่าของ Warrant ก็จะลดลงตามไปด้วย ทั้งนี้ ตราสารอนุพันธ์นั้น สามารถแบ่งได้ออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ด้วยกันคือ Forward Futures Options และ SWAP โดยตราสารที่จะทำการซื้อขายในตลาด TFEX จะมีอยู่แค่ตราสารประเภท Futures และ Options เท่านั้น
ออปชัน (Options) คือ ตราสารสิทธิ ที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อหรือผู้ที่ถือออปชันในการซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิง ณ ราคาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าที่เรียกกันว่าราคาใช้สิทธิ (Exercise Price หรือ Strike Price) ในปริมาณและภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ให้สิทธิในวันนี้ในการซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิงในอนาคต และเนื่องจากออปชันเป็นสิทธิ ไม่ได้เป็นภาระผูกพัน แสดงว่าเราจะใช้สิทธินั้นหรือไม่ก็ได้ไม่มีการบังคับ และเราก็มักจะใช้สิทธินั้นต่อเมื่อเราได้ประโยชน์หากทำการใช้สิทธิ แต่ถ้าหากว่าใช้สิทธิแล้วไม่เกิดประโยชน์ต่อเราหรือทำให้เราเสียประโยชน์เราก็จะไม่ใช้สิทธินั้นให้เสียเวลาหรือเจ็บตัวเล่น ทั้งนี้
ผู้ซื้อหรือผู้ถือออปชัน (Options Holder) นั้น เราจะมีศัพท์ทางการเงินหรูๆ เรียกว่า เขามีสถานะแบบ "Long Position" ซึ่งผู้ที่ซื้อออปชันมานั้นจะมีสิทธิที่จะใช้สิทธิในการซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิงนั้นในอนาคตหรือไม่ก็ได้ โดยหากผู้ซื้อออปชันไม่ต้องการใช้สิทธิก็เพียงแค่ปล่อยให้สิทธินั้นหมดอายุไป
ผู้ขายออปชัน (Option Writer) นั้น ในทางการเงินเราเรียกว่าเขามีสถานะแบบ "Short Position" ซึ่งผู้ที่ขายออปชันนั้นจะมีภาระผูกพันที่จะต้องทำการขายหรือซื้อสินค้าอ้างอิงในอนาคตกับผู้ที่ถือออปชัน หากมีใช้สิทธิในการซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิงขึ้นมาในอนาคต "ให้จำไว้ว่าคำว่า Long คือการซื้อตราสารตัวนั้น ส่วนคำว่า Short คือการขายตราสารตัวนั้น"
เนื่องจากออปชันนั้นเป็นสิทธิ และผู้ที่ถือออปชันอยู่นั้นจะใช้สิทธิหรือไม่ใช่สิทธิที่มีอยู่ก็ได้ ซึ่งถ้าอยู่ดีๆ จะมีใครมาให้สิทธิ (ออปชัน) แก่คนอื่นกันฟรีๆ ก็คงจะไม่มีใครยอม ดังนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ (ออปชัน) ผู้ที่อยากได้ก็ต้องมีการจ่ายค่าพรีเมี่ยม ให้แก่อีกฝ่ายซึ่งเป็นผู้ขายสิทธิ (ออปชัน) เป็นการตอบแทน หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ต้องยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อออปชันมานั่นเอง ซึ่งค่าพรีเมี่ยมก็คือ ราคาของออปชันที่เราได้จ่ายไปเพื่อซื้อออปชันมานั่นเอง
ในเมื่อผู้ที่ถือออปชันจะใช้สิทธิต่อเมื่อตัวเองได้ประโยชน์ ก็แสดงว่าผู้ขายออปชันต้องเป็นคนเสียประโยชน์หากมีการใช้สิทธิเกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ขายออปชันเกิดการบิดพริ้วไม่ยอมทำตามภาระผูกพันที่ตนมีเวลาที่ตนเสียประโยชน์ ผู้ขายออปชันจึงต้องมีการวาง "เงินประกัน (Margin)" เอาไว้เป็นค่ามัดจำกันบิดพริ้วด้วย
ประเภทของ Options ทีนี้เรามาพูดถึงประเภทของออปชันกันบ้าง ซึ่งออปชันนั้นสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้สิทธิ (Right) แก่ผู้ถือออปชัน คือ
- "Call Options" ซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อสินค้าอ้างอิง ตามราคา ปริมาณ และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยผู้ถือ Call Options จะใช้สิทธิก็ต่อเมื่อราคาของสินค้าอ้างอิงสูงกว่าราคาใช้สิทธิ ก็คือ "ใช้สิทธิแล้วซื้อสินค้าอ้างอิงได้ถูกกว่าไปซื้อที่ตลาด (ใช้สิทธิต่อเมื่อได้ประโยชน์)"
ตัวอย่าง เช่น ถ้าหุ้น PTT มีราคาตลาดอยู่ที่ 250 บาท แล้วผมมี Call Options ของหุ้นPTT ที่มีราคาใช้สิทธิในการซื้อหุ้น PTT ที่ราคา 200 บาท ถามว่าผมจะใช้สิทธิหรือไม่ ซึ่งคำตอบก็คือ ผมจะใช้สิทธิเพราะผมสามารถใช้สิทธิในการซื้อหุ้น PTT ได้ในราคาเพียง 200 บาท ซึ่งถูกกว่าไปซื้อหุ้น PTT ที่ตลาดหุ้นโดยตรงในราคาสูงถึง 250 บาท
นอกจากนี้ ยิ่งถ้าราคาสินค้าอ้างอิงสูงขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งหมายความว่า เราสามารถใช้สิทธิในการซื้อสินค้าอ้างอิงได้ถูกกว่าไปซื้อที่ตลาดได้มากขึ้นเท่านั้น ก็ยิ่งทำให้ Call Options ที่เราถืออยู่ในมือมีมูลค่า (ราคา) สูงขึ้นตามไปด้วย
"Put Options" ซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ถือในการขายสินค้าอ้างอิง ตามราคา ปริมาณ และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยผู้ถือ Put Options จะใช้สิทธิก็ต่อเมื่อราคาของสินค้าอ้างอิงต่ำกว่าราคาใช้สิทธิ ก็คือ "ใช้สิทธิแล้วขายสินค้าอ้างอิงได้แพงกว่าไปขายที่ตลาด (ใช้สิทธิต่อเมื่อได้ประโยชน์)"
ตัวอย่าง เช่น ถ้าหุ้น PTT มีราคาตลาดอยู่ที่ 250 บาท แล้วผมมี Put Options ของหุ้น PTT ที่มีราคาใช้สิทธิในการขายหุ้น PTT ที่ราคา 300 บาท ถามว่าผมจะใช้สิทธิหรือไม่ ซึ่งคำตอบก็คือ ผมจะใช้สิทธิเพราะผมสามารถใช้สิทธิในการขายหุ้น PTT ได้ในราคาสูงถึง 300 บาท ซึ่งแพงกว่าไปขายหุ้นPTT ที่ตลาดหุ้นโดยตรงในราคาเพียง 250 บาท
นอกจากนี้ ยิ่งถ้าราคาสินค้าอ้างอิงลดลงเท่าไหร่ ก็ยิ่งหมายความว่าเราสามารถใช้สิทธิในการขายสินค้าอ้างอิงได้แพงกว่าไปขายที่ตลาดได้มากขึ้นเท่านั้น ก็ยิ่งทำให้ Put Options ที่เราถืออยู่ในมือมีมูลค่า (ราคา) สูงขึ้ตามไปด้วย
สำหรับท่านผู้อ่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวม หรือสงสัยในกองทุนที่ท่านผู้อ่านเข้าไปลงทุน ทางเรายินดีเป็นสื่อกลางให้ครับ ท่านสามารถส่งคำถามมาได้ที่อีเมล์ fund@manager.co.th หรือโพสต์คำถามไว้ที่ www.manager.co.th ในหน้ากองทุนรวม ทีมงานเต็มใจที่จะหาคำตอบให้ทางผู้อ่านได้ทราบอย่างเเน่นอนครับ