คำถาม - อยากทราบว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงาน ที่บริษัทหักเงินเราไปในแต่ละเดือน เขาเอาเงินไปลงทุนอะไรกันบ้าง ครับ เราสามารถเลือกลงทุนในแบบที่เราต้องการได้หรือไม่
ตอบ - การลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น สามารถนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ได้หลากหลาย เช่น ตราสารแห่งทุน(หุ้น หน่วยลงทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ) ตราสารแห่งหนี้ (พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ หน่วยลงทุน ) เงินฝาก ( เงินฝากธนาคารพาณิชย์ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือ สหกรณ์ออมทรัพย์ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ เงินฝากในสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินตามที่สำนักงานกำหนด เป็นต้น)
ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน(หุ้นกู้แปลงสภาพ) ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรืออาจจะนำเงินไปลงทุนใน พันธบัตรหรือตราสารหนี้ต่างประเทศก็ได้ แต่ทั้งนี้ ตราสารที่ลงทุนจะต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือใน 4 อันดับแรก หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ำประกัน เหล่านี้เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว บริษัทจัดการจะนำเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปลงทุนในหลักทรัพย์ตามนโยบายการลงทุนรูปแบบต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น นโยบายทั่วไป 3 แบบ และนโยบายพิเศษ คล้ายคลึงกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้
1. นโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน (Equity fund) เป็นการลงทุนที่เน้นเพื่อให้มีปริมาณเงินงอกเงยเพิ่มมากขึ้น โดยไม่สนใจการลงทุนที่ให้รายได้ประจำในรูปของดอกเบี้ยและความมั่นคงของเงินต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเงินไป1ลงทุนในตราสารทุนเฉลี่ยแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (NAV) และเงินส่วนที่เหลืออาจไปลงทุนไว้ในเงินฝาก และตราสารหนี้ด้วยก็ได้ หรือนำเงินทั้งหมดไปลงทุนในตราสารทุนล้วนๆ ก็ได้
2. นโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (Fixed income fund) เป็นการลงทุนที่เน้นให้รายได้ประจำในรูปของดอกเบี้ย และให้ความสำคัญกับความมั่นคงของเงินต้น โดยไม่สนใจการขยายตัวของเงินลงทุนเท่าใดนัก โดยจะลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ต่างๆ เช่น บัตรเงินฝากของธนาคาร ตั๋วเงินคลังพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ เป็นต้น
3. นโยบายการลงทุนแบบผสม (Mixed fund) เป็นการลงทุนที่ลงทุนทั้งในเงินฝาก ตราสารหนี้ และตราสารทุน
แบบที่กำหนดสัดส่วนการจัดสรรเงินลงทุนระหว่างตราสารทุนและตราสารหนี้ : มีการกำหนดอัตราส่วนการลงทุนในตราสารทุนอย่างชัดเจน เช่น 10% 20% หรือ 40% แต่ไม่เกิน 65% ของNAV (หากลงทุนในตราสารทุนตั้งแต่ 65% ขึ้นไปของ NAV จะถือเป็นนโยบายตราสารแห่งทุน)
3.1แบบไม่กำหนดสัดส่วนการลงทุน (free hand) : รูปแบบการลงทุนจะถูกกำหนดโดยบริษัทจัดการ ซึ่งจะมีการพิจารณาตามความเหมาะสมของภาวะการลงทุนในแต่ละช่วงเวลา เช่น บางช่วงอาจลงทุนในตราสารหนี้ได้ถึง 100% แต่ต่อมาอาจเลือกลงทุนในตราสารทุน 100% ก็ได้
3.2การลงทุนจะทำในนามของกองทุน ทรัพย์สินของกองทุนจะระบุชื่อกองทุนนั้นโดยเฉพาะและกองทุนจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของกองทุนเองทั้งหมด
3.3นโยบายการลงทุนพิเศษ (specialised fund) เป็นการลงทุนลักษณะเฉพาะที่นอกเหนือจากนโยบายทั่วไป เช่น กองทุนตลาดเงิน (money market fund) กองทุนมีประกัน (guaranteed fund)
กองทุนคุ้มครองเงินต้น (capital protected fund) กองทุนที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (specific fund) เหล่านี้เป็นต้น
ส่วนการเลือกนโยบายการลงทุนตามความต้องการของสมาชิก สามารถทำได้หรือไม่นั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎหมาย เปิดโอกาสให้ลูกจ้างแต่ละคนเข้ามามีบทบาทในการเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง เรียกกันว่า employee's choice ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของสมาชิกกองทุน ที่อาจจะแตกต่างกันในเรื่องของ อายุ การยอมรับในเรื่องความเสี่ยงจากการลงทุน และความต้องการผลตอบแทน
สำหรับท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเองจากเว็บไซต์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ www.thaipvd.com หรือสอบถามจากคณะกรรมการกองทุนของบริษัทที่ตัวท่านเอง
เป็นสมาชิกอยู่ก็ได้เช่นกัน
ต้องขอบคุณสมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนด้วยนะครับ สำหรับผู้ที่มีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนรวม สามารถส่งคำถามมาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์เป็นความคิดเห็นไว้ที่หน้าข่าวกองทุนรวม www.manager.co.th ทาง"Q&A Corner" จะไขข้อข้องใจให้ทราบเเน่นอน ครับ
ที่มาจาก AIMC
ตอบ - การลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น สามารถนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ได้หลากหลาย เช่น ตราสารแห่งทุน(หุ้น หน่วยลงทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ) ตราสารแห่งหนี้ (พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ หน่วยลงทุน ) เงินฝาก ( เงินฝากธนาคารพาณิชย์ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือ สหกรณ์ออมทรัพย์ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ เงินฝากในสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินตามที่สำนักงานกำหนด เป็นต้น)
ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน(หุ้นกู้แปลงสภาพ) ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรืออาจจะนำเงินไปลงทุนใน พันธบัตรหรือตราสารหนี้ต่างประเทศก็ได้ แต่ทั้งนี้ ตราสารที่ลงทุนจะต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือใน 4 อันดับแรก หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ำประกัน เหล่านี้เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว บริษัทจัดการจะนำเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปลงทุนในหลักทรัพย์ตามนโยบายการลงทุนรูปแบบต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น นโยบายทั่วไป 3 แบบ และนโยบายพิเศษ คล้ายคลึงกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้
1. นโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน (Equity fund) เป็นการลงทุนที่เน้นเพื่อให้มีปริมาณเงินงอกเงยเพิ่มมากขึ้น โดยไม่สนใจการลงทุนที่ให้รายได้ประจำในรูปของดอกเบี้ยและความมั่นคงของเงินต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเงินไป1ลงทุนในตราสารทุนเฉลี่ยแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (NAV) และเงินส่วนที่เหลืออาจไปลงทุนไว้ในเงินฝาก และตราสารหนี้ด้วยก็ได้ หรือนำเงินทั้งหมดไปลงทุนในตราสารทุนล้วนๆ ก็ได้
2. นโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ (Fixed income fund) เป็นการลงทุนที่เน้นให้รายได้ประจำในรูปของดอกเบี้ย และให้ความสำคัญกับความมั่นคงของเงินต้น โดยไม่สนใจการขยายตัวของเงินลงทุนเท่าใดนัก โดยจะลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ต่างๆ เช่น บัตรเงินฝากของธนาคาร ตั๋วเงินคลังพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ เป็นต้น
3. นโยบายการลงทุนแบบผสม (Mixed fund) เป็นการลงทุนที่ลงทุนทั้งในเงินฝาก ตราสารหนี้ และตราสารทุน
แบบที่กำหนดสัดส่วนการจัดสรรเงินลงทุนระหว่างตราสารทุนและตราสารหนี้ : มีการกำหนดอัตราส่วนการลงทุนในตราสารทุนอย่างชัดเจน เช่น 10% 20% หรือ 40% แต่ไม่เกิน 65% ของNAV (หากลงทุนในตราสารทุนตั้งแต่ 65% ขึ้นไปของ NAV จะถือเป็นนโยบายตราสารแห่งทุน)
3.1แบบไม่กำหนดสัดส่วนการลงทุน (free hand) : รูปแบบการลงทุนจะถูกกำหนดโดยบริษัทจัดการ ซึ่งจะมีการพิจารณาตามความเหมาะสมของภาวะการลงทุนในแต่ละช่วงเวลา เช่น บางช่วงอาจลงทุนในตราสารหนี้ได้ถึง 100% แต่ต่อมาอาจเลือกลงทุนในตราสารทุน 100% ก็ได้
3.2การลงทุนจะทำในนามของกองทุน ทรัพย์สินของกองทุนจะระบุชื่อกองทุนนั้นโดยเฉพาะและกองทุนจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของกองทุนเองทั้งหมด
3.3นโยบายการลงทุนพิเศษ (specialised fund) เป็นการลงทุนลักษณะเฉพาะที่นอกเหนือจากนโยบายทั่วไป เช่น กองทุนตลาดเงิน (money market fund) กองทุนมีประกัน (guaranteed fund)
กองทุนคุ้มครองเงินต้น (capital protected fund) กองทุนที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (specific fund) เหล่านี้เป็นต้น
ส่วนการเลือกนโยบายการลงทุนตามความต้องการของสมาชิก สามารถทำได้หรือไม่นั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎหมาย เปิดโอกาสให้ลูกจ้างแต่ละคนเข้ามามีบทบาทในการเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง เรียกกันว่า employee's choice ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของสมาชิกกองทุน ที่อาจจะแตกต่างกันในเรื่องของ อายุ การยอมรับในเรื่องความเสี่ยงจากการลงทุน และความต้องการผลตอบแทน
สำหรับท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเองจากเว็บไซต์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ www.thaipvd.com หรือสอบถามจากคณะกรรมการกองทุนของบริษัทที่ตัวท่านเอง
เป็นสมาชิกอยู่ก็ได้เช่นกัน
ต้องขอบคุณสมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนด้วยนะครับ สำหรับผู้ที่มีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนรวม สามารถส่งคำถามมาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์เป็นความคิดเห็นไว้ที่หน้าข่าวกองทุนรวม www.manager.co.th ทาง"Q&A Corner" จะไขข้อข้องใจให้ทราบเเน่นอน ครับ
ที่มาจาก AIMC