ประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ครวญเศรษฐกิจซบกระทบนายจ้าง-ลูกจ้างกว่า 200 บริษัททั้งลดเงินสมทบ และยุบกองทุนเป็นแถบ ระบุแตั้งแต่พฤศจิกายน51ถึงมีนาคม 5 2 เม็ดเงินวูบไปแล้วกว่า 5 พันล้านบาท แหล่งข่าวเผยสมาคมจัดการลงทุน เตรียมร่อนหนังสือถึงกระทรวงคลังอีก หวังผ่อนเกณฑ์หยุดจ่ายเงินสมทบชั่วคราว 1 ปีช่วยบริษัทที่ประสบปัญหา หลังรอบรอบแรก สศค.อ้างเป็นเรื่องเล็กน้อยยังไม่ถึงขั้นวิกฤต ด้าน บลจ. ฟินันซ่า เตรียมรุกปี52 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพใช้ employee's choice เต็ม100%
นางสาวอารยา ธีระโกเมน อุปนายกสมาคม และประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า หลังจากที่วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นส่งผลให้หลายบริษัทประสบปัญหาถึงขั้นต้องปิดกิจการ ทำให้นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 51 – มี.ค. 52 มีนายจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประสบปัญหาถึงขั้นต้องยกเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือปรึกษาเพื่อขอลดเงินสมทบกว่า 200 บริษัท คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 5 พันล้านบาท
ล่าสุดทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ได้ทำหนังสือถึงหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อขอให้บริษัทนายจ้างสามารถหยุดส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการชั่วคราว 6 - 12 เดือนได้ เพื่อช่วยลดการยุบเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เช่นเดียวกับในสหรัฐอเมริกา และคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆนี้
ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากที่สมาคมฯ รวบรวมก่อนหน้านี้ ณ วันที่ 17 ก.พ.52 มีเพียง 150 บริษัท มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 3,461.67 ล้านบาท
น.ส.ดวงกมล พิศาล เลขาธิการและผู้อำนวยการสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า ในสหรัฐมีกฎหมายระบุชัดเจนหากบริษัทนายจ้างประสบปัญหาฐานะการเงิน สามารถหยุดส่งเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ชั่วคราว ทำให้บริษัทชั้นนำที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตที่เกิดขึ้นสามารถลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนหรือยุดส่งเงินชั่วคราวได้ต่างจากของไทยที่ไม่มีกฎหมายนี้ ทำให้ต้องยื่นขอทางการเป็นการชั่วคราวเมื่อประสบปัญหา
“ล่าสุดสมาคมฯกำลังรวบรวมตัวเลขจากสมาชิกอีกครั้งว่ามีนายจ้างเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน เพื่อส่งเรื่องให้ทางการเพิ่มเติม”น.ส.ดวงกมล กล่าว
ทั้งนี้ ผู้สือข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ ทางบริษัทจัดการลงทุนได้เคยทำการยื่นหนังสือ ถึงคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ไปแล้วหนึ่งครั้ง ในการขอผ่อนผันการงดจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพชั่วคราวเป็นเวลา 1 ปี แต่ทางก.ล.ต.ไม่สามารถพิจารณาเรื่องดังกล่าวได้ เนื่องจากเป็นกฎหมายและอำนาจของกระทรวงการคลังในการดูแลเรื่องการจ่ายเงินสมทบของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
โดยภายหลังที่ทางก.ล.ต.ได้ทำการยื่นหนังสือไปถึงกระทรวงการคลัง ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)ได้ให้เหตุผลว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่รุนแรงมากนักเทียบเท่ากับปัญหาอื่น ซึ่งกระทรวงการคลังยังมีเรื่องที่ต้องพิจารณาอยู่อีกมาก
อย่างไรก็ตาม ภายหลังที่ตัวเลขของบริษัทที่มีปัญหาในการจ่ายเงินสมทบมีการขยายตัวมากขึ้น ทางบริษัทจัดการกองทุนได้มีการเตรียมที่จะยื่นเรื่องดังกล่าวให้กับกระทรวงการคลังพิจารณาอีกครั้ง โดยจะมีการประชุมกันในวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคมนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของกรรการสมาคมฯ ท่านอื่นก่อนที่จะดำการตามขั้นตอนดังกล่าวต่อไป
รุกใช้ employee's choice100%
นายธีระ ภู่ตระกูล ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด เปิดเผยว่า ภายหลังจากช่วงปีที่ผ่านมา การลงทุนในประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาทั้งในและนอกประเทศ ส่งผลให้นักลงทุนหลายรายในตลาดหุ้นไทยต่างถอนเงินออกและถือเงินสดไว้เป็นจำนวนมาก หรืออาจจะเข้าไปลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงินแทนเพื่อเป็นการพักเงินหรือหาช่องทางการลงทุนใหม่ ๆ แทน สำหรับการทำงานของบริษัทเอง ก็ต้องเป็นไปอย่างระมัดระวังและรอบครอบมากที่สุดด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม จากผลการดำเนินงานของบริษัทในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างดีและไม่ได้ตกไปมากนัก เพราะผลการดำเนินงานภายใต้การบริหารจัดการทั้งหมด ได้เท่ากับไตรมาส 1 ของปีที่ผ่านมา ซึ่งเราเองก็ยังคิดว่าน่าจะต่ำกว่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้จัดกองทุนแต่ละกองทุนก็พยายามบริหารให้ดีที่สุด
ทั้งนี้ ในไตรมาส 2 นี้ บริษัทมีแผนที่จะผลักดันการออกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในลักษณะของ employee's choice ให้มากขึ้น เนื่องจากว่าในปีที่ผ่านมาความผันผวนด้านเศรษฐกิจมีค่อนข้างมาก บริษัทเองจึงอยากมีทางเลือกให้แก่นักลงทุนเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้เข้าไปติดต่อประสานงานและได้ไปทำความเข้าใจไปยังบริษัทต่าง ๆ แล้วกว่า 30% และคาดว่าช่วงเวลาต่อไปที่เหลือบริษัทจะสามารถดำเนินการได้ถึง 100%
"สาเหตุที่บริษัทเข้ามารุกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในลักษณะ employee's choice มากขึ้น เนื่องจากว่ากองทุนที่บริษัทบริหารอยู่นั้นมีครบทุกกองทุนให้นักลงทุนได้เข้ามาเลือกลงทุน อาทิ 1. กองทุนเปิดฟินันซ่า SET เพิ่มพูนปันผล ซึ่งเป็นกองทุนหุ้นที่ลงทุนในประเทศ 2. กอองทุนเปิดหน่วยลงทุนฟินันซ่า โกลบอล อโลเคชั่น เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้และในหุ้นทั่วประเทศ 3. กองทุนเปิดหน่วยลงทุน ฟินันซ่า โกลบอล คอมมอดิตี้ 4. กองทุนเปิดดัชนีธุรกิจพลังงานและธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 5. กองทุนเปิดฟินันซ่า มันนี่มาร์เก็ตฟันด์ และ 6. กองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้" นายธีระ กล่าว
นายธีระ ยังกล่าวอีกว่า นอกจากบริษัทจะเน้นการออกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในแบบ employee's choice แล้ว บริษัทยังมีแผนการออกกองทุนที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (FIF) จำนวน 2 กองทุน คือ กองทุน Global Thematic Equity Fund และกองทุน Global Managed Futures Fund ด้วย
โดยกองทุน Global Thematic Equity Fund เน้นลงทุนในหุ้นทั่วโลกที่มีความน่าสนใจ และจะได้รับผลประโยชน์ในระยะยาว โดยเบื้องต้นจะเข้าไปลงทุนในหุ้นในระบบโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่มีศักยภาพสูง เช่น ประเทศตลาดเกิดใหม่ ที่ต้องมีการก่อสร้างระบบโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานอีกมาก
ส่วนกองทุน Global Managed Futures Fund จะเน้นลงทุนในตราสารอนุพันธ์ประเภท Futures ที่อ้างอิงกับหุ้น พันธบัตร อัตราแลกเปลี่ยน ตราสารหนี้ และสินค้าโภคภัณฑ์ในต่างประเทศ ซึ่งจะลงทุนในกองทุนที่มีการจัดตั้งอยู่แล้ว แต่จะไม่มีการปิดค่าความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทแต่อย่างใด
นายธีระ ยังต่อไปอีกว่า ในส่วนของการลงทุนในตลาดหุ้นไทยขณะนี้ ถือว่าเริ่มขยับตัวดีขึ้นแล้ว ภายหลังจากที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น หากเทียบกับช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม จึงอยากให้นักลงทุนดูและคอยสังเกตความเคลื่อนไหวในช่วงระยะยาวมากกว่าระยะสั้น โดยต้องเริ่มดูกันต่อไปว่าในช่วง 9 - 12 เดือนต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร
นางสาวอารยา ธีระโกเมน อุปนายกสมาคม และประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า หลังจากที่วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นส่งผลให้หลายบริษัทประสบปัญหาถึงขั้นต้องปิดกิจการ ทำให้นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 51 – มี.ค. 52 มีนายจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประสบปัญหาถึงขั้นต้องยกเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือปรึกษาเพื่อขอลดเงินสมทบกว่า 200 บริษัท คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 5 พันล้านบาท
ล่าสุดทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ได้ทำหนังสือถึงหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อขอให้บริษัทนายจ้างสามารถหยุดส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการชั่วคราว 6 - 12 เดือนได้ เพื่อช่วยลดการยุบเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เช่นเดียวกับในสหรัฐอเมริกา และคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆนี้
ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากที่สมาคมฯ รวบรวมก่อนหน้านี้ ณ วันที่ 17 ก.พ.52 มีเพียง 150 บริษัท มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 3,461.67 ล้านบาท
น.ส.ดวงกมล พิศาล เลขาธิการและผู้อำนวยการสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า ในสหรัฐมีกฎหมายระบุชัดเจนหากบริษัทนายจ้างประสบปัญหาฐานะการเงิน สามารถหยุดส่งเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ชั่วคราว ทำให้บริษัทชั้นนำที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตที่เกิดขึ้นสามารถลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนหรือยุดส่งเงินชั่วคราวได้ต่างจากของไทยที่ไม่มีกฎหมายนี้ ทำให้ต้องยื่นขอทางการเป็นการชั่วคราวเมื่อประสบปัญหา
“ล่าสุดสมาคมฯกำลังรวบรวมตัวเลขจากสมาชิกอีกครั้งว่ามีนายจ้างเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน เพื่อส่งเรื่องให้ทางการเพิ่มเติม”น.ส.ดวงกมล กล่าว
ทั้งนี้ ผู้สือข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ ทางบริษัทจัดการลงทุนได้เคยทำการยื่นหนังสือ ถึงคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ไปแล้วหนึ่งครั้ง ในการขอผ่อนผันการงดจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพชั่วคราวเป็นเวลา 1 ปี แต่ทางก.ล.ต.ไม่สามารถพิจารณาเรื่องดังกล่าวได้ เนื่องจากเป็นกฎหมายและอำนาจของกระทรวงการคลังในการดูแลเรื่องการจ่ายเงินสมทบของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
โดยภายหลังที่ทางก.ล.ต.ได้ทำการยื่นหนังสือไปถึงกระทรวงการคลัง ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)ได้ให้เหตุผลว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่รุนแรงมากนักเทียบเท่ากับปัญหาอื่น ซึ่งกระทรวงการคลังยังมีเรื่องที่ต้องพิจารณาอยู่อีกมาก
อย่างไรก็ตาม ภายหลังที่ตัวเลขของบริษัทที่มีปัญหาในการจ่ายเงินสมทบมีการขยายตัวมากขึ้น ทางบริษัทจัดการกองทุนได้มีการเตรียมที่จะยื่นเรื่องดังกล่าวให้กับกระทรวงการคลังพิจารณาอีกครั้ง โดยจะมีการประชุมกันในวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคมนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของกรรการสมาคมฯ ท่านอื่นก่อนที่จะดำการตามขั้นตอนดังกล่าวต่อไป
รุกใช้ employee's choice100%
นายธีระ ภู่ตระกูล ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด เปิดเผยว่า ภายหลังจากช่วงปีที่ผ่านมา การลงทุนในประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาทั้งในและนอกประเทศ ส่งผลให้นักลงทุนหลายรายในตลาดหุ้นไทยต่างถอนเงินออกและถือเงินสดไว้เป็นจำนวนมาก หรืออาจจะเข้าไปลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงินแทนเพื่อเป็นการพักเงินหรือหาช่องทางการลงทุนใหม่ ๆ แทน สำหรับการทำงานของบริษัทเอง ก็ต้องเป็นไปอย่างระมัดระวังและรอบครอบมากที่สุดด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม จากผลการดำเนินงานของบริษัทในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างดีและไม่ได้ตกไปมากนัก เพราะผลการดำเนินงานภายใต้การบริหารจัดการทั้งหมด ได้เท่ากับไตรมาส 1 ของปีที่ผ่านมา ซึ่งเราเองก็ยังคิดว่าน่าจะต่ำกว่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้จัดกองทุนแต่ละกองทุนก็พยายามบริหารให้ดีที่สุด
ทั้งนี้ ในไตรมาส 2 นี้ บริษัทมีแผนที่จะผลักดันการออกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในลักษณะของ employee's choice ให้มากขึ้น เนื่องจากว่าในปีที่ผ่านมาความผันผวนด้านเศรษฐกิจมีค่อนข้างมาก บริษัทเองจึงอยากมีทางเลือกให้แก่นักลงทุนเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้เข้าไปติดต่อประสานงานและได้ไปทำความเข้าใจไปยังบริษัทต่าง ๆ แล้วกว่า 30% และคาดว่าช่วงเวลาต่อไปที่เหลือบริษัทจะสามารถดำเนินการได้ถึง 100%
"สาเหตุที่บริษัทเข้ามารุกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในลักษณะ employee's choice มากขึ้น เนื่องจากว่ากองทุนที่บริษัทบริหารอยู่นั้นมีครบทุกกองทุนให้นักลงทุนได้เข้ามาเลือกลงทุน อาทิ 1. กองทุนเปิดฟินันซ่า SET เพิ่มพูนปันผล ซึ่งเป็นกองทุนหุ้นที่ลงทุนในประเทศ 2. กอองทุนเปิดหน่วยลงทุนฟินันซ่า โกลบอล อโลเคชั่น เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้และในหุ้นทั่วประเทศ 3. กองทุนเปิดหน่วยลงทุน ฟินันซ่า โกลบอล คอมมอดิตี้ 4. กองทุนเปิดดัชนีธุรกิจพลังงานและธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 5. กองทุนเปิดฟินันซ่า มันนี่มาร์เก็ตฟันด์ และ 6. กองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้" นายธีระ กล่าว
นายธีระ ยังกล่าวอีกว่า นอกจากบริษัทจะเน้นการออกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในแบบ employee's choice แล้ว บริษัทยังมีแผนการออกกองทุนที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (FIF) จำนวน 2 กองทุน คือ กองทุน Global Thematic Equity Fund และกองทุน Global Managed Futures Fund ด้วย
โดยกองทุน Global Thematic Equity Fund เน้นลงทุนในหุ้นทั่วโลกที่มีความน่าสนใจ และจะได้รับผลประโยชน์ในระยะยาว โดยเบื้องต้นจะเข้าไปลงทุนในหุ้นในระบบโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่มีศักยภาพสูง เช่น ประเทศตลาดเกิดใหม่ ที่ต้องมีการก่อสร้างระบบโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานอีกมาก
ส่วนกองทุน Global Managed Futures Fund จะเน้นลงทุนในตราสารอนุพันธ์ประเภท Futures ที่อ้างอิงกับหุ้น พันธบัตร อัตราแลกเปลี่ยน ตราสารหนี้ และสินค้าโภคภัณฑ์ในต่างประเทศ ซึ่งจะลงทุนในกองทุนที่มีการจัดตั้งอยู่แล้ว แต่จะไม่มีการปิดค่าความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทแต่อย่างใด
นายธีระ ยังต่อไปอีกว่า ในส่วนของการลงทุนในตลาดหุ้นไทยขณะนี้ ถือว่าเริ่มขยับตัวดีขึ้นแล้ว ภายหลังจากที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น หากเทียบกับช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม จึงอยากให้นักลงทุนดูและคอยสังเกตความเคลื่อนไหวในช่วงระยะยาวมากกว่าระยะสั้น โดยต้องเริ่มดูกันต่อไปว่าในช่วง 9 - 12 เดือนต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร