บลจ.อเบอร์ดีน ชี้ ตลาดหุ้น เอเชียแปซิฟิก เริ่มปรับตัวดีขึ้น หลังได้อานิสงส์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ-การลงทุน แต่การปรับขึ้น ยังไม่ได้สะท้อนปัจจัยฟื้นฐาน เหตุตัวเลขผลประกอบการยังโงหัวไม่ขึ้น ระบุห่วงตลาดหุ้นโลกตก ฉุดเอเชียตกไปด้วย
นายออเสน การบริสุทธิ์ ผู้จัดการกองทุนตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อเบอร์ดีน จำกัด เปิดเผยถึง ภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่า โดยรวมแล้วสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากวิกฤตที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯและยุโรปมากนัก โดยเฉพาะประเทศจีน อินเดีย ซึ่งอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนนั้นยังอยู่ในระดับที่สูงคือประมาณ 6% ในปีนี้ ขณะเดียวกัน ยังได้รับการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงการอัดฉีดเงินให้กับภาคสถาบันการเงินเพื่อให้เกิดการปล่อยกู้ ซึ่งส่งผลให้บางบริษัทมีสินเชื่อเพิ่มขึ้นถึง 15% ขณะที่ประเทศอินเดียนั้นเศรษฐกิจยังคงทรงตัวและไม่ได้รับผลกระทบจากเรื่องของการส่งออกมากนัก
ด้านประเทศสิงคโปร์นั้น เศรษฐกิจของประเทศยังคงปรับตัวลดลงอยู่ ต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมาเนื่องจากประสบปัญหาจากเรื่องของการส่งออกไปยังสหรัฐฯและยุโรป อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้วประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคยังมี จีดีพี ที่ปรับตัวลดลงเกือบทั้งหมด
ในด้านของตลาดหุ้นนั้น นายออเสน กล่าวว่า เนื่องจากตลาดหุ้นในเอเชียแปซิฟิกยังเป็นไปตามทิศทางของเศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรปเป็นหลัก โดยหากตลาดหุ้นทางตะวันตกปรับตัวดีขึ้น ตลาดของเอเชียจะปรับตัวตามขึ้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ตลาดหุ้นในเอเชียเพิ่มปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเป็นเป็นไปตามบรรยากาศการลงทุนที่เริ่มดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การปรับตัวเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นนั้นยังไม่ได้เป็นไปตามปัจจัยฟื้นฐานของบริษัทต่างๆ ที่ตัวเลขผลประกอบการยังคงไม่ปรับตัวดีขึ้นแต่อย่างใด จึงยังไม่สามารถสะท้อนภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงว่าจะดีขึ้นตามตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นไปก่อนล่วงหน้า
"การลงทุนในหุ้นขณะนี้นักลงทุนก็ยังคงมีความกลัวอยู่บ้างแต่ เป็นเพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจจะไม่ยํ่าแย่ลงไปกว่านี้แล้ว จึงพากันกลับเข้ามาลงทุนกันตามบรรยากาศการลงทุนที่เริ่มดีขึ้น" ผู้จัดการกองทุนตราสารทุน กล่าว
ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น นายออเสน มองว่า เมื่อเทียบกับสหรัฐฯและยุโรปแล้วจะดูดีกว่า ซึ่งจะเห็นว่าสถาบันการเงินนั้นมีความสามารถในการปล่อยสินเชื่อได้ดีกว่า ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องมีการเพิ่มทุนแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตาม หากตลาดในสหรัฐฯและยุโรปมีการปรับตัวลดลงอย่างมากเนื่องจากได้รับปัจจัยลบ แล้วตลาดหุ้นในเอเชียอาจปรับตัวลงตามไปด้วยเช่นกัน เพราะตลาดสหรัฐฯและยุโรปยังมีผลต่อเนื่องมาถึงเอเชียอยู่ ขณะที่ในส่วนของกองทุนเปิด อเบอร์ดีน เอเชีย แปซิฟิค เอคควิตี้ ฟันด์ นั้น ในขณะนี้ทางบริษัทยังไม่มีการปรับพอร์ตการลงทุนแต่อย่างใด ซึ่งยังคงเน้นลงทุนเป็นหุ้นรายตัวอยู่ ซึ่งได้แก่ กลุ่มสถาบันการเงิน เป็นต้น
สำหรับกองทุนเปิด อเบอร์ดีน เอเชีย แป ซิฟิค เอคควิตี้ ฟันด์ ( Aberdeen Pacific Equity Fund) มีผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 24 เมษายน 2552 กองทุนมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 12.37% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน MSCI AC Asia Pacifi c exJapan อยู่ที่ 21.63% ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 7.57% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 13.96% ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ -34.44% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ -37.53% และตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 9.81% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 16.61%
โดยกองทุนเปิด อเบอร์ดีน เอเชีย แป ซิฟิค เอคควิตี้ ฟันด์ ( Aberdeen Pacific Equity Fund) มีนโยบายการลงทุนลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนหลักซึ่งเป็นกองทุน รวมตราสารแห่งทุนต่างประเทศ (สิงคโปร์) ที่ชื่อ Aberdeen Pacific Equity Fund เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีตั้งแต่ร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพยสินสุทธิของกองทุน แต่จะลงทุนในต่างประเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดย Aberdeen Pacific Equity Fund จะลงทุนกระจายในกลุ่มหลักทรัพย์ ของ Asian Pacif ic Equities แต่ไม่ครอบคลุมถึงตราสารแห่งทุนของญี่ปุ่นการลงทุนในอัตราส่วนที่เหลือจะเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
นายออเสน การบริสุทธิ์ ผู้จัดการกองทุนตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อเบอร์ดีน จำกัด เปิดเผยถึง ภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่า โดยรวมแล้วสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากวิกฤตที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯและยุโรปมากนัก โดยเฉพาะประเทศจีน อินเดีย ซึ่งอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนนั้นยังอยู่ในระดับที่สูงคือประมาณ 6% ในปีนี้ ขณะเดียวกัน ยังได้รับการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงการอัดฉีดเงินให้กับภาคสถาบันการเงินเพื่อให้เกิดการปล่อยกู้ ซึ่งส่งผลให้บางบริษัทมีสินเชื่อเพิ่มขึ้นถึง 15% ขณะที่ประเทศอินเดียนั้นเศรษฐกิจยังคงทรงตัวและไม่ได้รับผลกระทบจากเรื่องของการส่งออกมากนัก
ด้านประเทศสิงคโปร์นั้น เศรษฐกิจของประเทศยังคงปรับตัวลดลงอยู่ ต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมาเนื่องจากประสบปัญหาจากเรื่องของการส่งออกไปยังสหรัฐฯและยุโรป อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้วประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคยังมี จีดีพี ที่ปรับตัวลดลงเกือบทั้งหมด
ในด้านของตลาดหุ้นนั้น นายออเสน กล่าวว่า เนื่องจากตลาดหุ้นในเอเชียแปซิฟิกยังเป็นไปตามทิศทางของเศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรปเป็นหลัก โดยหากตลาดหุ้นทางตะวันตกปรับตัวดีขึ้น ตลาดของเอเชียจะปรับตัวตามขึ้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ตลาดหุ้นในเอเชียเพิ่มปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเป็นเป็นไปตามบรรยากาศการลงทุนที่เริ่มดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การปรับตัวเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นนั้นยังไม่ได้เป็นไปตามปัจจัยฟื้นฐานของบริษัทต่างๆ ที่ตัวเลขผลประกอบการยังคงไม่ปรับตัวดีขึ้นแต่อย่างใด จึงยังไม่สามารถสะท้อนภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงว่าจะดีขึ้นตามตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นไปก่อนล่วงหน้า
"การลงทุนในหุ้นขณะนี้นักลงทุนก็ยังคงมีความกลัวอยู่บ้างแต่ เป็นเพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจจะไม่ยํ่าแย่ลงไปกว่านี้แล้ว จึงพากันกลับเข้ามาลงทุนกันตามบรรยากาศการลงทุนที่เริ่มดีขึ้น" ผู้จัดการกองทุนตราสารทุน กล่าว
ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น นายออเสน มองว่า เมื่อเทียบกับสหรัฐฯและยุโรปแล้วจะดูดีกว่า ซึ่งจะเห็นว่าสถาบันการเงินนั้นมีความสามารถในการปล่อยสินเชื่อได้ดีกว่า ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องมีการเพิ่มทุนแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตาม หากตลาดในสหรัฐฯและยุโรปมีการปรับตัวลดลงอย่างมากเนื่องจากได้รับปัจจัยลบ แล้วตลาดหุ้นในเอเชียอาจปรับตัวลงตามไปด้วยเช่นกัน เพราะตลาดสหรัฐฯและยุโรปยังมีผลต่อเนื่องมาถึงเอเชียอยู่ ขณะที่ในส่วนของกองทุนเปิด อเบอร์ดีน เอเชีย แปซิฟิค เอคควิตี้ ฟันด์ นั้น ในขณะนี้ทางบริษัทยังไม่มีการปรับพอร์ตการลงทุนแต่อย่างใด ซึ่งยังคงเน้นลงทุนเป็นหุ้นรายตัวอยู่ ซึ่งได้แก่ กลุ่มสถาบันการเงิน เป็นต้น
สำหรับกองทุนเปิด อเบอร์ดีน เอเชีย แป ซิฟิค เอคควิตี้ ฟันด์ ( Aberdeen Pacific Equity Fund) มีผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 24 เมษายน 2552 กองทุนมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 12.37% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน MSCI AC Asia Pacifi c exJapan อยู่ที่ 21.63% ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 7.57% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 13.96% ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ -34.44% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ -37.53% และตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 9.81% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 16.61%
โดยกองทุนเปิด อเบอร์ดีน เอเชีย แป ซิฟิค เอคควิตี้ ฟันด์ ( Aberdeen Pacific Equity Fund) มีนโยบายการลงทุนลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนหลักซึ่งเป็นกองทุน รวมตราสารแห่งทุนต่างประเทศ (สิงคโปร์) ที่ชื่อ Aberdeen Pacific Equity Fund เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีตั้งแต่ร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพยสินสุทธิของกองทุน แต่จะลงทุนในต่างประเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดย Aberdeen Pacific Equity Fund จะลงทุนกระจายในกลุ่มหลักทรัพย์ ของ Asian Pacif ic Equities แต่ไม่ครอบคลุมถึงตราสารแห่งทุนของญี่ปุ่นการลงทุนในอัตราส่วนที่เหลือจะเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.