คอลัมน์ออมอุ่นใจกับกองทุนประกันสังคม
โดย วิน พรหมแพทย์, CFA, win@sso.go.th
สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) หมายถึง สินค้าที่ตัวสินค้ามีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ผลิตก็ตาม เช่น เมื่อพูดถึง “ข้าวหอมมะลิ” ผู้ที่บริโภคข้าวทั่วโลกจะเข้าใจทันทีว่าหมายถึงอะไร มีลักษณะอย่างไร ซื้อหรือขายกันที่น้ำหนักเท่าไร เป็นต้น ดังนั้น ข้าวหอมมะลิ จึงจัดเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ในทางตรงข้าม เมื่อพูดถึง “รถยนต์” จะพบว่าผู้ผลิตแต่ละรายผลิตรถยนต์ที่มีลักษณะ คุณภาพ และมาตรฐานแตกต่างกันมาก รถยนต์จึงไม่จัดเป็นสินค้าโภคภัณฑ์
ด้วยเหตุที่สินค้าโภคภัณฑ์มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทำให้ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลก ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก เราจะสังเกตได้อย่างชัดเจนว่า ราคาทองคำที่ซื้อขายกันที่เยาวราชจะขึ้นลงโดยอิงกับราคาตลาดโลก
ในทางการลงทุนนั้น สินค้าโภคภัณฑ์จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าที่ “จับต้องได้” หรือเรียกกันว่า Real Assets ต่างจากพันธบัตรหรือหุ้นซึ่งเป็นตราสารทางการเงินที่จับต้องไม่ได้ เรียกกันว่า Financial Assets
ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์
นอกจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลกแล้ว ยังมีลักษณะพิเศษอีก 2 ประการ ดังนี้
1.ความสัมพันธ์กับเงินเฟ้อ จากการศึกษาข้อมูลในอดีตถึงปัจจุบัน พบว่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยทั่วไปมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับอัตราเงินเฟ้อ ที่จริงแล้วความสัมพันธ์นี้ค่อนข้างชัดเจน เพราะในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อนั้น เป็นการคำนวณการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าใน “ตะกร้า” ซึ่งสินค้าด้านพลังงานและการขนส่งก็เป็นสินค้าที่อยู่ในตะกร้าการคำนวณเงินเฟ้อ เราจึงสังเกตได้ว่า เมื่อราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมากในปี 2551 ที่ผ่านมา ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและการขนส่งปรับสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อก็ปรับสูงขึ้นจากเดิม 2 – 3% เป็น 5 – 6% ดังนั้น การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์จึงมีข้อดีที่ช่วยให้มูลค่าเงินลงทุนปรับเพิ่มตามภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งในการปกป้องค่าเงินที่แท้จริงสำหรับกองทุนบำนาญ
2.ความสัมพันธ์กับเหตุการณ์เฉพาะหน้า โดยทั่วไปราคาหุ้นหรือพันธบัตรจะเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามการคาดการณ์ในอนาคตของนักลงทุน เช่น หากนักลงทุนคาดว่าผลประกอบการของบริษัทในอนาคตจะแย่กว่าที่เคยคาดไว้ นักลงทุนก็จะขายหุ้นและทำให้ราคาหุ้นตก แต่สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์นั้น ราคามักจะเปลี่ยนแปลงตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เช่น ราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวขึ้นทันทีที่มีข่าวว่ากลุ่มโอเปคลดกำลังการผลิต หรือมีข่าวว่าฤดูหนาวยาวนานทำให้มีความต้องการพลังงานมากขึ้น ในทำนองเดียวกัน ราคาสินค้าเกษตร เช่น ข้าว จะปรับตัวขึ้นทันทีที่มีข่าวว่าประเทศผู้ผลิตข้าวประสบภาวะแห้งแล้ง ทำให้มีผลผลิตน้อยกว่าที่คาด ดังนั้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จึงมักจะตอบสนองกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับตราสารทางการเงินอื่นๆ ในทางการลงทุน สินค้าโภคภัณฑ์จึงมีประโยชน์สำหรับนักลงทุน เพราะเมื่อมีข่าวร้าย (เช่น เกิดสงครามในตะวันออกกลาง) ราคาหุ้นมักจะตก แต่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มักจะปรับตัวขึ้น
สินค้าโภคภัณฑ์ มีอะไรบ้าง
สินค้าโภคภัณฑ์โดยทั่วไปแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. สินค้าด้านพลังงาน (Energy) ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันเตา ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น 2. โลหะอุตสาหกรรม (Industrial Metals) ได้แก่ อลูมิเนียม ทองแดง ตะกั่ว เป็นต้น 3. โลหะมีค่า (Precious Metals) ได้แก่ ทองคำ และ เงิน 4. สินค้าเกษตร (Agricultural) ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง กาแฟ น้ำตาล เป็นต้น 2. สินค้าปศุสัตว์ (Livestock) ได้แก่ Feeder Cattle, Live Cattle, Lean Hogs เป็นต้น
การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์
การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ทำได้ 3 วิธี ดังนี้
1. ลงทุนโดยตรง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการลงทุนในทองคำแท่งโดยซื้อจากร้านทองแถวเยาวราช อย่างไรก็ดี การลงทุนโดยตรงในสินค้าอื่นนอกจากทองคำ (เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถั่วเหลือง) ทำได้ยาก และแม้แต่ การลงทุนตรงในทองคำแท่งก็มีความเสี่ยงเรื่องการสูญหาย และมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา
2. ลงทุนในสัญญาซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า (Commodities Futures) แม้ว่าตลาดซื้อขายล่วงหน้าสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์จะเป็นตลาดเก่าแก่ โดยเกิดขึ้นแห่งแรกในโลกที่เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ในศตวรรษที่ 14 ก่อนตลาดหุ้นแห่งแรกของโลก (คือตลาดหุ้นนิวยอร์ค) นานถึง 400 ปี แต่การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดเป็นเรื่องใหม่สำหรับนักลงทุน รวมทั้งมีลักษณะการซื้อขายที่ค่อนข้างซับซ้อน ในปัจจุบัน ตลาดซื้อขายล่วงหน้าสำคัญของโลกอยู่ที่เมืองชิคาโก (Chicago Board of Trade) ส่วนในประเทศไทย เพิ่งจะเริ่มมีตลาดซื้อขายล่วงหน้าเกิดใหม่ 2 แห่ง ได้แก่
-ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ในขณะนี้มีสัญญาที่ซื้อขายกัน 4 รายการ คือ ข้าวหอมมะลิ 100% ข้าวขาว 5% ยางแผ่นรมควันชั้น 3 และมันสำปะหลังเส้น
-Thailand Futures Exchange (TFEX) ในขณะนี้มีสัญญาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ซื้อขายกัน 1 รายการ คือ ทองคำ โดยเป็นสัญญาที่ซื้อขายทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 96.5% หนึ่งสัญญามีขนาดเท่ากับ ทองคำน้ำหนัก 50 บาท หรือ 762.2 กรัม (สัญญาอีก 3 รายการเป็นสัญญาทางการเงิน คือ SET50 Index Futures, SET50 Index Options และ Stock Futures)
3. ลงทุนทางอ้อม เช่น ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Commodity ETF (ย่อมาจาก Exchange-traded Fund) ซึ่งเป็นกองทุนที่รวบรวมเงินนักลงทุนไปลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์อีกทอดหนึ่ง หรือเป็นกองทุนที่มูลค่าเปลี่ยนแปลงตามดัชนีอ้างอิงสินค้าโภคภัณฑ์ โดยดัชนีอ้างอิงสินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมคือ S&P Goldman Sachs Commodity Index (S&P GSCI) ซึ่งเป็นดัชนีอ้างอิงสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์รวม 24 ชนิด ถ่วงน้ำหนักด้วยปริมาณการผลิตของตลาดโลก (weighted by world production) ในช่วง 5 ปีย้อนหลัง โดยกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีน้ำหนักมากที่สุดคือ กลุ่มพลังงาน ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตา ฯลฯ มีน้ำหนักรวม 73.61% รองลงมาคือ กลุ่มสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง ฯลฯ มีน้ำหนักรวม 13.20% การถ่วงน้ำหนักด้วยปริมาณการผลิตของตลาดโลกนี่เองทำให้ GSCI ไม่ได้เป็นเพียงดัชนีสำหรับการลงทุนเท่านั้น แต่ยังถูกใช้เป็นดัชนีทางเศรษฐกิจอีกด้วย ทั้งนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (Mar 2003 – Mar 2008) การลงทุนตามดัชนี GSCI ให้ผลตอบแทนรวม 100% คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ย 14.8% ต่อปี
สินค้าโภคภัณฑ์กับกองทุนประกันสังคม
ถึงแม้ว่าในขณะนี้เงินลงทุนของกองทุนประกันสังคมจะยังไม่มีการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ แต่คณะกรรมการประกันสังคมได้แต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการศึกษาการลงทุนทางเลือก” เพื่อศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในการลงทุนทางเลือก
ในภาพรวม การลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์มีประโยชน์สำหรับกองทุนประกันสังคมในการช่วยกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน เพราะราคาสินค้าโภคภัณฑ์มักจะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกับราคาพันธบัตรและราคาหุ้น ในยามที่ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นตกต่ำ กองทุนควรจะได้รับผลตอบแทนเป็นบวกจากการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์มาชดเชย นอกจากนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในระยะยาวมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ ช่วยรักษาค่าของเงินที่แท้จริงให้กับกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ ซึ่งมีภาระการจ่ายบำนาญจำนวนมากให้กับผู้ประกันตนที่จะเกษียณในอนาคต
อย่างไรก็ดี การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์มีความซับซ้อน ความเคลื่อนไหวของราคามีความผันผวนสูงเมื่อเทียบกับราคาพันธบัตรและราคาหุ้น หากคณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบให้ลงทุนในหลักทรัพย์กลุ่มนี้ สำนักงานประกันสังคมจะต้องเตรียมบุคลากรและระบบให้มีความพร้อมรองรับการลงทุน
โดย วิน พรหมแพทย์, CFA, win@sso.go.th
สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) หมายถึง สินค้าที่ตัวสินค้ามีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ผลิตก็ตาม เช่น เมื่อพูดถึง “ข้าวหอมมะลิ” ผู้ที่บริโภคข้าวทั่วโลกจะเข้าใจทันทีว่าหมายถึงอะไร มีลักษณะอย่างไร ซื้อหรือขายกันที่น้ำหนักเท่าไร เป็นต้น ดังนั้น ข้าวหอมมะลิ จึงจัดเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ในทางตรงข้าม เมื่อพูดถึง “รถยนต์” จะพบว่าผู้ผลิตแต่ละรายผลิตรถยนต์ที่มีลักษณะ คุณภาพ และมาตรฐานแตกต่างกันมาก รถยนต์จึงไม่จัดเป็นสินค้าโภคภัณฑ์
ด้วยเหตุที่สินค้าโภคภัณฑ์มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทำให้ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลก ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก เราจะสังเกตได้อย่างชัดเจนว่า ราคาทองคำที่ซื้อขายกันที่เยาวราชจะขึ้นลงโดยอิงกับราคาตลาดโลก
ในทางการลงทุนนั้น สินค้าโภคภัณฑ์จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าที่ “จับต้องได้” หรือเรียกกันว่า Real Assets ต่างจากพันธบัตรหรือหุ้นซึ่งเป็นตราสารทางการเงินที่จับต้องไม่ได้ เรียกกันว่า Financial Assets
ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์
นอกจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลกแล้ว ยังมีลักษณะพิเศษอีก 2 ประการ ดังนี้
1.ความสัมพันธ์กับเงินเฟ้อ จากการศึกษาข้อมูลในอดีตถึงปัจจุบัน พบว่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยทั่วไปมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับอัตราเงินเฟ้อ ที่จริงแล้วความสัมพันธ์นี้ค่อนข้างชัดเจน เพราะในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อนั้น เป็นการคำนวณการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าใน “ตะกร้า” ซึ่งสินค้าด้านพลังงานและการขนส่งก็เป็นสินค้าที่อยู่ในตะกร้าการคำนวณเงินเฟ้อ เราจึงสังเกตได้ว่า เมื่อราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมากในปี 2551 ที่ผ่านมา ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและการขนส่งปรับสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อก็ปรับสูงขึ้นจากเดิม 2 – 3% เป็น 5 – 6% ดังนั้น การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์จึงมีข้อดีที่ช่วยให้มูลค่าเงินลงทุนปรับเพิ่มตามภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งในการปกป้องค่าเงินที่แท้จริงสำหรับกองทุนบำนาญ
2.ความสัมพันธ์กับเหตุการณ์เฉพาะหน้า โดยทั่วไปราคาหุ้นหรือพันธบัตรจะเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามการคาดการณ์ในอนาคตของนักลงทุน เช่น หากนักลงทุนคาดว่าผลประกอบการของบริษัทในอนาคตจะแย่กว่าที่เคยคาดไว้ นักลงทุนก็จะขายหุ้นและทำให้ราคาหุ้นตก แต่สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์นั้น ราคามักจะเปลี่ยนแปลงตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เช่น ราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวขึ้นทันทีที่มีข่าวว่ากลุ่มโอเปคลดกำลังการผลิต หรือมีข่าวว่าฤดูหนาวยาวนานทำให้มีความต้องการพลังงานมากขึ้น ในทำนองเดียวกัน ราคาสินค้าเกษตร เช่น ข้าว จะปรับตัวขึ้นทันทีที่มีข่าวว่าประเทศผู้ผลิตข้าวประสบภาวะแห้งแล้ง ทำให้มีผลผลิตน้อยกว่าที่คาด ดังนั้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จึงมักจะตอบสนองกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับตราสารทางการเงินอื่นๆ ในทางการลงทุน สินค้าโภคภัณฑ์จึงมีประโยชน์สำหรับนักลงทุน เพราะเมื่อมีข่าวร้าย (เช่น เกิดสงครามในตะวันออกกลาง) ราคาหุ้นมักจะตก แต่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มักจะปรับตัวขึ้น
สินค้าโภคภัณฑ์ มีอะไรบ้าง
สินค้าโภคภัณฑ์โดยทั่วไปแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. สินค้าด้านพลังงาน (Energy) ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันเตา ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น 2. โลหะอุตสาหกรรม (Industrial Metals) ได้แก่ อลูมิเนียม ทองแดง ตะกั่ว เป็นต้น 3. โลหะมีค่า (Precious Metals) ได้แก่ ทองคำ และ เงิน 4. สินค้าเกษตร (Agricultural) ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง กาแฟ น้ำตาล เป็นต้น 2. สินค้าปศุสัตว์ (Livestock) ได้แก่ Feeder Cattle, Live Cattle, Lean Hogs เป็นต้น
การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์
การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ทำได้ 3 วิธี ดังนี้
1. ลงทุนโดยตรง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการลงทุนในทองคำแท่งโดยซื้อจากร้านทองแถวเยาวราช อย่างไรก็ดี การลงทุนโดยตรงในสินค้าอื่นนอกจากทองคำ (เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถั่วเหลือง) ทำได้ยาก และแม้แต่ การลงทุนตรงในทองคำแท่งก็มีความเสี่ยงเรื่องการสูญหาย และมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา
2. ลงทุนในสัญญาซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า (Commodities Futures) แม้ว่าตลาดซื้อขายล่วงหน้าสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์จะเป็นตลาดเก่าแก่ โดยเกิดขึ้นแห่งแรกในโลกที่เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ในศตวรรษที่ 14 ก่อนตลาดหุ้นแห่งแรกของโลก (คือตลาดหุ้นนิวยอร์ค) นานถึง 400 ปี แต่การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดเป็นเรื่องใหม่สำหรับนักลงทุน รวมทั้งมีลักษณะการซื้อขายที่ค่อนข้างซับซ้อน ในปัจจุบัน ตลาดซื้อขายล่วงหน้าสำคัญของโลกอยู่ที่เมืองชิคาโก (Chicago Board of Trade) ส่วนในประเทศไทย เพิ่งจะเริ่มมีตลาดซื้อขายล่วงหน้าเกิดใหม่ 2 แห่ง ได้แก่
-ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ในขณะนี้มีสัญญาที่ซื้อขายกัน 4 รายการ คือ ข้าวหอมมะลิ 100% ข้าวขาว 5% ยางแผ่นรมควันชั้น 3 และมันสำปะหลังเส้น
-Thailand Futures Exchange (TFEX) ในขณะนี้มีสัญญาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ซื้อขายกัน 1 รายการ คือ ทองคำ โดยเป็นสัญญาที่ซื้อขายทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 96.5% หนึ่งสัญญามีขนาดเท่ากับ ทองคำน้ำหนัก 50 บาท หรือ 762.2 กรัม (สัญญาอีก 3 รายการเป็นสัญญาทางการเงิน คือ SET50 Index Futures, SET50 Index Options และ Stock Futures)
3. ลงทุนทางอ้อม เช่น ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Commodity ETF (ย่อมาจาก Exchange-traded Fund) ซึ่งเป็นกองทุนที่รวบรวมเงินนักลงทุนไปลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์อีกทอดหนึ่ง หรือเป็นกองทุนที่มูลค่าเปลี่ยนแปลงตามดัชนีอ้างอิงสินค้าโภคภัณฑ์ โดยดัชนีอ้างอิงสินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมคือ S&P Goldman Sachs Commodity Index (S&P GSCI) ซึ่งเป็นดัชนีอ้างอิงสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์รวม 24 ชนิด ถ่วงน้ำหนักด้วยปริมาณการผลิตของตลาดโลก (weighted by world production) ในช่วง 5 ปีย้อนหลัง โดยกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีน้ำหนักมากที่สุดคือ กลุ่มพลังงาน ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตา ฯลฯ มีน้ำหนักรวม 73.61% รองลงมาคือ กลุ่มสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง ฯลฯ มีน้ำหนักรวม 13.20% การถ่วงน้ำหนักด้วยปริมาณการผลิตของตลาดโลกนี่เองทำให้ GSCI ไม่ได้เป็นเพียงดัชนีสำหรับการลงทุนเท่านั้น แต่ยังถูกใช้เป็นดัชนีทางเศรษฐกิจอีกด้วย ทั้งนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (Mar 2003 – Mar 2008) การลงทุนตามดัชนี GSCI ให้ผลตอบแทนรวม 100% คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ย 14.8% ต่อปี
สินค้าโภคภัณฑ์กับกองทุนประกันสังคม
ถึงแม้ว่าในขณะนี้เงินลงทุนของกองทุนประกันสังคมจะยังไม่มีการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ แต่คณะกรรมการประกันสังคมได้แต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการศึกษาการลงทุนทางเลือก” เพื่อศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในการลงทุนทางเลือก
ในภาพรวม การลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์มีประโยชน์สำหรับกองทุนประกันสังคมในการช่วยกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน เพราะราคาสินค้าโภคภัณฑ์มักจะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกับราคาพันธบัตรและราคาหุ้น ในยามที่ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นตกต่ำ กองทุนควรจะได้รับผลตอบแทนเป็นบวกจากการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์มาชดเชย นอกจากนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในระยะยาวมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ ช่วยรักษาค่าของเงินที่แท้จริงให้กับกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ ซึ่งมีภาระการจ่ายบำนาญจำนวนมากให้กับผู้ประกันตนที่จะเกษียณในอนาคต
อย่างไรก็ดี การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์มีความซับซ้อน ความเคลื่อนไหวของราคามีความผันผวนสูงเมื่อเทียบกับราคาพันธบัตรและราคาหุ้น หากคณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบให้ลงทุนในหลักทรัพย์กลุ่มนี้ สำนักงานประกันสังคมจะต้องเตรียมบุคลากรและระบบให้มีความพร้อมรองรับการลงทุน