ตลาด Commodity สำหรับอาทิตย์แรกของเดือน พฤษภาคม ก็น่าจะยังไม่มีข่าวคราวใหม่ๆ เพิ่มเติมไปจากช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดย ข่าวสารข้อมูลที่สำคัญสำหรับเวลานี้ก็ยังคงเป็นสถิติตัวเลขเศรษฐกิจไทยประจำเดือน มีนาคม ซึ่ง เพิ่งถูกประกาศออกมาเมื่ออาทิตย์ก่อนหน้านี้ และ ข่าวคราวผลกระทบของไข้หวัดหมูซึ่ง กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ ทั้งนี้ สภาพโดยรวมของตลาด Commodity ทั่วโลกก็ยังคงดูดีอยู่ และ ดูเหมือนว่าการระบาดของไข้หวัดหมูจะมีผลกระทบค่อนข้างจำกัดต่อตลาดการเงิน โดยเฉพาะกับตลาด Commodity เพราะนอกจากราคา Futures เนื้อหมูในตลาด CME ในนคร Chicago ซึ่ง ปรับราคาลดลงมาราว 9% ในช่วงอาทิตย์ก่อน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ก็ไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสดังกล่าวแม้แต่อย่างใด
ในตลาดโลหะมีค่า ราคาทองคำก็ยังคงมีการปรับตัวค่อนข้างคงที่โดยเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ในกรอบแคบๆ อยู่ราว ๆ 900 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ และไม่ได้ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงตามที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดไว้ เมื่อสองอาทิตย์ก่อน หลังประเทศจีนประกาศตัวเป็นผู้ถือสต๊อกทองคำแท่งที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลกอย่างฉับพลัน จากการเข้าซื้อสะสมอย่างลับๆมาตั้งแต่ปี 2546 ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งของแรงต้านภายในตลาดทองคำนี้ น่าจะมาจากการขายทองคำอย่างต่อเนื่องของ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ อย่าง JP Morgan หรือ Deutsche Bank และ แรงซื้อจากนักลงทุนรายย่อยที่ไหลเข้ากองทุนทองคำขนาดใหญ่มาตั้งแต่ต้นปีนั้นเริ่มที่จะหายไปจากตลาด
สำหรับ ตลาด Commodity อื่นๆ อย่างตลาดโลหะ หรือ สินค้าเกษตร นั้น มุมมองของนักลงทุนและผู้ประกอบการเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นยังคงเป็นตัวแปรที่ทำให้ราคาสินค้าแทบทุกชนิดมีแนวโน้มระยะสั้นเป็นขาขึ้นเช่นกัน
ข้อมูลเศรษฐกิจภายในประเทศ สำหรับเดือนมีนาคม นั้น นับว่ายังไม่ถึงกับเป็นตัวเลขที่น่าพอใจนัก เพราะปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจไทยอย่างตัวเลขการส่งออกนั้น ยังคงปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนราว 13% หรือ คิดเป็นการปรับตัวลดลงจากปีก่อนถึง 23% เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ข้อมูลรายจ่ายเพื่อการบริโภค และตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ก็ยังมีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งคู่มีการปรับตัวขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ราว 2.6% และ 1% ตามลำดับ นับว่าเป็นการขยายตัวต่อเดือน เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันเป็นครั้งแรก ตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทั้งนี้ หากตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมจะมีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ตัวเลขการส่งออกจะต้องกลับลำมาเป็นการขยายตัวอีกครั้งเช่นกัน
ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนเมษายน ซึ่ง จะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในประเทศนั้น จัดว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างคงที่ โดยปรับมีตัวลดลงเล็กน้อย แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะมีการปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม ดังนั้น สัญญาณที่จะบ่งบอกถึงตลาดกระทิงของราคาสินค้า Commodity โดยรวมนั้นยังคงไม่ชัดเจนนัก
สำหรับตลาดยางพาราในบ้านเรานั้น สัญญาณที่จะบ่งบอกถึงแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้นก็ยังคงมาจาก ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และอัตราค่าเงินเยน เป็นส่วนใหญ่ โดย รายงานตัวเลขยอดขายรถยนต์ในเดือน มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมีการปรับตัวลดลงราว 7% นั้นมีผลค่อนข้างจำกัดต่อราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าที่ปรับตัวขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 60 บาทต่อ กก. อีกครั้ง
การปรับตัวในทางบวกอย่างต่อเนื่องของตลาดการเงิน และราคาน้ำมันน่าจะเป็น เชื้อเพลิงอย่างดีที่จะกระตุ้นให้ตลาด Commodity ปรับตัวขึ้นต่อไป และถึงแม้ว่าเหล่านักวิเคราะห์จะพูดถึงการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจกันมากขึ้น แต่นักลงทุนทั่วไปก็ยังคงจับตามองข่าวร้ายที่จะมาเป็นสัญญาณสำหรับการทำกำไรครั้งใหญ่อย่างใกล้ชิดเช่นกัน ดังนั้น ถึงแม่ว่าแนวโน้มของราคาจะดูดีในช่วงนี้ แต่ระดับความเสี่ยงของราคา และความไม่แน่นอนของระบบเศรษฐกิจก็น่าจะยังอยู่ในระดับสูงเช่นเดิมในเดือนพฤษภาคมนี้ครับ
ในตลาดโลหะมีค่า ราคาทองคำก็ยังคงมีการปรับตัวค่อนข้างคงที่โดยเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ในกรอบแคบๆ อยู่ราว ๆ 900 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ และไม่ได้ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงตามที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดไว้ เมื่อสองอาทิตย์ก่อน หลังประเทศจีนประกาศตัวเป็นผู้ถือสต๊อกทองคำแท่งที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลกอย่างฉับพลัน จากการเข้าซื้อสะสมอย่างลับๆมาตั้งแต่ปี 2546 ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งของแรงต้านภายในตลาดทองคำนี้ น่าจะมาจากการขายทองคำอย่างต่อเนื่องของ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ อย่าง JP Morgan หรือ Deutsche Bank และ แรงซื้อจากนักลงทุนรายย่อยที่ไหลเข้ากองทุนทองคำขนาดใหญ่มาตั้งแต่ต้นปีนั้นเริ่มที่จะหายไปจากตลาด
สำหรับ ตลาด Commodity อื่นๆ อย่างตลาดโลหะ หรือ สินค้าเกษตร นั้น มุมมองของนักลงทุนและผู้ประกอบการเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นยังคงเป็นตัวแปรที่ทำให้ราคาสินค้าแทบทุกชนิดมีแนวโน้มระยะสั้นเป็นขาขึ้นเช่นกัน
ข้อมูลเศรษฐกิจภายในประเทศ สำหรับเดือนมีนาคม นั้น นับว่ายังไม่ถึงกับเป็นตัวเลขที่น่าพอใจนัก เพราะปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจไทยอย่างตัวเลขการส่งออกนั้น ยังคงปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนราว 13% หรือ คิดเป็นการปรับตัวลดลงจากปีก่อนถึง 23% เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ข้อมูลรายจ่ายเพื่อการบริโภค และตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ก็ยังมีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งคู่มีการปรับตัวขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ราว 2.6% และ 1% ตามลำดับ นับว่าเป็นการขยายตัวต่อเดือน เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันเป็นครั้งแรก ตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทั้งนี้ หากตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมจะมีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ตัวเลขการส่งออกจะต้องกลับลำมาเป็นการขยายตัวอีกครั้งเช่นกัน
ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนเมษายน ซึ่ง จะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในประเทศนั้น จัดว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างคงที่ โดยปรับมีตัวลดลงเล็กน้อย แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะมีการปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม ดังนั้น สัญญาณที่จะบ่งบอกถึงตลาดกระทิงของราคาสินค้า Commodity โดยรวมนั้นยังคงไม่ชัดเจนนัก
สำหรับตลาดยางพาราในบ้านเรานั้น สัญญาณที่จะบ่งบอกถึงแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้นก็ยังคงมาจาก ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และอัตราค่าเงินเยน เป็นส่วนใหญ่ โดย รายงานตัวเลขยอดขายรถยนต์ในเดือน มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมีการปรับตัวลดลงราว 7% นั้นมีผลค่อนข้างจำกัดต่อราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าที่ปรับตัวขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 60 บาทต่อ กก. อีกครั้ง
การปรับตัวในทางบวกอย่างต่อเนื่องของตลาดการเงิน และราคาน้ำมันน่าจะเป็น เชื้อเพลิงอย่างดีที่จะกระตุ้นให้ตลาด Commodity ปรับตัวขึ้นต่อไป และถึงแม้ว่าเหล่านักวิเคราะห์จะพูดถึงการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจกันมากขึ้น แต่นักลงทุนทั่วไปก็ยังคงจับตามองข่าวร้ายที่จะมาเป็นสัญญาณสำหรับการทำกำไรครั้งใหญ่อย่างใกล้ชิดเช่นกัน ดังนั้น ถึงแม่ว่าแนวโน้มของราคาจะดูดีในช่วงนี้ แต่ระดับความเสี่ยงของราคา และความไม่แน่นอนของระบบเศรษฐกิจก็น่าจะยังอยู่ในระดับสูงเช่นเดิมในเดือนพฤษภาคมนี้ครับ