คอลัมน์ จับชีพจรการลงทุน
อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล
CFA, ผอ.สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด
ความรุนแรงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลก (Global Recession) ที่เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2551 ได้ส่งผลกระทบต่อไทยโดยสมบูรณ์แล้วตั้งแต่ต้นปี สิ่งที่น่ากังวลของวิกฤติครั้งนี้ได้แก่ความไม่แน่นอนที่ไม่อาจคาดเดาได้ของผลกระทบอื่นๆที่อาจมองไม่เห็น เนื่องมาจากความสัมพันธ์กันอย่างมากและซับซ้อนของระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลก สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญจึงได้แก่การมองไปข้างหน้าถึงหนทางที่เราจะฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยเราให้ก้าวผ่านช่วงวิกฤตินี้ไปได้อย่างไร-ภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะรวดเร็วแค่ไหน และจะเกิดขึ้นเมื่อไร ถ้าหากจะจัดว่าประเทศไทยมีโอกาสที่จะฟื้นตัวในรูปแบบใดแล้ว ผมมีความเห็นดังนี้
การฟื้นตัวแบบ V-Shape และ U-Shape
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่รุนแรงมักจะมีการฟื้นตัวอย่างรุนแรงเช่นกัน มีตัวอย่างในอดีตที่บ่งบอกถึงลักษณะดังกล่าวเช่น ในประเทศสหรัฐฯ GDP เติบโตในอัตรามากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปีติดต่อกันถึง 4 ไตรมาส หลังจากเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในปี พ.ศ. 2516-2518 หรือในปี พ.ศ. 2523-2525
สาเหตุของการดีดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบรวดเร็วเนื่องมาจากในภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้นผู้บริโภคและนักลงทุนมักจะมีความหวังลึกๆของการฟื้นตัวอยู่เสมอเนื่องมาจากธรรมชาติของเศรษฐกิจและตลาดการลงทุนมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงเป็นวงจร การเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจทั้งด้านการใช้จ่ายภาครัฐและการลดภาษีมักจะเริ่มส่งผลในเวลาไม่นาน รวมทั้งเมื่อถึงจุดที่สินค้าคงคลังอยู่ในจุดที่ต่ำมากเนื่องจากภาคการผลิตหยุดการลงทุนและลดกำลังการผลิต อุปสงค์เพียงเล็กน้อยก็สามารถกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งได้
โอกาสของการเกิดการฟื้นตัวแบบ V-Shape: 10 เปอร์เซ็นต์
จริงๆน่าจะเป็นศูนย์แล้วถ้าดูจากซากปรักหักพังที่ถูกทิ้งไว้จากจลาจลช่วงเทศกาลสงกรานต์ สิ่งที่แย่มากกว่าการขาดรายได้จากการท่องเที่ยวจนทำให้ต้องตัดรายจ่ายและการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ได้แก่ ความเชื่อมั่นภายในประเทศในเรื่องการบริโภคที่แม้ว่าการออมจะให้ผลตอบแทนต่ำแต่คาดว่าคนก็ยังเลือกจะเก็บเงินมากกว่าใช้จ่ายและลงทุน รวมถึงความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยสำหรับนักลงทุนต่างชาติด้วย คิดง่ายๆ ใครจะกล้าลงทุน หากวันดีคืนดีโรงงานที่ลงทุนไว้ถูกเผาทำลายได้โดยง่าย
โอกาสของการเกิดการฟื้นตัวแบบ U-Shape: 30 เปอร์เซ็นต์
สิ่งที่น่าจะหวังในแง่ดีได้คือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในแบบ U-Shape ซึ่งหมายถึงการที่เราอาจต้องอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยยาวนานขึ้นซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจติดลบยาวนานขึ้นก่อนที่จะฟื้นตัวอย่างช้าๆต่อไป
การไม่ฟื้นตัวเลยหรือแบบ L-Shape
ความหมายของภาวะเศรษฐกิจรูป L-Shape คือถึงแม้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะจบไปแล้ว แต่เศรษฐกิจหลังจากนั้นแทบจะไม่มีการเติบโตเลยหรือโตในอัตราที่น้อยมากเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างของ L-Shape ได้แก่ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2533 ซึ่งเกิดฟองสบู่แตกในตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพยที่ อัตราการเติบโตเศรษฐกิจหลังจากนั้นอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์มาตลอดเป็น 10 ปี เหตุการณ์ดังกล่าวถูกเรียกว่าเกิดภาวะ Lost Decade หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คือการที่เราทำงานมาตลอดระยะเวลาถึง 10 ปี แต่ได้เงินเดือนเท่าเดิมหรือเงินเดือนขึ้นน้อยมาก
แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยของไทยครั้งนี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากปัญหาสถาบันการเงินของไทยเองซึ่งโดยสถิติแล้วจะเกิดการฟื้นตัวค่อนข้างช้า แต่มีโอกาสอย่างมากที่เราจะโดนผลกระทบเหมือนประเทศตะวันตกเช่นกัน เนื่องจากการเติบโตของเราตลอดระยะเวลานับสิบปีที่ผ่านมาพึ่งพิงการใช้จ่ายของประเทศดังกล่าวเป็นหลัก
โอกาสของ L-Shape หรือ Lost Decade: 30 เปอร์เซ็นต์
ปัญหาการเมืองได้กลายเป็นปัญหาเรื้อรังอย่างชัดเจนที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญก้าวหน้าของไทย การฟื้นตัวจากปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงในครั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยความมั่นใจในภาวะการเมืองของประเทศเป็นอย่างมากทั้งต่อคนไทยด้วยกันเองและคนต่างชาติ สถานการณ์ปัจจุบันที่แทบจะมองไม่เห็นความหวังของการเกิดการเมืองที่มีความมั่นคงและช่วยส่งเสริมส่วนอื่นๆของไทยน่าจะเป็นปัญหาซ้ำซากต่อการเติบโตของเราในอีกหลายปีข้างหน้า
เศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงมากขึ้น (Depression)
นิยามโดยทั่วไปของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำคือภาวะการลดลงอย่างรุนแรงของผลผลิตโดยรวมต่อคนมากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป แม้ว่า ณ ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังไม่ถึงกับเรียกว่าเศรษฐกิจตกต่ำ อาจจะเป็นเพียงภาวะถดถอยค่อนข้างรุนแรง (จากคาดการณ์ว่าถดถอยเพียงเล็กน้อยก่อนเกิดวิกฤติการเมืองช่วงสงกรานต์) แต่โอกาสที่ไทยจะเดินไปสู่จุดดังกล่าวก็ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ ถ้า
- ภาวะความตึงเครียดทางการเมืองยังไม่สามารถหาทางออกได้ ความกังวลต่อการบริโภคและการลงทุนจะยังคงเป็นอุปสรรคต่อความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่อไป
- ภาวะที่แย่ลงของภาคธนาคาร ถึงแม้ว่าธนาคารโดยรวมของไทยโชคดีที่ไม่ได้ประสบปัญหาการขาดทุนอย่างหนักเหมือนทางสหรัฐฯและยุโรป แต่ถ้าภาวะการลงทุนของภาคเอกชนไม่มีแนวโน้มดีขึ้นหรือการชำระหนี้ของผู้บริโภคแย่ลงไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต การผ่อนสินเชื่อบ้านและสินเชื่อของธุรกิจขนาดย่อม ก็น่าจะส่งผลลบต่อภาคธนาคารโดยรวมซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และผลก็คืออาจจะซ้ำเติมไทยเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากเรื่องรายได้ที่ลดลงให้ย่ำแย่ลงไปอีก
- บทบาทของรัฐบาลและธนาคารกลางในการรักษาสมดุลของปัจจัยต่างๆในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แน่นอนในทางทฤษฎีสิ่งที่ต้องทำคือการทำให้ระบบการเงินมีสภาพคล่องที่เพียงพอและมีราคาถูก (Easy Money) และการก่อหนี้เพิ่มขึ้นของรัฐบาลเพื่อการใช้จ่ายและลงทุนให้มากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติ มันมี Dynamics ที่รัฐต้องดูแลให้ใกล้ชิดกับการใช้นโยบายดังกล่าวให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดรวมถึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบอื่นที่ไม่คาดคิด อาทิเช่น การใช้นโยบายผ่อนคลายทางด้านดอกเบี้ยมีการลดดอกเบี้ยที่เพียงพอและทันการณ์หรือไม่ (เช่น ดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25 เปอร์เซ็นต์นั้นยังสามารถลดได้อีกไหม ถ้าตั้งใจจะลดดอกเบี้ยอยู่แล้ว หลังเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองตอนสงกรานต์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าส่งผลกระทบที่รุนแรงอย่างมากต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ทำไมถึงไม่ลดดอกเบี้ยทันที จำเป็นต้องรอการประชุมรอบหน้าด้วยหรือ) หรือมีการพิจารณาการใช้จ่ายภาครัฐว่าคุ้มค่าและให้ผลที่เกิดประโยชน์สูงสุดหรือไม่ (มีการรั่วไหลให้นักการเมืองหรือไม่)
โอกาสของการเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำมากขึ้น Depression: 30 เปอร์เซ็นต์
จากที่มีโอกาสค่อนข้างน้อยมากเมื่อต้นปี กลับกลายเป็นมีโอกาสเกิดมากที่สุดเพราะพวกนักการเมืองไทยที่แสนจะเฮงซวยและเส็งเคร็งแท้ๆเลยครับ
ท่านผู้อ่านล่ะครับ คิดว่าอย่างไร?
อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล
CFA, ผอ.สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด
ความรุนแรงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลก (Global Recession) ที่เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2551 ได้ส่งผลกระทบต่อไทยโดยสมบูรณ์แล้วตั้งแต่ต้นปี สิ่งที่น่ากังวลของวิกฤติครั้งนี้ได้แก่ความไม่แน่นอนที่ไม่อาจคาดเดาได้ของผลกระทบอื่นๆที่อาจมองไม่เห็น เนื่องมาจากความสัมพันธ์กันอย่างมากและซับซ้อนของระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลก สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญจึงได้แก่การมองไปข้างหน้าถึงหนทางที่เราจะฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยเราให้ก้าวผ่านช่วงวิกฤตินี้ไปได้อย่างไร-ภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะรวดเร็วแค่ไหน และจะเกิดขึ้นเมื่อไร ถ้าหากจะจัดว่าประเทศไทยมีโอกาสที่จะฟื้นตัวในรูปแบบใดแล้ว ผมมีความเห็นดังนี้
การฟื้นตัวแบบ V-Shape และ U-Shape
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่รุนแรงมักจะมีการฟื้นตัวอย่างรุนแรงเช่นกัน มีตัวอย่างในอดีตที่บ่งบอกถึงลักษณะดังกล่าวเช่น ในประเทศสหรัฐฯ GDP เติบโตในอัตรามากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปีติดต่อกันถึง 4 ไตรมาส หลังจากเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในปี พ.ศ. 2516-2518 หรือในปี พ.ศ. 2523-2525
สาเหตุของการดีดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบรวดเร็วเนื่องมาจากในภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้นผู้บริโภคและนักลงทุนมักจะมีความหวังลึกๆของการฟื้นตัวอยู่เสมอเนื่องมาจากธรรมชาติของเศรษฐกิจและตลาดการลงทุนมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงเป็นวงจร การเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจทั้งด้านการใช้จ่ายภาครัฐและการลดภาษีมักจะเริ่มส่งผลในเวลาไม่นาน รวมทั้งเมื่อถึงจุดที่สินค้าคงคลังอยู่ในจุดที่ต่ำมากเนื่องจากภาคการผลิตหยุดการลงทุนและลดกำลังการผลิต อุปสงค์เพียงเล็กน้อยก็สามารถกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งได้
โอกาสของการเกิดการฟื้นตัวแบบ V-Shape: 10 เปอร์เซ็นต์
จริงๆน่าจะเป็นศูนย์แล้วถ้าดูจากซากปรักหักพังที่ถูกทิ้งไว้จากจลาจลช่วงเทศกาลสงกรานต์ สิ่งที่แย่มากกว่าการขาดรายได้จากการท่องเที่ยวจนทำให้ต้องตัดรายจ่ายและการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ได้แก่ ความเชื่อมั่นภายในประเทศในเรื่องการบริโภคที่แม้ว่าการออมจะให้ผลตอบแทนต่ำแต่คาดว่าคนก็ยังเลือกจะเก็บเงินมากกว่าใช้จ่ายและลงทุน รวมถึงความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยสำหรับนักลงทุนต่างชาติด้วย คิดง่ายๆ ใครจะกล้าลงทุน หากวันดีคืนดีโรงงานที่ลงทุนไว้ถูกเผาทำลายได้โดยง่าย
โอกาสของการเกิดการฟื้นตัวแบบ U-Shape: 30 เปอร์เซ็นต์
สิ่งที่น่าจะหวังในแง่ดีได้คือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในแบบ U-Shape ซึ่งหมายถึงการที่เราอาจต้องอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยยาวนานขึ้นซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจติดลบยาวนานขึ้นก่อนที่จะฟื้นตัวอย่างช้าๆต่อไป
การไม่ฟื้นตัวเลยหรือแบบ L-Shape
ความหมายของภาวะเศรษฐกิจรูป L-Shape คือถึงแม้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะจบไปแล้ว แต่เศรษฐกิจหลังจากนั้นแทบจะไม่มีการเติบโตเลยหรือโตในอัตราที่น้อยมากเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างของ L-Shape ได้แก่ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2533 ซึ่งเกิดฟองสบู่แตกในตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพยที่ อัตราการเติบโตเศรษฐกิจหลังจากนั้นอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์มาตลอดเป็น 10 ปี เหตุการณ์ดังกล่าวถูกเรียกว่าเกิดภาวะ Lost Decade หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คือการที่เราทำงานมาตลอดระยะเวลาถึง 10 ปี แต่ได้เงินเดือนเท่าเดิมหรือเงินเดือนขึ้นน้อยมาก
แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยของไทยครั้งนี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากปัญหาสถาบันการเงินของไทยเองซึ่งโดยสถิติแล้วจะเกิดการฟื้นตัวค่อนข้างช้า แต่มีโอกาสอย่างมากที่เราจะโดนผลกระทบเหมือนประเทศตะวันตกเช่นกัน เนื่องจากการเติบโตของเราตลอดระยะเวลานับสิบปีที่ผ่านมาพึ่งพิงการใช้จ่ายของประเทศดังกล่าวเป็นหลัก
โอกาสของ L-Shape หรือ Lost Decade: 30 เปอร์เซ็นต์
ปัญหาการเมืองได้กลายเป็นปัญหาเรื้อรังอย่างชัดเจนที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญก้าวหน้าของไทย การฟื้นตัวจากปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงในครั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยความมั่นใจในภาวะการเมืองของประเทศเป็นอย่างมากทั้งต่อคนไทยด้วยกันเองและคนต่างชาติ สถานการณ์ปัจจุบันที่แทบจะมองไม่เห็นความหวังของการเกิดการเมืองที่มีความมั่นคงและช่วยส่งเสริมส่วนอื่นๆของไทยน่าจะเป็นปัญหาซ้ำซากต่อการเติบโตของเราในอีกหลายปีข้างหน้า
เศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงมากขึ้น (Depression)
นิยามโดยทั่วไปของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำคือภาวะการลดลงอย่างรุนแรงของผลผลิตโดยรวมต่อคนมากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป แม้ว่า ณ ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังไม่ถึงกับเรียกว่าเศรษฐกิจตกต่ำ อาจจะเป็นเพียงภาวะถดถอยค่อนข้างรุนแรง (จากคาดการณ์ว่าถดถอยเพียงเล็กน้อยก่อนเกิดวิกฤติการเมืองช่วงสงกรานต์) แต่โอกาสที่ไทยจะเดินไปสู่จุดดังกล่าวก็ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ ถ้า
- ภาวะความตึงเครียดทางการเมืองยังไม่สามารถหาทางออกได้ ความกังวลต่อการบริโภคและการลงทุนจะยังคงเป็นอุปสรรคต่อความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่อไป
- ภาวะที่แย่ลงของภาคธนาคาร ถึงแม้ว่าธนาคารโดยรวมของไทยโชคดีที่ไม่ได้ประสบปัญหาการขาดทุนอย่างหนักเหมือนทางสหรัฐฯและยุโรป แต่ถ้าภาวะการลงทุนของภาคเอกชนไม่มีแนวโน้มดีขึ้นหรือการชำระหนี้ของผู้บริโภคแย่ลงไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต การผ่อนสินเชื่อบ้านและสินเชื่อของธุรกิจขนาดย่อม ก็น่าจะส่งผลลบต่อภาคธนาคารโดยรวมซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และผลก็คืออาจจะซ้ำเติมไทยเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากเรื่องรายได้ที่ลดลงให้ย่ำแย่ลงไปอีก
- บทบาทของรัฐบาลและธนาคารกลางในการรักษาสมดุลของปัจจัยต่างๆในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แน่นอนในทางทฤษฎีสิ่งที่ต้องทำคือการทำให้ระบบการเงินมีสภาพคล่องที่เพียงพอและมีราคาถูก (Easy Money) และการก่อหนี้เพิ่มขึ้นของรัฐบาลเพื่อการใช้จ่ายและลงทุนให้มากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติ มันมี Dynamics ที่รัฐต้องดูแลให้ใกล้ชิดกับการใช้นโยบายดังกล่าวให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดรวมถึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบอื่นที่ไม่คาดคิด อาทิเช่น การใช้นโยบายผ่อนคลายทางด้านดอกเบี้ยมีการลดดอกเบี้ยที่เพียงพอและทันการณ์หรือไม่ (เช่น ดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25 เปอร์เซ็นต์นั้นยังสามารถลดได้อีกไหม ถ้าตั้งใจจะลดดอกเบี้ยอยู่แล้ว หลังเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองตอนสงกรานต์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าส่งผลกระทบที่รุนแรงอย่างมากต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ทำไมถึงไม่ลดดอกเบี้ยทันที จำเป็นต้องรอการประชุมรอบหน้าด้วยหรือ) หรือมีการพิจารณาการใช้จ่ายภาครัฐว่าคุ้มค่าและให้ผลที่เกิดประโยชน์สูงสุดหรือไม่ (มีการรั่วไหลให้นักการเมืองหรือไม่)
โอกาสของการเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำมากขึ้น Depression: 30 เปอร์เซ็นต์
จากที่มีโอกาสค่อนข้างน้อยมากเมื่อต้นปี กลับกลายเป็นมีโอกาสเกิดมากที่สุดเพราะพวกนักการเมืองไทยที่แสนจะเฮงซวยและเส็งเคร็งแท้ๆเลยครับ
ท่านผู้อ่านล่ะครับ คิดว่าอย่างไร?