คอลัมน์ ออมอุ่นใจกับกองทุนประกันสังคม
วิน พรหมแพทย์, CFA, win@sso.go.th
ตามที่ท่านผู้อ่านได้รับทราบข้อมูลไปแล้วว่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนรวม 567,906 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ จำนวน 448,403 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินออมของผู้ประกันตนจำนวนกว่า 9 ล้านคนทั่วประเทศที่สำนักงานประกันสังคมสะสมไว้เตรียมจ่ายสิทธิประโยชน์บำนาญชราภาพ โดยจะเริ่มมีการจ่ายบำนาญชราภาพในปี พ.ศ. 2557 เป็นเงินกองทุนที่ดูแลกรณีเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ คลอดบุตร 82,508 ล้านบาท และเป็นเงินกองทุนกรณีว่างงาน 36,995 ล้านบาท
เงินลงทุนจำนวน 567,906 ล้านบาทในปัจจุบัน แบ่งลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน เงินฝากธนาคาร และหุ้นกู้เอกชน 477,694 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 84 ของเงินลงทุน และลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ตราสารหนี้อื่นๆ หน่วยลงทุน และหุ้นสามัญ 90,212 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16 ของเงินลงทุน
สำหรับปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา กองทุนประกันสังคมมีรายรับจากการลงทุนจำนวน 24,475 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนซึ่งกองทุนมีรายรับจำนวน 21,109 ล้านบาท โดยได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับร้อยละ 0.36 ต่อปี โดยคิดราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีไว้เผื่อขายและเพื่อค้า (มาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 40) และร้อยละ 9.40 ต่อปี โดยคิดราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดทั้งหมด (มาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 42)
จากการรายงานข้อมูลข้างต้น ท่านอาจจะมีข้อสงสัยว่า การวัดผลตอบแทนจากการลงทุนทั้ง 3 รูปแบบนั้นคืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร ผมจึงขอเรียนให้ทราบว่า สำนักงานประกันสังคมมีการรายงานผลตอบแทนการลงทุนแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1. รายรับจากการลงทุน
เป็นการคำนวณรายรับที่เป็นกระแสเงินสดรับจริงจากการลงทุน โดยไม่นับกำไรทางบัญชี ส่วนใหญ่กองทุนมีรายรับจากการลงทุนจากดอกเบี้ยเงินฝากและพันธบัตร เงินปันผลจากหุ้น และกำไรจากการขายหลักทรัพย์
สำหรับปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา กองทุนประกันสังคมมีรายรับจากการลงทุนจำนวน 24,475 ล้านบาท (ประกอบด้วยดอกเบี้ยรับจากเงินฝาก พันธบัตรและหุ้นกู้ จำนวน 22,012 ล้านบาท เงินปันผลและกำไรจากการขายหลักทรัพย์จำนวน 2,463 ล้านบาท) สูงกว่าปีก่อนซึ่งกองทุนมีรายรับจำนวน 21,109 ล้านบาท
นับตั้งแต่การก่อตั้งสำนักงานประกันสังคมเมื่อปี พ.ศ. 2534 ถึงปัจจุบัน สำนักงานประกันสังคมได้ทำหน้าที่บริหารเงินกองทุนอย่างระมัดระวังรอบคอบ ทำให้มีรายรับจากการลงทุนเป็นประจำทุกปี
ดังนั้น การที่กองทุนประกันสังคมเติบโตอย่างรวดเร็วจากเงินลงทุนเพียง 1,890 ล้านบาทในปี 2534 เพิ่มเป็น 567,906 ล้านบาทในปัจจุบันนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเงินสมทบสะสม (หลังหักค่าใช้จ่ายสิทธิประโยชน์ทั้ง 7 กรณี) จากฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาลจำนวน 429,255 ล้านบาท และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนสะสมจำนวน 138,651 ล้านบาท ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ตลอดระยะเวลา 18 ปีที่สำนักงานประกันสังคมรับผิดชอบการบริหารกองทุน ได้สร้างผลกำไรสะสมจากการลงทุนมากกว่า 1.38 แสนล้านบาท ทำให้กองทุนมั่นคงมากขึ้น สามารถรองรับภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
2. ผลตอบแทนตามมาตรฐานบัญชี 40
เป็นการคำนวณผลตอบแทนอย่างเป็นทางการของสำนักงานประกันสังคมที่ต้องรายงานในฐานะหน่วยราชการ โดยวิธีนี้จะคิดราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีไว้เผื่อขาย (Available for Sale) และเพื่อค้า (Trading) ส่วนหลักทรัพย์ที่ถือจนครบกำหนด (Hold to Maturity) จะบันทึกบัญชีในราคาทุน
ทั้งนี้ การลงทุนของกองทุนประกันสังคมกว่าร้อยละ 80 เป็นการลงทุนในพันธบัตรระยะยาวและสำนักงานมีนโยบายถือลงทุนจนครบอายุ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพซึ่งเป็นกองทุนระยะยาว การบันทึกตามมาตรฐานบัญชี 40 จึงช่วยให้สำนักงานสามารถบันทึกเงินลงทุนในพันธบัตรในส่วนที่ถือจนครบอายุในราคาทุน โดยไม่ต้องกังวลถึงความผันผวนของราคาพันธบัตรที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ส่วนหุ้นสามัญนั้น มาตรฐานบัญชี 40 กำหนดให้บันทึกบัญชีตามราคาตลาด
ซึ่งหากคำนวณผลตอบแทนด้วยวิธีนี้ กองทุนประกันสังคมได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 0.36% สำหรับปี 2551 ที่ผ่านมา ลดลงจากปีก่อนซึ่งได้รับผลตอบแทน 6.93% เหตุที่กองทุนมีผลตอบแทนลดลงเกิดจากการบันทึกบัญชีหุ้นสามัญตามราคาตลาด ซึ่งหุ้นสามัญที่กองทุนลงทุนนั้นมีมูลค่าลดลง เป็นไปตามภาวะตลาด อย่างไรก็ดี กองทุนมีรายได้ดอกเบี้ยจากการลงทุนในพันธบัตรที่เป็นบวกมาชดเชย ทำให้ผลตอบแทนในภาพรวมไม่ติดลบ
3. ผลตอบแทนตามมาตรฐานบัญชี 42
เป็นการคำนวณผลตอบแทนโดยคิดราคาหลักทรัพย์ทั้งหมดตามราคาตลาด สำนักงานคำนวณผลตอบแทนด้วยวิธีนี้เป็นการภายในเพื่อใช้เปรียบเทียบตัวเลขกับกองทุนเอกชนอื่นๆ
ซึ่งหากคำนวณด้วยวิธีนี้ กองทุนประกันสังคมได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 9.40% สำหรับปี 2551 ที่ผ่านมา สูงกว่าปีก่อนซึ่งได้รับผลตอบแทน 8.71% เหตุที่กองทุนมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเกิดจากการบันทึกบัญชีพันธบัตรและตราสารหนี้ตามราคาตลาด ซึ่งในปี 2551 ที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยปรับลดลงมาก ทำให้ราคาพันธบัตรในตลาดปรับเพิ่มขึ้นสูงมาก ถึงแม้ว่าการลงทุนในส่วนของหุ้นสามัญจะมีมูลค่าลดลง แต่ด้วยสัดส่วนที่น้อย จึงไม่มีผลมากนัก ทำให้ผลตอบแทนในภาพรวมเป็นบวกมากถึง 9.40%
อย่างไรก็ดี การคำนวณด้วยวิธีนี้ ถึงแม้จะเป็นไปตามมาตรฐานสากล แต่ไม่ได้สะท้อนภาระที่แท้จริงของกองทุนประกันสังคม เพราะเงินลงทุนส่วนใหญ่เป็นเงินกองทุนกรณีชราภาพ ซึ่งจำเป็นต้องลงทุนในพันธบัตรระยะยาว การคำนวณด้วยวิธีนี้จะได้ตัวเลขที่สูงเมื่อราคาพันธบัตรปรับสูงขึ้น แต่ก็เป็นเพียงกำไรทางบัญชี สำนักงานจึงใช้วิธีการคำนวณตามราคาตลาดเฉพาะเป็นการภายในเท่านั้น
วิน พรหมแพทย์, CFA, win@sso.go.th
ตามที่ท่านผู้อ่านได้รับทราบข้อมูลไปแล้วว่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนรวม 567,906 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ จำนวน 448,403 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินออมของผู้ประกันตนจำนวนกว่า 9 ล้านคนทั่วประเทศที่สำนักงานประกันสังคมสะสมไว้เตรียมจ่ายสิทธิประโยชน์บำนาญชราภาพ โดยจะเริ่มมีการจ่ายบำนาญชราภาพในปี พ.ศ. 2557 เป็นเงินกองทุนที่ดูแลกรณีเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ คลอดบุตร 82,508 ล้านบาท และเป็นเงินกองทุนกรณีว่างงาน 36,995 ล้านบาท
เงินลงทุนจำนวน 567,906 ล้านบาทในปัจจุบัน แบ่งลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน เงินฝากธนาคาร และหุ้นกู้เอกชน 477,694 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 84 ของเงินลงทุน และลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ตราสารหนี้อื่นๆ หน่วยลงทุน และหุ้นสามัญ 90,212 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16 ของเงินลงทุน
สำหรับปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา กองทุนประกันสังคมมีรายรับจากการลงทุนจำนวน 24,475 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนซึ่งกองทุนมีรายรับจำนวน 21,109 ล้านบาท โดยได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับร้อยละ 0.36 ต่อปี โดยคิดราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีไว้เผื่อขายและเพื่อค้า (มาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 40) และร้อยละ 9.40 ต่อปี โดยคิดราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดทั้งหมด (มาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 42)
จากการรายงานข้อมูลข้างต้น ท่านอาจจะมีข้อสงสัยว่า การวัดผลตอบแทนจากการลงทุนทั้ง 3 รูปแบบนั้นคืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร ผมจึงขอเรียนให้ทราบว่า สำนักงานประกันสังคมมีการรายงานผลตอบแทนการลงทุนแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1. รายรับจากการลงทุน
เป็นการคำนวณรายรับที่เป็นกระแสเงินสดรับจริงจากการลงทุน โดยไม่นับกำไรทางบัญชี ส่วนใหญ่กองทุนมีรายรับจากการลงทุนจากดอกเบี้ยเงินฝากและพันธบัตร เงินปันผลจากหุ้น และกำไรจากการขายหลักทรัพย์
สำหรับปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา กองทุนประกันสังคมมีรายรับจากการลงทุนจำนวน 24,475 ล้านบาท (ประกอบด้วยดอกเบี้ยรับจากเงินฝาก พันธบัตรและหุ้นกู้ จำนวน 22,012 ล้านบาท เงินปันผลและกำไรจากการขายหลักทรัพย์จำนวน 2,463 ล้านบาท) สูงกว่าปีก่อนซึ่งกองทุนมีรายรับจำนวน 21,109 ล้านบาท
นับตั้งแต่การก่อตั้งสำนักงานประกันสังคมเมื่อปี พ.ศ. 2534 ถึงปัจจุบัน สำนักงานประกันสังคมได้ทำหน้าที่บริหารเงินกองทุนอย่างระมัดระวังรอบคอบ ทำให้มีรายรับจากการลงทุนเป็นประจำทุกปี
ดังนั้น การที่กองทุนประกันสังคมเติบโตอย่างรวดเร็วจากเงินลงทุนเพียง 1,890 ล้านบาทในปี 2534 เพิ่มเป็น 567,906 ล้านบาทในปัจจุบันนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเงินสมทบสะสม (หลังหักค่าใช้จ่ายสิทธิประโยชน์ทั้ง 7 กรณี) จากฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาลจำนวน 429,255 ล้านบาท และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนสะสมจำนวน 138,651 ล้านบาท ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ตลอดระยะเวลา 18 ปีที่สำนักงานประกันสังคมรับผิดชอบการบริหารกองทุน ได้สร้างผลกำไรสะสมจากการลงทุนมากกว่า 1.38 แสนล้านบาท ทำให้กองทุนมั่นคงมากขึ้น สามารถรองรับภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
2. ผลตอบแทนตามมาตรฐานบัญชี 40
เป็นการคำนวณผลตอบแทนอย่างเป็นทางการของสำนักงานประกันสังคมที่ต้องรายงานในฐานะหน่วยราชการ โดยวิธีนี้จะคิดราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีไว้เผื่อขาย (Available for Sale) และเพื่อค้า (Trading) ส่วนหลักทรัพย์ที่ถือจนครบกำหนด (Hold to Maturity) จะบันทึกบัญชีในราคาทุน
ทั้งนี้ การลงทุนของกองทุนประกันสังคมกว่าร้อยละ 80 เป็นการลงทุนในพันธบัตรระยะยาวและสำนักงานมีนโยบายถือลงทุนจนครบอายุ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพซึ่งเป็นกองทุนระยะยาว การบันทึกตามมาตรฐานบัญชี 40 จึงช่วยให้สำนักงานสามารถบันทึกเงินลงทุนในพันธบัตรในส่วนที่ถือจนครบอายุในราคาทุน โดยไม่ต้องกังวลถึงความผันผวนของราคาพันธบัตรที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ส่วนหุ้นสามัญนั้น มาตรฐานบัญชี 40 กำหนดให้บันทึกบัญชีตามราคาตลาด
ซึ่งหากคำนวณผลตอบแทนด้วยวิธีนี้ กองทุนประกันสังคมได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 0.36% สำหรับปี 2551 ที่ผ่านมา ลดลงจากปีก่อนซึ่งได้รับผลตอบแทน 6.93% เหตุที่กองทุนมีผลตอบแทนลดลงเกิดจากการบันทึกบัญชีหุ้นสามัญตามราคาตลาด ซึ่งหุ้นสามัญที่กองทุนลงทุนนั้นมีมูลค่าลดลง เป็นไปตามภาวะตลาด อย่างไรก็ดี กองทุนมีรายได้ดอกเบี้ยจากการลงทุนในพันธบัตรที่เป็นบวกมาชดเชย ทำให้ผลตอบแทนในภาพรวมไม่ติดลบ
3. ผลตอบแทนตามมาตรฐานบัญชี 42
เป็นการคำนวณผลตอบแทนโดยคิดราคาหลักทรัพย์ทั้งหมดตามราคาตลาด สำนักงานคำนวณผลตอบแทนด้วยวิธีนี้เป็นการภายในเพื่อใช้เปรียบเทียบตัวเลขกับกองทุนเอกชนอื่นๆ
ซึ่งหากคำนวณด้วยวิธีนี้ กองทุนประกันสังคมได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 9.40% สำหรับปี 2551 ที่ผ่านมา สูงกว่าปีก่อนซึ่งได้รับผลตอบแทน 8.71% เหตุที่กองทุนมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเกิดจากการบันทึกบัญชีพันธบัตรและตราสารหนี้ตามราคาตลาด ซึ่งในปี 2551 ที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยปรับลดลงมาก ทำให้ราคาพันธบัตรในตลาดปรับเพิ่มขึ้นสูงมาก ถึงแม้ว่าการลงทุนในส่วนของหุ้นสามัญจะมีมูลค่าลดลง แต่ด้วยสัดส่วนที่น้อย จึงไม่มีผลมากนัก ทำให้ผลตอบแทนในภาพรวมเป็นบวกมากถึง 9.40%
อย่างไรก็ดี การคำนวณด้วยวิธีนี้ ถึงแม้จะเป็นไปตามมาตรฐานสากล แต่ไม่ได้สะท้อนภาระที่แท้จริงของกองทุนประกันสังคม เพราะเงินลงทุนส่วนใหญ่เป็นเงินกองทุนกรณีชราภาพ ซึ่งจำเป็นต้องลงทุนในพันธบัตรระยะยาว การคำนวณด้วยวิธีนี้จะได้ตัวเลขที่สูงเมื่อราคาพันธบัตรปรับสูงขึ้น แต่ก็เป็นเพียงกำไรทางบัญชี สำนักงานจึงใช้วิธีการคำนวณตามราคาตลาดเฉพาะเป็นการภายในเท่านั้น