คอลัมน์ คุยกับผู้จัดการกองทุน
โดย บริษัทหลัทกรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด
ตลาดตราสารหนี้
สถานการณ์ในเดือนมีนาคม
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยแบบ Outright ต่อวันในเดือนมีนาคม 2552 ของตลาดตราสารหนี้พิ่มขึ้นเป็น 67.922 พันล้านบาทจาก 66.437 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นคิดเป็นร?อยละ1.69 และดัชนีหุ้นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยคิดเป็นอัตราผลตอบแทนร?อยละ 0.79 ณ สิ้นเดือนมีนาคม ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 3.35 และมีอายุเฉลี่ยเท?ากับ 5.37 ป? ในขณะที่ดัชนีหุ?นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 4.40 และอายุเฉลี่ยเท?ากับ 2.84 ป? อัตราผลตอบแทนปรับลดลงตลอดทั้งเส้น โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นตั้งแต่ อายุ 1 - 6 เดือน ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.27 ถึง 0.32 พันธบัตรระยะสั้นอายุ 1-3 ปีปรับตัวลดลงร้อยละ 0.13 ถึง 0.27 พันธบัตรระยะกลางอายุ 5-10 ป?ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 0.18 ถึง 0.28 และพันธบัตรระยะยาวตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12 ถึง 0.48
แนวโน้ม
สภาวะตลาดในเดือนเมษายน 2552 คาดว่าการลงทุนอาจมีการขยับไปลงทุนในตราสารระยะกลางและยาวมากขึ้น เนื่องจากอัตราผลตอบแทนของตราสารระยะสั้นอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ ตลาดยังคาดการณ์ว่า กนง. น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก ในการประชุมวันที่ 8 เมษายน 2552 นี้ ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกกันตลาดตราสารหนี้
กลยุทธ์ประจำเดือน
กลยุทธ์การลงทุนคือ ลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลางและยาว
ตลาดตราสารทุน
ตัวเลขเศรษฐกิจ
เงินเฟ้อพื้นฐานได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ 0.2% เทียบปีต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น 1.5% เทียบปีต่อปี กระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม พบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (headline inflation) ขยายตัวติดลบ 0.2% เทียบปีต่อปี แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ที่เพิ่มขึ้น 1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (core inflation) ทรงตัว 1.5% เทียบปีต่อปี โดยการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันเป็นสาเหตุหลักทำให้ราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นนับแต่เดือนกุมภาพันธ์
การนำเข้าหดตัวลงอย่างมาก
ดุลการค้าเดือน กุมภาพันธ์ เกินดุล 3,946 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการนำเข้าหดตัวลงมาก มูลค่าการส่งออกลดลง 11.1% เทียบปีต่อปี สู่จำนวน 11,582 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมการส่งออกทองมูลค่า 1,865 ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว มูลค่าการส่งออกจะหดตัวลงถึง 24.5% เทียบปีต่อปี มูลค่าการนำเข้าหดตัวลง 43.5% เทียบปีต่อปี เป็นจำนวน 7,635 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวต่อเนื่อง
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง 19.8% เทียบปีต่อปี ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (PCI) หดตัวลง 7.1% เทียบปีต่อปี ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ลดลง 12.9% เทียบปีต่อปี ตามเครื่องชี้ในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่หดตัวลงมาก ในขณะที่หมวดการก่อสร้างยังหดตัวต่อเนื่อง
อุปสงค์ในประเทศยังไม่ถึงจุดต่ำสุด
ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนหดตัวแรงสุดเป็นประวัติการณ์ แม้ยอดขายเชื้อเพลิงยังคงขยายตัว 1.7% แต่นับว่ายังคงต่ำกว่าระดับ 10% ในเดือนก่อน โดยอัตราการหดตัวของภาษีมูลค่าเพิ่มและการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคหดตัวมากสุด 21.5% และ 18% เทียบปีต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) กลับมาปรับตัวลดลงจากระดับ75.2% ในเดือนกุมภาพันธ์ ลงมาอยู่ที่ระดับ 74 จุด ซึ่งนับว่าต่ำสุดนับแต่เดือนมกราคม 2545 สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชนนั้น จะพบว่าหดตัวมากสุดสำหรับยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (-38% เทียบปีต่อปี ) และยอดขออนุมัติพื้นที่ก่อสร้าง (-33%)
สรุปภาวะตลาด
SET ปรับตัวลดลงช่วงต้นเดือนตามการปรับตัวลดลงของตลาดสหรัฐฯและยุโรป โดยมีสาเหตุมาจากความกังวลเกี่ยวกับแผนช่วยเหลือ Citigroup AIG และ HSBC แต่หลังจากนั้น SET ก็สามารถยืนอยู่ได้ เนื่องจากนาย Ben Bernake ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ และนายโอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกมาย้ำถึงความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้จิตวิทยาของนักลงทุนฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง หลังจากสหรัฐฯประกาศแผนซื้อหนี้ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม มีการขายทำกำไรเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนส่งผลทำให้ SET ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบเดือนต่อเดือนโดยอยู่ที่ระดับ 431.50 จุด
แนวโน้มตลาดเดือนเมษายน
ความเสี่ยงแนวโน้มขาลงมีมากในช่วงครึ่งแรกของเดือนเมษายน เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น แต่เราเชื่อว่าสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันน่าจะร้ายแรงกว่าที่ปรากฏให้เห็นตามสื่อต่างๆ อย่างไรก็ดี ถ้าความรุนแรงไม่ขยายต่อเนื่อง เราเชื่อว่า SET จะทรงตัวอยู่ได้เนื่องจากกลุ่มธนาคารน่าจะรายงานผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2552 ที่เป็นไปตามคาด และเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีวันหยุดยาวถึง 5 วัน
กลยุทธ์ประจำเดือนมีนาคม
ให้น้ำหนักการลงทุน มากกว่าตลาด ในหมวด ธนาคารขนาดใหญ่ สื่อสาร และพาณิชย์
ให้น้ำหนักการลงทุน น้อยกว่าตลาด ในหมวด พลังงาน ปิโตรเคมี อสังหาริมทรัพย์ และวัสดุก่อสร้าง
โดย บริษัทหลัทกรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด
ตลาดตราสารหนี้
สถานการณ์ในเดือนมีนาคม
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยแบบ Outright ต่อวันในเดือนมีนาคม 2552 ของตลาดตราสารหนี้พิ่มขึ้นเป็น 67.922 พันล้านบาทจาก 66.437 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นคิดเป็นร?อยละ1.69 และดัชนีหุ้นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยคิดเป็นอัตราผลตอบแทนร?อยละ 0.79 ณ สิ้นเดือนมีนาคม ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 3.35 และมีอายุเฉลี่ยเท?ากับ 5.37 ป? ในขณะที่ดัชนีหุ?นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 4.40 และอายุเฉลี่ยเท?ากับ 2.84 ป? อัตราผลตอบแทนปรับลดลงตลอดทั้งเส้น โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นตั้งแต่ อายุ 1 - 6 เดือน ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.27 ถึง 0.32 พันธบัตรระยะสั้นอายุ 1-3 ปีปรับตัวลดลงร้อยละ 0.13 ถึง 0.27 พันธบัตรระยะกลางอายุ 5-10 ป?ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 0.18 ถึง 0.28 และพันธบัตรระยะยาวตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12 ถึง 0.48
แนวโน้ม
สภาวะตลาดในเดือนเมษายน 2552 คาดว่าการลงทุนอาจมีการขยับไปลงทุนในตราสารระยะกลางและยาวมากขึ้น เนื่องจากอัตราผลตอบแทนของตราสารระยะสั้นอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ ตลาดยังคาดการณ์ว่า กนง. น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก ในการประชุมวันที่ 8 เมษายน 2552 นี้ ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกกันตลาดตราสารหนี้
กลยุทธ์ประจำเดือน
กลยุทธ์การลงทุนคือ ลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลางและยาว
ตลาดตราสารทุน
ตัวเลขเศรษฐกิจ
เงินเฟ้อพื้นฐานได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ 0.2% เทียบปีต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น 1.5% เทียบปีต่อปี กระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม พบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (headline inflation) ขยายตัวติดลบ 0.2% เทียบปีต่อปี แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ที่เพิ่มขึ้น 1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (core inflation) ทรงตัว 1.5% เทียบปีต่อปี โดยการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันเป็นสาเหตุหลักทำให้ราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นนับแต่เดือนกุมภาพันธ์
การนำเข้าหดตัวลงอย่างมาก
ดุลการค้าเดือน กุมภาพันธ์ เกินดุล 3,946 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการนำเข้าหดตัวลงมาก มูลค่าการส่งออกลดลง 11.1% เทียบปีต่อปี สู่จำนวน 11,582 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมการส่งออกทองมูลค่า 1,865 ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว มูลค่าการส่งออกจะหดตัวลงถึง 24.5% เทียบปีต่อปี มูลค่าการนำเข้าหดตัวลง 43.5% เทียบปีต่อปี เป็นจำนวน 7,635 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวต่อเนื่อง
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง 19.8% เทียบปีต่อปี ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (PCI) หดตัวลง 7.1% เทียบปีต่อปี ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ลดลง 12.9% เทียบปีต่อปี ตามเครื่องชี้ในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่หดตัวลงมาก ในขณะที่หมวดการก่อสร้างยังหดตัวต่อเนื่อง
อุปสงค์ในประเทศยังไม่ถึงจุดต่ำสุด
ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนหดตัวแรงสุดเป็นประวัติการณ์ แม้ยอดขายเชื้อเพลิงยังคงขยายตัว 1.7% แต่นับว่ายังคงต่ำกว่าระดับ 10% ในเดือนก่อน โดยอัตราการหดตัวของภาษีมูลค่าเพิ่มและการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคหดตัวมากสุด 21.5% และ 18% เทียบปีต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) กลับมาปรับตัวลดลงจากระดับ75.2% ในเดือนกุมภาพันธ์ ลงมาอยู่ที่ระดับ 74 จุด ซึ่งนับว่าต่ำสุดนับแต่เดือนมกราคม 2545 สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชนนั้น จะพบว่าหดตัวมากสุดสำหรับยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (-38% เทียบปีต่อปี ) และยอดขออนุมัติพื้นที่ก่อสร้าง (-33%)
สรุปภาวะตลาด
SET ปรับตัวลดลงช่วงต้นเดือนตามการปรับตัวลดลงของตลาดสหรัฐฯและยุโรป โดยมีสาเหตุมาจากความกังวลเกี่ยวกับแผนช่วยเหลือ Citigroup AIG และ HSBC แต่หลังจากนั้น SET ก็สามารถยืนอยู่ได้ เนื่องจากนาย Ben Bernake ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ และนายโอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกมาย้ำถึงความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้จิตวิทยาของนักลงทุนฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง หลังจากสหรัฐฯประกาศแผนซื้อหนี้ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม มีการขายทำกำไรเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนส่งผลทำให้ SET ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบเดือนต่อเดือนโดยอยู่ที่ระดับ 431.50 จุด
แนวโน้มตลาดเดือนเมษายน
ความเสี่ยงแนวโน้มขาลงมีมากในช่วงครึ่งแรกของเดือนเมษายน เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น แต่เราเชื่อว่าสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันน่าจะร้ายแรงกว่าที่ปรากฏให้เห็นตามสื่อต่างๆ อย่างไรก็ดี ถ้าความรุนแรงไม่ขยายต่อเนื่อง เราเชื่อว่า SET จะทรงตัวอยู่ได้เนื่องจากกลุ่มธนาคารน่าจะรายงานผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2552 ที่เป็นไปตามคาด และเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีวันหยุดยาวถึง 5 วัน
กลยุทธ์ประจำเดือนมีนาคม
ให้น้ำหนักการลงทุน มากกว่าตลาด ในหมวด ธนาคารขนาดใหญ่ สื่อสาร และพาณิชย์
ให้น้ำหนักการลงทุน น้อยกว่าตลาด ในหมวด พลังงาน ปิโตรเคมี อสังหาริมทรัพย์ และวัสดุก่อสร้าง