ไม่ว่าเราจะมีคู่ชีวิต มีเพื่อนที่รู้ใจ มีลูก หรือมีสัตว์เลี้ยงแสนรัก ล้วนแต่จะเพิ่มความสุข และความเพลิดเพลินใจให้กับเรา แต่ไม่ควรลืมว่า ความสุขที่ได้มาเหล่านั้นก็จำเป็นต้องใช้เงินทั้งสิ้น ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเลี้ยงดูลูกให้เติบโตมาเป็นคนดีของสังคม
การใช้เงินกับลูกคงจะทราบกันดีว่าเป็นการใช้เงินจำนวนมหาศาลและในระยะเวลายาวนาน และที่สำคัญในฐานะผู้ปกครองย่อมหมายถึงความรับผิดชอบที่จะต้องดูแล นั่นหมายถึงไม่ใช่แต่ให้เงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการสอนให้ลูกได้รู้จักการจัดการเงินได้อีกด้วย เพื่อให้ลูกเติบโตเป็นคนที่มีความรับผิดชอบในการใช้จ่ายและไม่เป็นคนมีหนี้สิ้นล้นพ้นตัวในช่วงปิดเทอมนี้ นับเป็นเวลาที่ดีที่จะแนะนำหลักการง่าย ๆ สำหรับลูกได้ดังนี้
เมื่อได้รับเงินจำนวนหนึ่ง ให้แบ่งเงินออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง เอาไว้ซื้อของที่ไว้กินไว้ใช้ประจำวัน ส่วนที่สองเรียกว่าเป็นเงินออม ”ระยะสั้น” หมายถึง เงินที่เหลือให้ออมใส่กระปุกไว้ และส่วนที่สามคือเงินออม “ระยะยาว” ให้ไปเริ่มต้นออมโดยไปฝากธนาคารไว้โดยควรแนะนำว่า เมื่อเรามีเงินจำนวนหนึ่ง หมายถึง เรามีเงินพอที่ซื้อสิ่งของหรือบริการแต่ไม่ได้บอกว่าเราจำเป็นต้องซื้อสินค้าหรือบริการนั้นเสมอไปทุกครั้ง ดังนั้น ควรให้ลูกเข้าใจก่อนว่า ต้องแยกแยะให้ออกว่า อะไรเป็นสิ่งที่จำเป็น และอะไรเป็นสิ่งที่ต้องการ ซึ่งเราควรจะใช้จ่ายไปกับสิ่งที่เราจำเป็นจริงๆ เท่านั้น
สำหรับเงินส่วนที่สองเด็กๆ จะได้รู้ว่า ถ้าออมเงินไว้ในกระปุก และถ้าเราอยากได้ของ เช่นหนังสือดีๆ สักเล่ม ก็จะได้ไม่ต้องขอเงินพ่อ-แม่ สามารถซื้อได้ด้วยตนเอง เด็กก็จะภาคภูมิใจและจะรักษาของที่หาได้มาด้วยตนเอง สำหรับเงินส่วนที่สามหรือเงินออมระยะยาว ก็เพื่อให้ได้เริ่มเก็บออมให้เงินออมเป็นเงินก้อน และเมื่อเติบโตขึ้นเมื่ออยากจะลงทุนในเครื่องมือการลงทุนใด ๆ ก็ตามก็จะสามารถลงทุนให้เงินงอกเงยได้และเร็วกว่าเด็กคนที่ไม่ได้เรียนรู้จากพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง
ลูกเป็นสิ่งที่ให้ความสุขอย่างยิ่ง แต่ก็จำเป็นที่จะต้องสอนให้รู้จักกับการบริหารเงินตนเองตั้งแต่เล็กๆ เมื่อเติบโตแล้วจะเป็นคนที่มีคุณภาพสูง คนที่จะภูมิใจสุขใจก็ไม่ใช่ใครอื่น คนที่ให้เงินและสอนเค้าใช้เงินอย่างฉลาดนั่นเอง
การใช้เงินกับลูกคงจะทราบกันดีว่าเป็นการใช้เงินจำนวนมหาศาลและในระยะเวลายาวนาน และที่สำคัญในฐานะผู้ปกครองย่อมหมายถึงความรับผิดชอบที่จะต้องดูแล นั่นหมายถึงไม่ใช่แต่ให้เงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการสอนให้ลูกได้รู้จักการจัดการเงินได้อีกด้วย เพื่อให้ลูกเติบโตเป็นคนที่มีความรับผิดชอบในการใช้จ่ายและไม่เป็นคนมีหนี้สิ้นล้นพ้นตัวในช่วงปิดเทอมนี้ นับเป็นเวลาที่ดีที่จะแนะนำหลักการง่าย ๆ สำหรับลูกได้ดังนี้
เมื่อได้รับเงินจำนวนหนึ่ง ให้แบ่งเงินออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง เอาไว้ซื้อของที่ไว้กินไว้ใช้ประจำวัน ส่วนที่สองเรียกว่าเป็นเงินออม ”ระยะสั้น” หมายถึง เงินที่เหลือให้ออมใส่กระปุกไว้ และส่วนที่สามคือเงินออม “ระยะยาว” ให้ไปเริ่มต้นออมโดยไปฝากธนาคารไว้โดยควรแนะนำว่า เมื่อเรามีเงินจำนวนหนึ่ง หมายถึง เรามีเงินพอที่ซื้อสิ่งของหรือบริการแต่ไม่ได้บอกว่าเราจำเป็นต้องซื้อสินค้าหรือบริการนั้นเสมอไปทุกครั้ง ดังนั้น ควรให้ลูกเข้าใจก่อนว่า ต้องแยกแยะให้ออกว่า อะไรเป็นสิ่งที่จำเป็น และอะไรเป็นสิ่งที่ต้องการ ซึ่งเราควรจะใช้จ่ายไปกับสิ่งที่เราจำเป็นจริงๆ เท่านั้น
สำหรับเงินส่วนที่สองเด็กๆ จะได้รู้ว่า ถ้าออมเงินไว้ในกระปุก และถ้าเราอยากได้ของ เช่นหนังสือดีๆ สักเล่ม ก็จะได้ไม่ต้องขอเงินพ่อ-แม่ สามารถซื้อได้ด้วยตนเอง เด็กก็จะภาคภูมิใจและจะรักษาของที่หาได้มาด้วยตนเอง สำหรับเงินส่วนที่สามหรือเงินออมระยะยาว ก็เพื่อให้ได้เริ่มเก็บออมให้เงินออมเป็นเงินก้อน และเมื่อเติบโตขึ้นเมื่ออยากจะลงทุนในเครื่องมือการลงทุนใด ๆ ก็ตามก็จะสามารถลงทุนให้เงินงอกเงยได้และเร็วกว่าเด็กคนที่ไม่ได้เรียนรู้จากพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง
ลูกเป็นสิ่งที่ให้ความสุขอย่างยิ่ง แต่ก็จำเป็นที่จะต้องสอนให้รู้จักกับการบริหารเงินตนเองตั้งแต่เล็กๆ เมื่อเติบโตแล้วจะเป็นคนที่มีคุณภาพสูง คนที่จะภูมิใจสุขใจก็ไม่ใช่ใครอื่น คนที่ให้เงินและสอนเค้าใช้เงินอย่างฉลาดนั่นเอง