ผู้บริหาร บลจ. มองเศรษฐกิจยุโรปเจอทางตัน สถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศยุโรปตะวันออก ประสบปัญหาหนัก เผย อาจใช้เวลาถึงปีหน้าถึงจะฟื้นตัว
นายกำพล อัศวกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาและสนับสนุนตัวแทนขาย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด กล่าวถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในยุโรปขณะนี้ว่า สถานการณ์ในขณะนี้ที่หลายประเทศในยุโรปกำลังเผชิญคือ ปัญหาเรื่องของการไม่ปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ และการกำหนดนโยบายดึงเงินที่ให้กู้แก่ประเทศอื่นกลับมาสู่ประเทศของตนเอง (Financial Protectionlism) ทั้งนี้ เป็นเพราะสถาบันการเงินรวมถึงบริษัทต่างๆ เริ่มเกิดความกลัวในความเสี่ยงที่มีต่อธุรกิจของตนเองมากขึ้นอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้การปล่อยสินเชื่อลดลงไปอย่างมาก
ขณะเดียวกันยังได้ดึงเงินกู้ที่ปล่อยออกไปให้แก่ประเทศต่างๆนั้น กลับมาที่ประเทศของตนเอง ส่งผลให้หลายประเทศในยุโรปตะวันออกประสบปัญหาทางเศรษฐกิจกันไปอย่างรุนแรง จนบางประเทศถึงกับต้องเข้าขอความช่วยเหลือจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศหรือ ไอเอ็มเอฟ อีกทั้งในภาคส่วนของการลงทุนก็ประสบปัญหาไปด้วยเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ การเรียกเงินที่ได้ปล่อยกู้กลับคืนมานั้น ได้ส่งผลไปถึงภาวะตลาดหุ้นด้วยเช่นเดียวกัน โดยมีผลทำให้ตลาดหุ้นในยุโรปตกลงไปตามความวิตกที่เกิดขึ้น นอกจากนั้นสถาบันการเงินยังได้ขายสินทรัพย์ออกไปจำนวนมากในราคาถูก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสินทรัพย์เหล่านั้นเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดี แต่ก็ยังคงไว้ในสินทรัพย์ที่สำคัญๆอยู่ ขณะเดียวกัน บรรดาบริษัทต่างๆ ก็พากันออกหุ้นกู้ระยะยาวออกมา โดยส่วนใหญ่เป็นการออกหุ้นกู้เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ของบริษัทตนเองที่ถูกสถาบันการเงินเรียกเงินกู้กลับคืนไป
ด้านนายวนา พูนผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. ยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ของประเทศในยุโรปโดยรวมอยู่ในช่วงที่ไม่ค่อยดีเท่าไรนัก ซึ่งกำลังประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจกันพอสมควร โดยประเทศยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมอย่าง เยอรมันนี ก็ประสบปัญหาพอสมควร ขณะเดียวกันเมื่อเกิดปัญหาการไม่ปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆแล้ว ทำให้หลายประสบปัญหาอย่างหนักจนต้องเข้าขอความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟ
"ดังนั้นเศรษฐกิจของยุโรปที่กำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอยู่ในขณะนี้ คงต้องใช้ระยะเวลาถึงจะกลับมาฟื้นตัว ซึ่งคาดว่าอาจจะใช้ระยะเวลาจนถึงประมาณปีหน้าเลยทีเดียว แต่ในช่วงปีนี้คงอยู่ในภาวะที่ชะลอตัว" นายวนากล่าว
ทั้งนี้รายงานข่าวเปิดเผยว่า แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจของทั้งญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป จะยังคงเกิดการหดตัวลงต่อเนื่องภายในช่วง ไตรมาสที่1ของปี 2552 ตามภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงโดนผลกระทบจากวิกฤติการเงินจากสหรัฐฯในครั้งนี้ โดยจากการที่ทั้งญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป มีระบบเศรษฐกิจที่ถือได้ว่ามีความใกล้ชิดกันอย่างมากกับสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านของภาคการค้าต่างประเทศหรือจะเป็นการเข้าลงทุนระหว่างประเทศระหว่างกัน ดังนั้นแล้วเมื่อสหรัฐฯเกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจขึ้น จึงส่งผลให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจของทั้งญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป จึงหลีกเลี่ยงการชะลอตัวไปไม่ได้
โดยคาดว่าจะเห็นการชะลอตัวลงอย่างน้อยภายในอีก 2 ไตรมาสข้างหน้า ตามการคาดการณ์การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังคงมีปัจจัยลบในประเทศสูง โดยเฉพาะในด้านปัญหาทางด้านของภาคการเงินที่ยังคงไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเด็ดขาด ซึ่งคงจะต้องจับตาดูแผนกอบกู้ภาคสถาบันการเงินของสหรัฐฯว่าจะเกิดประมิทธิภาพได้ดีเพียงใด แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าถ้าจะเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ คงจะต้องเป็นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เป็นต้นไป โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ ์ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) ในปี 2552 ของญี่ปุ่นและยูโรโซนอยู่ที่ระดับ -2.0% และ -2.6% ตามลำดับ
นายกำพล อัศวกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาและสนับสนุนตัวแทนขาย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด กล่าวถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในยุโรปขณะนี้ว่า สถานการณ์ในขณะนี้ที่หลายประเทศในยุโรปกำลังเผชิญคือ ปัญหาเรื่องของการไม่ปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ และการกำหนดนโยบายดึงเงินที่ให้กู้แก่ประเทศอื่นกลับมาสู่ประเทศของตนเอง (Financial Protectionlism) ทั้งนี้ เป็นเพราะสถาบันการเงินรวมถึงบริษัทต่างๆ เริ่มเกิดความกลัวในความเสี่ยงที่มีต่อธุรกิจของตนเองมากขึ้นอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้การปล่อยสินเชื่อลดลงไปอย่างมาก
ขณะเดียวกันยังได้ดึงเงินกู้ที่ปล่อยออกไปให้แก่ประเทศต่างๆนั้น กลับมาที่ประเทศของตนเอง ส่งผลให้หลายประเทศในยุโรปตะวันออกประสบปัญหาทางเศรษฐกิจกันไปอย่างรุนแรง จนบางประเทศถึงกับต้องเข้าขอความช่วยเหลือจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศหรือ ไอเอ็มเอฟ อีกทั้งในภาคส่วนของการลงทุนก็ประสบปัญหาไปด้วยเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ การเรียกเงินที่ได้ปล่อยกู้กลับคืนมานั้น ได้ส่งผลไปถึงภาวะตลาดหุ้นด้วยเช่นเดียวกัน โดยมีผลทำให้ตลาดหุ้นในยุโรปตกลงไปตามความวิตกที่เกิดขึ้น นอกจากนั้นสถาบันการเงินยังได้ขายสินทรัพย์ออกไปจำนวนมากในราคาถูก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสินทรัพย์เหล่านั้นเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดี แต่ก็ยังคงไว้ในสินทรัพย์ที่สำคัญๆอยู่ ขณะเดียวกัน บรรดาบริษัทต่างๆ ก็พากันออกหุ้นกู้ระยะยาวออกมา โดยส่วนใหญ่เป็นการออกหุ้นกู้เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ของบริษัทตนเองที่ถูกสถาบันการเงินเรียกเงินกู้กลับคืนไป
ด้านนายวนา พูนผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. ยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ของประเทศในยุโรปโดยรวมอยู่ในช่วงที่ไม่ค่อยดีเท่าไรนัก ซึ่งกำลังประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจกันพอสมควร โดยประเทศยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมอย่าง เยอรมันนี ก็ประสบปัญหาพอสมควร ขณะเดียวกันเมื่อเกิดปัญหาการไม่ปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆแล้ว ทำให้หลายประสบปัญหาอย่างหนักจนต้องเข้าขอความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟ
"ดังนั้นเศรษฐกิจของยุโรปที่กำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอยู่ในขณะนี้ คงต้องใช้ระยะเวลาถึงจะกลับมาฟื้นตัว ซึ่งคาดว่าอาจจะใช้ระยะเวลาจนถึงประมาณปีหน้าเลยทีเดียว แต่ในช่วงปีนี้คงอยู่ในภาวะที่ชะลอตัว" นายวนากล่าว
ทั้งนี้รายงานข่าวเปิดเผยว่า แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจของทั้งญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป จะยังคงเกิดการหดตัวลงต่อเนื่องภายในช่วง ไตรมาสที่1ของปี 2552 ตามภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงโดนผลกระทบจากวิกฤติการเงินจากสหรัฐฯในครั้งนี้ โดยจากการที่ทั้งญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป มีระบบเศรษฐกิจที่ถือได้ว่ามีความใกล้ชิดกันอย่างมากกับสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านของภาคการค้าต่างประเทศหรือจะเป็นการเข้าลงทุนระหว่างประเทศระหว่างกัน ดังนั้นแล้วเมื่อสหรัฐฯเกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจขึ้น จึงส่งผลให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจของทั้งญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป จึงหลีกเลี่ยงการชะลอตัวไปไม่ได้
โดยคาดว่าจะเห็นการชะลอตัวลงอย่างน้อยภายในอีก 2 ไตรมาสข้างหน้า ตามการคาดการณ์การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังคงมีปัจจัยลบในประเทศสูง โดยเฉพาะในด้านปัญหาทางด้านของภาคการเงินที่ยังคงไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเด็ดขาด ซึ่งคงจะต้องจับตาดูแผนกอบกู้ภาคสถาบันการเงินของสหรัฐฯว่าจะเกิดประมิทธิภาพได้ดีเพียงใด แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าถ้าจะเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ คงจะต้องเป็นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เป็นต้นไป โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ ์ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) ในปี 2552 ของญี่ปุ่นและยูโรโซนอยู่ที่ระดับ -2.0% และ -2.6% ตามลำดับ