บลจ.กสิกรไทย ปลื้มลูกค้าเริ่มเข้าใจสภาวะลงทุนดันยอดIPO กองพันธบัตรเกาหลี เอบี แตะ 700 ล้านบาท ผู้จัดการกองทุนยัน"มูดีส์"ลดอันดับเรตติ้ง 8 แบงก์โสมไม่กระทบ เหตุนโยบายกองนี้ เน้นบอนด์รัฐบาลเกาหลีเท่านั้น แถมไม่มีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาสวอปเงินดอลลาร์-วอนอีกด้วย
นายชัชชัย สฤษดิ์อภิรักษ์ ผู้จัดการกองทุนอาวุโส ฝ่ายจัดการกองทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) กสิกรไทย เปิดเผยว่า การเปิดขายกองทุน "เค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี เอบี"ในช่วงที่ผ่านมาถือว่าได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี และมีจำนวนเม็ดเงินลงทุนแตกต่างจากกองแรกอย่างกอง”เค พันธบัตร 1 ปีเอเอ”ที่มียอดการระดมทุนรวม 1,100 ล้านบาทเพียงเล็กน้อย เนื่องจากมีระยะเวลาในการเปิดขายสั้นกว่าคือประมาณ 4 วันหลังจากติดวันหยุดยาวในวันมาฆบูชาสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับยอดระดมทุนของกองทุนนี้ นางเอื้อพันธ์ เพ็ชาภรณ์ ผู้บริหารฝ่ายบริการผู้ลงทุนและทะเบียน บลจ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า "น่าจะปิดยอดขายกองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลีเอ บี ได้ว่า 700 ล้านบาท ซึ่งนับว่าได้รับการตอบรับค่อนข้างดี เพราะแสดงให้เห็นว่ายังมีลูกค้าที่เข้าใจสภาวะการลงทุน และเห็นโอกาสในการล็อคเงินลงทุนกับกองทุนพันธบัตรเกาหลี ในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาลง "
ส่วนกระแสข่าวการดาวน์เกรด(อันดับความน่าเชื่อถือ) ธนาคารจำนวน 8 แห่งของประเทศเกาหลีใต้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ให้ลงมาอยู่ในระดับเดียวกับ ความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ที่จำหน่ายในสกุลเงินตราต่างประเทศนั้น นายชัชชัย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบต่อกองทุนแต่อย่างใด เนื่องจาก การลงทุนของกองทุนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินที่มีถูกลดอันดับ ซึ่งนโยบายของกองทุนนี้จะลงทุนในพันธบัตรภาครัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจของประเทศเกาหลีใต้เท่านั้น
“เป็นไปได้ที่จะมีการลดอันดับแต่ต้องเข้าใจว่าเครดิตเอกชนบางบริษัทที่ทำธุรกรรมกับต่างชาติบ่อยๆจะมีโอกาสได้เครดิตในอันดับที่ดีกว่ารัฐบาล ซึ่งบริษัทเอกชนไทยก็เช่นกัน บางแห่งที่เป็น บริษัทต่างชาติในไทยจะได้เรตติ้งสูงกว่า ซึ่งสถาการณ์ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือส่งผลอะไรกับกองทุนนี้นัก และLocal Bank ของเกาหลีที่โดนลดเกรดไปอันดับมันก็ยังเท่ากับพันธบัตรรัฐ”นายชัชชัยกล่าว
นายชัชชัย กล่าวอีกว่า ด้านการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุนพันบัตรเกาหลีในส่วน ดอลลาร์-วอนนั้น เชื่อว่าคงจะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวเช่นกัน เนื่องจากธนาคาพาณิชย์ที่บริษัททำสัญญาด้วยนั้นจะมีอยู่ 2 แห่งคือ แสตนดาร์ดชาร์เตอร์ และ ดอยซ์แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารต่างชาติที่ไม่เกี่ยวข้องกับธนาคารทั้ง 8 แห่งในประเทศเกาหลี
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีสเตปต่อไปจากนี้มันก็น่าสนใจ แต่ตอนนี้ยังไม่มี โดยที่ผ่านมาก่อนที่จะมีการปรับลดอันดับ แบงก์พวกนี้ out look หรือแนวโน้มมันจะอยู่ในระดับติดลบมาก่อน แต่คราวนี้มันต่างกันเพราะตอนนี้แนวโน้มของมันยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ
สำหรับ กองทุนเปิด เค พันธบัตรเกาหลี มีนโยบายที่จะลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่รัฐบาล องค์การ หน่วยงานของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจประเทศเกาหลีใต้ เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เงินส่วนที่เหลือ อาทิ เงินที่สำรองไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน จะนำมาลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขายในประเทศ ได้แก่ เงินฝาก ตราสารทางการเงิน และตราสารแห่งหนี้ รวมทั้งหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ก.ล.ต. โดยมีอายุของตราสารไม่เกิน 1 ปี
นายชัชชัย สฤษดิ์อภิรักษ์ ผู้จัดการกองทุนอาวุโส ฝ่ายจัดการกองทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) กสิกรไทย เปิดเผยว่า การเปิดขายกองทุน "เค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี เอบี"ในช่วงที่ผ่านมาถือว่าได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี และมีจำนวนเม็ดเงินลงทุนแตกต่างจากกองแรกอย่างกอง”เค พันธบัตร 1 ปีเอเอ”ที่มียอดการระดมทุนรวม 1,100 ล้านบาทเพียงเล็กน้อย เนื่องจากมีระยะเวลาในการเปิดขายสั้นกว่าคือประมาณ 4 วันหลังจากติดวันหยุดยาวในวันมาฆบูชาสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับยอดระดมทุนของกองทุนนี้ นางเอื้อพันธ์ เพ็ชาภรณ์ ผู้บริหารฝ่ายบริการผู้ลงทุนและทะเบียน บลจ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า "น่าจะปิดยอดขายกองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลีเอ บี ได้ว่า 700 ล้านบาท ซึ่งนับว่าได้รับการตอบรับค่อนข้างดี เพราะแสดงให้เห็นว่ายังมีลูกค้าที่เข้าใจสภาวะการลงทุน และเห็นโอกาสในการล็อคเงินลงทุนกับกองทุนพันธบัตรเกาหลี ในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาลง "
ส่วนกระแสข่าวการดาวน์เกรด(อันดับความน่าเชื่อถือ) ธนาคารจำนวน 8 แห่งของประเทศเกาหลีใต้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ให้ลงมาอยู่ในระดับเดียวกับ ความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ที่จำหน่ายในสกุลเงินตราต่างประเทศนั้น นายชัชชัย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบต่อกองทุนแต่อย่างใด เนื่องจาก การลงทุนของกองทุนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินที่มีถูกลดอันดับ ซึ่งนโยบายของกองทุนนี้จะลงทุนในพันธบัตรภาครัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจของประเทศเกาหลีใต้เท่านั้น
“เป็นไปได้ที่จะมีการลดอันดับแต่ต้องเข้าใจว่าเครดิตเอกชนบางบริษัทที่ทำธุรกรรมกับต่างชาติบ่อยๆจะมีโอกาสได้เครดิตในอันดับที่ดีกว่ารัฐบาล ซึ่งบริษัทเอกชนไทยก็เช่นกัน บางแห่งที่เป็น บริษัทต่างชาติในไทยจะได้เรตติ้งสูงกว่า ซึ่งสถาการณ์ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือส่งผลอะไรกับกองทุนนี้นัก และLocal Bank ของเกาหลีที่โดนลดเกรดไปอันดับมันก็ยังเท่ากับพันธบัตรรัฐ”นายชัชชัยกล่าว
นายชัชชัย กล่าวอีกว่า ด้านการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุนพันบัตรเกาหลีในส่วน ดอลลาร์-วอนนั้น เชื่อว่าคงจะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวเช่นกัน เนื่องจากธนาคาพาณิชย์ที่บริษัททำสัญญาด้วยนั้นจะมีอยู่ 2 แห่งคือ แสตนดาร์ดชาร์เตอร์ และ ดอยซ์แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารต่างชาติที่ไม่เกี่ยวข้องกับธนาคารทั้ง 8 แห่งในประเทศเกาหลี
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีสเตปต่อไปจากนี้มันก็น่าสนใจ แต่ตอนนี้ยังไม่มี โดยที่ผ่านมาก่อนที่จะมีการปรับลดอันดับ แบงก์พวกนี้ out look หรือแนวโน้มมันจะอยู่ในระดับติดลบมาก่อน แต่คราวนี้มันต่างกันเพราะตอนนี้แนวโน้มของมันยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ
สำหรับ กองทุนเปิด เค พันธบัตรเกาหลี มีนโยบายที่จะลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่รัฐบาล องค์การ หน่วยงานของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจประเทศเกาหลีใต้ เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เงินส่วนที่เหลือ อาทิ เงินที่สำรองไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน จะนำมาลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขายในประเทศ ได้แก่ เงินฝาก ตราสารทางการเงิน และตราสารแห่งหนี้ รวมทั้งหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ก.ล.ต. โดยมีอายุของตราสารไม่เกิน 1 ปี