กองเอฟไอเอฟเจอวิกฤตหนัก เผย "กองทุนหุ้น" ผลตอบแทนติดลบกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะกองจีน และตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย-ยุโรป พบขาดทุนไปแล้วมากกว่า 50% "พรีมาเวสท์-อลิอันซ์ จีไอ บริค สตาร์ ฟันด์" อ่วมสุด ตั้งแต่ต้นปี วูบไปแล้ว 72.25% ส่วนกองทุนคอมมอดิตีสุดฮิต ผลตอบแทนพลิกจากบวกเป็นลบ หลังราคาน้ำมัน-ทอง กอดคอกันร่วง ในขณะที่กองทุนตราสารหนี้ ได้อานิสงส์ทั่วโลกปรับลดดอกเบี้ย ขึ้นแท่นผลตอบแทนอันดับต้นๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) พบว่าต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในขณะนี้ทุกกองทุน โดยเฉพาะกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้น เนื่องจากที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกได้ปรับตัวลดลงจากการเทขายหุ้นออกมาเพื่อนำไปชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการเงินดังกล่าว ซึ่งจากการสำรวจล่าสุด กองทุนเอฟไอเอฟหลายกองขาดทุนไปแล้วกว่า 50% บางกองทุนขาดทุนไปถึงกว่า 70% เลยทีเดียว
ทั้งนี้ พบว่ากองทุนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนในตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม BRIC ซึ่งประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ส่วนภูมิภาคอื่นๆ ก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในภูมิภาคยุโรป อเมริกา ขณะเดียวกัน กองทุนที่ลงทุนในแอสเซทคลาสประเภทสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) ที่ได้รับความสนใจในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากราคาปรับลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะราคาน้ำมันและราคาทองคำ
อย่างไรก็ตาม กองทุนที่เห็นผลกระทบชัดเจนที่สุด คือ กองทุนที่ลงทุนในหุ้นจีน เพราะช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นจีนถูกเทขายออกมาอย่างหนักจนดัชนีปรับตัวลดลงไปแล้วมากกว่า 50% จากช่วงต้นปี ซึ่งในช่วงต้นปีที่ผ่านมานี้เอง กองทุนต่างประเทศที่ออกไปลงทุนในประเทศจีนได้รับความสนใจจากบรรดาบริษัทจัดการกองทุนค่อนข้างมาก เนื่องจากมีการคาดการณ์ถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนว่ายังมีโอกาสขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยหนึ่งคือการที่จีนได้เป็นเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิก ทำให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนได้ แต่อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้ว กลายเป็นว่าจีนได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินสูงที่สุด ในส่วนของการลดลงของดัชนีหุ้น
จากการรายงานผลการดำเนินงานของกองทุนเอฟไอเอฟ สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2551 ของลิปเปอร์ พบว่า กองทุนที่ผลตอบแทนติดลบมากที่สุด คือ กองทุนเปิดพรีมาเวสท์-อลิอันซ์ จีไอ บริค สตาร์ ฟันด์ ภายใต้การบริหารจัดการของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) พรีมาเวสท์ จำกัด โดยผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (Year to Date) หรือคิดเป็นระยะเวลา 10 เดือนย้อนหลังอยู่ที่ -72.25% ในทางกลับกัน กองทุนที่ให้ผลตอบแทนเป็นอันดับหนึ่ง เป็นกองทุนรวมกรุงไทยดอยซ์แบงก์ เอฟเอ็กซ์ คุ้มครองเงินต้น ของบลจ.กรุงไทย โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 7.77%
ทั้งนี้ จากการติดตามผลการดำเนินงานกองทุนเอฟไอเอฟมาตลอดในช่วงที่ผ่านมา พบว่ากองทุนที่ลงทุนในคอมมอดิตี สามารถสร้างผลตอบแทนมาเป็นอันดับหนึ่งได้อย่างต่อเนื่อง แต่หลังจากราคาน้ำมันปรับลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ส่งผลให้ผลตอบแทนของกองทุนประเภทนี้ พลิกจากผลตอบแทนบกวเป็นลบทันที โดยเฉพาะกองทุนเปิดหน่วยลงทุนฟินันซ่า โกลบอล คอมมอดิตี้ ของบลจ.ฟินันซ่า ที่ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีติดลบไปแล้ว 26.10% ทั้งๆ เดือนก่อนหน้านี้ ผลตอบแทนของกองทุนยังเป็นบวกอยู่ที่ 3.40% เช่นเดียวกับกองทุนเปิดทหารไทยโกลด์ฟันด์ ที่ผลตอบแทนพลิกจากบวก 2.63% ในเดือนกันยายนกลับมาเป็น -10.85% ในเดือนตุลาคม
อย่างไรก็ตาม อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า วิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นส่งผลกับตลาดหุ้นของจีนและกลุ่มประเทศเกิดใหม่ทั้งในเอเชียและยุโรป ดังนั้น กองทุนที่ลงทุนในหุ้นของประเทศเหล่านี้ จึงติดลบสูงกว่า 50% กันถ้วนหน้า และล้วนแล้วแต่อยู่อันดับสุดท้ายของการรายงานผลการดำเนินงานกองทุนเอฟไอเอฟด้วย โดยกองทุนเปิดทหารไทย China Equity Index ของบลจ.ทหารไทย ให้ผลตอบแทนต่ำสุดรองจากกองทุนเปิดพรีมาเวสท์-อลิอันซ์ จีไอ บริค สตาร์ ฟันด์ ด้วยผลตอบแทน -66.34% ตามมาด้วย กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ แพลทตินัม ยูโร ฟันด์ ของบลจ.ไทยพาณิชย์ ด้วยผลตอบแทน -59.59%
ส่วนกองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อิเมอร์จิ้ง อีสเทอร์น ยุโรป เอฟไอเอฟ ของบลจ.แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) อยู่อันดับ 4 จากท้ายตารางด้วยผลตอบแทน -59.36% ขยับขึ้นมาคือ กองทุนเปิด ทิสโก้ ไชน่า อินเดีย ดิวิเดนด์ ฟันด์ และกองทุนเปิด ทิสโก้ ไชน่า อินเดีย เพื่อการเลี้ยงของบลจ.ทิสโก้ กับผลตอบแทน -59.21% และ -58.87% ตามลำดับ ในขณะที่กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเวสท์ เอเชี่ยน อิควิตี้ ฟันด์ ของบลจ.เอ็มเอฟซี อยู่เหนือขึ้นมาด้วยผลตอบแทน -56.89%
อันดับ 8 และ 9 จากท้ายตาราง ได้แก่ กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท เกรธเธอร์ ไชน่า และกองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท เอเชีย ของบลจ.ยูโอบี ด้วยผลตอบแทน -56.37% และ -54.23% ตามลำดับ ปิดท้ายด้วย กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ แพลทตินัม โกลบอล ฟันด์ ของบลจ.ไทยพาณิชย์ ด้วยผลตอบแทน -52.80%
ทั้งนี้ หากดูกองทุนที่ให้ผลตอบแทนอันดับต้นๆ พบว่าส่วนใหญ่เป็นกองทุนตราสารหนี้ และเป็นกองทุนปิดที่กำหนดอายุการลงทุนชัดเจน ซึ่งได้ประโยชน์จากการที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกปรับตัวลดลง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) พบว่าต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในขณะนี้ทุกกองทุน โดยเฉพาะกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้น เนื่องจากที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกได้ปรับตัวลดลงจากการเทขายหุ้นออกมาเพื่อนำไปชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการเงินดังกล่าว ซึ่งจากการสำรวจล่าสุด กองทุนเอฟไอเอฟหลายกองขาดทุนไปแล้วกว่า 50% บางกองทุนขาดทุนไปถึงกว่า 70% เลยทีเดียว
ทั้งนี้ พบว่ากองทุนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนในตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม BRIC ซึ่งประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ส่วนภูมิภาคอื่นๆ ก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในภูมิภาคยุโรป อเมริกา ขณะเดียวกัน กองทุนที่ลงทุนในแอสเซทคลาสประเภทสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) ที่ได้รับความสนใจในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากราคาปรับลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะราคาน้ำมันและราคาทองคำ
อย่างไรก็ตาม กองทุนที่เห็นผลกระทบชัดเจนที่สุด คือ กองทุนที่ลงทุนในหุ้นจีน เพราะช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นจีนถูกเทขายออกมาอย่างหนักจนดัชนีปรับตัวลดลงไปแล้วมากกว่า 50% จากช่วงต้นปี ซึ่งในช่วงต้นปีที่ผ่านมานี้เอง กองทุนต่างประเทศที่ออกไปลงทุนในประเทศจีนได้รับความสนใจจากบรรดาบริษัทจัดการกองทุนค่อนข้างมาก เนื่องจากมีการคาดการณ์ถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนว่ายังมีโอกาสขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยหนึ่งคือการที่จีนได้เป็นเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิก ทำให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนได้ แต่อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้ว กลายเป็นว่าจีนได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินสูงที่สุด ในส่วนของการลดลงของดัชนีหุ้น
จากการรายงานผลการดำเนินงานของกองทุนเอฟไอเอฟ สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2551 ของลิปเปอร์ พบว่า กองทุนที่ผลตอบแทนติดลบมากที่สุด คือ กองทุนเปิดพรีมาเวสท์-อลิอันซ์ จีไอ บริค สตาร์ ฟันด์ ภายใต้การบริหารจัดการของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) พรีมาเวสท์ จำกัด โดยผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (Year to Date) หรือคิดเป็นระยะเวลา 10 เดือนย้อนหลังอยู่ที่ -72.25% ในทางกลับกัน กองทุนที่ให้ผลตอบแทนเป็นอันดับหนึ่ง เป็นกองทุนรวมกรุงไทยดอยซ์แบงก์ เอฟเอ็กซ์ คุ้มครองเงินต้น ของบลจ.กรุงไทย โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 7.77%
ทั้งนี้ จากการติดตามผลการดำเนินงานกองทุนเอฟไอเอฟมาตลอดในช่วงที่ผ่านมา พบว่ากองทุนที่ลงทุนในคอมมอดิตี สามารถสร้างผลตอบแทนมาเป็นอันดับหนึ่งได้อย่างต่อเนื่อง แต่หลังจากราคาน้ำมันปรับลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ส่งผลให้ผลตอบแทนของกองทุนประเภทนี้ พลิกจากผลตอบแทนบกวเป็นลบทันที โดยเฉพาะกองทุนเปิดหน่วยลงทุนฟินันซ่า โกลบอล คอมมอดิตี้ ของบลจ.ฟินันซ่า ที่ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีติดลบไปแล้ว 26.10% ทั้งๆ เดือนก่อนหน้านี้ ผลตอบแทนของกองทุนยังเป็นบวกอยู่ที่ 3.40% เช่นเดียวกับกองทุนเปิดทหารไทยโกลด์ฟันด์ ที่ผลตอบแทนพลิกจากบวก 2.63% ในเดือนกันยายนกลับมาเป็น -10.85% ในเดือนตุลาคม
อย่างไรก็ตาม อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า วิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นส่งผลกับตลาดหุ้นของจีนและกลุ่มประเทศเกิดใหม่ทั้งในเอเชียและยุโรป ดังนั้น กองทุนที่ลงทุนในหุ้นของประเทศเหล่านี้ จึงติดลบสูงกว่า 50% กันถ้วนหน้า และล้วนแล้วแต่อยู่อันดับสุดท้ายของการรายงานผลการดำเนินงานกองทุนเอฟไอเอฟด้วย โดยกองทุนเปิดทหารไทย China Equity Index ของบลจ.ทหารไทย ให้ผลตอบแทนต่ำสุดรองจากกองทุนเปิดพรีมาเวสท์-อลิอันซ์ จีไอ บริค สตาร์ ฟันด์ ด้วยผลตอบแทน -66.34% ตามมาด้วย กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ แพลทตินัม ยูโร ฟันด์ ของบลจ.ไทยพาณิชย์ ด้วยผลตอบแทน -59.59%
ส่วนกองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อิเมอร์จิ้ง อีสเทอร์น ยุโรป เอฟไอเอฟ ของบลจ.แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) อยู่อันดับ 4 จากท้ายตารางด้วยผลตอบแทน -59.36% ขยับขึ้นมาคือ กองทุนเปิด ทิสโก้ ไชน่า อินเดีย ดิวิเดนด์ ฟันด์ และกองทุนเปิด ทิสโก้ ไชน่า อินเดีย เพื่อการเลี้ยงของบลจ.ทิสโก้ กับผลตอบแทน -59.21% และ -58.87% ตามลำดับ ในขณะที่กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเวสท์ เอเชี่ยน อิควิตี้ ฟันด์ ของบลจ.เอ็มเอฟซี อยู่เหนือขึ้นมาด้วยผลตอบแทน -56.89%
อันดับ 8 และ 9 จากท้ายตาราง ได้แก่ กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท เกรธเธอร์ ไชน่า และกองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท เอเชีย ของบลจ.ยูโอบี ด้วยผลตอบแทน -56.37% และ -54.23% ตามลำดับ ปิดท้ายด้วย กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ แพลทตินัม โกลบอล ฟันด์ ของบลจ.ไทยพาณิชย์ ด้วยผลตอบแทน -52.80%
ทั้งนี้ หากดูกองทุนที่ให้ผลตอบแทนอันดับต้นๆ พบว่าส่วนใหญ่เป็นกองทุนตราสารหนี้ และเป็นกองทุนปิดที่กำหนดอายุการลงทุนชัดเจน ซึ่งได้ประโยชน์จากการที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกปรับตัวลดลง