สำรวจผลงานกองทุนเอฟไอเอฟรอบ 8 เดือน "คอมมอดิตี-บอนด์" มาแรงแซงภาวะหุ้นผันผวน "ฟินันซ่า โกลบอล คอมมอดิตี้" ยังครองแชมป์ผลตอบแทนสูงสุด 15.19% แต่ลดลงตามราคาในตลาดโลก ตามมาด้วยกองทุนตราสารหนี้กลุ่มประเทศเกิดใหม่ ส่วนกองทุนหุ้นแดนมังกร ผลงานทรุด โดยมี "ทหารไทย China Equity Index" รั้งท้าย ที่ผลตอบแทน -47.37%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการลงทุนทั่วโลกที่ยังคงผันผวนต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้การลงทุนในต่างประเทศได้รับผลกระทบไปตามๆ กัน โดยเฉพาะกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น ทั้งนี้ หากจะมองย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นปี การลงทุนในต่างประเทศได้รับความสนใจจากนักลงทุนบ้านเราพอสมควร โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ รวมถึงกองทุนหุ้นที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) อีกด้วย
โดยปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กองทุนที่ลงทุนในคอมมอดิตีได้รับความสนใจ เป็นผลมาจากความต้องการทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการโยกเงินเข้ามาเก็งกำไรจากกองทุนเฮจด์ฟันด์ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ ส่งผลให้ราคาสินค้าเหล่านี้ปรับขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโดยเฉพาะราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับที่ขึ้นไปค่อนข้างมากจนเป็นสถิติใหม่ 147 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งส่งผลให้สินค้าในกลุ่มคอมมอดิตีขยับขึ้นไปตามด้วย ไม่ว่าจะเป็นพลังงาน กลุ่มสินค้าเกษตรที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นจากการนำมาผลิตพลังงานทดแทน และโลหะมีค่าต่างๆ ที่ใช้ในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศกำลังพัฒนาในประเทศแถบเอเชีย โดยเฉพาะจีนและอินเดีย
ทั้งนี้ ราคาสินค้าคอมมอดิตีที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในสินค้าคอมมอดิตีในต่างประเทศ ได้รับอานิสงส์ไปตามๆ กัน อย่างไรก็ตาม หลังจากความต้องการทั่วโลกลดลง ก็ฉุดราคาของสินค้าในกลุ่มคอมมอดิตีลดลงเช่นกัน และแน่นอนว่าส่งผลให้ผลตอบแทนของกองทุนประเภทนี้ลดลงตามไปด้วย แต่หากเทียบกับกองทุนประเภทอื่นแล้ว กองทุนคอมมอดิตียังเป็นบวกอยู่ในช่วงที่การลงทุนในหุ้นผันผวน ขณะเดียวกัน กองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศเองก็ให้ผลตอบแทนที่ดีเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายว่า จากการสำรวจผลการดำเนินงานของกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2551 พบว่า กองทุนที่ให้ผลตอบแทนมาเป็นอันดับต้นๆ ยังเป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในสินค้าคอมมอดิตีและกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ โดยกองทุนที่ให้ผลตอบแทนอันดับ 1. ได้แก่ กองทุนเปิดหน่วยลงทุนฟินันซ่า โกลบอล คอมมอดิตี้ ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด ซึ่งกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี 15.19%
อันดับ 2. กองทุนรวมกรุงไทยดอยซ์แบงก์ เอฟเอ็กซ์ คุ้มครองเงินต้น ของบลจ.กรุงไทย ที่ให้ผลตอบแทน 5.91% อันดับ 3. กองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรออสเตรเลีย ของ บลจ.ทิสโก้ ให้ผลตอบแทน 4.86% อันดับ 4. กองทุนเปิดธนชาตโกลบอล บอนด์ ฟันด์ ของบลจ.ธนชาต ให้ผลตอบแทน 3.83% อันดับ 5. กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล แนชเชอรัล รีซอร์ส ฟันด์ ของบลจ.เอ็มเอฟซี ให้ผลตอบแทน 3.70% อันดับ 6. กองทุนรวมบีที FIF โกลด์ ลิงค์ ฟันด์ 2 ของบลจ.บีที ให้ผลตอบแทน 3.35%
อันดับ 7. กองทุนเปิดเค โกลบอล อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต บอนด์ ของบลจ.กสิกรไทย ให้ผลตอบแทน 2.82% อันดับ 8. กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ซีเล็ค ฟันด์ ของ บลจ.เอ็มเอฟซี ให้ผลตอบแทน 2.56% และอันดับ 9. กองทุนเปิดพรีมาเวสท์-อลิอันซ์ จีไอ อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต บอนด์ ฟันด์ ของบลจ.พรีมาเวสท์ ให้ผลตอบแทน 2.53%
ทั้งนี้ การการสำรวจยังพบว่า กองทุนที่ให้ผลตอบแทน 5 อันดับรั้งท้าย ส่วนใหญ่เป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตลาดหุ้นจีน ซึ่งช่วงที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นจีนผันผวนอย่างหลัก โดยปรับลดลงกว่า 40%
สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทน 5 อันดับสุดท้าย ประกอบด้วย กองทุนเปิดพรีมาเวสท์-อลิอันซ์ จีไอ บริค สตาร์ ฟันด์ ของบลจ.พรีมาเวสท์ ที่ให้ผลตอบแทน -31.28% ตามมาด้วยกองทุนเปิด ทิสโก้ ไชน่า อินเดีย ดิวิเดนด์ ฟันด์ ของบลจ.ทิสโก้ ซึ่งให้ผลตอบแทน -31.32% และกองทุนเปิด ทิสโก้ ไชน่า อินเดีย เพื่อการเลี้ยงชีพ ของบลจ.ทิสโก้เช่นกัน ให้ผลตอบแทน -31.54% ในขณะที่กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท เกรธเธอร์ ไชน่า ของบลจ.ยูโอบี ให้ผลตอบแทน 33.23% รั้งอันดับรองสุดท้าย ส่วนกองทุนที่ให้ผลตอบแทนรั้งท้ายกองทุนต่างประเทศ คือ กองทุนเปิดทหารไทย China Equity Index ของบลจ.ทหารไทย ซึ่งให้ผลตอบแทน -47.37%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการลงทุนทั่วโลกที่ยังคงผันผวนต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้การลงทุนในต่างประเทศได้รับผลกระทบไปตามๆ กัน โดยเฉพาะกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น ทั้งนี้ หากจะมองย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นปี การลงทุนในต่างประเทศได้รับความสนใจจากนักลงทุนบ้านเราพอสมควร โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ รวมถึงกองทุนหุ้นที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) อีกด้วย
โดยปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กองทุนที่ลงทุนในคอมมอดิตีได้รับความสนใจ เป็นผลมาจากความต้องการทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการโยกเงินเข้ามาเก็งกำไรจากกองทุนเฮจด์ฟันด์ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ ส่งผลให้ราคาสินค้าเหล่านี้ปรับขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโดยเฉพาะราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับที่ขึ้นไปค่อนข้างมากจนเป็นสถิติใหม่ 147 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งส่งผลให้สินค้าในกลุ่มคอมมอดิตีขยับขึ้นไปตามด้วย ไม่ว่าจะเป็นพลังงาน กลุ่มสินค้าเกษตรที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นจากการนำมาผลิตพลังงานทดแทน และโลหะมีค่าต่างๆ ที่ใช้ในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศกำลังพัฒนาในประเทศแถบเอเชีย โดยเฉพาะจีนและอินเดีย
ทั้งนี้ ราคาสินค้าคอมมอดิตีที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในสินค้าคอมมอดิตีในต่างประเทศ ได้รับอานิสงส์ไปตามๆ กัน อย่างไรก็ตาม หลังจากความต้องการทั่วโลกลดลง ก็ฉุดราคาของสินค้าในกลุ่มคอมมอดิตีลดลงเช่นกัน และแน่นอนว่าส่งผลให้ผลตอบแทนของกองทุนประเภทนี้ลดลงตามไปด้วย แต่หากเทียบกับกองทุนประเภทอื่นแล้ว กองทุนคอมมอดิตียังเป็นบวกอยู่ในช่วงที่การลงทุนในหุ้นผันผวน ขณะเดียวกัน กองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศเองก็ให้ผลตอบแทนที่ดีเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายว่า จากการสำรวจผลการดำเนินงานของกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2551 พบว่า กองทุนที่ให้ผลตอบแทนมาเป็นอันดับต้นๆ ยังเป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในสินค้าคอมมอดิตีและกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ โดยกองทุนที่ให้ผลตอบแทนอันดับ 1. ได้แก่ กองทุนเปิดหน่วยลงทุนฟินันซ่า โกลบอล คอมมอดิตี้ ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด ซึ่งกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี 15.19%
อันดับ 2. กองทุนรวมกรุงไทยดอยซ์แบงก์ เอฟเอ็กซ์ คุ้มครองเงินต้น ของบลจ.กรุงไทย ที่ให้ผลตอบแทน 5.91% อันดับ 3. กองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรออสเตรเลีย ของ บลจ.ทิสโก้ ให้ผลตอบแทน 4.86% อันดับ 4. กองทุนเปิดธนชาตโกลบอล บอนด์ ฟันด์ ของบลจ.ธนชาต ให้ผลตอบแทน 3.83% อันดับ 5. กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล แนชเชอรัล รีซอร์ส ฟันด์ ของบลจ.เอ็มเอฟซี ให้ผลตอบแทน 3.70% อันดับ 6. กองทุนรวมบีที FIF โกลด์ ลิงค์ ฟันด์ 2 ของบลจ.บีที ให้ผลตอบแทน 3.35%
อันดับ 7. กองทุนเปิดเค โกลบอล อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต บอนด์ ของบลจ.กสิกรไทย ให้ผลตอบแทน 2.82% อันดับ 8. กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ซีเล็ค ฟันด์ ของ บลจ.เอ็มเอฟซี ให้ผลตอบแทน 2.56% และอันดับ 9. กองทุนเปิดพรีมาเวสท์-อลิอันซ์ จีไอ อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต บอนด์ ฟันด์ ของบลจ.พรีมาเวสท์ ให้ผลตอบแทน 2.53%
ทั้งนี้ การการสำรวจยังพบว่า กองทุนที่ให้ผลตอบแทน 5 อันดับรั้งท้าย ส่วนใหญ่เป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตลาดหุ้นจีน ซึ่งช่วงที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นจีนผันผวนอย่างหลัก โดยปรับลดลงกว่า 40%
สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทน 5 อันดับสุดท้าย ประกอบด้วย กองทุนเปิดพรีมาเวสท์-อลิอันซ์ จีไอ บริค สตาร์ ฟันด์ ของบลจ.พรีมาเวสท์ ที่ให้ผลตอบแทน -31.28% ตามมาด้วยกองทุนเปิด ทิสโก้ ไชน่า อินเดีย ดิวิเดนด์ ฟันด์ ของบลจ.ทิสโก้ ซึ่งให้ผลตอบแทน -31.32% และกองทุนเปิด ทิสโก้ ไชน่า อินเดีย เพื่อการเลี้ยงชีพ ของบลจ.ทิสโก้เช่นกัน ให้ผลตอบแทน -31.54% ในขณะที่กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท เกรธเธอร์ ไชน่า ของบลจ.ยูโอบี ให้ผลตอบแทน 33.23% รั้งอันดับรองสุดท้าย ส่วนกองทุนที่ให้ผลตอบแทนรั้งท้ายกองทุนต่างประเทศ คือ กองทุนเปิดทหารไทย China Equity Index ของบลจ.ทหารไทย ซึ่งให้ผลตอบแทน -47.37%