กองทุนคอมมอดิตีผลตอบแทนพุ่ง ลงทุน 6 เดือนแรก "ฟินันซ่า โกลบอล คอมมอดิตี้" ฟันกำไรกว่า 41.43% รับอานิสงส์ราคาสินค้าเกษตร-น้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น โดยชนะดัชนี MSCI AC World CR USD ให้ผลตอบแทนติดลบถึง 12.82%
รายงานข่าวเปิดเผยว่า ในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา การลงทุนในต่างประเทศถือเป็นการลงทุนที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนพอสมควร ซึ่งนอกเหนือจากกองทุนตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในพันธบัตรัฐบาลเช่น พันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ ออสเตรเลีย หรือนิวซีแลนด์แล้ว กองทุนหุ้นที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) ก็ได้รับความสนใจไม่แพ้กัน ถึงแม้บรรยากกาศการลงทุนทั่วโลกจะไม่เอื้อก็ตาม
ทั้งนี้ จากการรายงานของลิปเปอร์ถึงผลการดำเนินงานของกองทุนต่างประเทศที่ลงทุนในหุ้น ณ วันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา พบว่า กองทุนที่ลงทุนในสินค้าคอมมอดิตีให้ผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับต้นๆ ในขณะที่กองทุนอันดับ 1 สามารถสร้างผลตอบแทนได้กว่า 41.43% ซึ่งเป็นผลมาจากราคาของสินค้ากลุ่มดังกล่าวปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับขึ้นทำสิถิติใหม่อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันราคาข้าวในตลาดโลกก็ปรับขึ้นสูงอย่างไม่เคยมีมาก่อน เนื่องจากมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก
นอกเหนือจากนั้น สินค้าเกษตรต่างๆ เช่น ข้าวโพด ถั่ว มัน ก็ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยการปรับขึ้นดังกล่าวเป็นผลมาจากความต้องการสูงในการนำไปใช้เพื่อผลิตพลังงานทดแทน หลังจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับ 1 คือ กองทุนเปิดหน่วยลงทุนฟินันซ่า โกลบอล คอมมอดิตี้ ภายใต้การบริหารของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 41.43% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานถึง 54.25% โดยดัชนี MSCI AC World CR USD ให้ผลตอบแทน -12.82%
อันดับ 2 กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล แนชเชอรัล รีซอร์สฟันด์ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอ็มเอฟซี ที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 24.91% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 37.73% ในขณะที่กองทุนเปิดทหารไทย โกลด์ ฟันด์ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ทหารไทย ให้ผลตอบแทนมาเป็นอันดับ 4 โดยย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 9.29% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 22.11%
นอกจากนั้น กองทุนที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ก็ให้ผลตอบแทนน่าสนใจเช่นกัน โดยกองทุนเปิดพรีมาเวสท์ (ไทยแลนด์) อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต บอนด์ ฟันด์ ภายใต้การบริหารของ บลจ.พรีมาเวสท์ ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.70% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 17.52% ซึ่งอยู่ในอันดับ 5 ในขณะที่กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอล ออพพอร์ทูนิตี้ บอนด์ ฟันด์ ของ บลจ.เอ็มเอฟซี อยู่ในอันดับ 8 ด้วยผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 3.09% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 15.91%
ส่วนกองทุนที่ลงทุนอ้างอิงผลตอบแทนจากราคาทองคำก็น่าสนใจเช่นกัน โดยกองทุนเปิดบีที FIFโกลด์ ลิงค์ ฟันด์ 3 ภายใต้การบริหารของ บลจ.บีที ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.70% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 17.52% มาเป็นอันดับ 6 ส่วนกองทุนเปิดบีที FIFโกลด์ ลิงค์ ฟันด์2 ของ บลจ.บีทีเช่นกัน ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 3.08% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 15.90% มาเป็นอันดับ 9
อย่างไรก็ตาม กองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเองก็อยู่ใน 10 อันแรกด้วยเช่นกัน โดยกองทุนเปิดทิสโก้ พันธบัตรออสเตรเลีย ภายใต้การบริหารของ บลจ.ทิสโก้ ที่ให้ผลตอบแทนมาเป็นอันดับ 3 ด้วยผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 12.42 % และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 25.24% กองทุนเปิดกรุงไทยดอยซ์แบงก์ เอฟเอ็กซ์ คุ้มครองเงินต้น ภายใต้การบริหารของ บลจ.กรุงไทย ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 3.23% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 16.05% มาเป็นอันดับ 7 และอันดับ 10 กองทุนเปิดแมกซ์ตราสารหนี้12 ภายใต้การบริหารของ บลจ.นครหลวงไทย ให้ผลตอบแทน ย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.01% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 14.83%
ก่อนหน้านี้ นายวิน อุดมรัชตวนิชย์ ผู้จัดการกองทุน ฝ่ายจัดการกองทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า สินค้าเกษตรยังมีแนวโน้มที่สดใส เพราะเชื่อว่ายังไงคนก็ยังกินข้าว ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกมีเท่าเดิม ถึงแม้จะบอกว่าข้าวขาด พอเห็นราคาข้าวขึ้น ปีหน้าคนก็มาปลูกข้าวเยอะขึ้น
อย่างไรก็ตาม ถ้าราคาสินค้าเกษตรอย่างหนึ่งขึ้น ราคาสินค้าเกษตรอีกอย่างหนึ่งก็จะลง เพราะว่าของขาดแคลนและมีของปลูกมากเกินไป ถ้าเป็นอย่างนี้ราคาสินค้าเกษตรแต่ละชนิดก็จะเฮดจ์ไปเฮดจ์มาระหว่างกัน แต่ถ้าดูภาพรวมของทั้งโลก ประชากรโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เมื่อคนโตขึ้นประชากรโลกนับวันยิ่งมากขึ้น คนมากขั้นคนก็ต้องกิน พื้นที่ปลูกเท่าเดิม และนับวันมีแต่ยิ่งแห้งแล้ง โดยรวมในช่วงสั้นดีมานด์จะมากกว่าซัพพลาย แต่ว่าเป็นเหตุผลช่วงสั้นในช่วง 2 ปีข้างหน้านี้ยังมองว่าสินค้าเกษตรยังสดใสอยู่
“ในระยะยาวการวิจัยและพัฒนาสินค้าเกษตรเหล่านี้ จะทำให้ได้พันธุ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มมากขึ้น อย่างปลูกข้าวโพดในอากาศเลวๆ ทำให้ปลูกขึ้นได้อย่างไร แต่ถามว่าถ้าคุณช่วยด้านงานวิจัยเอาข้าวโพดพันธุ์ใหม่ออกมาให้ได้เร็วๆ ในทันทีเลยได้มั้ย คำตอบคือมันไม่ง่ายอย่างนั้น อย่างน้อยก็ต้องใช้เวลาเป็น 5 ปี ในช่วงนี้มีการสนับสนุนในด้านงานวิจัยการเกษตรกันมากขึ้น ทำโน่นทำนี่เพื่อให้การเพาะปลูกมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่มันจะไม่เห็นผลในเร็ววันหรือใน 2-3 ปี นี้ ถ้าช่วงนี้คนยังกินๆ แต่คนผลิตๆ ได้เท่าเดิมหรือน้อยลง ท้ายที่สุดก็สินค้าเกษตรก็ยังมีแนวโน้มที่ดีในช่วง 2 ปีข้างหน้านี้” นายวินกล่าว
รายงานข่าวเปิดเผยว่า ในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา การลงทุนในต่างประเทศถือเป็นการลงทุนที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนพอสมควร ซึ่งนอกเหนือจากกองทุนตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในพันธบัตรัฐบาลเช่น พันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ ออสเตรเลีย หรือนิวซีแลนด์แล้ว กองทุนหุ้นที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) ก็ได้รับความสนใจไม่แพ้กัน ถึงแม้บรรยากกาศการลงทุนทั่วโลกจะไม่เอื้อก็ตาม
ทั้งนี้ จากการรายงานของลิปเปอร์ถึงผลการดำเนินงานของกองทุนต่างประเทศที่ลงทุนในหุ้น ณ วันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา พบว่า กองทุนที่ลงทุนในสินค้าคอมมอดิตีให้ผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับต้นๆ ในขณะที่กองทุนอันดับ 1 สามารถสร้างผลตอบแทนได้กว่า 41.43% ซึ่งเป็นผลมาจากราคาของสินค้ากลุ่มดังกล่าวปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับขึ้นทำสิถิติใหม่อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันราคาข้าวในตลาดโลกก็ปรับขึ้นสูงอย่างไม่เคยมีมาก่อน เนื่องจากมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก
นอกเหนือจากนั้น สินค้าเกษตรต่างๆ เช่น ข้าวโพด ถั่ว มัน ก็ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยการปรับขึ้นดังกล่าวเป็นผลมาจากความต้องการสูงในการนำไปใช้เพื่อผลิตพลังงานทดแทน หลังจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับ 1 คือ กองทุนเปิดหน่วยลงทุนฟินันซ่า โกลบอล คอมมอดิตี้ ภายใต้การบริหารของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 41.43% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานถึง 54.25% โดยดัชนี MSCI AC World CR USD ให้ผลตอบแทน -12.82%
อันดับ 2 กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล แนชเชอรัล รีซอร์สฟันด์ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอ็มเอฟซี ที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 24.91% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 37.73% ในขณะที่กองทุนเปิดทหารไทย โกลด์ ฟันด์ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ทหารไทย ให้ผลตอบแทนมาเป็นอันดับ 4 โดยย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 9.29% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 22.11%
นอกจากนั้น กองทุนที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ก็ให้ผลตอบแทนน่าสนใจเช่นกัน โดยกองทุนเปิดพรีมาเวสท์ (ไทยแลนด์) อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต บอนด์ ฟันด์ ภายใต้การบริหารของ บลจ.พรีมาเวสท์ ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.70% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 17.52% ซึ่งอยู่ในอันดับ 5 ในขณะที่กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอล ออพพอร์ทูนิตี้ บอนด์ ฟันด์ ของ บลจ.เอ็มเอฟซี อยู่ในอันดับ 8 ด้วยผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 3.09% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 15.91%
ส่วนกองทุนที่ลงทุนอ้างอิงผลตอบแทนจากราคาทองคำก็น่าสนใจเช่นกัน โดยกองทุนเปิดบีที FIFโกลด์ ลิงค์ ฟันด์ 3 ภายใต้การบริหารของ บลจ.บีที ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.70% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 17.52% มาเป็นอันดับ 6 ส่วนกองทุนเปิดบีที FIFโกลด์ ลิงค์ ฟันด์2 ของ บลจ.บีทีเช่นกัน ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 3.08% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 15.90% มาเป็นอันดับ 9
อย่างไรก็ตาม กองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเองก็อยู่ใน 10 อันแรกด้วยเช่นกัน โดยกองทุนเปิดทิสโก้ พันธบัตรออสเตรเลีย ภายใต้การบริหารของ บลจ.ทิสโก้ ที่ให้ผลตอบแทนมาเป็นอันดับ 3 ด้วยผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 12.42 % และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 25.24% กองทุนเปิดกรุงไทยดอยซ์แบงก์ เอฟเอ็กซ์ คุ้มครองเงินต้น ภายใต้การบริหารของ บลจ.กรุงไทย ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 3.23% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 16.05% มาเป็นอันดับ 7 และอันดับ 10 กองทุนเปิดแมกซ์ตราสารหนี้12 ภายใต้การบริหารของ บลจ.นครหลวงไทย ให้ผลตอบแทน ย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.01% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 14.83%
ก่อนหน้านี้ นายวิน อุดมรัชตวนิชย์ ผู้จัดการกองทุน ฝ่ายจัดการกองทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า สินค้าเกษตรยังมีแนวโน้มที่สดใส เพราะเชื่อว่ายังไงคนก็ยังกินข้าว ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกมีเท่าเดิม ถึงแม้จะบอกว่าข้าวขาด พอเห็นราคาข้าวขึ้น ปีหน้าคนก็มาปลูกข้าวเยอะขึ้น
อย่างไรก็ตาม ถ้าราคาสินค้าเกษตรอย่างหนึ่งขึ้น ราคาสินค้าเกษตรอีกอย่างหนึ่งก็จะลง เพราะว่าของขาดแคลนและมีของปลูกมากเกินไป ถ้าเป็นอย่างนี้ราคาสินค้าเกษตรแต่ละชนิดก็จะเฮดจ์ไปเฮดจ์มาระหว่างกัน แต่ถ้าดูภาพรวมของทั้งโลก ประชากรโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เมื่อคนโตขึ้นประชากรโลกนับวันยิ่งมากขึ้น คนมากขั้นคนก็ต้องกิน พื้นที่ปลูกเท่าเดิม และนับวันมีแต่ยิ่งแห้งแล้ง โดยรวมในช่วงสั้นดีมานด์จะมากกว่าซัพพลาย แต่ว่าเป็นเหตุผลช่วงสั้นในช่วง 2 ปีข้างหน้านี้ยังมองว่าสินค้าเกษตรยังสดใสอยู่
“ในระยะยาวการวิจัยและพัฒนาสินค้าเกษตรเหล่านี้ จะทำให้ได้พันธุ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มมากขึ้น อย่างปลูกข้าวโพดในอากาศเลวๆ ทำให้ปลูกขึ้นได้อย่างไร แต่ถามว่าถ้าคุณช่วยด้านงานวิจัยเอาข้าวโพดพันธุ์ใหม่ออกมาให้ได้เร็วๆ ในทันทีเลยได้มั้ย คำตอบคือมันไม่ง่ายอย่างนั้น อย่างน้อยก็ต้องใช้เวลาเป็น 5 ปี ในช่วงนี้มีการสนับสนุนในด้านงานวิจัยการเกษตรกันมากขึ้น ทำโน่นทำนี่เพื่อให้การเพาะปลูกมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่มันจะไม่เห็นผลในเร็ววันหรือใน 2-3 ปี นี้ ถ้าช่วงนี้คนยังกินๆ แต่คนผลิตๆ ได้เท่าเดิมหรือน้อยลง ท้ายที่สุดก็สินค้าเกษตรก็ยังมีแนวโน้มที่ดีในช่วง 2 ปีข้างหน้านี้” นายวินกล่าว