สำนักงานก.ล.ต. เปิดรับฟังความเห็น เเก้ไขหลักเกณฑ์จัดการกองทุน ป้องกันการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflicts of Interest) หวังสร้างความสอดคล้องกับสภาพตลาดในปัจจุบัน และรองรับธุรกรรมการเงินใหม่ในอนาคต ขณะเดียวกัน ยังเปิดรับฟัง แนวคิดการออกหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลการเสนอขายหุ้นของบริษัทต่างประเทศในไทยด้วย
รายงานข่าวจากสำหนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์เเละตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า สำนักงานก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงประกาศ เรื่อง การกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนและหลักเกณฑ์ในการป้องกันเพื่อให้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflicts of Interest) ในการจัดการกองทุน ให้มีความสอดคล้องกับสภาพตลาดในปัจจุบัน และสามารถรองรับธุรกรรมการเงินใหม่ในอนาคต ทั้งนี้ เพื่อทำให้กฎเกณฑ์ มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น จึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์
โดยรายละเอียดของการแก้ไขดังกล่าว ได้ขยายนิยามคำว่า “ราคาตลาด” ให้ครอบคุลมถึงราคาตลาดของการทำธุรกรรมอื่นนอกเหนือจากตราสารหนี้และตราสารทุน ขณะเดียวกันได้เพิ่มเติมประเภทการลงทุนที่ได้รับยกเว้นให้ไม่ถือเป็นเงินลงทุนระยะยาวเกินกว่า 1 ปี ในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ (proprietary trading)
พร้อมทั้งปรับถ้อยคำในประกาศสำหรับการลงทุนในหน่วยลงทุนภายใต้การจัดการของบริษัทเอง ให้มีความชัดเจนและตรงตามเจตนารมณ์ของประกาศมากขึ้น
ทั้งนี้ ยังได้แก้ไขหลักเกณฑ์การทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (affiliated transaction) ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับกรณีที่ต้องขอความยินยอม พร้อมกับปรับปรุงหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล soft commission ที่บริษัทจัดการได้รับ สำหรับกองทุนส่วนบุคคลและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานและก่อภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ลูกค้าเกินความจำเป็น
นอกจากนี้ สำนักงาน ก.ล.ต.ยังได้แก้ไขประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนเพื่อให้หลักเกณฑ์มีความยืดหยุ่นและความเหมาะสมในทางปฏิบัติ สำนักงาน ก.ล.ต. จึงมีแนวคิดปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้คือ ปรับช่องทาง วิธีการและระยะเวลาการประกาศข้อมูลมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้ยืดหยุ่นและเหมาะสมมากขึ้น พร้อมทั้ง ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขายและการรับซื้อคืนในส่วนของการปฏิเสธหรือหยุดรับคำสั่ง เพื่อแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติ และทำให้หลักเกณฑ์มีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม สำนักงาน ก.ล.ต. ยังได้ เปิดรับฟังข้อกำหนดข้อมูลที่ต้องเปิดเผย ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นของบริษัทต่างประเทศในไทยด้วย โดยสำนักงาน ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะเปิดให้บริษัทต่างประเทศเข้ามาเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนในประเทศได้ โดยในส่วนของการเปิดเผยข้อมูลการเสนอขายหุ้นดังกล่าว สำนักงานกลต. มีแนวคิดที่จะใช้มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่ตกลงร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียนที่เรียกว่า ASEAN Equity Disclosure Standards โดยจะกำหนดให้ผู้ออกหลักทรัพย์สามารถทำเอกสารเพียงชุดเดียวสำหรับการเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนทั่วไปในหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดความเชื่อมโยงเป็นตลาดเดียวกันในกลุ่มประเทศอาเซียน
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ได้จัดเอกสารรับฟังความคิดเห็น ซึ่งเป็นข้อมูลรายละเอียดของการรับฟังความคิดเห็นทั้ง 3 เรื่องนี้ แสดงอยู่ที่หน้าเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. (www.sec.or.th) สำนักงาน ก.ล.ต. จึงขอเชิญชวนผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจศึกษารายละเอียดและแสดงความคิดเห็นได้ทางเว็บไซต์ดังกล่าว
รายงานข่าวจากสำหนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์เเละตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า สำนักงานก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงประกาศ เรื่อง การกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนและหลักเกณฑ์ในการป้องกันเพื่อให้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflicts of Interest) ในการจัดการกองทุน ให้มีความสอดคล้องกับสภาพตลาดในปัจจุบัน และสามารถรองรับธุรกรรมการเงินใหม่ในอนาคต ทั้งนี้ เพื่อทำให้กฎเกณฑ์ มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น จึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์
โดยรายละเอียดของการแก้ไขดังกล่าว ได้ขยายนิยามคำว่า “ราคาตลาด” ให้ครอบคุลมถึงราคาตลาดของการทำธุรกรรมอื่นนอกเหนือจากตราสารหนี้และตราสารทุน ขณะเดียวกันได้เพิ่มเติมประเภทการลงทุนที่ได้รับยกเว้นให้ไม่ถือเป็นเงินลงทุนระยะยาวเกินกว่า 1 ปี ในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ (proprietary trading)
พร้อมทั้งปรับถ้อยคำในประกาศสำหรับการลงทุนในหน่วยลงทุนภายใต้การจัดการของบริษัทเอง ให้มีความชัดเจนและตรงตามเจตนารมณ์ของประกาศมากขึ้น
ทั้งนี้ ยังได้แก้ไขหลักเกณฑ์การทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (affiliated transaction) ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับกรณีที่ต้องขอความยินยอม พร้อมกับปรับปรุงหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล soft commission ที่บริษัทจัดการได้รับ สำหรับกองทุนส่วนบุคคลและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานและก่อภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ลูกค้าเกินความจำเป็น
นอกจากนี้ สำนักงาน ก.ล.ต.ยังได้แก้ไขประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนเพื่อให้หลักเกณฑ์มีความยืดหยุ่นและความเหมาะสมในทางปฏิบัติ สำนักงาน ก.ล.ต. จึงมีแนวคิดปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้คือ ปรับช่องทาง วิธีการและระยะเวลาการประกาศข้อมูลมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้ยืดหยุ่นและเหมาะสมมากขึ้น พร้อมทั้ง ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขายและการรับซื้อคืนในส่วนของการปฏิเสธหรือหยุดรับคำสั่ง เพื่อแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติ และทำให้หลักเกณฑ์มีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม สำนักงาน ก.ล.ต. ยังได้ เปิดรับฟังข้อกำหนดข้อมูลที่ต้องเปิดเผย ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นของบริษัทต่างประเทศในไทยด้วย โดยสำนักงาน ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะเปิดให้บริษัทต่างประเทศเข้ามาเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนในประเทศได้ โดยในส่วนของการเปิดเผยข้อมูลการเสนอขายหุ้นดังกล่าว สำนักงานกลต. มีแนวคิดที่จะใช้มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่ตกลงร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียนที่เรียกว่า ASEAN Equity Disclosure Standards โดยจะกำหนดให้ผู้ออกหลักทรัพย์สามารถทำเอกสารเพียงชุดเดียวสำหรับการเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนทั่วไปในหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดความเชื่อมโยงเป็นตลาดเดียวกันในกลุ่มประเทศอาเซียน
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ได้จัดเอกสารรับฟังความคิดเห็น ซึ่งเป็นข้อมูลรายละเอียดของการรับฟังความคิดเห็นทั้ง 3 เรื่องนี้ แสดงอยู่ที่หน้าเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. (www.sec.or.th) สำนักงาน ก.ล.ต. จึงขอเชิญชวนผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจศึกษารายละเอียดและแสดงความคิดเห็นได้ทางเว็บไซต์ดังกล่าว