คอลัมน์: ถนนสู่การลงทุน
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
การตัดสินใจลงทุนนั้นผู้ลงทุนสามารถเลือกช่องทางในการลงทุนได้หลายทาง และหากผู้ลงทุนเลือกที่จะทำการลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ใดแล้ว ผู้ลงทุนจะต้องตัดสินใจถึงวิธีการในการซื้อและขายหลักทรัพย์ว่าจะใช้วิธีใดระหว่างการซื้อขายแบบดั้งเดิม กับการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งการซื้อขายทั้ง 2 ระบบมีความแตกต่างกันอยู่บ้างดังนี้ คือ การซื้อขายแบบดั้งเดิมนั้น ลูกค้าจะต้องส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ให้พนักงานของโบรกเกอร์หรือบริษัทหลักทรัพย์ โดยโบรกเกอร์จะเป็นผู้ป้อนคำสั่งเข้าสู่ระบบซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์นั้นจะสามารถสั่งผ่านทางโทรศัพท์ หรือสั่งด้วยตนเองที่ห้องค้าหลักทรัพย์ของโบรกเกอร์ก็ได้ การซื้อขายด้วยวิธีนี้ผู้ลงทุนจะสามารถซื้อขายได้ทุกกระดาน และระบุเงื่อนไขการเสนอซื้อขายได้ โยมีค่าธรรมเนียมในการซื้อและการขายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.25 ของมูลค่าการซื้อขาย
ส่วนการซื้อขายแบบออน์ไลน์ หรือการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต ลูกค้าจะส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์และตรวจสอบสถานะซื้อขายได้ด้วยตนเอง ผ่านเว็บไซต์ของโบรกเกอร์หรือบริษัทหลักทรัพย์ โยลูกค้าหรือผู้ลงทุนจะต้องระบุราคาเสนอซื้อขายที่แน่นอน (Limit order) เท่านั้น ไม่สามารถระบุเงื่อนไขการเสนอซื้อขายอื่น ๆ ได้ และการซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ตนี้ผู้ลงทุนจะสามารถซื้อขายได้เฉพาะบนกระดานหลัก กระดานหน่วยย่อย และกระดานต่างประเทศ ด้วยวิธีจับคู่คำสั่งซื้อขายเข้าด้วยกันโดยอัตโนมัติ (Automated Order Matching: AOM) เท่านั้น โดยมีค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.15 -0.20 ของมูลค่าการซื้อขาย ซึ่งค่าธรรมเนียมจะถูกกว่าการซื้อขายแบบดั้งเดิม
จุดเด่นในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่าน Internetผู้ลงทุนจะเกิดความประหยัดเนื่องจากค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าการซื้อขายในระบบดั้งเดิม และการซื้อขายนั้นเป็นที่แน่ใจแก่ผู้ลงทุนได้ในระดับหนึ่งถึงด้านปลอดภัย ด้วยรหัสผ่าน 2 ชั้น ภายใต้ระบบความปลอดภัยมาตรฐานสากล SSL (Socket Security Level) และผู้ลงทุนจะได้รับข้อมูลข่าวสารเรียลไทม์ พร้อมทั้งเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์และตัดสินใจซื้อขายด้วยตัวเอง จึงทำให้การลงทุนนั้นเกิดความสะดวกสบาย สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ด้วยตัวเอง ทุกที่ ทุกเวลา จากบ้าน จากที่ทำงาน จากอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือที่อื่นๆที่ผู้ลงทุนสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้
การลงทุนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตจะทำให้ผู้ลงทุนสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มากมายและจำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน ตลอดจนการรับข่าวสารเหล่านั้นจะมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ทั้งข้อมูลราคาหลักทรัพย์เรียลไทม์ รายละเอียดบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บทวิเคราะห์จากฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ ข้อมูลทางสถิติที่สำคัญ ๆ ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ข้อมูลปัจจุบันและข้อมูลย้อนหลังเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้ลงทุน เช่น
ข้อมูลหุ้นเรียลไทม์ (Real-time trading information)จะเป็นข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับ ราคาเสนอซื้อ-เสนอขายหลักทรัพย์ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ ปริมาณและมูลค่าการซื้อขาย ภาพรวมการซื้อขาย สรุปอันดับหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายมากที่สุด ราคาเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลง เป็นต้น ทำให้ผู้ลงทุนสามารถได้รับข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ที่ทันสมัยตลอดเวลา นอกจากนี้ยังสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน
ข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน (Listed Companies Info) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ของบริษัทจดทะเบียน เช่น รายชื่อคณะกรรมการบริษัท ลักษณะหรือประเภทธุรกิจ งบการเงินหรือรายงานทางการเงินที่สำคัญ ๆ ประจำงวดต่าง ๆ รวมทั้งข่าวสารความเคลื่อนไหวอื่นๆของแต่ละบริษัท โดยผู้ลงทุนนั้นสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังเพื่อการศึกษาถึงปัจจัยภายในบริษัทได้
รายงานและบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ เป็นบทวิเคราะห์ที่จัดทำโดยนักวิเคราะห์ของแต่ละบริษัทหลักทรัพย์ อาจแยกเป็นวิเคราะห์ข่าวประจำวัน รายงานหุ้นเด่นวันนี้ บทวิเคราะห์รายอุตสาหกรรม รายหลักทรัพย์ วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะถูกส่งไปยังลูกค้าที่ใช้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ทุกคน เพื่อในเป็นข้อมูลเสริมในการตัดสนใจลงทุน
ความเคลื่อนไหวของดัชนี และข่าวสารของตลาดหุ้นต่างประเทศที่สำคัญ เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลพร้อมประกอบการตัดสินใจ บริษัทหลักทรัพย์อาจนำเสนอเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถนำเข้ามาช่วยเหลือผู้ลงทุนในการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น เช่น เครื่องมือในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ระบบเตือนอัตโนมัติทางโทรศัพท์มือถือ ระบบโอนเงินทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
การตัดสินใจลงทุนนั้นผู้ลงทุนสามารถเลือกช่องทางในการลงทุนได้หลายทาง และหากผู้ลงทุนเลือกที่จะทำการลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ใดแล้ว ผู้ลงทุนจะต้องตัดสินใจถึงวิธีการในการซื้อและขายหลักทรัพย์ว่าจะใช้วิธีใดระหว่างการซื้อขายแบบดั้งเดิม กับการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งการซื้อขายทั้ง 2 ระบบมีความแตกต่างกันอยู่บ้างดังนี้ คือ การซื้อขายแบบดั้งเดิมนั้น ลูกค้าจะต้องส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ให้พนักงานของโบรกเกอร์หรือบริษัทหลักทรัพย์ โดยโบรกเกอร์จะเป็นผู้ป้อนคำสั่งเข้าสู่ระบบซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์นั้นจะสามารถสั่งผ่านทางโทรศัพท์ หรือสั่งด้วยตนเองที่ห้องค้าหลักทรัพย์ของโบรกเกอร์ก็ได้ การซื้อขายด้วยวิธีนี้ผู้ลงทุนจะสามารถซื้อขายได้ทุกกระดาน และระบุเงื่อนไขการเสนอซื้อขายได้ โยมีค่าธรรมเนียมในการซื้อและการขายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.25 ของมูลค่าการซื้อขาย
ส่วนการซื้อขายแบบออน์ไลน์ หรือการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต ลูกค้าจะส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์และตรวจสอบสถานะซื้อขายได้ด้วยตนเอง ผ่านเว็บไซต์ของโบรกเกอร์หรือบริษัทหลักทรัพย์ โยลูกค้าหรือผู้ลงทุนจะต้องระบุราคาเสนอซื้อขายที่แน่นอน (Limit order) เท่านั้น ไม่สามารถระบุเงื่อนไขการเสนอซื้อขายอื่น ๆ ได้ และการซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ตนี้ผู้ลงทุนจะสามารถซื้อขายได้เฉพาะบนกระดานหลัก กระดานหน่วยย่อย และกระดานต่างประเทศ ด้วยวิธีจับคู่คำสั่งซื้อขายเข้าด้วยกันโดยอัตโนมัติ (Automated Order Matching: AOM) เท่านั้น โดยมีค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.15 -0.20 ของมูลค่าการซื้อขาย ซึ่งค่าธรรมเนียมจะถูกกว่าการซื้อขายแบบดั้งเดิม
จุดเด่นในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่าน Internetผู้ลงทุนจะเกิดความประหยัดเนื่องจากค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าการซื้อขายในระบบดั้งเดิม และการซื้อขายนั้นเป็นที่แน่ใจแก่ผู้ลงทุนได้ในระดับหนึ่งถึงด้านปลอดภัย ด้วยรหัสผ่าน 2 ชั้น ภายใต้ระบบความปลอดภัยมาตรฐานสากล SSL (Socket Security Level) และผู้ลงทุนจะได้รับข้อมูลข่าวสารเรียลไทม์ พร้อมทั้งเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์และตัดสินใจซื้อขายด้วยตัวเอง จึงทำให้การลงทุนนั้นเกิดความสะดวกสบาย สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ด้วยตัวเอง ทุกที่ ทุกเวลา จากบ้าน จากที่ทำงาน จากอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือที่อื่นๆที่ผู้ลงทุนสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้
การลงทุนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตจะทำให้ผู้ลงทุนสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มากมายและจำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน ตลอดจนการรับข่าวสารเหล่านั้นจะมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ทั้งข้อมูลราคาหลักทรัพย์เรียลไทม์ รายละเอียดบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บทวิเคราะห์จากฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ ข้อมูลทางสถิติที่สำคัญ ๆ ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ข้อมูลปัจจุบันและข้อมูลย้อนหลังเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้ลงทุน เช่น
ข้อมูลหุ้นเรียลไทม์ (Real-time trading information)จะเป็นข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับ ราคาเสนอซื้อ-เสนอขายหลักทรัพย์ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ ปริมาณและมูลค่าการซื้อขาย ภาพรวมการซื้อขาย สรุปอันดับหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายมากที่สุด ราคาเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลง เป็นต้น ทำให้ผู้ลงทุนสามารถได้รับข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ที่ทันสมัยตลอดเวลา นอกจากนี้ยังสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน
ข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน (Listed Companies Info) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ของบริษัทจดทะเบียน เช่น รายชื่อคณะกรรมการบริษัท ลักษณะหรือประเภทธุรกิจ งบการเงินหรือรายงานทางการเงินที่สำคัญ ๆ ประจำงวดต่าง ๆ รวมทั้งข่าวสารความเคลื่อนไหวอื่นๆของแต่ละบริษัท โดยผู้ลงทุนนั้นสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังเพื่อการศึกษาถึงปัจจัยภายในบริษัทได้
รายงานและบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ เป็นบทวิเคราะห์ที่จัดทำโดยนักวิเคราะห์ของแต่ละบริษัทหลักทรัพย์ อาจแยกเป็นวิเคราะห์ข่าวประจำวัน รายงานหุ้นเด่นวันนี้ บทวิเคราะห์รายอุตสาหกรรม รายหลักทรัพย์ วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะถูกส่งไปยังลูกค้าที่ใช้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ทุกคน เพื่อในเป็นข้อมูลเสริมในการตัดสนใจลงทุน
ความเคลื่อนไหวของดัชนี และข่าวสารของตลาดหุ้นต่างประเทศที่สำคัญ เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลพร้อมประกอบการตัดสินใจ บริษัทหลักทรัพย์อาจนำเสนอเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถนำเข้ามาช่วยเหลือผู้ลงทุนในการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น เช่น เครื่องมือในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ระบบเตือนอัตโนมัติทางโทรศัพท์มือถือ ระบบโอนเงินทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น