คอลัมน์ คุยกับผู้จัดการกองทุน
โดย สุกฤษฏิ์ พุทธวงศ์
เจ้าหน้าที่บริหารความเสี่ยงด้านการลงทุน
บลจ.อยุธยา จำกัด
โดยทั่วไป ท่านทั้งหลายอาจจะเคยได้ยินคนพูดเป็นพันๆครั้งว่า “ถ้าเรามีทัศนคติที่ดี เราก็จะสามารถทำอะไรให้ดีได้” หรือ “ไม่ว่าจะทำอะไร ผลลัพธ์ที่ออกมา ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความคิดของเรา...” บางท่านอาจจะเห็นด้วยกับผมที่ว่า ทัศนคติหรือความคิดของคนเรานั้น มีพลังมหาศาลที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ แล้ว concepts เหล่านั้น มันมีความเกี่ยวข้องกับนักลงทุนในโลกการเงินอย่างไร?
ในช่วงที่มีข่าวสารซึ่งนักลงทุนหลายๆท่านคิดว่าจะมีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ ที่จะส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือลดลง ท่านนักลงทุนบางท่านอาจจะสงสัยว่า วันที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง ราคาหุ้นไม่เห็นจะเปลี่ยนแปลงขนาดนั้นเลย! หรือว่าข่าวที่ได้รับมานั้น มันเกินมูลความจริงไปมาก แต่ในช่วงก่อนหน้านั้น ทำไมถึงมีการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดไปในทิศทางที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ทั้งๆที่ไม่มีปัจจัยที่จะทำให้ราคาเปลี่ยนแปลง คำตอบก็คือ การคาดการณ์หรือความคาดหวัง (Expectation) ของนักลงทุน ซึ่งมาจากความคิดที่ว่าราคาจะเป็นเท่าไรจากข้อมูลที่นักลงทุนได้รับนั้น จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาของหลักทรัพย์นั้นๆอย่างมาก
ยกตัวอย่างเช่น ถ้า ธปท. ออกมาประกาศว่า จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลง 1.0% ในวันจันทร์หน้านี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ จากข้อมูลที่ได้รับ นักลงทุนหลายท่านอาจจะคาดการณ์ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทที่มีการกู้ยืมเงินลงทุนจากภาคธนาคาร เนื่องจากจะทำให้ดอกเบี้ยที่ต้องชำระจากการกู้ยืมเงินมานั้นน้อยลง ทำให้ในอนาคตจะส่งผลดีต่อบริษัทในเชิงที่ว่า บริษัทจะเหลือเงินลงทุนมากขึ้นหลังจากชำระดอกเบี้ยแล้ว ดังนั้นนักลงทุนจึงพิจารณาซื้อหุ้นของบริษัทดังกล่าวไว้ล่วงหน้า เพื่อหวังผลกำไรจากการคาดการณ์ว่าราคาหุ้นจะสูงขึ้นในอนาคต ทำให้ราคาหุ้น ณ ปัจจุบันมีการดีดตัวสูงขึ้นจากแรงเข้าซื้อของนักลงทุนบนข่าวสารที่ได้รับ และอาจมีการขายหุ้นออกในวันที่มีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจเป็นการขายเพื่อทำกำไร หรือขายเนื่องจากราคาได้สะท้อนรับข่าวไปล่วงหน้า
แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้านักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากขนาดนั้น สิ่งที่อาจเกิดขึ้นเป็นได้ทั้งด้านบวกและด้านลบ หากนักลงทุนส่วนใหญ่มองในด้านบวกว่า บริษัทต่างๆจะมีต้นทุนในการกู้ยืมลดลงมากกว่าที่คาด ซึ่งจะส่งผลดีต่อผลประกอบการของบริษัท ราคาหุ้นก็จะปรับตัวขึ้น แต่หากนักลงทุนส่วนใหญ่มองในด้านลบว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากกว่าที่คาด เป็นเพราะเศรษฐกิจแย่กว่าที่คาด ซึ่งหมายความว่า ผลประกอบการของบริษัทต่างๆอาจแย่กว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ อาจจะส่งผลให้เกิดการเทขายหุ้นในตลาด และในขณะเดียวกัน อาจจะมีแรงบวกของราคาพันธบัตรกลับเข้าไปในตลาดตราสารหนี้ จากการคาดการณ์ว่าราคาพันธบัตรจะดีดตัวขึ้น เมื่อมีการปรับลดของอัตราดอกเบี้ย
จากตัวอย่างที่กล่าวมา สามารถแสดงให้เห็นว่า ราคาของหลักทรัพย์ในตลาดการลงทุนมีการปรับตัว หรือ Price in เข้ากับข้อมูลที่นักลงทุนได้รับ ก่อนกำหนดการดำเนินการจากรัฐบาลเสียอีก เมื่อถึงเวลาที่รัฐบาลประกาศใช้นโยบายจริงๆ ดัชนีตลาดอาจจะไม่มีการปรับตัวมากนักก็เป็นได้ ถ้าตลาดได้ซึมซับข่าวสารต่างๆที่มีนัยสำคัญไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ดังนั้น นักลงทุนที่มีการติดตามข่าวสารการลงทุนและทำการวิเคราะห์การลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ก็มีโอกาสที่จะสามารถสร้างกำไร หรือหลีกเลี่ยงการขาดทุนได้ในระยะยาว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พึงระวังก็คือ บางบริษัทอาจบริหารความคาดหวัง (manage expectation) ของนักลงทุน โดยการปล่อยข่าว เพื่อให้ราคาหุ้นเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ต้องการ โดยที่ข่าวที่ปล่อยออกมานั้นอาจไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด ซึ่งการที่นักลงทุนซื้อขายตามข่าวลือเพียงอย่างเดียว อาจสามารถสร้างกำไรได้มากในระยะสั้นๆ แต่ก็มีโอกาสขาดทุนได้มากเมื่อตลาดรับรู้ว่าข่าวที่ได้รับเป็นเพียงข่าวลือเท่านั้น
จากความคิดที่ว่า การคาดการณ์ของนักลงทุนสามารถส่งผลต่อทิศทางของดัชนีตลาดได้แล้ว ในสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่เช่นนี้ อารมณ์หรือทัศนคติ (emotion) ของตลาดอาจมีผลต่อตลาดมากกว่าความคาดหวัง ดังเช่นที่ นายเดวิด บาช์ (David Bach) นักเขียนชื่อดังในวงการการเงิน รวมทั้งเคยเป็นอดีตรองประธานของบริษัท Morgan Stanley กล่าวไว้ว่า “This market right now is moving on nothing more than emotions. Guess what? It almost always moves on emotions” ซึ่งอธิบายถึงภาวะตลาดในปัจจุบันที่ราคาเคลื่อนไหวไปตามอารมณ์หรือทัศนคติของตลาดเป็นหลัก หากนักลงทุนส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตลาด ก็คงเป็นไปได้ยากที่ตลาดจะปรับตัวขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีนักลงทุนจำนวนมากคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวในไตรมาสที่ 3 หรือ 4 ของปีนี้ก็ตาม ดังนั้น การที่จะตัดสินใจลงทุนท่านนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหลายๆด้าน เช่น มูลค่าพื้นฐานของหลักทรัพย์ที่จะลงทุน ตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆและแนวโน้มในอนาคต ค่าความเสี่ยงต่างๆ และด้านที่เป็นนามธรรมอย่างเช่น ทัศนคติของนักลงทุนทั่วไป เป็นต้น
โดย สุกฤษฏิ์ พุทธวงศ์
เจ้าหน้าที่บริหารความเสี่ยงด้านการลงทุน
บลจ.อยุธยา จำกัด
โดยทั่วไป ท่านทั้งหลายอาจจะเคยได้ยินคนพูดเป็นพันๆครั้งว่า “ถ้าเรามีทัศนคติที่ดี เราก็จะสามารถทำอะไรให้ดีได้” หรือ “ไม่ว่าจะทำอะไร ผลลัพธ์ที่ออกมา ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความคิดของเรา...” บางท่านอาจจะเห็นด้วยกับผมที่ว่า ทัศนคติหรือความคิดของคนเรานั้น มีพลังมหาศาลที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ แล้ว concepts เหล่านั้น มันมีความเกี่ยวข้องกับนักลงทุนในโลกการเงินอย่างไร?
ในช่วงที่มีข่าวสารซึ่งนักลงทุนหลายๆท่านคิดว่าจะมีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ ที่จะส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือลดลง ท่านนักลงทุนบางท่านอาจจะสงสัยว่า วันที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง ราคาหุ้นไม่เห็นจะเปลี่ยนแปลงขนาดนั้นเลย! หรือว่าข่าวที่ได้รับมานั้น มันเกินมูลความจริงไปมาก แต่ในช่วงก่อนหน้านั้น ทำไมถึงมีการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดไปในทิศทางที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ทั้งๆที่ไม่มีปัจจัยที่จะทำให้ราคาเปลี่ยนแปลง คำตอบก็คือ การคาดการณ์หรือความคาดหวัง (Expectation) ของนักลงทุน ซึ่งมาจากความคิดที่ว่าราคาจะเป็นเท่าไรจากข้อมูลที่นักลงทุนได้รับนั้น จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาของหลักทรัพย์นั้นๆอย่างมาก
ยกตัวอย่างเช่น ถ้า ธปท. ออกมาประกาศว่า จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลง 1.0% ในวันจันทร์หน้านี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ จากข้อมูลที่ได้รับ นักลงทุนหลายท่านอาจจะคาดการณ์ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทที่มีการกู้ยืมเงินลงทุนจากภาคธนาคาร เนื่องจากจะทำให้ดอกเบี้ยที่ต้องชำระจากการกู้ยืมเงินมานั้นน้อยลง ทำให้ในอนาคตจะส่งผลดีต่อบริษัทในเชิงที่ว่า บริษัทจะเหลือเงินลงทุนมากขึ้นหลังจากชำระดอกเบี้ยแล้ว ดังนั้นนักลงทุนจึงพิจารณาซื้อหุ้นของบริษัทดังกล่าวไว้ล่วงหน้า เพื่อหวังผลกำไรจากการคาดการณ์ว่าราคาหุ้นจะสูงขึ้นในอนาคต ทำให้ราคาหุ้น ณ ปัจจุบันมีการดีดตัวสูงขึ้นจากแรงเข้าซื้อของนักลงทุนบนข่าวสารที่ได้รับ และอาจมีการขายหุ้นออกในวันที่มีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจเป็นการขายเพื่อทำกำไร หรือขายเนื่องจากราคาได้สะท้อนรับข่าวไปล่วงหน้า
แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้านักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากขนาดนั้น สิ่งที่อาจเกิดขึ้นเป็นได้ทั้งด้านบวกและด้านลบ หากนักลงทุนส่วนใหญ่มองในด้านบวกว่า บริษัทต่างๆจะมีต้นทุนในการกู้ยืมลดลงมากกว่าที่คาด ซึ่งจะส่งผลดีต่อผลประกอบการของบริษัท ราคาหุ้นก็จะปรับตัวขึ้น แต่หากนักลงทุนส่วนใหญ่มองในด้านลบว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากกว่าที่คาด เป็นเพราะเศรษฐกิจแย่กว่าที่คาด ซึ่งหมายความว่า ผลประกอบการของบริษัทต่างๆอาจแย่กว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ อาจจะส่งผลให้เกิดการเทขายหุ้นในตลาด และในขณะเดียวกัน อาจจะมีแรงบวกของราคาพันธบัตรกลับเข้าไปในตลาดตราสารหนี้ จากการคาดการณ์ว่าราคาพันธบัตรจะดีดตัวขึ้น เมื่อมีการปรับลดของอัตราดอกเบี้ย
จากตัวอย่างที่กล่าวมา สามารถแสดงให้เห็นว่า ราคาของหลักทรัพย์ในตลาดการลงทุนมีการปรับตัว หรือ Price in เข้ากับข้อมูลที่นักลงทุนได้รับ ก่อนกำหนดการดำเนินการจากรัฐบาลเสียอีก เมื่อถึงเวลาที่รัฐบาลประกาศใช้นโยบายจริงๆ ดัชนีตลาดอาจจะไม่มีการปรับตัวมากนักก็เป็นได้ ถ้าตลาดได้ซึมซับข่าวสารต่างๆที่มีนัยสำคัญไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ดังนั้น นักลงทุนที่มีการติดตามข่าวสารการลงทุนและทำการวิเคราะห์การลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ก็มีโอกาสที่จะสามารถสร้างกำไร หรือหลีกเลี่ยงการขาดทุนได้ในระยะยาว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พึงระวังก็คือ บางบริษัทอาจบริหารความคาดหวัง (manage expectation) ของนักลงทุน โดยการปล่อยข่าว เพื่อให้ราคาหุ้นเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ต้องการ โดยที่ข่าวที่ปล่อยออกมานั้นอาจไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด ซึ่งการที่นักลงทุนซื้อขายตามข่าวลือเพียงอย่างเดียว อาจสามารถสร้างกำไรได้มากในระยะสั้นๆ แต่ก็มีโอกาสขาดทุนได้มากเมื่อตลาดรับรู้ว่าข่าวที่ได้รับเป็นเพียงข่าวลือเท่านั้น
จากความคิดที่ว่า การคาดการณ์ของนักลงทุนสามารถส่งผลต่อทิศทางของดัชนีตลาดได้แล้ว ในสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่เช่นนี้ อารมณ์หรือทัศนคติ (emotion) ของตลาดอาจมีผลต่อตลาดมากกว่าความคาดหวัง ดังเช่นที่ นายเดวิด บาช์ (David Bach) นักเขียนชื่อดังในวงการการเงิน รวมทั้งเคยเป็นอดีตรองประธานของบริษัท Morgan Stanley กล่าวไว้ว่า “This market right now is moving on nothing more than emotions. Guess what? It almost always moves on emotions” ซึ่งอธิบายถึงภาวะตลาดในปัจจุบันที่ราคาเคลื่อนไหวไปตามอารมณ์หรือทัศนคติของตลาดเป็นหลัก หากนักลงทุนส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตลาด ก็คงเป็นไปได้ยากที่ตลาดจะปรับตัวขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีนักลงทุนจำนวนมากคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวในไตรมาสที่ 3 หรือ 4 ของปีนี้ก็ตาม ดังนั้น การที่จะตัดสินใจลงทุนท่านนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหลายๆด้าน เช่น มูลค่าพื้นฐานของหลักทรัพย์ที่จะลงทุน ตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆและแนวโน้มในอนาคต ค่าความเสี่ยงต่างๆ และด้านที่เป็นนามธรรมอย่างเช่น ทัศนคติของนักลงทุนทั่วไป เป็นต้น