บลจ.กสิกรไทยมั่นใจเศรษฐกิจเกาหลีแกร่ง ชิงจังหวะดอกเบี้ยขาลง เข็นกองทุนพันธบัตรโสมล็อคผลตอบแทนอายุ 1 ปี เอาใจนักลงทุนชอบความเสี่ยงต่ำแต่ผลตอบแทนสูงกว่าบอนด์ในประเทศ เตรียมไอพีโอ 28มกราคมถึง 3 กุมภาพันธ์นี้ มั่นใจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับนักลงทุนช่วงอัตราดอกเบี้ยทรุด
นางสาวเอื้อพันธ์ เพ็ชราภรณ์ ผู้บริหารฝ่ายบริการผู้ลงทุนและทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมที่จะเสนอขายกองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี เอเอ (K-Korean Government Bond 1 Year AA Fund : KKG1YAA) ระหว่างวันที่ 28 มกราคม ถึง 3 กุมภาพันธ์ 2552 เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนสูงกว่าผลตอบแทนจากพันธบัตรในประเทศและล็อคอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในช่วงทิศทางดอกเบี้ยขาลง
สำหรับกองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี เอเอ มีขนาดกองทุน 3,000 ล้านบาท อายุประมาณ 1 ปี มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ที่รัฐบาล องค์การ หรือหน่วยงานของรัฐบาลเกาหลีใต้เป็นผู้ออก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
นอกจากนี้ กองทุนจะมีการลงทุนในอนุพันธ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวนตลอดอายุการลงทุน
นางสาวเอื้อพันธ์ กล่าวอีกว่า การบลจ.กสิกรไทยเสนอขายกองทุนนี้ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุน เนื่องจากมองว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ยังมีความแข็งแกร่ง ตลอดจนตราสารหนี้ภาครัฐที่กองทุนเน้นลงทุนยังได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นในอันดับ F1 ซึ่งเป็นอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นที่สูงสุดจากการจัดอันดับของ Fitch Rating, International และถือเป็นอันดับเครดิตที่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลไทย
“กองทุนนี้คงจะเป็นอีกทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับ ผู้ลงทุนที่ต้องการโอกาสรับผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในพันบัตรรัฐบาลในประเทศท่ามกลางภาวะดอกเบี้ยขาลงเช่นปัจจุบัน” นางสาวเอื้อพันธ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี เอเอ เป็นกองทุนที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก จึงจะมี การจัดสรรแบบจองซื้อก่อนได้ก่อน และจะปิดการขายทันทีเมื่อขายได้ตามขนาดโครงการโดยไม่จำเป็นต้องรอจนถึงวันสุดท้ายของการเสนอขาย
สำหรับกองทุนประเภทนี้ถือว่าได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดีในปีที่ผ่านมา(2551) เฉพาะบลจ.กสิกรไทยแห่งเดียวมียอดลงทุนรวมแล้วกว่า 5 หมื่นล้านบาท จากทั้งหมด 23 กองทุน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอายุโครงการ 1 ปี ส่วนกองทุนที่ครบกำหนดนั้นมีอายุโครงการประมาณ 6 เดือน
ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทยมีกองทุนพันธบัตรเกาหลีที่ครบอายุไปแล้วจำนวน 2 กองทุนได้แก่กองทุนเปิด เค พันธบัตรเกาหลี เอ และ เค พันธบัตรเกาหลี บี โดยได้ทำการแจ้งต่อผู้ลงทุนรับทราบว่า และทำการโอนเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดโดยอัตโนมัติไปแล้วในวันที่ 16 ธันวาคม 2551 และในวันที่ 17 ธันวาคม2551
โดยผลตอบแทนที่คาดการณ์ไว้ในกองทุนพันธบัตร เกาหลีใต้ ซึ่งออกไปก่อนหน้านี้จะอยู่ที่ประมาณ 4.3% สำหรับกองที่มีอายุประมาณ 1 ปี ส่วนกองทุนที่ครบกำหนดทั้ง 2 กองนี้จะมีผลตอบแทนประมาณ 3.25% ต่อปี หลังหักค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ
ทั้งนี้ ปัจจุบันบลจ.กสิกรไทยมีสินทรัพย์รวม ณ สิ้นปี 2551 อยู่ที่ 3.47 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่ 3.19 แสนล้านบาท กว่า 2.89 หมื่นล้านบาท โดยกองทุนรวมมีขนาดสินทรัพย์เพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ 2.14 หมื่นล้านบาท อยู่ที่ 2.59 แสนล้านบาทในปัจจุบัน
สำหรับสาเหตุของการขยายตัวในครั้งนี้ เนื่องจากในปีที่ผ่านมาบริษัทได้ทำการออกกองทุนถึงกว่า 40 กองทุนแบ่งเป็นกองทุนรวมพันธบัตรเกาหลีจำนวน 28 กองทุนรวมเป็นเงินกว่า 5.6 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นกองทุนต่างประเทศอีก 2 กองทุน และกองทุนอื่นๆ อีก 10 กองทุน นอกจากนี้หลังจากที่บริษัทเปิดให้บริการซื้อหน่วยลงทุนกองทุนLTF ผ่านบัตรเครดิตยังทำให้ยอกการขายกองทุนดังกล่าวเพิ่มขึ้นถึงกว่า 1 หมื่นล้านบาทอีกด้วย
นางสาวเอื้อพันธ์ เพ็ชราภรณ์ ผู้บริหารฝ่ายบริการผู้ลงทุนและทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมที่จะเสนอขายกองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี เอเอ (K-Korean Government Bond 1 Year AA Fund : KKG1YAA) ระหว่างวันที่ 28 มกราคม ถึง 3 กุมภาพันธ์ 2552 เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนสูงกว่าผลตอบแทนจากพันธบัตรในประเทศและล็อคอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในช่วงทิศทางดอกเบี้ยขาลง
สำหรับกองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี เอเอ มีขนาดกองทุน 3,000 ล้านบาท อายุประมาณ 1 ปี มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ที่รัฐบาล องค์การ หรือหน่วยงานของรัฐบาลเกาหลีใต้เป็นผู้ออก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
นอกจากนี้ กองทุนจะมีการลงทุนในอนุพันธ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวนตลอดอายุการลงทุน
นางสาวเอื้อพันธ์ กล่าวอีกว่า การบลจ.กสิกรไทยเสนอขายกองทุนนี้ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุน เนื่องจากมองว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ยังมีความแข็งแกร่ง ตลอดจนตราสารหนี้ภาครัฐที่กองทุนเน้นลงทุนยังได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นในอันดับ F1 ซึ่งเป็นอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นที่สูงสุดจากการจัดอันดับของ Fitch Rating, International และถือเป็นอันดับเครดิตที่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลไทย
“กองทุนนี้คงจะเป็นอีกทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับ ผู้ลงทุนที่ต้องการโอกาสรับผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในพันบัตรรัฐบาลในประเทศท่ามกลางภาวะดอกเบี้ยขาลงเช่นปัจจุบัน” นางสาวเอื้อพันธ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี เอเอ เป็นกองทุนที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก จึงจะมี การจัดสรรแบบจองซื้อก่อนได้ก่อน และจะปิดการขายทันทีเมื่อขายได้ตามขนาดโครงการโดยไม่จำเป็นต้องรอจนถึงวันสุดท้ายของการเสนอขาย
สำหรับกองทุนประเภทนี้ถือว่าได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดีในปีที่ผ่านมา(2551) เฉพาะบลจ.กสิกรไทยแห่งเดียวมียอดลงทุนรวมแล้วกว่า 5 หมื่นล้านบาท จากทั้งหมด 23 กองทุน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอายุโครงการ 1 ปี ส่วนกองทุนที่ครบกำหนดนั้นมีอายุโครงการประมาณ 6 เดือน
ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทยมีกองทุนพันธบัตรเกาหลีที่ครบอายุไปแล้วจำนวน 2 กองทุนได้แก่กองทุนเปิด เค พันธบัตรเกาหลี เอ และ เค พันธบัตรเกาหลี บี โดยได้ทำการแจ้งต่อผู้ลงทุนรับทราบว่า และทำการโอนเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดโดยอัตโนมัติไปแล้วในวันที่ 16 ธันวาคม 2551 และในวันที่ 17 ธันวาคม2551
โดยผลตอบแทนที่คาดการณ์ไว้ในกองทุนพันธบัตร เกาหลีใต้ ซึ่งออกไปก่อนหน้านี้จะอยู่ที่ประมาณ 4.3% สำหรับกองที่มีอายุประมาณ 1 ปี ส่วนกองทุนที่ครบกำหนดทั้ง 2 กองนี้จะมีผลตอบแทนประมาณ 3.25% ต่อปี หลังหักค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ
ทั้งนี้ ปัจจุบันบลจ.กสิกรไทยมีสินทรัพย์รวม ณ สิ้นปี 2551 อยู่ที่ 3.47 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่ 3.19 แสนล้านบาท กว่า 2.89 หมื่นล้านบาท โดยกองทุนรวมมีขนาดสินทรัพย์เพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ 2.14 หมื่นล้านบาท อยู่ที่ 2.59 แสนล้านบาทในปัจจุบัน
สำหรับสาเหตุของการขยายตัวในครั้งนี้ เนื่องจากในปีที่ผ่านมาบริษัทได้ทำการออกกองทุนถึงกว่า 40 กองทุนแบ่งเป็นกองทุนรวมพันธบัตรเกาหลีจำนวน 28 กองทุนรวมเป็นเงินกว่า 5.6 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นกองทุนต่างประเทศอีก 2 กองทุน และกองทุนอื่นๆ อีก 10 กองทุน นอกจากนี้หลังจากที่บริษัทเปิดให้บริการซื้อหน่วยลงทุนกองทุนLTF ผ่านบัตรเครดิตยังทำให้ยอกการขายกองทุนดังกล่าวเพิ่มขึ้นถึงกว่า 1 หมื่นล้านบาทอีกด้วย