ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังรายงานงบดุล เดือนมกราคมหลังเร่งรัดอัดเม็ดเงินเข้าระบบขาดดุลถึง 1 แสนล้านบาท รวมยอดสะสม 4 เดือนของปีงบ 52 ขาดดุลเงินสดรวมทั้งสิ้น 2.5 แสนล้านบาท ด้านรายได้นำส่งคลังลดวูบเหลือเพียง 9 หมื่นล้านหลังกรมภาษีทั้ง 3 จัดเก็บไม่เป็นไปตามเป้า
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังได้แถลงฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือนมกราคม 2552 รัฐบาลมีรายได้ นำส่งคลัง 9 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 9.2 พันล้านบาท หรือ 9.2% เนื่องจากการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมหลักในสังกัดกระทรวงการคลังจัดเก็บได้ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมสรรพสามิตจัดเก็บลดลง 8 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ตามนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน นอกจากนี้การคืนภาษีของกรมสรรพากรที่อยู่ในระดับสูงกว่าปีที่แล้วมากส่งผลให้รายได้สุทธิของรัฐบาลลดลง
ขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 1.92 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 3.4 หมื่นล้านบาท หรือ 21.5% โดยมีการเบิกจ่ายที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรายจ่ายให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าวเป็นรายจ่ายประจำ 1.25 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.1% เมื่อ เทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว และรายจ่าย ลงทุนจำนวน 52,029 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว
ทั้งนี้จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้นส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนมกราคม 2552 ขาดดุล 1.01 แสนล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 5.8 หมื่นล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักจากการออกตั๋วเงินคลังสุทธิจำนวน 5.7 หมื่นล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 4.2 หมื่นล้านบาท และรัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการออกพันธบัตรจำนวน 1.9 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังกู้ชดเชยการขาดดุลขาดดุลจำนวน 2.39 หมื่นล้านบาท
สำหรับฐานะการคลังในช่วง 4 เดือนแรกปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 3.67 แสนล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 5.9 หมื่นล้านบาท หรือ 13.9% โดยมีสาเหตุหลักมาจากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะลดลง รวมทั้งการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ลดลง ในขณะที่การคืนภาษีของกรมสรรพากรเพิ่มขึ้นมาก
ส่วนรายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 5.96 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 4.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 8.2% โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน 5.4 แสนล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่าย 29.4% ของวงเงินงบประมาณ 1.835 ล้านล้านบาท และรายจ่ายปีก่อน 5.6 หมื่นล้านบาท
ด้านดุลการคลังรัฐบาลตามกระแสเงินสด จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาล ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 2.29 แสนล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 2.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการชำระคืนตั๋วเงินคลังสุทธิจำนวน 9 พันล้านบาท ทำให้ดุลการคลังของ รัฐบาลขาดดุล 2.5 แสนล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาล ชดเชยการขาดดุลดังกล่าวโดยการออกพันธบัตรจำนวน 5.9 หมื่นล้านบาท และใช้เงินคงคลัง 1.92 แสนล้านบาท มีผลให้เงินคงคลังจากต้นปีงบ 52 ที่มีอยู่ 2.29 แสนล้านบาท เหลือเพียง 3.69 หมื่นล้านบาท
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังได้แถลงฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือนมกราคม 2552 รัฐบาลมีรายได้ นำส่งคลัง 9 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 9.2 พันล้านบาท หรือ 9.2% เนื่องจากการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมหลักในสังกัดกระทรวงการคลังจัดเก็บได้ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมสรรพสามิตจัดเก็บลดลง 8 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ตามนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน นอกจากนี้การคืนภาษีของกรมสรรพากรที่อยู่ในระดับสูงกว่าปีที่แล้วมากส่งผลให้รายได้สุทธิของรัฐบาลลดลง
ขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 1.92 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 3.4 หมื่นล้านบาท หรือ 21.5% โดยมีการเบิกจ่ายที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรายจ่ายให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าวเป็นรายจ่ายประจำ 1.25 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.1% เมื่อ เทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว และรายจ่าย ลงทุนจำนวน 52,029 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว
ทั้งนี้จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้นส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนมกราคม 2552 ขาดดุล 1.01 แสนล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 5.8 หมื่นล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักจากการออกตั๋วเงินคลังสุทธิจำนวน 5.7 หมื่นล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 4.2 หมื่นล้านบาท และรัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการออกพันธบัตรจำนวน 1.9 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังกู้ชดเชยการขาดดุลขาดดุลจำนวน 2.39 หมื่นล้านบาท
สำหรับฐานะการคลังในช่วง 4 เดือนแรกปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 3.67 แสนล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 5.9 หมื่นล้านบาท หรือ 13.9% โดยมีสาเหตุหลักมาจากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะลดลง รวมทั้งการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ลดลง ในขณะที่การคืนภาษีของกรมสรรพากรเพิ่มขึ้นมาก
ส่วนรายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 5.96 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 4.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 8.2% โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน 5.4 แสนล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่าย 29.4% ของวงเงินงบประมาณ 1.835 ล้านล้านบาท และรายจ่ายปีก่อน 5.6 หมื่นล้านบาท
ด้านดุลการคลังรัฐบาลตามกระแสเงินสด จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาล ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 2.29 แสนล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 2.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการชำระคืนตั๋วเงินคลังสุทธิจำนวน 9 พันล้านบาท ทำให้ดุลการคลังของ รัฐบาลขาดดุล 2.5 แสนล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาล ชดเชยการขาดดุลดังกล่าวโดยการออกพันธบัตรจำนวน 5.9 หมื่นล้านบาท และใช้เงินคงคลัง 1.92 แสนล้านบาท มีผลให้เงินคงคลังจากต้นปีงบ 52 ที่มีอยู่ 2.29 แสนล้านบาท เหลือเพียง 3.69 หมื่นล้านบาท