โดยนฤมล บุญผาสุก
บลจ.บัวหลวง จำกัด
เรื่องจริงอีกข้อ ที่ไม่สามารถปฎิเสธได้ก็คือ “มนุษย์ที่มีเงินออมทั้งหลาย เชื่อว่าการฝากเงินไว้กับธนาคารจะสร้างความมั่นคงและปลอดภัยได้ดีที่สุด” ยิ่งไปกว่านั้น ความรู้สึกที่นอนหลับด้วยความสบายอกสบายใจ ไม่เป็นกังวล ว่าเงินของเรายังคงอยู่ในที่ที่ปลอดภัยหรือไม่? หรือ ไม่ได้เข้าไปสู่กระบวนการที่อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยง นั้นก็ถือเป็นอีกเรื่อง ที่ผู้มีเงินออม “ปรารถนา”
เพราะถ้าจะย้อนไปในสมัยอดีต ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีนโยบายคุ้มครองหรือรับประกันเงินฝากไม่ว่าจะเป็นจำนวนน้อยหรือ มากใด ๆ ทั้งสิ้น ในความรู้สึกของผู้ที่มีเงินออมหรือคนทั่วไป ก็ยังมีความเชื่อว่ารัฐบาลจะไม่มีทางปล่อยให้แบงค์ล้มอย่างแน่นอน ขอยกตัวอย่างในกรณีของเหตุการณ์ เมื่อครั้งที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ซึ่งส่งผลกระทบมากมายเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในสายตาของผู้ออมเงินที่มีต่อสถาบันการเงินไทยซึ่งลดลงจากเดิมมากและจากวิกฤติเศรษฐกิจดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้ออมเงินรายน้อย , ใหญ่ หรือแม้กระทั่งนักเก็บออมชาวต่างชาติ ต่างพากันขยับเงินออกจากธนาคารเพราะขาดความเชื่อมั่น ส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์ เงินไหลออกอย่างรุนแรง หรือ ที่เรียกว่า “เลือดไหลออก” จนคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสมัยนั้น ต้องหาวิธีห้ามเลือดกันโดยด่วน
และวิธีห้ามเลือดของคณะรัฐมนตรี ก็คือมีมติให้การคุ้มครองผู้ฝากเงินในสถาบันการเงินเต็มจำนวน ซึ่งออกระเบียบมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2540 ทั้งนี้เพื่อที่จะเรียกความเชื่อมั่นจากผู้ออมเงินกลับคืนมา ซึ่งจากมติ ครม. ดังกล่าว ก็เป็นตัวพิสูจน์ความเชื่อของ ผู้ออมเงินได้อย่างชัดเจนว่า อย่างไรก็ตาม “รัฐบาลจะไม่มีทางปล่อยให้แบงค์ล้มอย่างแน่นอน”
จนถึงปัจจุบัน ได้มีเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ และที่สำคัญการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ อาจทำให้ผู้ออมเงินรายใหญ่ตื่นตระหนกกันอีกรอบ เมื่อได้มีการออกพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ว่าด้วยการไม่มีการคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนอีกต่อไป ในความหมายก็คือ จะมีการลดความคุ้มครองเงินฝากจาก 100% ลงเรื่อยๆ จนเหลือไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อคนต่อสถาบันการเงินในที่สุด
และเมื่อถึงเวลานั้น .... เงินน้อย เงินใหญ่ อาจจะเคลื่อนตัวไหลออกจากสถาบันการเงิน มากระจัดกระจายอยู่ตามรูปแบบการออมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การออมในรูปแบบของประกันชีวิต การลงทุนในกองทุนรวม การซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้ และการซื้อทรัพย์สินหรืออสังหาริมทรัพย์ แทนการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์
ฉะนั้นเวลานี้ สิ่งที่ผู้มีเงินออมทั้งหลาย ควรกระทำมากที่สุด ก็คือการศึกษาหาความรู้ และทำความเข้าใจ ว่าเจ้ารูปแบบการออมนอกเหนือจากการฝากเงินในธนาคารแต่ละแบบมีข้อแตกต่างกันอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย หรือการให้ดอกผลและความเสี่ยงที่ติดมากับดอกผลนั้น เป็นอย่างไร อาจจะโดยการติดตามสอบถามสินค้าใหม่ ๆ จากสถาบันการเงิน หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะเสนอขายสิ่งที่ทดแทนการรับฝากเงินและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การออมของท่านได้
เช่น ปัจจุบันสถาบันการเงิน ก็มีรูปแบบการฝากเงินหรือการออมเงินที่หลากหลาย ใครที่ชอบการฝากเงิน+ผลตอบแทน+ความคุ้มครอง ก็อาจจะมองหาประกันชีวิต ซึ่งแน่นอนท่านก็จะต้องยอมรับในเรื่องของ ระยะเวลาในการออมที่ยาวนานให้ได้ หรือใครยังคิดว่า ยังไงก็ขอเป็นเจ้าหนี้ให้รัฐบาลกู้เงิน น่าจะปลอดภัยดี ก็คงจะเหมาะกับการซื้อตราสารหนี้ภาครัฐบาล ไม่ว่าจะโดยตรงหรือผ่านกองทุนรวมที่เลือกลงทุนเฉพาะตราสารหนี้ภาครัฐ ส่วนคนที่มองหาความหลากหลายของการออมบวกกับไม่มีเวลาที่จะติดตามผลการลงทุนของตัวเอง ก็น่าจะลองศึกษาติดตามกองทุนรวม เป็นต้น
แต่สำหรับท่านใดที่ยังคงยึดติดอยู่กับการฝากเงินหรือออมเงินในสถาบันการเงินอยู่ ก็คงจะต้องยอมรับในเรื่องของผลตอบแทนที่ต่ำลง และความปลอดภัยของเงินที่ไม่เต็มร้อยเหมือนก่อนให้ได้
อย่าลืมนะค่ะ เริ่มต้นศึกษากันไว้เถอะค่ะ...ยังไงเราก็คงต้องออกจากการออมเงินเดิม ๆ และเข้าไปพึ่งพารูปแบบการออมใหม่กันอย่างแน่นอน
บลจ.บัวหลวง จำกัด
เรื่องจริงอีกข้อ ที่ไม่สามารถปฎิเสธได้ก็คือ “มนุษย์ที่มีเงินออมทั้งหลาย เชื่อว่าการฝากเงินไว้กับธนาคารจะสร้างความมั่นคงและปลอดภัยได้ดีที่สุด” ยิ่งไปกว่านั้น ความรู้สึกที่นอนหลับด้วยความสบายอกสบายใจ ไม่เป็นกังวล ว่าเงินของเรายังคงอยู่ในที่ที่ปลอดภัยหรือไม่? หรือ ไม่ได้เข้าไปสู่กระบวนการที่อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยง นั้นก็ถือเป็นอีกเรื่อง ที่ผู้มีเงินออม “ปรารถนา”
เพราะถ้าจะย้อนไปในสมัยอดีต ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีนโยบายคุ้มครองหรือรับประกันเงินฝากไม่ว่าจะเป็นจำนวนน้อยหรือ มากใด ๆ ทั้งสิ้น ในความรู้สึกของผู้ที่มีเงินออมหรือคนทั่วไป ก็ยังมีความเชื่อว่ารัฐบาลจะไม่มีทางปล่อยให้แบงค์ล้มอย่างแน่นอน ขอยกตัวอย่างในกรณีของเหตุการณ์ เมื่อครั้งที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ซึ่งส่งผลกระทบมากมายเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในสายตาของผู้ออมเงินที่มีต่อสถาบันการเงินไทยซึ่งลดลงจากเดิมมากและจากวิกฤติเศรษฐกิจดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้ออมเงินรายน้อย , ใหญ่ หรือแม้กระทั่งนักเก็บออมชาวต่างชาติ ต่างพากันขยับเงินออกจากธนาคารเพราะขาดความเชื่อมั่น ส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์ เงินไหลออกอย่างรุนแรง หรือ ที่เรียกว่า “เลือดไหลออก” จนคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสมัยนั้น ต้องหาวิธีห้ามเลือดกันโดยด่วน
และวิธีห้ามเลือดของคณะรัฐมนตรี ก็คือมีมติให้การคุ้มครองผู้ฝากเงินในสถาบันการเงินเต็มจำนวน ซึ่งออกระเบียบมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2540 ทั้งนี้เพื่อที่จะเรียกความเชื่อมั่นจากผู้ออมเงินกลับคืนมา ซึ่งจากมติ ครม. ดังกล่าว ก็เป็นตัวพิสูจน์ความเชื่อของ ผู้ออมเงินได้อย่างชัดเจนว่า อย่างไรก็ตาม “รัฐบาลจะไม่มีทางปล่อยให้แบงค์ล้มอย่างแน่นอน”
จนถึงปัจจุบัน ได้มีเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ และที่สำคัญการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ อาจทำให้ผู้ออมเงินรายใหญ่ตื่นตระหนกกันอีกรอบ เมื่อได้มีการออกพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ว่าด้วยการไม่มีการคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนอีกต่อไป ในความหมายก็คือ จะมีการลดความคุ้มครองเงินฝากจาก 100% ลงเรื่อยๆ จนเหลือไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อคนต่อสถาบันการเงินในที่สุด
และเมื่อถึงเวลานั้น .... เงินน้อย เงินใหญ่ อาจจะเคลื่อนตัวไหลออกจากสถาบันการเงิน มากระจัดกระจายอยู่ตามรูปแบบการออมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การออมในรูปแบบของประกันชีวิต การลงทุนในกองทุนรวม การซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้ และการซื้อทรัพย์สินหรืออสังหาริมทรัพย์ แทนการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์
ฉะนั้นเวลานี้ สิ่งที่ผู้มีเงินออมทั้งหลาย ควรกระทำมากที่สุด ก็คือการศึกษาหาความรู้ และทำความเข้าใจ ว่าเจ้ารูปแบบการออมนอกเหนือจากการฝากเงินในธนาคารแต่ละแบบมีข้อแตกต่างกันอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย หรือการให้ดอกผลและความเสี่ยงที่ติดมากับดอกผลนั้น เป็นอย่างไร อาจจะโดยการติดตามสอบถามสินค้าใหม่ ๆ จากสถาบันการเงิน หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะเสนอขายสิ่งที่ทดแทนการรับฝากเงินและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การออมของท่านได้
เช่น ปัจจุบันสถาบันการเงิน ก็มีรูปแบบการฝากเงินหรือการออมเงินที่หลากหลาย ใครที่ชอบการฝากเงิน+ผลตอบแทน+ความคุ้มครอง ก็อาจจะมองหาประกันชีวิต ซึ่งแน่นอนท่านก็จะต้องยอมรับในเรื่องของ ระยะเวลาในการออมที่ยาวนานให้ได้ หรือใครยังคิดว่า ยังไงก็ขอเป็นเจ้าหนี้ให้รัฐบาลกู้เงิน น่าจะปลอดภัยดี ก็คงจะเหมาะกับการซื้อตราสารหนี้ภาครัฐบาล ไม่ว่าจะโดยตรงหรือผ่านกองทุนรวมที่เลือกลงทุนเฉพาะตราสารหนี้ภาครัฐ ส่วนคนที่มองหาความหลากหลายของการออมบวกกับไม่มีเวลาที่จะติดตามผลการลงทุนของตัวเอง ก็น่าจะลองศึกษาติดตามกองทุนรวม เป็นต้น
แต่สำหรับท่านใดที่ยังคงยึดติดอยู่กับการฝากเงินหรือออมเงินในสถาบันการเงินอยู่ ก็คงจะต้องยอมรับในเรื่องของผลตอบแทนที่ต่ำลง และความปลอดภัยของเงินที่ไม่เต็มร้อยเหมือนก่อนให้ได้
อย่าลืมนะค่ะ เริ่มต้นศึกษากันไว้เถอะค่ะ...ยังไงเราก็คงต้องออกจากการออมเงินเดิม ๆ และเข้าไปพึ่งพารูปแบบการออมใหม่กันอย่างแน่นอน