บลจ.บัวหลวง ชี้รัฐบาลชัดเจนส่งผลดีต่อการลงทุน ดันต้นปีตลาดหุ้นคึกคักโดยเฉพาะกลุ่มปตท. ระบุการลงทุนเมกะโปรเจกต์จะเป็นประโยชน์ในระยะยาว พร้อมเผยนโยบายการบริหารพอร์ตเลือกหุ้นกลุ่มที่มีปัจจัยพื้นฐานดีมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและราคาหุ้นต้องไม่แพงเป็นหลัก
นายวศิน วัฒนวรกิจกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับแผนงานของรัฐบาลในการบริหารเมกะโปรเจกต์นั้น บริษัทมองว่ามันเป็นประโยชน์ที่ดี แต่ยังคงต้องดูสภาวะการณ์ในระยะยาวด้วย เพราะเนื่องจากโครงการดังกล่าวนั้นเป็นโครงการในระยะยาว
ทั้งนี้ กองทุนรวมบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน (B-INFRA) ที่บริษัทบริหารจัดการอยู่นั้น บริษัทจะเลือกเข้าไปลงทุนในหุ้นกลุ่มที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดีมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงราคาหุ้นยังต้องอยู่ในราคาที่สามารถเข้าไปลงทุนได้ด้วย ทั้งนี้ในช่วงต้นปีที่ผ่านมานั้นจะเห็นได้ว่าหุ้นในกลุ่มของปตท. มีการปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณที่ดีต่อการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นบ้านเราในขณะนี้หลังจากที่มีรัฐบาลเข้ามาบริหารที่ชัดเจนมากขึ้น
ทั้งกองทุนรวมบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน ให้ผลตอบแทน ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 กองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน -30.51% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -41.29% ย้อนหลัง 6 เดือน -40.33% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -51.80% ย้อนหลัง 1 ปี -44.41% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -52.53% ย้อนหลัง 3 ปี -11.82% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -40.01% และผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่เริ่มจัดตั้งกองทุนอยู่ที่ -14.37% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -73.61%
ขณะที่สัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนอยู่ที่ 66.95% โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มพลังงาน 40.40% กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ 7.57% กลุ่มสื่อสาร 17.04% กลุ่มอื่น ๆ 1.94% นอกจากนี้กองทุนยังเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้และเงินฝากอีก 29.34% และอื่น ๆ อีก 3.71% รวมเป็น 100%
ส่วน 5 อันดับแรกของตราสารที่กองทุนเข้าไปลงทุนนั้นได้แก่ 1. บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 12.67% 2. บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง 9.61% 3. บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม 9.49% 4. บมจ. ปตท. 8.40% และ 5. บมจ. ผลิตไฟฟ้า 7.26%
สำหรับกองทุนดังกล่าวได้เริ่มเข้าจดทะเบียนกองทุนเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2537 ด้วยมูลค่าเงินทุนโครงการในการจดทะเบียน 5,000 ล้านบาท ทั้งนี้กองทุนดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนโดยเน้นการลงทุนระยะปานกลางและระยะยาวในหลักทรัพย์ประเภทตราสารแห่งทุน เฉพาะในบริษัทซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจไทย เช่น บริษัทในกลุ่มวัสดุก่อสร้างและตกแต่ง พลังงาน สื่อสารพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และขนส่ง โดยจะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ
อนึ่ง ภายหลังที่การเมืองมีความชัดเจนมากขึ้น ทางรัฐบาลได้มีการเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และนักวิเคราะห์มองว่านอกจากนโยบายการเงินที่จะนำมาก่อนหน้านี้ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเต็มที่ โดยหลังจากนี้ภาครัฐควรจะมีการนำนโยบายการคลัง และการใช้จ่ายของภาครัฐเข้ามาร่วแก้ปัญหาเพิ่มเติมอีกด้วย ซึ่งวานนี้ทางนายกรัฐมตรีได้มีการประชุมเพื่อที่จะใช้งบประมาณจำนวน 7 แสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะต่อไป ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ หลังจากนี้
นายวศิน วัฒนวรกิจกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับแผนงานของรัฐบาลในการบริหารเมกะโปรเจกต์นั้น บริษัทมองว่ามันเป็นประโยชน์ที่ดี แต่ยังคงต้องดูสภาวะการณ์ในระยะยาวด้วย เพราะเนื่องจากโครงการดังกล่าวนั้นเป็นโครงการในระยะยาว
ทั้งนี้ กองทุนรวมบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน (B-INFRA) ที่บริษัทบริหารจัดการอยู่นั้น บริษัทจะเลือกเข้าไปลงทุนในหุ้นกลุ่มที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดีมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงราคาหุ้นยังต้องอยู่ในราคาที่สามารถเข้าไปลงทุนได้ด้วย ทั้งนี้ในช่วงต้นปีที่ผ่านมานั้นจะเห็นได้ว่าหุ้นในกลุ่มของปตท. มีการปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณที่ดีต่อการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นบ้านเราในขณะนี้หลังจากที่มีรัฐบาลเข้ามาบริหารที่ชัดเจนมากขึ้น
ทั้งกองทุนรวมบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน ให้ผลตอบแทน ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 กองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน -30.51% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -41.29% ย้อนหลัง 6 เดือน -40.33% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -51.80% ย้อนหลัง 1 ปี -44.41% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -52.53% ย้อนหลัง 3 ปี -11.82% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -40.01% และผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่เริ่มจัดตั้งกองทุนอยู่ที่ -14.37% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -73.61%
ขณะที่สัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนอยู่ที่ 66.95% โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มพลังงาน 40.40% กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ 7.57% กลุ่มสื่อสาร 17.04% กลุ่มอื่น ๆ 1.94% นอกจากนี้กองทุนยังเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้และเงินฝากอีก 29.34% และอื่น ๆ อีก 3.71% รวมเป็น 100%
ส่วน 5 อันดับแรกของตราสารที่กองทุนเข้าไปลงทุนนั้นได้แก่ 1. บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 12.67% 2. บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง 9.61% 3. บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม 9.49% 4. บมจ. ปตท. 8.40% และ 5. บมจ. ผลิตไฟฟ้า 7.26%
สำหรับกองทุนดังกล่าวได้เริ่มเข้าจดทะเบียนกองทุนเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2537 ด้วยมูลค่าเงินทุนโครงการในการจดทะเบียน 5,000 ล้านบาท ทั้งนี้กองทุนดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนโดยเน้นการลงทุนระยะปานกลางและระยะยาวในหลักทรัพย์ประเภทตราสารแห่งทุน เฉพาะในบริษัทซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจไทย เช่น บริษัทในกลุ่มวัสดุก่อสร้างและตกแต่ง พลังงาน สื่อสารพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และขนส่ง โดยจะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ
อนึ่ง ภายหลังที่การเมืองมีความชัดเจนมากขึ้น ทางรัฐบาลได้มีการเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และนักวิเคราะห์มองว่านอกจากนโยบายการเงินที่จะนำมาก่อนหน้านี้ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเต็มที่ โดยหลังจากนี้ภาครัฐควรจะมีการนำนโยบายการคลัง และการใช้จ่ายของภาครัฐเข้ามาร่วแก้ปัญหาเพิ่มเติมอีกด้วย ซึ่งวานนี้ทางนายกรัฐมตรีได้มีการประชุมเพื่อที่จะใช้งบประมาณจำนวน 7 แสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะต่อไป ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ หลังจากนี้