MFCประกาศยกเลิกส่งงบก่อนสอบทาน
ASTV ผู้จัดการรายวัน - นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กำหนดแนวทางการนำส่งงบการเงินก่อนสอบทานและก่อนตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี ตามประกาศที่ บจ/ป 26-00 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 โดยขอความร่วมมือให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินทุนและ/หรือธุรกิจหลักทรัพย์ที่เปิดเผยฐานะการเงินและผลการดำเนินงานก่อนสอบทานและก่อนตรวจสอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และปิดประกาศไว้ ณ ที่สำนักงานของบริษัทภายใน 21 วันนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ให้นำส่งงบการเงินดังกล่าวให้ตลาดหลักทรัพย์ทันทีที่บริษัทจัดทำงบการเงินแล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นไตรมาสหรือสิ้นงวดบัญชีของบริษัท เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ลงทุนทราบ นั้น
ทั้งนี้ เนื่องจากบลจ.เอ็มเอฟซี ไม่มีการเปิดเผยฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานก่อนสอบทานและก่อนตรวจสอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทย และ/หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และไม่มีการปิดประกาศไว้ ณ ที่สำนักงาน ของบริษัท รวมถึงไม่มีการเปิดเผยข้อมูลข้างต้นตามข้อกำหนดของกฎหมายอื่นด้วย
ดังนั้นบริษัทจึงขอยกเลิกการนำส่งงบการเงินก่อนสอบทานและก่อนตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี ให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามประกาศที่ บจ/ป 26-00 ทั้งนี้ ให้มีผลสำหรับงบการเงินประจำปี 2551 เป็นต้นไป
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในปีนี้ของ บลจ.เอ็มเอฟซี ในเบื้องต้นคาดว่าจะออกกองทุนใหม่ ทั้งกองทุนพันธบัตรระยะสั้นอายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี รวมถึงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) รวมประมาณ 14 กอง มูลค่ารวมประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดยแบ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นมูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านบาท โดยให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินฝากเฉลี่ย 0.5-1% แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในขณะนั้นด้วย
ส่วนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นั้น คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านบาท โดยให้ผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 7% ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับปีนี้ ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าว จะส่งทุนในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ในครึ่งปีหลังจะมีการพิจารณาอีกครั้งว่าจะมีการลงทุนในต่างประเทศหรือไม่ เนื่องจากยังคงต้องติดตามภาวะตลาดในขณะนั้นก่อนว่ามีแนวโน้มอย่างไร
"ภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนรวมในปี 52 ก็มองว่าการลงทุนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ก็ค่อนข้างน่าสนใจโดยมีผลตอบแทนเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 7%"นายพิชิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม สำหรับแผนในปี2552จะมีการทบทวนหารืออีกครั้ง ในช่วงเดือนมกราคม และคาดว่าจะได้ข้อสรุปและแถลงแผนปีหน้าในช่วงปลายเดือน
ส่วนผลการดำเนินในช่วงไตรมาส 3/2551 ที่ผ่านมา งบการเงินรวม บริษัทมีกำไรสุทธิรวม 9.621 ล้านบาท ลดลงจากกำไรในงวดเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีกำไรสุทธิ 30.439 ล้านบาท โดยคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท ในขณะที่งวด 9 เดือน บริษัทมีกำไรสุทธิ 65.754 ล้านบาท ส่วนกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 0.55 บาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปีที่แล้วเช่นกัน โดยงวด 9 เดือนของปี 2550 มีกำไรสุทธิ 76.102 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 0.63 บาท
ขณะที่งบการเงินเฉพาะกิจในช่วงไตรมาสที่ 3 บริษัทมีกำไรสุทธิ 9.962 ล้านบาท โดยคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2550 ที่มีกำไรสุทธิ 23.720 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 0.20 บาท ในขณะที่ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน บริษัทมีกำไรสุทธิ 68.371 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.57 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 52.214 ล้านบาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.44 บาท
โดยมีสาเหตุ เนื่องจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ (ค่าฟี) ลดลงจากปีก่อน จำนวน 14.98 ล้านบาท ซึ่งได้รับผลกระทบจากการที่ราคาหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศลดลง อันสืบเนื่องมาจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ ปัญหาระบบสถาบันการเงินในต่างประเทศและความกังวลเกี่ยวกับสภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก
ASTV ผู้จัดการรายวัน - นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กำหนดแนวทางการนำส่งงบการเงินก่อนสอบทานและก่อนตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี ตามประกาศที่ บจ/ป 26-00 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 โดยขอความร่วมมือให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินทุนและ/หรือธุรกิจหลักทรัพย์ที่เปิดเผยฐานะการเงินและผลการดำเนินงานก่อนสอบทานและก่อนตรวจสอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และปิดประกาศไว้ ณ ที่สำนักงานของบริษัทภายใน 21 วันนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ให้นำส่งงบการเงินดังกล่าวให้ตลาดหลักทรัพย์ทันทีที่บริษัทจัดทำงบการเงินแล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นไตรมาสหรือสิ้นงวดบัญชีของบริษัท เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ลงทุนทราบ นั้น
ทั้งนี้ เนื่องจากบลจ.เอ็มเอฟซี ไม่มีการเปิดเผยฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานก่อนสอบทานและก่อนตรวจสอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทย และ/หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และไม่มีการปิดประกาศไว้ ณ ที่สำนักงาน ของบริษัท รวมถึงไม่มีการเปิดเผยข้อมูลข้างต้นตามข้อกำหนดของกฎหมายอื่นด้วย
ดังนั้นบริษัทจึงขอยกเลิกการนำส่งงบการเงินก่อนสอบทานและก่อนตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี ให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามประกาศที่ บจ/ป 26-00 ทั้งนี้ ให้มีผลสำหรับงบการเงินประจำปี 2551 เป็นต้นไป
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในปีนี้ของ บลจ.เอ็มเอฟซี ในเบื้องต้นคาดว่าจะออกกองทุนใหม่ ทั้งกองทุนพันธบัตรระยะสั้นอายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี รวมถึงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) รวมประมาณ 14 กอง มูลค่ารวมประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดยแบ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นมูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านบาท โดยให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินฝากเฉลี่ย 0.5-1% แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในขณะนั้นด้วย
ส่วนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นั้น คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านบาท โดยให้ผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 7% ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับปีนี้ ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าว จะส่งทุนในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ในครึ่งปีหลังจะมีการพิจารณาอีกครั้งว่าจะมีการลงทุนในต่างประเทศหรือไม่ เนื่องจากยังคงต้องติดตามภาวะตลาดในขณะนั้นก่อนว่ามีแนวโน้มอย่างไร
"ภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนรวมในปี 52 ก็มองว่าการลงทุนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ก็ค่อนข้างน่าสนใจโดยมีผลตอบแทนเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 7%"นายพิชิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม สำหรับแผนในปี2552จะมีการทบทวนหารืออีกครั้ง ในช่วงเดือนมกราคม และคาดว่าจะได้ข้อสรุปและแถลงแผนปีหน้าในช่วงปลายเดือน
ส่วนผลการดำเนินในช่วงไตรมาส 3/2551 ที่ผ่านมา งบการเงินรวม บริษัทมีกำไรสุทธิรวม 9.621 ล้านบาท ลดลงจากกำไรในงวดเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีกำไรสุทธิ 30.439 ล้านบาท โดยคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท ในขณะที่งวด 9 เดือน บริษัทมีกำไรสุทธิ 65.754 ล้านบาท ส่วนกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 0.55 บาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปีที่แล้วเช่นกัน โดยงวด 9 เดือนของปี 2550 มีกำไรสุทธิ 76.102 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 0.63 บาท
ขณะที่งบการเงินเฉพาะกิจในช่วงไตรมาสที่ 3 บริษัทมีกำไรสุทธิ 9.962 ล้านบาท โดยคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2550 ที่มีกำไรสุทธิ 23.720 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 0.20 บาท ในขณะที่ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน บริษัทมีกำไรสุทธิ 68.371 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.57 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 52.214 ล้านบาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.44 บาท
โดยมีสาเหตุ เนื่องจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ (ค่าฟี) ลดลงจากปีก่อน จำนวน 14.98 ล้านบาท ซึ่งได้รับผลกระทบจากการที่ราคาหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศลดลง อันสืบเนื่องมาจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ ปัญหาระบบสถาบันการเงินในต่างประเทศและความกังวลเกี่ยวกับสภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก