ลิปเปอร์เผย ภาพรวมกองทุนรวมเดือนพฤศจิกายนยังเป็นลบ แต่กองหุ้นต่างประเทศสวนทาง ดีดตัวขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะกองทอง-กองไชน่า แม้ภาพรวมตลาดจะเป็นขาลง ในขณะที่หุ้นสหรัฐ ยังไม่ฟื้น "1USOPP" ของบลจ.วรรณ อ่วมสุดขาดทุนต่อ 16.55% ด้านกองทุนตราสารหนี้ ดีดตัวรับอานิสงส์ดอกเบี้ยขาลง ประเมินแนวโน้ม แม้บรรยากาศในการลงทุนเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่ความเสี่ยงของพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศและระดับโลก ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องจับตา
นายสุธี เหลืองอร่ามกุล นักวิจัย สถาบันจัดอันดับ ลิปเปอร์ (ประเทศไทย) รายงานว่า ดัชนีหุ้นไทยยังคงร่วงลงต่อเนื่องท่ามกลางวิกฤติการเมืองในประเทศและปัญหาเศรษฐกิจโลก ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในเดือนพฤศจิกายนยังคงปรับลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน เป็นผลจากแรงกดดันจากการประท้วงของกลุ่มพันธมิตรฯโดยเฉพาะอุณหภูมิการเมืองได้ร้อนแรงยิ่งเข้าหลังจากการเข้าปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะที่ปัจจัยภายนอกประเทศจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้สร้างความกังวลให้แก่นักลงทุนทั่วโลก
โดยอัตราการว่างงานของสหรัฐฯในเดือนตุลาคมไปเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 สูงสุดในรอบ 14 ปี ส่งผลให้ดัชนี SET ได้ปรับลดลงร้อยละ 3.5 มาปิดที่ 401.84 จุด นักลงทุนต่างชาติยังคงเดินหน้าเทขายออกมาติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 จำนวน 9.6 พันล้านบาท ส่งผลให้นับตั้งแต่ต้นปีเป็นมา นักลงทุนต่างชาติได้ขายสะสมสุทธิทั้งสิ้น 1.5แสนล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิจำนวน 1.35 พันล้านบาท
ขณะที่นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิจำนวน 8.2 พันล้านบาทความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเพิ่มความกังวลแก่นักลงทุนส่งผลให้ตลาดในภูมิภาคต่างๆ ร่วงลงตามกัน อาทิ ดัชนี Dow Jones Industrial Average และดัชนี FTSE 100 ของอังกฤษที่ปรับลดลงร้อยละ 5.32 และ 2.04 ตามลำดับ สำหรับตลาดหุ้นในภูมิภาคอย่างดัชนี BSE 30 ดัชนี Hang Seng และ ดัชนี Nikkei 225 ปิดลดลงร้อยละ 7.10, 0.58, และ 0.75 ตามลำดับ
ขณะที่ดัชนี Shanghai Composite ของจีนพุ่งขึ้นร้อยละ 8.24 สวนตลาดอื่นเนื่องจากได้รับอานิสงค์จากข่าวดีจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจจีนมูลค่ากว่า 4 ล้านล้านหยวนและการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายกว่า 108 basispoints สำหรับตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาน้ำมันดิบ Brent ในเดือนพฤศจิกายนร่วงลงกว่าร้อยละ 20.41 จากเดือนก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกฉุดให้อุปสงค์ของพลังงานลดลง แม้ว่าจะมีความพยายามปรับลดกำลังการผลิตเพื่อพยุงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะที่ราคาทองคำได้ถีบตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.79 หลังจากที่ค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลงและตลาดเงินโลกยังคงผันผวนอยู่ขณะที่ค่าเงินสกุลหลักในเดือนพฤศจิกายนได้แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินบาท โดยค่าเงินยูโรและค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ ได้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.30 และ 1.24 ตามลำดับ โดยเฉพาะค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นสูงถึงร้อยละ 4.36
ภาพรวมกองทุนเดือนพ.ย.
สำหรับบรรยากาศการลงทุนในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา กองทุนรวมที่ออกใหม่ (IPO) ในเดือนพฤศจิกายน มีจำนวนทั้งหมด 47 กอง โดยส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารหนี้ยกเว้นเพียงหนึ่งกองทุนที่เป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ คือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอ็มเอฟซี-นิชดาธานี 2 ทั้งนี้ บลจ.ยังคงเน้นออกกองทุนรวมตลาดเงิน (Money market funds) เป็นหลัก เนื่องจากตรงกับความต้องการของนักลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะสั้น เนื่องจากไม่ต้องการความเสี่ยงในช่วงที่มีความผันผวนของตลาดสูง โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่ออกกองทุนรวมใหม่มากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน ได้แก่ บลจ.แอสเซทพลัส จำกัด และบลจ.อยุธยา จำกัด จำนวนบริษัทละ 11 กอง
แม้ว่าตลาดหุ้นทั่วโลกจะยังคงปรับตัวลดลง แต่ก็ร่วงลงน้อยกว่าในเดือนก่อน เนื่องจากดัชนีได้ปรับตัวลงมามากในช่วงก่อนหน้านี้แล้ว โดยกองทุนรวมที่ปรับตัวลงมากที่สุด ได้แก่ กองทุนรวมหุ้น (Equity funds) ที่ปรับลดลงโดยเฉพาะร้อยละ 2.45 รองได้แก่ กองทุนรวมผสม (Mixed assets funds) มีผลตอบแทนติดลบร้อยละ 0.96 ตามการขาดทุนจากการลงทุนในหุ้น ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ (Bond funds) และกองทุนรวมตลาดเงิน (Money markets funds) ได้รับอานิสงค์จากการปรับลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ช่วยดันให้ผลตอบแทนกองทุนดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.60 และ 1.10 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ยังได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบ (Commodities funds)ที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่องทำให้มีผลตอบแทนขาดทุนร้อยละ 5.16
ส่วนภาพรวมของกองทุนรวมตราสารทุน แม้ว่าภาพรวมตลาดหุ้นจะมีภาพขาลง แต่ก็พบว่ามีกองทุนรวมหุ้นหลายประเภทสามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวกแก่นักลงทุนได้ อาทิ กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในทองคำ (Equity Sector Gold&Prec Metals) และกองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในจีน (Equity China) ที่ปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 10.95 และ 12.30 ตามลำดับ หลังจากที่ตลาดหุ้นจีนและราคาทองคำพุ่งสูงขึ้น ขณะที่กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในสหรัฐอเมริกาและประเทศเกิดใหม่ (Emerging markets) ปรับตัวลดลงค่อนข้างแรง และทำให้กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในตลาดดังกล่าวมีผลตอบแทนลดลงมาก ทั้งนี้ กองทุนรวมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน ได้แก่ กองทุนเปิด ทหารไทย โกลด์ ฟันด์, กองทุนเปิดทหารไทย China Equity Index, และกองทุนเปิดเคโกลด์ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.93, 10.95, และ 10.68 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนรวมหุ้นที่ขาดทุนมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน ได้แก่ กองทุนเปิด วรรณ ยูเอส รีคอฟเวอรี่ ออพพอร์ทูนิตี้ ฟันด์ (1USOPP)และเค มีน่า หุ้นทุน ขาดทุนร้อยละ -16.55 และ -11.52 ตามลำดับ
ในขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ ผลของตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอได้เพิ่มความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั้งของไทยและของโลก ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการเร่งปรับลดอัตรานโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พบว่าได้ปรับลดลงอย่างมาก โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 1 เดือนได้ปรับลดลงเหลือร้อยละ 0.025ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับลดลง 104.6 basis points เหลือร้อยละ 2.923 สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยก็ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน เนื่องจากได้คาดการณ์ล่วงหน้าว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 3 ธันวาคมจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับลดลง 10 basis points เหลือร้อยละ 3.85 แนวโน้มการปรับลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในตลาดต่างๆ ช่วยให้ราคาตราสารหนี้สูงขึ้นซึ่งเป็นผลดีต่อกองทุนรวมตราสารหนี้
โดยเฉพาะกองทุนรวมตราสารหนี้ในต่างประเทศ ซึ่งได้รับอานิสงค์จากอ่อนค่าลงของค่าเงินบาท โดยกองทุนรวมตราสารหนี้ลงทุนทั่วโลก (BondGlobal) และ กองทุนรวมตราสารหนี้ที่ลงทุนในเอเชียแปซิฟิค (Bond Asia Pacific) มีผลตอบแทนสูงขึ้นร้อยละ 7.64และ 7.09 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ที่ลงทุนในประเทศ (Bond THB) มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.29
สำหรับกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 10 กองแรกในเดือนพฤศจิกายนเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในต่างประเทศ ได้แก่ กลุ่มกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน และกลุ่มกองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส เป็นผลจากำไรของอัตราแลกเปลี่ยน ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีผลตอบแทนต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายน ได้แก่ กลุ่มกองทุนเปิดอยุธยาตราสารหนี้พลัส ซึ่งได้รับผลจากการขาดทุนของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลัก
ด้านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) พบว่า ผลตอบแทนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้ผลตอบแทนสูงสุด 10 อันดับแรกในเดือนพฤศจิกายนมีลักษณะกระจัดกระจาย โดยมีทั้งกองทุนรวมแบบผสม กองทุนรวมหุ้น และกองทุนรวมตราสารหนี้อยู่ใน 10 อันดับแรก โดยกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีผลตอบแทนสูงสุด ได้แก่ กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น (Mixed Asset THB Flexible) กองทุนเปิดอยุธยาทวีทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพ และธนชาติมิกซ์ ฟันด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ มีผลตอบแทนร้อยละ 7.70 และ 2.89ตามลำดับ รองลงมาเป็นกองทุนรวมหุ้น (Equity Thailand) ที่สามารถชนะตลาดที่ปรับตัวลดลงได้ คือ กองทุนเปิดอยุธยาอิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 2.52 และ 1.77 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีผลตอบแทนต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายน ได้แก่กองทุนเปิดบีที ไลฟ์ หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมหน่วยลงทุน ฟินันซ่า เพื่อการเลี้ยงชีพ ให้ผลตอบแทนติดลบร้อยละ -7.96 และ -6.39 ตามลำดับ
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) แม้ว่าโดยรวมตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงร้อยละ 3.5 ในเดือนพฤศจิกายน แต่ก็พบว่ามีกองทุนรวมหุ้นระยะยาวสามารถเอาชนะตลาดและให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้จำนวน 7 กองจากทั้งหมด 52 กอง โดยกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่มีผลตอบแทนสูงสุด ได้แก่ กองทุนเปิดหุ้นระยะยาวอยุธยาอิควิตี้ กรุงศรี-พรีมาเวสท์หุ้นระยะยาว กองทุนเปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 และธนชาติ Big Cap หุ้นระยะยาว ให้ผลตอบแทนร้อยละ 2.41,1.75, 1.61, และ 1.29 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่มีผลตอบแทนต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายน ได้แก่กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีอิสลามิกหุ้นระยะยาว กองทุนเปิดบีที ไลฟ์ 70 หุ้นระยะยาวปันผล และกองทุนเปิดบีทีไลฟ์ หุ้นระยะยาว ให้ผลตอบแทนติดลบร้อยละ -8.61, -7.63, และ -7.25 ตามลำดับ
แนวโน้มการลงทุน (Outlook)
รายงานระบุว่า ถึงแม้ว่าบรรยากาศในการลงทุนจะมีทิศทางที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นจะเห็นได้จากการปรับลดลงของตลาดหุ้นต่างๆในเดือนพฤศจิกายนมีทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากดัชนีตลาดหุ้นต่างๆได้ปรับตัวลงมากรับข่าวร้ายในช่วงก่อนหน้าไปในระดับหนึ่งแล้ว ขณะที่ปัญหาทางการเมืองในประเทศเริ่มคลี่คลายและมีทิศทางที่ดีขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองเข้ามาบริหารรัฐบาล ทำให้บรรยากาศการลงทุนได้ปรับตัวดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของพื้นฐานเศรษฐกิจในระดับประเทศและระดับโลกดูเหมือนว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูง สะท้อนได้จากธนาคารกลางประเทศต่างๆในโลกได้พร้อมใจกันปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงเพื่อกอบกู้เศรษฐกิจ อาทิ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1 มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ในการประชุนต้นเดือนที่ผ่านมา ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.75 และธนาคารกลางอังกฤษปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 1.0 สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจะมีผลกระทบค่อนข้างรุนแรง ทั้งนี้ IMF ได้ปรับลดการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 52 ลงจากร้อยละ 3.0 เหลือร้อยละ 2.2 ปัจจัยหลักก็เป็นผลมาจากการหดตัวของเศรษฐกิจหลัก
อาทิ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยและฉุดให้เศรษฐกิจประเทศอื่นๆชะลอตัวลงตามไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับเศรษฐกิจประเทศไทยในปี 52 จากการสำรวจของ Thomson Reuters Poll พบว่าเศรษฐกิจไทยโดยเฉลี่ยจะขยายตัวเพียง 2.8 เท่านั้น ดังนั้น แม้ว่าบรรยากาศการลงทุนในช่วงสิ้นปีจะดีขึ้น แต่ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจยังคงไม่สนับสนุน ดังนั้น ในระยะสั้น การลงทุนยังคงให้เน้นการลงทุนที่มีความปลอดภัยสูงเป็นหลัก อาทิ ตราสารหนี้ภาครัฐสำหรับการลงทุนในหุ้นยังมองการลงทุนใน ตลาดหุ้นปีหน้ามีความเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นผลกระทบจากเศรษฐกิจในประเทศที่ยังอยู่ในช่วงขาลง และเศรษฐกิจต่างประเทศยังไม่ฟื้นตัวจะมีเข้ามากระทบตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่สามารถใช้การลงทุนแบบ Dollar cost average ก็จะหาโอกาสเข้าทยอยลงทุนในช่วงที่ราคาปรับตัวลงมามากเพื่อลงทุนระยะยาวได้
นายสุธี เหลืองอร่ามกุล นักวิจัย สถาบันจัดอันดับ ลิปเปอร์ (ประเทศไทย) รายงานว่า ดัชนีหุ้นไทยยังคงร่วงลงต่อเนื่องท่ามกลางวิกฤติการเมืองในประเทศและปัญหาเศรษฐกิจโลก ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในเดือนพฤศจิกายนยังคงปรับลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน เป็นผลจากแรงกดดันจากการประท้วงของกลุ่มพันธมิตรฯโดยเฉพาะอุณหภูมิการเมืองได้ร้อนแรงยิ่งเข้าหลังจากการเข้าปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะที่ปัจจัยภายนอกประเทศจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้สร้างความกังวลให้แก่นักลงทุนทั่วโลก
โดยอัตราการว่างงานของสหรัฐฯในเดือนตุลาคมไปเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 สูงสุดในรอบ 14 ปี ส่งผลให้ดัชนี SET ได้ปรับลดลงร้อยละ 3.5 มาปิดที่ 401.84 จุด นักลงทุนต่างชาติยังคงเดินหน้าเทขายออกมาติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 จำนวน 9.6 พันล้านบาท ส่งผลให้นับตั้งแต่ต้นปีเป็นมา นักลงทุนต่างชาติได้ขายสะสมสุทธิทั้งสิ้น 1.5แสนล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิจำนวน 1.35 พันล้านบาท
ขณะที่นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิจำนวน 8.2 พันล้านบาทความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเพิ่มความกังวลแก่นักลงทุนส่งผลให้ตลาดในภูมิภาคต่างๆ ร่วงลงตามกัน อาทิ ดัชนี Dow Jones Industrial Average และดัชนี FTSE 100 ของอังกฤษที่ปรับลดลงร้อยละ 5.32 และ 2.04 ตามลำดับ สำหรับตลาดหุ้นในภูมิภาคอย่างดัชนี BSE 30 ดัชนี Hang Seng และ ดัชนี Nikkei 225 ปิดลดลงร้อยละ 7.10, 0.58, และ 0.75 ตามลำดับ
ขณะที่ดัชนี Shanghai Composite ของจีนพุ่งขึ้นร้อยละ 8.24 สวนตลาดอื่นเนื่องจากได้รับอานิสงค์จากข่าวดีจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจจีนมูลค่ากว่า 4 ล้านล้านหยวนและการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายกว่า 108 basispoints สำหรับตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาน้ำมันดิบ Brent ในเดือนพฤศจิกายนร่วงลงกว่าร้อยละ 20.41 จากเดือนก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกฉุดให้อุปสงค์ของพลังงานลดลง แม้ว่าจะมีความพยายามปรับลดกำลังการผลิตเพื่อพยุงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะที่ราคาทองคำได้ถีบตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.79 หลังจากที่ค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลงและตลาดเงินโลกยังคงผันผวนอยู่ขณะที่ค่าเงินสกุลหลักในเดือนพฤศจิกายนได้แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินบาท โดยค่าเงินยูโรและค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ ได้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.30 และ 1.24 ตามลำดับ โดยเฉพาะค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นสูงถึงร้อยละ 4.36
ภาพรวมกองทุนเดือนพ.ย.
สำหรับบรรยากาศการลงทุนในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา กองทุนรวมที่ออกใหม่ (IPO) ในเดือนพฤศจิกายน มีจำนวนทั้งหมด 47 กอง โดยส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารหนี้ยกเว้นเพียงหนึ่งกองทุนที่เป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ คือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอ็มเอฟซี-นิชดาธานี 2 ทั้งนี้ บลจ.ยังคงเน้นออกกองทุนรวมตลาดเงิน (Money market funds) เป็นหลัก เนื่องจากตรงกับความต้องการของนักลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะสั้น เนื่องจากไม่ต้องการความเสี่ยงในช่วงที่มีความผันผวนของตลาดสูง โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่ออกกองทุนรวมใหม่มากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน ได้แก่ บลจ.แอสเซทพลัส จำกัด และบลจ.อยุธยา จำกัด จำนวนบริษัทละ 11 กอง
แม้ว่าตลาดหุ้นทั่วโลกจะยังคงปรับตัวลดลง แต่ก็ร่วงลงน้อยกว่าในเดือนก่อน เนื่องจากดัชนีได้ปรับตัวลงมามากในช่วงก่อนหน้านี้แล้ว โดยกองทุนรวมที่ปรับตัวลงมากที่สุด ได้แก่ กองทุนรวมหุ้น (Equity funds) ที่ปรับลดลงโดยเฉพาะร้อยละ 2.45 รองได้แก่ กองทุนรวมผสม (Mixed assets funds) มีผลตอบแทนติดลบร้อยละ 0.96 ตามการขาดทุนจากการลงทุนในหุ้น ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ (Bond funds) และกองทุนรวมตลาดเงิน (Money markets funds) ได้รับอานิสงค์จากการปรับลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ช่วยดันให้ผลตอบแทนกองทุนดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.60 และ 1.10 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ยังได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบ (Commodities funds)ที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่องทำให้มีผลตอบแทนขาดทุนร้อยละ 5.16
ส่วนภาพรวมของกองทุนรวมตราสารทุน แม้ว่าภาพรวมตลาดหุ้นจะมีภาพขาลง แต่ก็พบว่ามีกองทุนรวมหุ้นหลายประเภทสามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวกแก่นักลงทุนได้ อาทิ กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในทองคำ (Equity Sector Gold&Prec Metals) และกองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในจีน (Equity China) ที่ปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 10.95 และ 12.30 ตามลำดับ หลังจากที่ตลาดหุ้นจีนและราคาทองคำพุ่งสูงขึ้น ขณะที่กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในสหรัฐอเมริกาและประเทศเกิดใหม่ (Emerging markets) ปรับตัวลดลงค่อนข้างแรง และทำให้กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในตลาดดังกล่าวมีผลตอบแทนลดลงมาก ทั้งนี้ กองทุนรวมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน ได้แก่ กองทุนเปิด ทหารไทย โกลด์ ฟันด์, กองทุนเปิดทหารไทย China Equity Index, และกองทุนเปิดเคโกลด์ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.93, 10.95, และ 10.68 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนรวมหุ้นที่ขาดทุนมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน ได้แก่ กองทุนเปิด วรรณ ยูเอส รีคอฟเวอรี่ ออพพอร์ทูนิตี้ ฟันด์ (1USOPP)และเค มีน่า หุ้นทุน ขาดทุนร้อยละ -16.55 และ -11.52 ตามลำดับ
ในขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ ผลของตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอได้เพิ่มความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั้งของไทยและของโลก ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการเร่งปรับลดอัตรานโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พบว่าได้ปรับลดลงอย่างมาก โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 1 เดือนได้ปรับลดลงเหลือร้อยละ 0.025ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับลดลง 104.6 basis points เหลือร้อยละ 2.923 สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยก็ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน เนื่องจากได้คาดการณ์ล่วงหน้าว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 3 ธันวาคมจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับลดลง 10 basis points เหลือร้อยละ 3.85 แนวโน้มการปรับลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในตลาดต่างๆ ช่วยให้ราคาตราสารหนี้สูงขึ้นซึ่งเป็นผลดีต่อกองทุนรวมตราสารหนี้
โดยเฉพาะกองทุนรวมตราสารหนี้ในต่างประเทศ ซึ่งได้รับอานิสงค์จากอ่อนค่าลงของค่าเงินบาท โดยกองทุนรวมตราสารหนี้ลงทุนทั่วโลก (BondGlobal) และ กองทุนรวมตราสารหนี้ที่ลงทุนในเอเชียแปซิฟิค (Bond Asia Pacific) มีผลตอบแทนสูงขึ้นร้อยละ 7.64และ 7.09 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ที่ลงทุนในประเทศ (Bond THB) มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.29
สำหรับกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 10 กองแรกในเดือนพฤศจิกายนเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในต่างประเทศ ได้แก่ กลุ่มกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน และกลุ่มกองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส เป็นผลจากำไรของอัตราแลกเปลี่ยน ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีผลตอบแทนต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายน ได้แก่ กลุ่มกองทุนเปิดอยุธยาตราสารหนี้พลัส ซึ่งได้รับผลจากการขาดทุนของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลัก
ด้านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) พบว่า ผลตอบแทนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้ผลตอบแทนสูงสุด 10 อันดับแรกในเดือนพฤศจิกายนมีลักษณะกระจัดกระจาย โดยมีทั้งกองทุนรวมแบบผสม กองทุนรวมหุ้น และกองทุนรวมตราสารหนี้อยู่ใน 10 อันดับแรก โดยกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีผลตอบแทนสูงสุด ได้แก่ กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น (Mixed Asset THB Flexible) กองทุนเปิดอยุธยาทวีทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพ และธนชาติมิกซ์ ฟันด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ มีผลตอบแทนร้อยละ 7.70 และ 2.89ตามลำดับ รองลงมาเป็นกองทุนรวมหุ้น (Equity Thailand) ที่สามารถชนะตลาดที่ปรับตัวลดลงได้ คือ กองทุนเปิดอยุธยาอิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 2.52 และ 1.77 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีผลตอบแทนต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายน ได้แก่กองทุนเปิดบีที ไลฟ์ หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมหน่วยลงทุน ฟินันซ่า เพื่อการเลี้ยงชีพ ให้ผลตอบแทนติดลบร้อยละ -7.96 และ -6.39 ตามลำดับ
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) แม้ว่าโดยรวมตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงร้อยละ 3.5 ในเดือนพฤศจิกายน แต่ก็พบว่ามีกองทุนรวมหุ้นระยะยาวสามารถเอาชนะตลาดและให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้จำนวน 7 กองจากทั้งหมด 52 กอง โดยกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่มีผลตอบแทนสูงสุด ได้แก่ กองทุนเปิดหุ้นระยะยาวอยุธยาอิควิตี้ กรุงศรี-พรีมาเวสท์หุ้นระยะยาว กองทุนเปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 และธนชาติ Big Cap หุ้นระยะยาว ให้ผลตอบแทนร้อยละ 2.41,1.75, 1.61, และ 1.29 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่มีผลตอบแทนต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายน ได้แก่กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีอิสลามิกหุ้นระยะยาว กองทุนเปิดบีที ไลฟ์ 70 หุ้นระยะยาวปันผล และกองทุนเปิดบีทีไลฟ์ หุ้นระยะยาว ให้ผลตอบแทนติดลบร้อยละ -8.61, -7.63, และ -7.25 ตามลำดับ
แนวโน้มการลงทุน (Outlook)
รายงานระบุว่า ถึงแม้ว่าบรรยากาศในการลงทุนจะมีทิศทางที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นจะเห็นได้จากการปรับลดลงของตลาดหุ้นต่างๆในเดือนพฤศจิกายนมีทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากดัชนีตลาดหุ้นต่างๆได้ปรับตัวลงมากรับข่าวร้ายในช่วงก่อนหน้าไปในระดับหนึ่งแล้ว ขณะที่ปัญหาทางการเมืองในประเทศเริ่มคลี่คลายและมีทิศทางที่ดีขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองเข้ามาบริหารรัฐบาล ทำให้บรรยากาศการลงทุนได้ปรับตัวดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของพื้นฐานเศรษฐกิจในระดับประเทศและระดับโลกดูเหมือนว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูง สะท้อนได้จากธนาคารกลางประเทศต่างๆในโลกได้พร้อมใจกันปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงเพื่อกอบกู้เศรษฐกิจ อาทิ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1 มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ในการประชุนต้นเดือนที่ผ่านมา ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.75 และธนาคารกลางอังกฤษปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 1.0 สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจะมีผลกระทบค่อนข้างรุนแรง ทั้งนี้ IMF ได้ปรับลดการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 52 ลงจากร้อยละ 3.0 เหลือร้อยละ 2.2 ปัจจัยหลักก็เป็นผลมาจากการหดตัวของเศรษฐกิจหลัก
อาทิ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยและฉุดให้เศรษฐกิจประเทศอื่นๆชะลอตัวลงตามไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับเศรษฐกิจประเทศไทยในปี 52 จากการสำรวจของ Thomson Reuters Poll พบว่าเศรษฐกิจไทยโดยเฉลี่ยจะขยายตัวเพียง 2.8 เท่านั้น ดังนั้น แม้ว่าบรรยากาศการลงทุนในช่วงสิ้นปีจะดีขึ้น แต่ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจยังคงไม่สนับสนุน ดังนั้น ในระยะสั้น การลงทุนยังคงให้เน้นการลงทุนที่มีความปลอดภัยสูงเป็นหลัก อาทิ ตราสารหนี้ภาครัฐสำหรับการลงทุนในหุ้นยังมองการลงทุนใน ตลาดหุ้นปีหน้ามีความเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นผลกระทบจากเศรษฐกิจในประเทศที่ยังอยู่ในช่วงขาลง และเศรษฐกิจต่างประเทศยังไม่ฟื้นตัวจะมีเข้ามากระทบตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่สามารถใช้การลงทุนแบบ Dollar cost average ก็จะหาโอกาสเข้าทยอยลงทุนในช่วงที่ราคาปรับตัวลงมามากเพื่อลงทุนระยะยาวได้