บลจ.ไอเอ็นจี เผย เฟดหั่นดอกเบี้ยลงหนัก 0.75% เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนรวมถึงการบริโภคภายในประเทศ ผู้บริหาร ชี้ เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯกระเตื้องขึ้น ตลาดหุ้นทั่วโลกจะฟื้นตัวตาม โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเกิดใหม่และกลุ่มบริค ซึ่งจะเห็นผลได้ในช่วงประมาณ3 เดือนหรือประมาณ 1 ไตรมาสปีหน้า
นายจุมพล สายมาลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายธุรกิจกองทุนรวมและที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจหลังจากที่ธนาคารกลางสรัฐหรือเฟด ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาอยู่ที่ระดับ 0 - 0.25%ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวของเฟดนั้นเป็นแนวทางที่ถูกต้องและเป็นไปตามที่ได้มีการคาดการณ์กันเอาไว้ เพราะสหรัฐต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูประเทศขึ้นมาใหม่หลังจากที่เศรษฐกิจชะลอตัวลงไปอย่างมากโดยเฉพาะการลงทุนและการอุปโภคบริโภคของประชาชน
โดยการลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดนั้นยังมีผลไปถึงภาวะของตลาดหุ้นในประเทศด้วย ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจของประเทศได้รับการกระตุ้นจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยแล้ว ทำให้ภาวะการลงทุนและการใช้จ่ายของประชาชนภายในประเทศจะเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการที่จะส่งผลให้ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นกลับฟื้นตัว เนื่องจากนักลงทุนจะได้ความเชื่อมั่นและกลับเข้ามาลงทุนกัน โดยการะตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีนี้ซึ่งจะเห็นผลได้ในช่วงประมาณ3 เดือนหรือประมาณ 1 ไตรมาส ขณะเดียวกัน เมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกากลับมาฟื้นตัวแล้ว เชื่อว่าจะส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก ไม่ว่าจะกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market) รวมถึงประเทศในกลุ่ม บริค และประเทศในถูมิภาคเอเชียด้วย
ทั้งนี้ ในส่วนของภูมิภาคเอเชียนั้นจะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสถาบันการเงินไม่มาก โดยเฉพาะประเทศจีนที่แม้ว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ลดลงมาบ้างแต่เป็นการเติบโตในอัตราที่ลดลง ซึ่งเชื่อว่ายังคงมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ระดับ 8% ดังนั้นแล้วถือว่าเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียนั้นแย่น้อยกว่าสหรัฐอเมริกาและยุโรป
นายจุมพล ยังกล่าวต่อว่า เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มีเม็ดเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาจำนวนมากโดยเฉพาะประเทศจีน เนื่องจากประเทศจีนได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาจำนวนมาก ส่งผลให้เศรษฐกิจของสหรัฐนั้นมีสภาพคล่องสูง ฉะนั้นการลดดอกเบี้ยของเฟดครั้งนี้จึงถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐของประเทศเพื่อหวังให้เศรษฐกิจในประเทศรวมถึงการลงทุนในภาคส่วนต่างๆกลับมาฟื้นตัว และจะส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกกลับมาฟื้นตัว
สำหรับบลจ. ไอเอ็นจี นั้น มีกองทุนที่ลงทุนอยู่ในตลาดหุ้นของประเทศเกิดใหม่และประเทศในกลุ่มบริคได้แก่ กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย โกลบอล อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต ปันผล (ING Thai Global Emerging Market - Dividend Fund ) และกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย บริค 40 (ING Thai BRIC 40 Fund) โดยกองทุน กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย โกลบอล อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต ปันผล มีผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3เดือนอยู่ที่ -55.31% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน Benchmark: JP Morgan EMBI - Global Diversified Investment Grade อยู่ที่ -54.22% ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ -27.39% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ -27.32% และมีผลการดำเนินงานตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 0.86% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 2.76%
ขณะที่ กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย บริค 40 มีนโยบายการลงทุนผ่านกองทุนในต่างประเทศ SPDR S&P BRIC 40 ETF (BIK) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีตั้งแต่ร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับ S&P BRIC 40 Index โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ -35.61% เทียบกับเกณฑ์มาตราฐาน Benchmark: S&P BRIC 40 Index อยู่ที่ -45.58% ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ -46.66% เทียบกับเกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ -57.46% และมีผลการดำเนินงานตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ -49.51% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ -58.72%
นายจุมพล สายมาลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายธุรกิจกองทุนรวมและที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจหลังจากที่ธนาคารกลางสรัฐหรือเฟด ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาอยู่ที่ระดับ 0 - 0.25%ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวของเฟดนั้นเป็นแนวทางที่ถูกต้องและเป็นไปตามที่ได้มีการคาดการณ์กันเอาไว้ เพราะสหรัฐต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูประเทศขึ้นมาใหม่หลังจากที่เศรษฐกิจชะลอตัวลงไปอย่างมากโดยเฉพาะการลงทุนและการอุปโภคบริโภคของประชาชน
โดยการลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดนั้นยังมีผลไปถึงภาวะของตลาดหุ้นในประเทศด้วย ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจของประเทศได้รับการกระตุ้นจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยแล้ว ทำให้ภาวะการลงทุนและการใช้จ่ายของประชาชนภายในประเทศจะเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการที่จะส่งผลให้ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นกลับฟื้นตัว เนื่องจากนักลงทุนจะได้ความเชื่อมั่นและกลับเข้ามาลงทุนกัน โดยการะตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีนี้ซึ่งจะเห็นผลได้ในช่วงประมาณ3 เดือนหรือประมาณ 1 ไตรมาส ขณะเดียวกัน เมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกากลับมาฟื้นตัวแล้ว เชื่อว่าจะส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก ไม่ว่าจะกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market) รวมถึงประเทศในกลุ่ม บริค และประเทศในถูมิภาคเอเชียด้วย
ทั้งนี้ ในส่วนของภูมิภาคเอเชียนั้นจะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสถาบันการเงินไม่มาก โดยเฉพาะประเทศจีนที่แม้ว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ลดลงมาบ้างแต่เป็นการเติบโตในอัตราที่ลดลง ซึ่งเชื่อว่ายังคงมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ระดับ 8% ดังนั้นแล้วถือว่าเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียนั้นแย่น้อยกว่าสหรัฐอเมริกาและยุโรป
นายจุมพล ยังกล่าวต่อว่า เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มีเม็ดเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาจำนวนมากโดยเฉพาะประเทศจีน เนื่องจากประเทศจีนได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาจำนวนมาก ส่งผลให้เศรษฐกิจของสหรัฐนั้นมีสภาพคล่องสูง ฉะนั้นการลดดอกเบี้ยของเฟดครั้งนี้จึงถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐของประเทศเพื่อหวังให้เศรษฐกิจในประเทศรวมถึงการลงทุนในภาคส่วนต่างๆกลับมาฟื้นตัว และจะส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกกลับมาฟื้นตัว
สำหรับบลจ. ไอเอ็นจี นั้น มีกองทุนที่ลงทุนอยู่ในตลาดหุ้นของประเทศเกิดใหม่และประเทศในกลุ่มบริคได้แก่ กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย โกลบอล อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต ปันผล (ING Thai Global Emerging Market - Dividend Fund ) และกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย บริค 40 (ING Thai BRIC 40 Fund) โดยกองทุน กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย โกลบอล อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต ปันผล มีผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3เดือนอยู่ที่ -55.31% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน Benchmark: JP Morgan EMBI - Global Diversified Investment Grade อยู่ที่ -54.22% ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ -27.39% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ -27.32% และมีผลการดำเนินงานตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 0.86% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 2.76%
ขณะที่ กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย บริค 40 มีนโยบายการลงทุนผ่านกองทุนในต่างประเทศ SPDR S&P BRIC 40 ETF (BIK) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีตั้งแต่ร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับ S&P BRIC 40 Index โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ -35.61% เทียบกับเกณฑ์มาตราฐาน Benchmark: S&P BRIC 40 Index อยู่ที่ -45.58% ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ -46.66% เทียบกับเกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ -57.46% และมีผลการดำเนินงานตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ -49.51% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ -58.72%