การประชุมในวันที่ 15-16 ธันวาคม 2551 ของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ได้สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดการเงินอีกครั้ง ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงมากเกินคาดถึงร้อยละ 0.75-1.00 ลงสู่กรอบเป้าหมายอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ที่ร้อยละ 0.00-0.25 ซึ่งกำหนดขึ้นใหม่ในการประชุมรอบนี้ จากระดับร้อยละ 1.00
ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้ได้ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ แตะระดับร้อยละ 0.00 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของการใช้อัตราดอกเบี้ย Fed Funds เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด และนับเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds เป็นครั้งที่ 10 ในวัฏจักรขาลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดซึ่งได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องในรอบประมาณ 15 เดือนที่ผ่านมา
ผลการประชุมรอบนี้สร้างความประหลาดใจให้กับนักวิเคราะห์ในตลาดการเงินในหลายๆ ประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดกรอบเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นมาใหม่แทนการกำหนดระดับเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบเดิม พร้อมๆ กันกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงด้วยขนาดที่ใหญ่กว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในตลาด ถึงร้อยละ 0.75-1.00 (นักวิเคราะห์คาดไว้ร้อยละ 0.50-0.75 เท่านั้น)
การดำเนินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมดังกล่าว นับได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของวัฏจักรขาลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบนี้แล้ว เนื่องจากกรอบด้านต่ำของอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ได้แตะระดับร้อยละ 0.00 แล้วในขณะนี้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การกำหนดกรอบอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้แตะร้อยละ 0.00 ของเฟดนั้น เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า เฟดคงมีความตั้งใจที่จะทำให้กรอบเป้าหมายของอัตราดอกเบี้ย Fed Funds มีความสอดคล้องกับระดับอัตราดอกเบี้ย Effective Fed Funds ที่ถูกกำหนดขึ้นจริงในตลาดกู้ยืมระหว่างธนาคารพาณิชย์ ซึ่งได้ขยับเข้าใกล้ร้อยละ 0.00 ไปแล้วในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้
ที่สำคัญกว่านั้นคือแถลงการณ์ในครั้งนี้ของเฟดสะท้อนขั้นตอนการดำเนินการถัดไป เฟดได้เพิ่มส่วนที่สำคัญเข้ามาในแถลงการณ์ฉบับนี้ เพื่อส่งสัญญาณถึงการดำเนินการของเฟดในขั้นตอนต่อไปเพื่อพลิกฟื้นตลาดการเงินให้กลับมาทำหน้าที่ตามปกติและสนับสนุนเศรษฐกิจ โดยเฟดระบุว่า เฟดจะดำเนินการผ่าน Open Market Operations ซึ่งก็คือ การอัดฉีดสภาพคล่องผ่านการทำธุรกรรมรับซื้อตราสารทางการเงิน (ซึ่งมักจะเป็นหลักทรัพย์ที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐ) จากสถาบันการเงิน
ภาพในระยะถัดไป
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ประเด็นสำคัญที่สุดในแถลงการณ์หลังการประชุมของเฟดในรอบนี้ ก็คือ เฟดได้ส่งสัญญาณว่า ภารกิจนโยบายการเงินของเฟดในส่วนของเครื่องมืออัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ดำเนินการมาจนถึงช่วงที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยแล้ว โดยเฟดได้กำหนดกรอบด้านต่ำของอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ไว้ที่ร้อยละ 0.00 ซึ่งทำให้เฟดกลายเป็นธนาคารกลางแห่งแรกในกลุ่มประเทศ G-7 ที่ทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงแตะร้อยละ 0.00
อย่างไรก็ตาม เฟดได้ส่งสัญญาณว่า ภารกิจนโยบายการเงินของเฟดเพื่อแก้ไขตลาดการเงินและสนันสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น ยังคงไม่จบสิ้นลงทั้งหมดหลังการประชุมในรอบนี้ เนื่องจากเฟดยังเหลือเครื่องมืออื่นๆ ในการสร้างสภาวะที่ผ่อนคลายทางการเงินให้กับตลาดการเงิน เพื่อช่วยกดดันให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร ค่าสเปรดและต้นทุนการกู้ยืมที่ภาคครัวเรือนและธุรกิจต้องเผชิญ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดสินเชื่อหลายๆ ประเภทที่ยังคงมีภาวะตึงตัวสูง) ปรับตัวลดลง
หากประเมินในภาพใหญ่แล้ว ดูเหมือนว่า เฟดได้ดำเนินรอยตามนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing Monetary Policy) ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ที่ได้เริ่มต้นใช้ในเดือนมีนาคม 2544 โดยในครั้งนั้น BoJ ได้ดำเนินการอัดฉีดสภาพคล่องมูลค่ามหาศาลเข้าสู่ระบบการเงินเพื่อสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายในทางการเงินในระบบธนาคารโดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อในภาวะเศรษฐกิจซบเซาและมีความเสี่ยงด้านเงินฝืด
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดได้ออกมากล่าวว่า กระบวนการ/มาตรการขั้นพิเศษเชิงปริมาณที่จะถูกผลักดันต่อไปของเฟดนั้น มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากการดำเนินการของ BoJ เนื่องจากเฟดไม่ได้มีเป้าหมายที่จะอัดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบธนาคารแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องการให้กลไกการปล่อยสินเชื่อ โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ฟื้นกลับมาทำงานอีกครั้ง
โดยการเข้าซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยแฟนนี เม เฟรดดี แมค และธนาคารสินเชื่อบ้านของรัฐบาลกลาง (มูลค่า 1 แสนล้านดอลลาร์ฯ) หลักทรัพย์ที่หนุนหลังด้วยสัญญาจำนองที่ได้รับการค้ำประกันจากแฟนนี เม เฟรดดี แมค และจินนี เม (มูลค่า 5 แสนล้านดอลลาร์ฯ) ตลอดจนตราสารหนี้ระยะยาวของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ
ทั้งนี้ ผลที่ถูกคาดหวังจากนโยบายของเฟดในครั้งนี้ก็คือ กระบวนการที่จะส่งผ่านต่อเนื่องไปกดดันให้อัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินคิดกับผู้บริโภค (อาทิ อัตราดอกเบี้ยจำนอง และอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต) และอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินคิดกับภาคธุรกิจ ให้ปรับตัวลง ตลอดจนเพื่อกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า กระบวนการตอบรับของตลาดสินเชื่อหลายๆ ประเภทที่กำลังประสบภาวะตึงตัวในขณะนี้ จะเป็นปัจจัยที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ เนื่องจากจะเป็นเครื่องชี้ที่สามารถสะท้อนถึงประสิทธิภาพของการยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับใกล้ร้อยละ 0.00 พร้อมๆ กับมาตรการผ่อนคลายพิเศษเชิงปริมาณของเฟด
สำหรับนโยบายการเงินของธนาคารกลางอื่นๆ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า วัฏจักรขาลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในหลายๆ ประเทศ ยังคงดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารกลางในแถบเอเชีย ซึ่งรวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย และแม้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะมีพื้นที่อีกไม่มากนักในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 0.30 แต่การดำเนินการของเฟดในการประชุมรอบนี้ก็แสดงให้เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสามารถแตะระดับร้อยละ 0.00 ได้ หากแนวโน้มทางเศรษฐกิจถดถอยลงอย่างรุนแรง และมีความเป็นไปได้ว่าต้องกินเวลานานกว่าสัญญาณการฟื้นตัวจะปรากฏขึ้น
มองแนวโน้มดอกเบี้ยไทย
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้น แม้ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) ถึงร้อยละ 1.00 (นับเป็นขนาดการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นโยบายการเงินของไทยภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อนับตั้งแต่ปี 2543) ลงสู่ร้อยละ 2.75 ในการประชุมวันที่ 3 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า กนง.ยังคงมีความจำเป็นต้องทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก เพื่อสร้างสภาวะที่ผ่อนคลายทางการเงินในยามที่เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับหลากหลายปัจจัยเสี่ยงในระยะข้างหน้า ทั้งจากประเด็นปัญหาทางการเมืองซึ่งได้ส่งผลให้ความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายของภาคธุรกิจชะลอตัวลง ขณะที่ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่เปราะบาง และความเป็นไปได้ของการขยับแข็งค่าขึ้นของเงินบาทเพื่อตอบรับกับความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยและสหรัฐฯ ก็อาจกลายมาเป็นโจทย์หนักของภาคการส่งออกของไทย และอาจมีน้ำหนักทางอ้อมต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธปท.ในระยะถัดไป
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า กนง.มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกอย่างน้อยร้อยละ 1.00 โดยช่วงเวลาของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยน่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 เป็นหลัก เนื่องจากเป็นช่วงที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะขยับลงมาใกล้ร้อยละ 0.00 และอาจมีค่าติดลบในบางเดือนของไตรมาส 2/2552 ขณะที่ เศรษฐกิจไทยอาจชะลอลงอย่างมากตั้งแต่ในช่วงไตรมาส 4/2551 ซึ่งในเบื้องต้นประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2551 อาจมีอัตราการเติบโตที่ติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2551 ในขณะที่ มองว่าภาพรวมของเศรษฐกิจไทยอาจเติบโตได้ต่ำกว่าร้อยละ 1.00 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2552
ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้ได้ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ แตะระดับร้อยละ 0.00 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของการใช้อัตราดอกเบี้ย Fed Funds เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด และนับเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds เป็นครั้งที่ 10 ในวัฏจักรขาลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดซึ่งได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องในรอบประมาณ 15 เดือนที่ผ่านมา
ผลการประชุมรอบนี้สร้างความประหลาดใจให้กับนักวิเคราะห์ในตลาดการเงินในหลายๆ ประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดกรอบเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นมาใหม่แทนการกำหนดระดับเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบเดิม พร้อมๆ กันกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงด้วยขนาดที่ใหญ่กว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในตลาด ถึงร้อยละ 0.75-1.00 (นักวิเคราะห์คาดไว้ร้อยละ 0.50-0.75 เท่านั้น)
การดำเนินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมดังกล่าว นับได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของวัฏจักรขาลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบนี้แล้ว เนื่องจากกรอบด้านต่ำของอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ได้แตะระดับร้อยละ 0.00 แล้วในขณะนี้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การกำหนดกรอบอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้แตะร้อยละ 0.00 ของเฟดนั้น เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า เฟดคงมีความตั้งใจที่จะทำให้กรอบเป้าหมายของอัตราดอกเบี้ย Fed Funds มีความสอดคล้องกับระดับอัตราดอกเบี้ย Effective Fed Funds ที่ถูกกำหนดขึ้นจริงในตลาดกู้ยืมระหว่างธนาคารพาณิชย์ ซึ่งได้ขยับเข้าใกล้ร้อยละ 0.00 ไปแล้วในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้
ที่สำคัญกว่านั้นคือแถลงการณ์ในครั้งนี้ของเฟดสะท้อนขั้นตอนการดำเนินการถัดไป เฟดได้เพิ่มส่วนที่สำคัญเข้ามาในแถลงการณ์ฉบับนี้ เพื่อส่งสัญญาณถึงการดำเนินการของเฟดในขั้นตอนต่อไปเพื่อพลิกฟื้นตลาดการเงินให้กลับมาทำหน้าที่ตามปกติและสนับสนุนเศรษฐกิจ โดยเฟดระบุว่า เฟดจะดำเนินการผ่าน Open Market Operations ซึ่งก็คือ การอัดฉีดสภาพคล่องผ่านการทำธุรกรรมรับซื้อตราสารทางการเงิน (ซึ่งมักจะเป็นหลักทรัพย์ที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐ) จากสถาบันการเงิน
ภาพในระยะถัดไป
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ประเด็นสำคัญที่สุดในแถลงการณ์หลังการประชุมของเฟดในรอบนี้ ก็คือ เฟดได้ส่งสัญญาณว่า ภารกิจนโยบายการเงินของเฟดในส่วนของเครื่องมืออัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ดำเนินการมาจนถึงช่วงที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยแล้ว โดยเฟดได้กำหนดกรอบด้านต่ำของอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ไว้ที่ร้อยละ 0.00 ซึ่งทำให้เฟดกลายเป็นธนาคารกลางแห่งแรกในกลุ่มประเทศ G-7 ที่ทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงแตะร้อยละ 0.00
อย่างไรก็ตาม เฟดได้ส่งสัญญาณว่า ภารกิจนโยบายการเงินของเฟดเพื่อแก้ไขตลาดการเงินและสนันสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น ยังคงไม่จบสิ้นลงทั้งหมดหลังการประชุมในรอบนี้ เนื่องจากเฟดยังเหลือเครื่องมืออื่นๆ ในการสร้างสภาวะที่ผ่อนคลายทางการเงินให้กับตลาดการเงิน เพื่อช่วยกดดันให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร ค่าสเปรดและต้นทุนการกู้ยืมที่ภาคครัวเรือนและธุรกิจต้องเผชิญ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดสินเชื่อหลายๆ ประเภทที่ยังคงมีภาวะตึงตัวสูง) ปรับตัวลดลง
หากประเมินในภาพใหญ่แล้ว ดูเหมือนว่า เฟดได้ดำเนินรอยตามนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing Monetary Policy) ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ที่ได้เริ่มต้นใช้ในเดือนมีนาคม 2544 โดยในครั้งนั้น BoJ ได้ดำเนินการอัดฉีดสภาพคล่องมูลค่ามหาศาลเข้าสู่ระบบการเงินเพื่อสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายในทางการเงินในระบบธนาคารโดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อในภาวะเศรษฐกิจซบเซาและมีความเสี่ยงด้านเงินฝืด
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดได้ออกมากล่าวว่า กระบวนการ/มาตรการขั้นพิเศษเชิงปริมาณที่จะถูกผลักดันต่อไปของเฟดนั้น มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากการดำเนินการของ BoJ เนื่องจากเฟดไม่ได้มีเป้าหมายที่จะอัดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบธนาคารแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องการให้กลไกการปล่อยสินเชื่อ โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ฟื้นกลับมาทำงานอีกครั้ง
โดยการเข้าซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยแฟนนี เม เฟรดดี แมค และธนาคารสินเชื่อบ้านของรัฐบาลกลาง (มูลค่า 1 แสนล้านดอลลาร์ฯ) หลักทรัพย์ที่หนุนหลังด้วยสัญญาจำนองที่ได้รับการค้ำประกันจากแฟนนี เม เฟรดดี แมค และจินนี เม (มูลค่า 5 แสนล้านดอลลาร์ฯ) ตลอดจนตราสารหนี้ระยะยาวของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ
ทั้งนี้ ผลที่ถูกคาดหวังจากนโยบายของเฟดในครั้งนี้ก็คือ กระบวนการที่จะส่งผ่านต่อเนื่องไปกดดันให้อัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินคิดกับผู้บริโภค (อาทิ อัตราดอกเบี้ยจำนอง และอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต) และอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินคิดกับภาคธุรกิจ ให้ปรับตัวลง ตลอดจนเพื่อกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า กระบวนการตอบรับของตลาดสินเชื่อหลายๆ ประเภทที่กำลังประสบภาวะตึงตัวในขณะนี้ จะเป็นปัจจัยที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ เนื่องจากจะเป็นเครื่องชี้ที่สามารถสะท้อนถึงประสิทธิภาพของการยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับใกล้ร้อยละ 0.00 พร้อมๆ กับมาตรการผ่อนคลายพิเศษเชิงปริมาณของเฟด
สำหรับนโยบายการเงินของธนาคารกลางอื่นๆ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า วัฏจักรขาลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในหลายๆ ประเทศ ยังคงดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารกลางในแถบเอเชีย ซึ่งรวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย และแม้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะมีพื้นที่อีกไม่มากนักในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 0.30 แต่การดำเนินการของเฟดในการประชุมรอบนี้ก็แสดงให้เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสามารถแตะระดับร้อยละ 0.00 ได้ หากแนวโน้มทางเศรษฐกิจถดถอยลงอย่างรุนแรง และมีความเป็นไปได้ว่าต้องกินเวลานานกว่าสัญญาณการฟื้นตัวจะปรากฏขึ้น
มองแนวโน้มดอกเบี้ยไทย
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้น แม้ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) ถึงร้อยละ 1.00 (นับเป็นขนาดการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นโยบายการเงินของไทยภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อนับตั้งแต่ปี 2543) ลงสู่ร้อยละ 2.75 ในการประชุมวันที่ 3 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า กนง.ยังคงมีความจำเป็นต้องทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก เพื่อสร้างสภาวะที่ผ่อนคลายทางการเงินในยามที่เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับหลากหลายปัจจัยเสี่ยงในระยะข้างหน้า ทั้งจากประเด็นปัญหาทางการเมืองซึ่งได้ส่งผลให้ความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายของภาคธุรกิจชะลอตัวลง ขณะที่ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่เปราะบาง และความเป็นไปได้ของการขยับแข็งค่าขึ้นของเงินบาทเพื่อตอบรับกับความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยและสหรัฐฯ ก็อาจกลายมาเป็นโจทย์หนักของภาคการส่งออกของไทย และอาจมีน้ำหนักทางอ้อมต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธปท.ในระยะถัดไป
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า กนง.มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกอย่างน้อยร้อยละ 1.00 โดยช่วงเวลาของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยน่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 เป็นหลัก เนื่องจากเป็นช่วงที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะขยับลงมาใกล้ร้อยละ 0.00 และอาจมีค่าติดลบในบางเดือนของไตรมาส 2/2552 ขณะที่ เศรษฐกิจไทยอาจชะลอลงอย่างมากตั้งแต่ในช่วงไตรมาส 4/2551 ซึ่งในเบื้องต้นประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2551 อาจมีอัตราการเติบโตที่ติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2551 ในขณะที่ มองว่าภาพรวมของเศรษฐกิจไทยอาจเติบโตได้ต่ำกว่าร้อยละ 1.00 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2552