xs
xsm
sm
md
lg

ประเภทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตอนที่ 2

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คอลัมน์ “สาระน่ารู้ คู่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ”

”กลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน” Association of Investment Management Companies

สำหรับบทความ ที่นำเสนอท่านผู้อ่านในวันนี้ เป็นข้อมูลที่ต่อเนื่องจากตอนที่แล้วที่ได้กล่าวถึงประเภทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและหลักการสำคัญในการพิจารณาจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งในรูปแบบของกองทุนเดี่ยวและกองทุนร่วม โดยยังมีปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณาอีกด้านหนึ่ง คือ ข้อมูลทางสถิติของธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามข้อมูลตัวอย่าง ดังนี้

จากข้อมูลทางสถิติดังกล่าวสรุปได้ว่า ณ ไตรมาส 3 ปี 2551 จำนวนของกองทุนเดี่ยวมีมากกว่ากองทุนร่วม โดยกองทุนส่วนใหญ่มีขนาดเงินกองทุนมากกว่า 100 ล้านบาท ถึง 500 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.67 ของจำนวนกองทุนทั้งหมด หากจำแนกตามจำนวนสมาชิกกองทุน ก็จะพบว่ากองทุนส่วนใหญ่มีสมาชิกมากกว่า 1,000 ราย หรือในอัตราร้อยละ 45.29 ของจำนวนกองทุนทั้งสิ้น 510 กองทุน ซึ่งในปัจจุบันเพื่อให้การลงทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน จึงทำให้กองทุนขนาดเล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนที่มีขนาดเงินกองทุนต่ำกว่า 100 ล้านบาท เปลี่ยนจากกองทุนเดี่ยวมาเป็นกองทุนร่วมเพิ่มมากขึ้น ที่มา : 1 * ข้อมูลจาก www.thaipvd.com

จากข้อมูลทางสถิติที่ผ่านมานับแต่ปี 2547 พบว่ามูลค่าทรัพย์สินของกองทุนเติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด หากพิจารณาถึงรูปแบบการลงทุนสิ้นไตรมาส 3 ปี 2551 กองทุนยังคงเน้นการลงทุนในตราสารทาง การเงินที่มีความมั่นคงสูง มากกว่าร้อยละ50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิทั้งหมดของกองทุน

อย่างไรก็ดี การจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่ลูกจ้างหรือพนักงาน ถือได้ว่าเป็นสวัสดิการที่ดีที่นายจ้างมีความมุ่งหวังให้ลูกจ้างมีหลักประกันในอนาคต ถึงตรงนี้อาจมีผู้อ่านหลายท่านประสงค์ที่จะจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับองค์กรของท่าน แต่อาจมีข้อสงสัยว่า ? แล้วขั้นตอนการดำเนินการจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพควรต้องทำอย่างไร โดยประการแรก คือ ต้องคัดเลือกบริษัทจัดการที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการจดทะเบียนจัดตั้งและหรือเข้าร่วมกองทุนฯ โดยมีเอกสารที่สำคัญที่ควรพิจารณาอีกรูปแบบหนึ่ง คือ “ ข้อบังคับกองทุน” ซึ่งถือว่าเป็นกฎ กติกา ที่สมาชิกทุกคนในกองทุนต้องปฏิบัติตาม

และ ไม่ว่าจะเป็นการออมในรูปแบบใด “ หากเพียงเริ่มออมแต่วันนี้… จะมั่งมีในวันหน้า... ชีวาสุขสบาย ....
กำลังโหลดความคิดเห็น