คอลัมน์ "สาระน่ารู้ คู่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ"
กลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน”
Association of Investment Management Companies
www.aimc.or.th
สำหรับหัวข้อในฉบับนี้ ขอนำท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับประเภทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพว่า >> มีการจัดแบ่งเป็นกี่ประเภท และมีรูปแบบแตกต่างกันอย่างไร… ข้อมูลโดยสรุปดังนี้ กองทุนเดี่ยว (Single Fund) หมายถึง กองทุนที่มีนายจ้าง 1 ราย มีอิสระในการกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับชื่อกองทุน แผนการลงทุน รวมถึงข้อบังคับของกองทุน การลงทุนจะลงทุนในนามกองทุน
โดยทรัพย์สินของกองทุนจะระบุชื่อกองทุนใดกองทุนหนึ่งโดยเฉพาะ และกองทุนจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของกองทุน
ทั้งนี้ยังมีกองทุนร่วมอีก 1 ประเภท ที่เป็นกองทุนประกอบด้วยนายจ้างหลายราย แต่เป็นกลุ่มของนายจ้างที่เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน (Group Fund) ลักษณะอื่นๆโดยทั่วไปจะเหมือนกับกองทุนเดี่ยว กองทุนร่วม (Pooled Fund) เป็นกองทุนที่ประกอบด้วยนายจ้างหลายรายร่วมกันจดทะเบียนเป็น 1 กองทุน ไม่มีอิสระในการกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับชื่อกองทุน แผนการลงทุน รวมถึงข้อบังคับของกองทุน(หลัก) เว้นแต่ข้อกำหนดบางประการที่ข้อบังคับกองทุน(หลัก) อนุญาตให้เฉพาะส่วนแต่ละราย(นายจ้าง)กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นได้ โดยมีลักษณะสำคัญประการหนึ่ง คือ เป็นการนำเงินกองทุนของทุกนายจ้างมารวมกันเพื่อลงทุนร่วมกันในนามของกองทุนโดยรวม ซึ่งจะกำหนดชื่อกองทุนโดยบริษัทจัดการ ค่าใช้จ่ายของกองทุนจะแบ่งกันรับผิดชอบตามสัดส่วนของเงินที่มีอยู่ในกองทุน
ถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านบางท่านอาจตั้งคำถามในใจว่า ถ้าอย่างนั้นแล้วกองทุนรูปแบบใดจึงจะเหมาะสมกับองค์กรและ/หรือลูกจ้างของท่าน ขอเรียนแนะนำว่า “ เนื่องจากไม่มีข้อกฎหมายใดของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ระบุเป็นเกณฑ์บังคับว่ากองทุนใดจะต้องจดทะเบียนเป็นกองทุนเดี่ยวหรือกองทุนร่วม แต่อาจใช้เกณฑ์การพิจารณาโดยคำแนะนำจากบริษัทจัดการลงทุน ผู้ที่ทำหน้าที่บริหารดูแลกองทุน ” โดยสรุปไว้เป็นแนวทางพอสังเขปดังนี้
จากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ปัจจัยสำคัญลำดับต้นๆที่ควรพิจารณา คือ ขนาดของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Asset Size) ซึ่งก็คือเงินลงทุนของกองทุน ประกอบด้วยเงินสะสม ผลประโยชน์ของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินสมทบ หากท่านประสงค์จะจัดตั้งกองทุนเดี่ยว ควรต้องมีขนาดเงินกองทุนไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ด้วยเหตุผลหลักที่สำคัญ เช่น 1. ความสามารถในกระจายการลงทุนด้วยการลงทุนในตราสารการลงทุนได้หลายประเภท (Asset Allocation) เนื่องจากมีเม็ดเงินลงทุนมากเพียงพอ
2.จากการกระจายการลงทุนก็จะทำให้มีการกระจายความเสี่ยงด้วย (Risk Diversification) 3. ความได้เปรียบในการคัดเลือกตราสารการลงทุนที่มีคุณภาพและผลตอบแทนที่ดี (Advantage of Good Asset Selection) เเละ4. สามารถบริหารค่าใช้จ่ายจากการลงทุนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น (Investment Cost Efficiency)
นอกจากนี้ ท่านผู้อ่านอาจนำข้อมูลทางสถิติมาใช้เป็นองค์ประกอบในการพิจารณาเพิ่มเติม เช่น ในธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ณ ปัจจุบัน มีจำนวนกองทุนทั้งสิ้นกี่กองทุน เป็นกองทุนร่วมกี่กองทุน ขนาดของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบ่งตามมูลค่าเงินกองทุนมากน้อยเช่นไร เช่น ขนาดเงินกองทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวนกี่กองทุน ขนาดเงินกองทุนที่น้อยกว่า 10 ล้านบาท มีจำนวนกี่กองทุน และเงินกองทุนส่วนใหญ่มีนโยบายการลงทุนอย่างไร รวมทั้งอัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพว่าจะมีแนวโน้มไปในทิศทางใด ซึ่งจะขอนำเสนอท่านผู้อ่านเป็นตอนที่ 2 ในครั้งต่อไป
กลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน”
Association of Investment Management Companies
www.aimc.or.th
สำหรับหัวข้อในฉบับนี้ ขอนำท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับประเภทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพว่า >> มีการจัดแบ่งเป็นกี่ประเภท และมีรูปแบบแตกต่างกันอย่างไร… ข้อมูลโดยสรุปดังนี้ กองทุนเดี่ยว (Single Fund) หมายถึง กองทุนที่มีนายจ้าง 1 ราย มีอิสระในการกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับชื่อกองทุน แผนการลงทุน รวมถึงข้อบังคับของกองทุน การลงทุนจะลงทุนในนามกองทุน
โดยทรัพย์สินของกองทุนจะระบุชื่อกองทุนใดกองทุนหนึ่งโดยเฉพาะ และกองทุนจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของกองทุน
ทั้งนี้ยังมีกองทุนร่วมอีก 1 ประเภท ที่เป็นกองทุนประกอบด้วยนายจ้างหลายราย แต่เป็นกลุ่มของนายจ้างที่เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน (Group Fund) ลักษณะอื่นๆโดยทั่วไปจะเหมือนกับกองทุนเดี่ยว กองทุนร่วม (Pooled Fund) เป็นกองทุนที่ประกอบด้วยนายจ้างหลายรายร่วมกันจดทะเบียนเป็น 1 กองทุน ไม่มีอิสระในการกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับชื่อกองทุน แผนการลงทุน รวมถึงข้อบังคับของกองทุน(หลัก) เว้นแต่ข้อกำหนดบางประการที่ข้อบังคับกองทุน(หลัก) อนุญาตให้เฉพาะส่วนแต่ละราย(นายจ้าง)กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นได้ โดยมีลักษณะสำคัญประการหนึ่ง คือ เป็นการนำเงินกองทุนของทุกนายจ้างมารวมกันเพื่อลงทุนร่วมกันในนามของกองทุนโดยรวม ซึ่งจะกำหนดชื่อกองทุนโดยบริษัทจัดการ ค่าใช้จ่ายของกองทุนจะแบ่งกันรับผิดชอบตามสัดส่วนของเงินที่มีอยู่ในกองทุน
ถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านบางท่านอาจตั้งคำถามในใจว่า ถ้าอย่างนั้นแล้วกองทุนรูปแบบใดจึงจะเหมาะสมกับองค์กรและ/หรือลูกจ้างของท่าน ขอเรียนแนะนำว่า “ เนื่องจากไม่มีข้อกฎหมายใดของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ระบุเป็นเกณฑ์บังคับว่ากองทุนใดจะต้องจดทะเบียนเป็นกองทุนเดี่ยวหรือกองทุนร่วม แต่อาจใช้เกณฑ์การพิจารณาโดยคำแนะนำจากบริษัทจัดการลงทุน ผู้ที่ทำหน้าที่บริหารดูแลกองทุน ” โดยสรุปไว้เป็นแนวทางพอสังเขปดังนี้
จากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ปัจจัยสำคัญลำดับต้นๆที่ควรพิจารณา คือ ขนาดของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Asset Size) ซึ่งก็คือเงินลงทุนของกองทุน ประกอบด้วยเงินสะสม ผลประโยชน์ของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินสมทบ หากท่านประสงค์จะจัดตั้งกองทุนเดี่ยว ควรต้องมีขนาดเงินกองทุนไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ด้วยเหตุผลหลักที่สำคัญ เช่น 1. ความสามารถในกระจายการลงทุนด้วยการลงทุนในตราสารการลงทุนได้หลายประเภท (Asset Allocation) เนื่องจากมีเม็ดเงินลงทุนมากเพียงพอ
2.จากการกระจายการลงทุนก็จะทำให้มีการกระจายความเสี่ยงด้วย (Risk Diversification) 3. ความได้เปรียบในการคัดเลือกตราสารการลงทุนที่มีคุณภาพและผลตอบแทนที่ดี (Advantage of Good Asset Selection) เเละ4. สามารถบริหารค่าใช้จ่ายจากการลงทุนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น (Investment Cost Efficiency)
นอกจากนี้ ท่านผู้อ่านอาจนำข้อมูลทางสถิติมาใช้เป็นองค์ประกอบในการพิจารณาเพิ่มเติม เช่น ในธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ณ ปัจจุบัน มีจำนวนกองทุนทั้งสิ้นกี่กองทุน เป็นกองทุนร่วมกี่กองทุน ขนาดของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบ่งตามมูลค่าเงินกองทุนมากน้อยเช่นไร เช่น ขนาดเงินกองทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวนกี่กองทุน ขนาดเงินกองทุนที่น้อยกว่า 10 ล้านบาท มีจำนวนกี่กองทุน และเงินกองทุนส่วนใหญ่มีนโยบายการลงทุนอย่างไร รวมทั้งอัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพว่าจะมีแนวโน้มไปในทิศทางใด ซึ่งจะขอนำเสนอท่านผู้อ่านเป็นตอนที่ 2 ในครั้งต่อไป