สมพงษ์ สว่างวิศาล
บลจ.บัวหลวง จำกัด
ปัจจุบันวิทยการด้านการแพทย์ที่ก้าวหน้าทันสมัย คนในปัจจุบันแข็งแรงมากขึ้น เพราะเอาใจใส่สุขภาพมากขึ้น ทำให้อายุเฉลี่ยของประชากรมากขึ้นไปด้วย นั่นหมายความว่า ประชากรโดยเฉลี่ยทั่วโลกจะมีช่วงชีวิตวัยเกษียณยืนยาวขึ้น ซึ่งแสดงว่ามีความจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อดำรงชีพในช่วงท้ายของชีวิตมากขึ้นด้วย แล้วคุณพร้อมกับวัยเกษียณแล้วรึยัง เพราะหากคุณไม่ได้วางแผนสู่วัยเกษียณ คุณก็อาจจะลำบากในบั้นปลายก็ได้
ลองมาดูกันนะครับ คนส่วนใหญ่ที่ทำงานตั้งแต่จบการศึกษาจนถึงเกษียณ ทำไมทำงานไม่มีเงินเหลือเก็บ และการมีชีวิตภายหลังเกษียณโดยไม่มีคนเลี้ยงดูจะน่าเวทนาขนาดไหน แล้วถ้าหันมาพึ่งกับลูกหลานจะได้รึเปล่า เราจึงควรมาสำรวจกันสุขภาพทางการเงินของตนเองกันก่อน
1.ที่ไม่มีเงินเก็บก็เกิดจากการไม่มีแผนทางการออมเงิน อยากใช้สอยอะไรก็ปล่อยไปตามใจ ใช้เงินเพื่อหาความสุข จากหยาดเหงื่อแรงงานของตนเอง 2.ในแต่ละเดือนเราใช้สอยเงินเกินตัวอยู่รึเปล่า บางท่านอาจใช้บัตรเครดิตมาหมุนเวียน หรืออาจจะต้องหยิบยืมเงินคนรอบข้างเพื่อใช้หมุนเวียนกันเดือนต่อเดือนก็เป็นได้ 3. มีสิ่งล่อตาล่อใจให้เราต้องมีเพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับชีวิตของเรา เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ แล้วก็ต้องเปลี่ยนรุ่นให้ใหม่ตลอดเพื่อตาม trend ใหม่ให้ทัน 4.หรือถ้ามีเงินอยู่บ้างแล้ว คุณคิดว่ามีเงินพอหรือไม่ เพราะค่าเงินที่มีอยู่อาจลดน้อยลงไปเนื่องจากเงินเฟ้อที่ทำให้เงินในอนาคตมีค่าลดลงไป ยกตัวอย่างเช่น เงิน 100 บาทในปัจจุบันจะเห็นว่าซื้อของได้น้อยลงไม่ว่าจะเป็นค่าอาหารที่สูงขึ้นตามราคาต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไป
ถ้าท่านไม่ตระหนักถึงหัวข้อที่กล่าวมาในเบื้องต้นก็อาจทำให้วัยเกษียณอาจต้องลำบากได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทุกคนไม่ต้องการ จริงๆแล้วที่ว่าต้องมีเงินเหลือเก็บ นั้นไม่จำเป็นต้องมีคนละหลาย ๆ ล้าน แต่มีใช้อย่างพอเพียง รู้จักเก็บรู้จักจ่าย ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสบาย แต่อย่างไรก็ตามทุกคนจะต้องมีทุนรอนขั้นต่ำสำหรับการเลี้ยงชีพในยามเกษียณสักก้อนหนึ่ง ซึ่งเราจะมีเงินนี้ได้ก็จะต้องวางแผนและเริ่มเก็บเสียตั้งแต่ตอนที่ยังมีแรงทำงานในวันนี้
การวางแผนเพื่อเก็บเงินไม่ใช่เรื่องยาก ขอเพียงความตั้งใจจริงทุกคนก็สามารถทำได้ โดยสิ่งที่จำเป็นต้องทำก็คือ 1.ดูสถานะการเงินของตนเองในปัจจุบัน ว่ามีทรัพย์สินสุทธิเท่าไหร่ เพียงพอรึยังสำหรับค่าใช้จ่ายในช่วงเกษียณอายุ และถ้าต้องเก็บจะต้องเก็บให้ได้จำนวนเท่าไรกันแน่
2.ทำบัญชีรายรับรายจ่าย จากที่ผ่านมาที่เราไม่มีเงินเหลือออม เนื่องจากใช้เงินแบบเดือนชนเดือน การลงรายการใช้จ่ายจะทำให้เราวิเคราะห์ได้ว่า เราใช้จ่ายอะไรเกินฐานะไป มีอะไรที่ไม่ใช้โดยไม่จะเป็นไหม และช่วยให้มีเงินเหลือเก็บไว้สำหรับใช้ยามเกษียณได้ 3.การใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า เป็นธรรมดารายได้ที่ได้มาทุกคนก็อยากใช้เงินเพื่อเป็นรางวัลของชีวิต เพียงแต่สิ่งที่ใช้นั้นก็ต้องตระหนักเสียก่อนว่าเป็นการใช้จ่ายที่จำเป็น การจ่ายเพื่อตอบแทนให้รางวัลกับชีวิต ก็ต้องไม่เกินเลยไปกว่าที่ควร
4.ทัศนคติในการออมเงิน โดยให้มองการออมเงินเป็นค่าใช้จ่าย จะได้เป็นทางเลือกแรกที่เก็บเงินเพื่อออมเงินไว้ใช้ เพราะคนโดยส่วนใหญ่ก็จะมองว่าการออมต้องเป็นเงินที่เหลือจากการใช้จ่าย ซึ่งสุดท้ายก็จะไม่ค่อยเหลือเก็บสักเท่าไร
5.การจัดพอร์ตการลงทุน คนแต่ละคนจะมีพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมไม่เหมือนกัน โดยปกติตราสารการลงทุนหลักๆ ก็จะมีอยู่ 2 อย่างคือ 1) กลุ่มตราสารหนี้ ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น ตราสารหนี้ระยะกลาง ตราสารหนี้ระยะยาว เงินฝาก ถือว่าเป็นตราสารที่มีระดับความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้น ผู้ลงทุนมีโอกาสเสียหายจากการลงทุนน้อย แต่ขณะเดียวกันก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนในระดับต่ำด้วยเช่นกัน 2) กลุ่มตราสารทุน ได้แก่หุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์ฯ กองทุนหุ้น เป็นตราสารที่มีความเสี่ยงสูง แต่ก็ทำให้ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีด้วย โดยปกติพอร์ตการลงทุนเพื่องวางแผนสำหรับวัยเกษียณ จะปรับสัดส่วนการลงทุนตามอายุของผู้ลงทุน ยิ่งอายุมากขึ้นสัดส่วนการลงทุนในหุ้นหรือตราสารที่มีความเสี่ยงก็ควรจะน้อยลง เพื่อเพิ่มความมั่นคงของเงินลงทุน เช่นพอร์ตการลงทุนสำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ในช่วงนี้ เป็นช่วงที่อยู่ในวัยทำงาน สร้างครอบครัว มีรายได้เยอะแต่ค่าใข้จ่ายก็เยอะตามไปด้วย สำหรับสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับคนที่มีอายุในช่วงนี้ก็คือ การลงทุนในตราสารหนี้ระหว่าง 50%-70 % และตราสารทุนระหว่าง 30%- 50% เนื่องจากยังเป็นช่วงอายุที่ยังมีรายได้ประจำจากการทำงานอยู่
แต่ถ้าเป็นพอร์ตการลงทุนสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 61 ปีขึ้นไป เป็นช่วงที่ท่านนักลงทุนส่วนใหญ่เกษียณอายุแล้ว ท่านก็จะไม่มีรายได้จากงานประจำ ดังนั้น พอร์ตการลงทุนของท่านจึงควรมีสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงในสัดส่วนที่น้อยลง และเน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ โดยพอร์ตการลงทุนของคนในวัยนี้ที่เหมาะสมก็คือ ตราสารหนี้ 90% และตราสารทุน 10%
เมื่อสามารถวางแผนการเงินและปฏิบัติตามได้ ก็สามารถมีชีวิตที่สบายในยามเกษียณ การเริ่มต้นหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นย่อมอึดอัดใจอยู่บ้าง ไม่สะดวกสบายเหมือนเดิม แต่เมื่อทำไปสักระยะก็จะเคยชินและในที่สุดความสุขในวัยเกษียณก็จะเกิดขึ้นเนื่องจากได้เห็นเงินออมที่งอกเงยเบ่งบานขึ้นนั่นเอง
บลจ.บัวหลวง จำกัด
ปัจจุบันวิทยการด้านการแพทย์ที่ก้าวหน้าทันสมัย คนในปัจจุบันแข็งแรงมากขึ้น เพราะเอาใจใส่สุขภาพมากขึ้น ทำให้อายุเฉลี่ยของประชากรมากขึ้นไปด้วย นั่นหมายความว่า ประชากรโดยเฉลี่ยทั่วโลกจะมีช่วงชีวิตวัยเกษียณยืนยาวขึ้น ซึ่งแสดงว่ามีความจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อดำรงชีพในช่วงท้ายของชีวิตมากขึ้นด้วย แล้วคุณพร้อมกับวัยเกษียณแล้วรึยัง เพราะหากคุณไม่ได้วางแผนสู่วัยเกษียณ คุณก็อาจจะลำบากในบั้นปลายก็ได้
ลองมาดูกันนะครับ คนส่วนใหญ่ที่ทำงานตั้งแต่จบการศึกษาจนถึงเกษียณ ทำไมทำงานไม่มีเงินเหลือเก็บ และการมีชีวิตภายหลังเกษียณโดยไม่มีคนเลี้ยงดูจะน่าเวทนาขนาดไหน แล้วถ้าหันมาพึ่งกับลูกหลานจะได้รึเปล่า เราจึงควรมาสำรวจกันสุขภาพทางการเงินของตนเองกันก่อน
1.ที่ไม่มีเงินเก็บก็เกิดจากการไม่มีแผนทางการออมเงิน อยากใช้สอยอะไรก็ปล่อยไปตามใจ ใช้เงินเพื่อหาความสุข จากหยาดเหงื่อแรงงานของตนเอง 2.ในแต่ละเดือนเราใช้สอยเงินเกินตัวอยู่รึเปล่า บางท่านอาจใช้บัตรเครดิตมาหมุนเวียน หรืออาจจะต้องหยิบยืมเงินคนรอบข้างเพื่อใช้หมุนเวียนกันเดือนต่อเดือนก็เป็นได้ 3. มีสิ่งล่อตาล่อใจให้เราต้องมีเพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับชีวิตของเรา เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ แล้วก็ต้องเปลี่ยนรุ่นให้ใหม่ตลอดเพื่อตาม trend ใหม่ให้ทัน 4.หรือถ้ามีเงินอยู่บ้างแล้ว คุณคิดว่ามีเงินพอหรือไม่ เพราะค่าเงินที่มีอยู่อาจลดน้อยลงไปเนื่องจากเงินเฟ้อที่ทำให้เงินในอนาคตมีค่าลดลงไป ยกตัวอย่างเช่น เงิน 100 บาทในปัจจุบันจะเห็นว่าซื้อของได้น้อยลงไม่ว่าจะเป็นค่าอาหารที่สูงขึ้นตามราคาต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไป
ถ้าท่านไม่ตระหนักถึงหัวข้อที่กล่าวมาในเบื้องต้นก็อาจทำให้วัยเกษียณอาจต้องลำบากได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทุกคนไม่ต้องการ จริงๆแล้วที่ว่าต้องมีเงินเหลือเก็บ นั้นไม่จำเป็นต้องมีคนละหลาย ๆ ล้าน แต่มีใช้อย่างพอเพียง รู้จักเก็บรู้จักจ่าย ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสบาย แต่อย่างไรก็ตามทุกคนจะต้องมีทุนรอนขั้นต่ำสำหรับการเลี้ยงชีพในยามเกษียณสักก้อนหนึ่ง ซึ่งเราจะมีเงินนี้ได้ก็จะต้องวางแผนและเริ่มเก็บเสียตั้งแต่ตอนที่ยังมีแรงทำงานในวันนี้
การวางแผนเพื่อเก็บเงินไม่ใช่เรื่องยาก ขอเพียงความตั้งใจจริงทุกคนก็สามารถทำได้ โดยสิ่งที่จำเป็นต้องทำก็คือ 1.ดูสถานะการเงินของตนเองในปัจจุบัน ว่ามีทรัพย์สินสุทธิเท่าไหร่ เพียงพอรึยังสำหรับค่าใช้จ่ายในช่วงเกษียณอายุ และถ้าต้องเก็บจะต้องเก็บให้ได้จำนวนเท่าไรกันแน่
2.ทำบัญชีรายรับรายจ่าย จากที่ผ่านมาที่เราไม่มีเงินเหลือออม เนื่องจากใช้เงินแบบเดือนชนเดือน การลงรายการใช้จ่ายจะทำให้เราวิเคราะห์ได้ว่า เราใช้จ่ายอะไรเกินฐานะไป มีอะไรที่ไม่ใช้โดยไม่จะเป็นไหม และช่วยให้มีเงินเหลือเก็บไว้สำหรับใช้ยามเกษียณได้ 3.การใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า เป็นธรรมดารายได้ที่ได้มาทุกคนก็อยากใช้เงินเพื่อเป็นรางวัลของชีวิต เพียงแต่สิ่งที่ใช้นั้นก็ต้องตระหนักเสียก่อนว่าเป็นการใช้จ่ายที่จำเป็น การจ่ายเพื่อตอบแทนให้รางวัลกับชีวิต ก็ต้องไม่เกินเลยไปกว่าที่ควร
4.ทัศนคติในการออมเงิน โดยให้มองการออมเงินเป็นค่าใช้จ่าย จะได้เป็นทางเลือกแรกที่เก็บเงินเพื่อออมเงินไว้ใช้ เพราะคนโดยส่วนใหญ่ก็จะมองว่าการออมต้องเป็นเงินที่เหลือจากการใช้จ่าย ซึ่งสุดท้ายก็จะไม่ค่อยเหลือเก็บสักเท่าไร
5.การจัดพอร์ตการลงทุน คนแต่ละคนจะมีพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมไม่เหมือนกัน โดยปกติตราสารการลงทุนหลักๆ ก็จะมีอยู่ 2 อย่างคือ 1) กลุ่มตราสารหนี้ ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น ตราสารหนี้ระยะกลาง ตราสารหนี้ระยะยาว เงินฝาก ถือว่าเป็นตราสารที่มีระดับความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้น ผู้ลงทุนมีโอกาสเสียหายจากการลงทุนน้อย แต่ขณะเดียวกันก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนในระดับต่ำด้วยเช่นกัน 2) กลุ่มตราสารทุน ได้แก่หุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์ฯ กองทุนหุ้น เป็นตราสารที่มีความเสี่ยงสูง แต่ก็ทำให้ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีด้วย โดยปกติพอร์ตการลงทุนเพื่องวางแผนสำหรับวัยเกษียณ จะปรับสัดส่วนการลงทุนตามอายุของผู้ลงทุน ยิ่งอายุมากขึ้นสัดส่วนการลงทุนในหุ้นหรือตราสารที่มีความเสี่ยงก็ควรจะน้อยลง เพื่อเพิ่มความมั่นคงของเงินลงทุน เช่นพอร์ตการลงทุนสำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ในช่วงนี้ เป็นช่วงที่อยู่ในวัยทำงาน สร้างครอบครัว มีรายได้เยอะแต่ค่าใข้จ่ายก็เยอะตามไปด้วย สำหรับสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับคนที่มีอายุในช่วงนี้ก็คือ การลงทุนในตราสารหนี้ระหว่าง 50%-70 % และตราสารทุนระหว่าง 30%- 50% เนื่องจากยังเป็นช่วงอายุที่ยังมีรายได้ประจำจากการทำงานอยู่
แต่ถ้าเป็นพอร์ตการลงทุนสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 61 ปีขึ้นไป เป็นช่วงที่ท่านนักลงทุนส่วนใหญ่เกษียณอายุแล้ว ท่านก็จะไม่มีรายได้จากงานประจำ ดังนั้น พอร์ตการลงทุนของท่านจึงควรมีสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงในสัดส่วนที่น้อยลง และเน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ โดยพอร์ตการลงทุนของคนในวัยนี้ที่เหมาะสมก็คือ ตราสารหนี้ 90% และตราสารทุน 10%
เมื่อสามารถวางแผนการเงินและปฏิบัติตามได้ ก็สามารถมีชีวิตที่สบายในยามเกษียณ การเริ่มต้นหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นย่อมอึดอัดใจอยู่บ้าง ไม่สะดวกสบายเหมือนเดิม แต่เมื่อทำไปสักระยะก็จะเคยชินและในที่สุดความสุขในวัยเกษียณก็จะเกิดขึ้นเนื่องจากได้เห็นเงินออมที่งอกเงยเบ่งบานขึ้นนั่นเอง