ต้องยอมรับว่า...บรรยากาศการลงทุนในช่วงนี้ จับจังหวะไม่ถูกกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ที่ผันผวนหนักตามการเทขายของนักลงทุนต่างชาติ...ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลการลงทุนในดัชนีหุ้นไทยในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าปรับลดลงอย่างรุนแรง จากการเทขายของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปชดเชยการขาดทุนจากวิกฤตการเงิน จนส่งผลให้ราคาหุ้นหลายตัวปรับลดลงต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานของหุ้น
ทั้งนี้ หลังจากจบเดือนตุลาคมดัชนีหุ้นไทยปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 416.53 จุดจากระดับดัชนี 596.54 จุดในช่วงปลายเดือนกันยายน ทำให้เดือนตุลาคมเดือนเดียวดัชนีปรับลดลงไปถึง 180.01 จุด หรือคิดเป็นลดลง 30.18%
...สิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าว ถือเป็นความท้าทายของผู้จัดการกองทุนพอสมควร โดยเฉพาะกองทุนหุ้น ที่ต้องปรับพอร์ตให้เข้ากับสถานการณ์เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ออกมาติดลบน้อยที่สุด และนอกจากความสามารถของผู้จัดการกองทุนแล้ว นโยบายของกองทุนก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน เพราะจะเห็นว่ากองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นบิ้กแคปขนาดใหญ่ ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบไปตามๆกัน เพราะหุ้นในกลุ่มนี้ถูกเทขายออกมาอย่างแรง
...เกริ่นกันไปเยอะแล้ว วันนี้ คอลัมน์ "Best of Fund" จะพาไปดูผลการดำเนินงานของกองทุนหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 10 อันดับแรก ณ สิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง แล้วกองทุนที่ให้ผลตอบแทนอันดับหนึ่ง มีกลยุทธ์การลงทุนและปรับพอร์ตรับมือกับความผันผวนอย่างไรบ้าง
สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดมาเป็นอันดับ 1 ได้แก่ กองทุนอเบอร์ดีน ไทย เอคคิวตี้ ดีวิเด็น ภายใต้การบริหารงานของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อเบอร์ดีน จำกัด โดยกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -31.17 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 20.29 %
ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ กองทุนอยุธยาหุ้นปันผล 70/30 ภายใต้การบริหารงานของ บลจ. อยุธยา ที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -32.15 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 19.31 %
อันดับที่ 3 กองทุนอยุธยาทวีปันผล 70/30 ภายใต้การบริหารงานของ บลจ. อยุธยา ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -34.08 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 17.38 %
อันดับที่ 4 กองทุนอยุธยาหุ้นปันผล ภายใต้การบริหารงานของ บลจ. อยุธยา ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -39.85 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 11.61 %
อันดับที่ 5 กองทุนบัวหลวงธนคม ภายใต้การบริหารงานของ บลจ. บัวหลวง ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -40.14 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 11.32 %
อันดับที่ 6 กองทุนทรัพย์สมบูรณ์ ภายใต้การบริหารงานของ บลจ. เอ็มเอฟซี ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 40.35 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 11.11 %
อันดับที่ 7 กองทุนกรุงไทย ทรีนีตี้ปันผล ภายใต้การบริหารงานของ บลจ. กรุงไทย ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -40.42 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 11.04 %
อันดับที่ 8 กองทุนบัวหลวงทศพล ภายใต้การบริหารงานของ บลจ. บัวหลวง ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -41.77 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 9.69 %
อันดับที่ 9 กองทุนธนชาติ ฟันดาเมนทอล พลัส ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -42.02 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 9.44 %
และอันดับที่ 10 กองทุนออมสินพัฒนาภูมิภาค ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -42.13 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 9.33 %
ทั้งนี้ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี อยู่ที่ - 51.46 %
เปิดพอร์ตกองทุนอันดับ 1
สำหรับกองทุนอเบอร์ดีน ไทย เอคคิวตี้ ดีวิเด็น มีนโยบายลงทุนระยะปานกลางและระยะยาวในหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจสูง หรือมีปัจจัยพื้นฐานดี โดยจะลงทุนในตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายจ่ายปันผลไม่เกินปีละ 12 ครั้ง โดยจะพิจารณาจากผลการดำเนินงานของกองทุน
อดิเทพ วรรณพฤกษ์ ผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อเบอร์ดีน จำกัด เล่าให้ฟังว่า พอร์ตการลงทุนของกองทุนนี้ ไม่เปลี่ยนแแปลงมากนัก ซึ่งการที่กองทุนอเบอร์ดีน ไทย เอคคิวตี้ ดีวิเด็น สามารถให้ผลตอบแทนได้เป็นอันดับหนึ่งดังกล่าว ส่วนหนึ่งเพราะกองทุนมีนโยบายลงทุนในหุ้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางเป็นหลัก ซึ่งหุ้นในกลุ่มนี้ ปรับลดลงน้อยกว่าหุ้นบิ้กแคปขนาดใหญ่ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มพลังงานที่ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง ซึ่งหุ้นกลุ่มนี้ เราให้น้ำหนักน้อยอยู่แล้ว ในขณะที่หุ้นกลุ่มแบงก์เองก็ลงแรงเช่นกัน เพราะนักลงทุนกังวลเรื่องวิกฤตการเงินด้วย แต่พอร์ตการลงทุนของเรา ก็มีการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้อยู่ประมาณ 2-3 ตัว
ทั้งนี้ ในช่วงที่ราคาหุ้นตกลงมามากๆ ก็เป็นโอกาสที่เราเข้าไปลงทุนเพิ่มในหุ้นตัวเดิมที่กองทุนถืออยู่แล้ว โดยเฉพาะหุ้นที่เราเห็นว่ายังมีพื้นฐานดี งบการเงินไม่แย่อย่างที่คิด และมีรายได้สม่ำเสมอ
นอกจากนี้ จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ผลตอบแทนออกมาดีกว่ากองอื่นๆ เพราะกองทุนมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ด้วยประมาณ 30% ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในพันธบัตรรัฐบาลที่มีความมั่นคงสูง โดยสัดส่วนนี้เราจะมีการรีวิวทุกๆ 3 เดือน ส่วนจะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นจากสัดส่วน 70% ในปัจจุบันหรือไม่ เราขอดูภาวะตลาดอีกครั้งก่อนตัดสินใจ เพราะในช่วงระยะสั้น 3-6 เดือนหลังจากนี้ เราคาดการณ์ว่า ตลาดหุ้นจะยังผันผวนต่อไปอีก เนื่องจากปัญหาหลายๆ อย่างยังไม่จบดี ขณะเดียวกันเศรษฐกิจโลกเองก็ส่งสัญญาณชะลอตัวด้วย
ทั้งนี้ หลังจากจบเดือนตุลาคมดัชนีหุ้นไทยปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 416.53 จุดจากระดับดัชนี 596.54 จุดในช่วงปลายเดือนกันยายน ทำให้เดือนตุลาคมเดือนเดียวดัชนีปรับลดลงไปถึง 180.01 จุด หรือคิดเป็นลดลง 30.18%
...สิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าว ถือเป็นความท้าทายของผู้จัดการกองทุนพอสมควร โดยเฉพาะกองทุนหุ้น ที่ต้องปรับพอร์ตให้เข้ากับสถานการณ์เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ออกมาติดลบน้อยที่สุด และนอกจากความสามารถของผู้จัดการกองทุนแล้ว นโยบายของกองทุนก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน เพราะจะเห็นว่ากองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นบิ้กแคปขนาดใหญ่ ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบไปตามๆกัน เพราะหุ้นในกลุ่มนี้ถูกเทขายออกมาอย่างแรง
...เกริ่นกันไปเยอะแล้ว วันนี้ คอลัมน์ "Best of Fund" จะพาไปดูผลการดำเนินงานของกองทุนหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 10 อันดับแรก ณ สิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง แล้วกองทุนที่ให้ผลตอบแทนอันดับหนึ่ง มีกลยุทธ์การลงทุนและปรับพอร์ตรับมือกับความผันผวนอย่างไรบ้าง
สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดมาเป็นอันดับ 1 ได้แก่ กองทุนอเบอร์ดีน ไทย เอคคิวตี้ ดีวิเด็น ภายใต้การบริหารงานของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อเบอร์ดีน จำกัด โดยกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -31.17 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 20.29 %
ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ กองทุนอยุธยาหุ้นปันผล 70/30 ภายใต้การบริหารงานของ บลจ. อยุธยา ที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -32.15 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 19.31 %
อันดับที่ 3 กองทุนอยุธยาทวีปันผล 70/30 ภายใต้การบริหารงานของ บลจ. อยุธยา ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -34.08 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 17.38 %
อันดับที่ 4 กองทุนอยุธยาหุ้นปันผล ภายใต้การบริหารงานของ บลจ. อยุธยา ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -39.85 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 11.61 %
อันดับที่ 5 กองทุนบัวหลวงธนคม ภายใต้การบริหารงานของ บลจ. บัวหลวง ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -40.14 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 11.32 %
อันดับที่ 6 กองทุนทรัพย์สมบูรณ์ ภายใต้การบริหารงานของ บลจ. เอ็มเอฟซี ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 40.35 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 11.11 %
อันดับที่ 7 กองทุนกรุงไทย ทรีนีตี้ปันผล ภายใต้การบริหารงานของ บลจ. กรุงไทย ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -40.42 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 11.04 %
อันดับที่ 8 กองทุนบัวหลวงทศพล ภายใต้การบริหารงานของ บลจ. บัวหลวง ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -41.77 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 9.69 %
อันดับที่ 9 กองทุนธนชาติ ฟันดาเมนทอล พลัส ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -42.02 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 9.44 %
และอันดับที่ 10 กองทุนออมสินพัฒนาภูมิภาค ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -42.13 % และให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 9.33 %
ทั้งนี้ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี อยู่ที่ - 51.46 %
เปิดพอร์ตกองทุนอันดับ 1
สำหรับกองทุนอเบอร์ดีน ไทย เอคคิวตี้ ดีวิเด็น มีนโยบายลงทุนระยะปานกลางและระยะยาวในหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจสูง หรือมีปัจจัยพื้นฐานดี โดยจะลงทุนในตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายจ่ายปันผลไม่เกินปีละ 12 ครั้ง โดยจะพิจารณาจากผลการดำเนินงานของกองทุน
อดิเทพ วรรณพฤกษ์ ผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อเบอร์ดีน จำกัด เล่าให้ฟังว่า พอร์ตการลงทุนของกองทุนนี้ ไม่เปลี่ยนแแปลงมากนัก ซึ่งการที่กองทุนอเบอร์ดีน ไทย เอคคิวตี้ ดีวิเด็น สามารถให้ผลตอบแทนได้เป็นอันดับหนึ่งดังกล่าว ส่วนหนึ่งเพราะกองทุนมีนโยบายลงทุนในหุ้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางเป็นหลัก ซึ่งหุ้นในกลุ่มนี้ ปรับลดลงน้อยกว่าหุ้นบิ้กแคปขนาดใหญ่ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มพลังงานที่ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง ซึ่งหุ้นกลุ่มนี้ เราให้น้ำหนักน้อยอยู่แล้ว ในขณะที่หุ้นกลุ่มแบงก์เองก็ลงแรงเช่นกัน เพราะนักลงทุนกังวลเรื่องวิกฤตการเงินด้วย แต่พอร์ตการลงทุนของเรา ก็มีการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้อยู่ประมาณ 2-3 ตัว
ทั้งนี้ ในช่วงที่ราคาหุ้นตกลงมามากๆ ก็เป็นโอกาสที่เราเข้าไปลงทุนเพิ่มในหุ้นตัวเดิมที่กองทุนถืออยู่แล้ว โดยเฉพาะหุ้นที่เราเห็นว่ายังมีพื้นฐานดี งบการเงินไม่แย่อย่างที่คิด และมีรายได้สม่ำเสมอ
นอกจากนี้ จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ผลตอบแทนออกมาดีกว่ากองอื่นๆ เพราะกองทุนมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ด้วยประมาณ 30% ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในพันธบัตรรัฐบาลที่มีความมั่นคงสูง โดยสัดส่วนนี้เราจะมีการรีวิวทุกๆ 3 เดือน ส่วนจะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นจากสัดส่วน 70% ในปัจจุบันหรือไม่ เราขอดูภาวะตลาดอีกครั้งก่อนตัดสินใจ เพราะในช่วงระยะสั้น 3-6 เดือนหลังจากนี้ เราคาดการณ์ว่า ตลาดหุ้นจะยังผันผวนต่อไปอีก เนื่องจากปัญหาหลายๆ อย่างยังไม่จบดี ขณะเดียวกันเศรษฐกิจโลกเองก็ส่งสัญญาณชะลอตัวด้วย