“พาณิชย์”แก้ปัญหาการซื้อขายยางพาราใน AFET ขอให้ทำมาตรฐานการส่งมอบยางให้ชัด ป้องกันผู้ซื้ออ้างใช้มาตรฐานตัวเองแล้วปฏิเสธไม่ยอมรับมอบ พร้อมมอบกรมการค้าภายในหาทางจัดการพวกเบี้ยวสัญญาซื้อขาย หลังทำสัญญาซื้อสูง พอราคาตกไม่ยอมจ่าย “ชัยพัฒน์”สั่งเพิ่มเงินค้ำประกัน หากเห็นแววเบี้ยวสัญญา
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ขอให้ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) ไปดำเนินการจัดทำมาตรฐานการส่งมอบยางพาราภายใต้สัญญาซื้อขายใน AFET ให้เป็นมาตรฐานของไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการส่งมอบที่แต่ละประเทศจะกำหนดมาตรฐานของตัวเอง ทำให้การซื้อขายและการส่งมอบมีปัญหามาก ซึ่งหากดำเนินการได้เช่นนี้ จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และไม่ต้องมามีปัญหาในเรื่องคุณภาพยางพาราที่ส่งมอบกันอีก
“ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกยางพาราอันดับหนึ่งของโลก จำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานยางพาราของตัวเองแล้วให้ทั่วโลกยอมรับ ไม่เช่นนั้น ก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นตลอด เพราะที่ผ่านมา ผู้ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นบริสโตน มิชลิน หรือผู้ซื้ออื่นๆ ก็จะกำหนดมาตรฐานยางที่ตัวเองต้องการ พอส่งมอบไปก็ไม่ยอมรับ หาว่าไม่ได้มาตรฐาน แต่ถ้าเรามีมาตรฐานของเรา แล้วทำให้คนอื่นยอมรับ ต่อไปก็จะไม่มีปัญหา”นายศิริพลกล่าว
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ไทยสามารถส่งออกยางแผนรมควันชั้น 3 ได้ปีละประมาณ 2.7 ล้านตัน โดยมีอินโดนีเซียและมาเลเซียส่งออกเป็นอับดับ 2 และ 3 จำนวน 2.4 ล้านตัน และ 1 ล้านตัน ตามลำดับ
นายศิริพลกล่าวว่า ขณะนี้ได้พบปัญหาการเบี้ยวสัญญาซื้อขายยางพาราในตลาด AFET เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ราคายางพารามีความผันผวน โดยผู้ซื้อจะทิ้งสัญญาไม่ยอมซื้อยางพาราตามราคาที่ตกลงไว้ใน AFET ทำให้เกษตรกร ผู้ส่งมอบยางได้รับผลกระทบ ไม่สามารถขายยางพาราได้ ซึ่งได้มอบหมายให้กรมการค้าภายใน ไปหามาตรการที่เหมาะสมในการดำเนินการกับผู้ที่เบี้ยวสัญญาการซื้อขายแล้ว
สำหรับการทิ้งสัญญาซื้อขาย เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ เมื่อผู้ซื้อทำสัญญาซื้อขายไว้ในราคาที่สูง พอถึงเวลาส่งมอบราคายางพารากลับลดต่ำลง ทำให้ไม่อยากจ่ายเงินซื้อยางพาราในราคาที่สูง และอีกกรณีหนึ่ง เป็นผู้ซื้อต่างประเทศ ที่ส่งมอบยางไปให้แล้ว แต่ไม่ยอมรับ เพราะราคายางพาราลดต่ำลง อยากซื้อในราคาที่ต่ำ ทั้งๆ ที่ทำสัญญาซื้อขายกันไว้แล้ว
นายชัยพัฒน์ สหัสกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ก.ส.ล.) กล่าวว่า ได้มีการกำกับการซื้อขายยางพาราใน AFET อย่างเข้มงวด หลังจากที่ราคามีความผันผวน โดยได้กำหนดให้ทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายต้องวางเงินค้ำประกัน 5% ของมูลค่าสัญญา และหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีการเบี้ยวสัญญา ก็จะให้มีการเพิ่มวงเงินค้ำประกันให้มากขึ้น ถือเป็นการป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ที่มาซื้อขาย
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ขอให้ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) ไปดำเนินการจัดทำมาตรฐานการส่งมอบยางพาราภายใต้สัญญาซื้อขายใน AFET ให้เป็นมาตรฐานของไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการส่งมอบที่แต่ละประเทศจะกำหนดมาตรฐานของตัวเอง ทำให้การซื้อขายและการส่งมอบมีปัญหามาก ซึ่งหากดำเนินการได้เช่นนี้ จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และไม่ต้องมามีปัญหาในเรื่องคุณภาพยางพาราที่ส่งมอบกันอีก
“ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกยางพาราอันดับหนึ่งของโลก จำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานยางพาราของตัวเองแล้วให้ทั่วโลกยอมรับ ไม่เช่นนั้น ก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นตลอด เพราะที่ผ่านมา ผู้ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นบริสโตน มิชลิน หรือผู้ซื้ออื่นๆ ก็จะกำหนดมาตรฐานยางที่ตัวเองต้องการ พอส่งมอบไปก็ไม่ยอมรับ หาว่าไม่ได้มาตรฐาน แต่ถ้าเรามีมาตรฐานของเรา แล้วทำให้คนอื่นยอมรับ ต่อไปก็จะไม่มีปัญหา”นายศิริพลกล่าว
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ไทยสามารถส่งออกยางแผนรมควันชั้น 3 ได้ปีละประมาณ 2.7 ล้านตัน โดยมีอินโดนีเซียและมาเลเซียส่งออกเป็นอับดับ 2 และ 3 จำนวน 2.4 ล้านตัน และ 1 ล้านตัน ตามลำดับ
นายศิริพลกล่าวว่า ขณะนี้ได้พบปัญหาการเบี้ยวสัญญาซื้อขายยางพาราในตลาด AFET เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ราคายางพารามีความผันผวน โดยผู้ซื้อจะทิ้งสัญญาไม่ยอมซื้อยางพาราตามราคาที่ตกลงไว้ใน AFET ทำให้เกษตรกร ผู้ส่งมอบยางได้รับผลกระทบ ไม่สามารถขายยางพาราได้ ซึ่งได้มอบหมายให้กรมการค้าภายใน ไปหามาตรการที่เหมาะสมในการดำเนินการกับผู้ที่เบี้ยวสัญญาการซื้อขายแล้ว
สำหรับการทิ้งสัญญาซื้อขาย เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ เมื่อผู้ซื้อทำสัญญาซื้อขายไว้ในราคาที่สูง พอถึงเวลาส่งมอบราคายางพารากลับลดต่ำลง ทำให้ไม่อยากจ่ายเงินซื้อยางพาราในราคาที่สูง และอีกกรณีหนึ่ง เป็นผู้ซื้อต่างประเทศ ที่ส่งมอบยางไปให้แล้ว แต่ไม่ยอมรับ เพราะราคายางพาราลดต่ำลง อยากซื้อในราคาที่ต่ำ ทั้งๆ ที่ทำสัญญาซื้อขายกันไว้แล้ว
นายชัยพัฒน์ สหัสกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ก.ส.ล.) กล่าวว่า ได้มีการกำกับการซื้อขายยางพาราใน AFET อย่างเข้มงวด หลังจากที่ราคามีความผันผวน โดยได้กำหนดให้ทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายต้องวางเงินค้ำประกัน 5% ของมูลค่าสัญญา และหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีการเบี้ยวสัญญา ก็จะให้มีการเพิ่มวงเงินค้ำประกันให้มากขึ้น ถือเป็นการป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ที่มาซื้อขาย