ก.ล.ต. คาดธุรกิจกองทุนรวมทั้งปีนี้ทรงตัว หลังเจอวิกฤตรุมเร้าสารพัด ระบุบลจ.ทั้ง 21 แห่ง ฐานะยังแข็งแกร่ง ปริมาณการไถ่ถอนหน่วยลงทุนก็ยังปกติ เหตุนักลงทุนเข้าใจการลงทุนมากขึ้น ส่วนการขยายการคุ้มครองเงินฝาก 100% ออกไปอีก 3 ปี ไม่กระทบ ล่าสุด จับมือ สมาคมบลจ. เปิดเผยข้อมูลพอร์ตลงทุนในหลักทรัพย์ 5 อันดับแรกสำหรับกองทุนเปิดทุกสิ้นเดือน เริ่มตุลาคมนี้ พร้อมไฟเขียวกองทุนต่ำกว่า 50 ล้านบาท ไม่ต้องยุบกอง และเปิดทางลุยกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างแดนได้ 100% ก่อนสิ้นปี
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สายงานกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ธุรกิจกองทุนรวมในปีนี้น่าจะทรงตัว แต่โดยภาพรวมหากมองการเติบโตโดยเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมา ยังถือว่าอุตสาหกรรมกองทุนรวมมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโต 20-30% ถ้าปีนี้ทรงตัวนำมาหาค่าเฉลี่ยธุรกิจกองทุนรวมยังคงเติบโตอยู่ ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาดโดยรวมซึ่งทางสำนักงานก.ล.ต.มีการติดตามดูข้อมูลอย่างใกล้ชิดทุกวันพบว่าบลจ.ทั้ง 21 แห่งยังมีฐานะการเงินเข็มแข็งไม่น่ากังวลแต่ประการใด
โดยในส่วนของกองทุนที่เป็นกองทุนเปิดเอง ทางสำนักงานก.ล.ต.ก็มีเกณฑ์ที่ให้กองทุนจะต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไว้ ให้เพียงพอกับการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยเป็นปกติอยู่แล้ว ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาหลังจากเกิดวิกฤติการเงินโลกเกิดขึ้น พบว่าปริมาณการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของอุตสาหกรรมกองทุนรวมยังปกติอยู่ ไม่น่าเป็นห่วงแต่ประการใด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนักลงทุนมีความเข้าใจการลงทุนมากขึ้น ในภาวะที่ตลาดทุนทั่วโลกปรับตัวลงจากวิกฤติการเงินโลก นักลงทุนทั่วไปอาจจะมีการสวิชต์ออกจากกองทุนหุ้นไปลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า แต่นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้และมองการลงทุนระยะยาวบางส่วน ก็มีการทยอยซื้อกลับเข้าไปในกองทุนหุ้นเช่นเดียวกัน แต่โดยภาพรวมของธุรกิจกองทุนรวมไทยยังคงเป็นปกติ
“เชื่อมั่นว่าธุรกิจกองทุนรวม จะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการคุ้มครองเงินฝาก 100% ต่อไปอีก 3 ปีก็ตาม เพราะในช่วงที่ผ่านมาแม้จะมีการคุ้มครองเงินฝากทั้ง 100% ธุรกิจกองทุนรวมก็ยังเติบโตมาได้ต่อเนื่อง ในช่วงที่ภาวะการลงทุนมีความผันผวนแนวทางของสำนักงานก.ล.ต.จะเน้นไปในแนวทางเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องให้กับผู้ลงทุนอย่างครบถ้วนเป็นสำคัญ”นายประเวชกล่าว
นายประกิด บุณยัษฐิติ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน สำนักงานก.ล.ต. กล่าวว่า ทางสำนักงานก.ล.ต.ได้ขอความร่วมมือไปทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุน เพื่อให้ทุกบลจ. เปิดเผยข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมทุกกองที่เป็นกองทุนเปิดให้มีการเปิดพอร์ตลงทุนในหลักทรัพย์ 5 อันดับแรก โดยจะต้องเปิดเผยข้อมูลทุกสิ้นเดือนซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนต.ค.2551 นี้เป็นต้นไป โดยแต่ละบลจ.จะต้องนำข้อมูลการลงทุนขึ้นเวบไซด์เพื่อเผยแพร่หลังจากสิ้นเดือนไปแล้วไม่เกิน 15 วัน เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนกับผู้ลงทุนซึ่งจะแสดงเฉพาะหลักทรัพย์ 5 อันดับแรกเท่านั้น ยกเว้นกองทุนปิด กองทุนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีสินทรัพย์ในการลงทุนที่ชัดเจนก็ไม่ต้องนำมาแสดง ในส่วนของกองทุนที่ไปลงทุนต่างประเทศ (FIF) ที่เป็นกองทุนเปิดจะต้องเปิดเผยหลักทรัพย์ที่กองทุนหลักในต่างประเทศลงทุน 5 อันดับแรกซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดเช่นเดียวกัน ซึ่งจะช่วยทำให้นักลงทุนสามารถติดตามการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
“ในเดือนหน้าทางสำนักงานก.ล.ต.จะออกประกาศเพื่อให้กองทุนรวมทั่วไปที่มีขนาดต่ำกว่า 50 ล้านบาท ไม่จำเป็นต้องยุบกองทุนด้วย โดยจะให้กลไกตลาดเป็นตัวตัดสินแทน หากบลจ.ไหนคิดว่ากองทุนเขาสามารถบริหารได้ด้วยขนาดที่เล็กก็ให้ดำเนินการไปได้ นอกจากนี้ในเดือนหน้าจะมีการประกาศในเรื่องที่จะเปิดให้แต่ละบลจ.เปิดช่วงเวลาในการสั่งขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย แต่ทางสำนักงานก.ล.ต.คงไม่ได้ไปกำหนดอะไร ขึ้นกับแต่ละบลจ.จะไปพิจารณากำหนดช่วงเวลากันเอง เราเพียงเปิดทางให้ทำได้เท่านั้น”
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถดูข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมได้ที่หน้าเว็บไซต์ของแต่ละ บลจ. โดยเริ่มตั้งแต่ข้อมูลการลงทุน ณ เดือนตุลาคม 2551 ซึ่งกองทุนรวมตามข้อ 1 จะเปิดเผยภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นไป ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไม่รวมถึงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
นายประกิดกล่าวต่อว่า ในเดือนหน้าทางสำนักงานก.ล.ต. จะออกประกาศเพื่ออนุญาตให้กองทุนรวมที่ไปลงทุนในต่างประเทศ สามารถที่จะเข้าไปลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ในต่างประเทศได้ 100% อีกด้วย ในส่วนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศเอง ทางสำนักงานก.ล.ต.อาจจะมีการพิจารณาเกณฑ์ในส่วนของการเข้าไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใหม่ให้รัดกุมยิ่งขึ้น จากปัจจุบันหากอสังหาริมทรัพย์นั้นจะสร้างเสร็จ 80% ได้ภายในปีนั้น ก็ให้กองทุนสามารถที่จะเข้าไปลงทุนได้ อาจจะต้องกำหนดให้กองทุนจะต้องเข้าไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างเสร็จแล้วไม่น้อยกว่า 80% ณ วันที่จะทำการตั้งกองทุนจึงจะเข้าไปลงทุนได้ หลังจากที่มีปัญหาเกิดขึ้นกับกรณีของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ทียูโดมเรสซิเดนท์เชียลคอมเพล็กซ์ (TU-PF) ซึ่งเกิดความล่าช้าในการก่อสร้างโครงการขึ้นมา
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สายงานกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ธุรกิจกองทุนรวมในปีนี้น่าจะทรงตัว แต่โดยภาพรวมหากมองการเติบโตโดยเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมา ยังถือว่าอุตสาหกรรมกองทุนรวมมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโต 20-30% ถ้าปีนี้ทรงตัวนำมาหาค่าเฉลี่ยธุรกิจกองทุนรวมยังคงเติบโตอยู่ ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาดโดยรวมซึ่งทางสำนักงานก.ล.ต.มีการติดตามดูข้อมูลอย่างใกล้ชิดทุกวันพบว่าบลจ.ทั้ง 21 แห่งยังมีฐานะการเงินเข็มแข็งไม่น่ากังวลแต่ประการใด
โดยในส่วนของกองทุนที่เป็นกองทุนเปิดเอง ทางสำนักงานก.ล.ต.ก็มีเกณฑ์ที่ให้กองทุนจะต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไว้ ให้เพียงพอกับการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยเป็นปกติอยู่แล้ว ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาหลังจากเกิดวิกฤติการเงินโลกเกิดขึ้น พบว่าปริมาณการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของอุตสาหกรรมกองทุนรวมยังปกติอยู่ ไม่น่าเป็นห่วงแต่ประการใด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนักลงทุนมีความเข้าใจการลงทุนมากขึ้น ในภาวะที่ตลาดทุนทั่วโลกปรับตัวลงจากวิกฤติการเงินโลก นักลงทุนทั่วไปอาจจะมีการสวิชต์ออกจากกองทุนหุ้นไปลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า แต่นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้และมองการลงทุนระยะยาวบางส่วน ก็มีการทยอยซื้อกลับเข้าไปในกองทุนหุ้นเช่นเดียวกัน แต่โดยภาพรวมของธุรกิจกองทุนรวมไทยยังคงเป็นปกติ
“เชื่อมั่นว่าธุรกิจกองทุนรวม จะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการคุ้มครองเงินฝาก 100% ต่อไปอีก 3 ปีก็ตาม เพราะในช่วงที่ผ่านมาแม้จะมีการคุ้มครองเงินฝากทั้ง 100% ธุรกิจกองทุนรวมก็ยังเติบโตมาได้ต่อเนื่อง ในช่วงที่ภาวะการลงทุนมีความผันผวนแนวทางของสำนักงานก.ล.ต.จะเน้นไปในแนวทางเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องให้กับผู้ลงทุนอย่างครบถ้วนเป็นสำคัญ”นายประเวชกล่าว
นายประกิด บุณยัษฐิติ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน สำนักงานก.ล.ต. กล่าวว่า ทางสำนักงานก.ล.ต.ได้ขอความร่วมมือไปทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุน เพื่อให้ทุกบลจ. เปิดเผยข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมทุกกองที่เป็นกองทุนเปิดให้มีการเปิดพอร์ตลงทุนในหลักทรัพย์ 5 อันดับแรก โดยจะต้องเปิดเผยข้อมูลทุกสิ้นเดือนซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนต.ค.2551 นี้เป็นต้นไป โดยแต่ละบลจ.จะต้องนำข้อมูลการลงทุนขึ้นเวบไซด์เพื่อเผยแพร่หลังจากสิ้นเดือนไปแล้วไม่เกิน 15 วัน เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนกับผู้ลงทุนซึ่งจะแสดงเฉพาะหลักทรัพย์ 5 อันดับแรกเท่านั้น ยกเว้นกองทุนปิด กองทุนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีสินทรัพย์ในการลงทุนที่ชัดเจนก็ไม่ต้องนำมาแสดง ในส่วนของกองทุนที่ไปลงทุนต่างประเทศ (FIF) ที่เป็นกองทุนเปิดจะต้องเปิดเผยหลักทรัพย์ที่กองทุนหลักในต่างประเทศลงทุน 5 อันดับแรกซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดเช่นเดียวกัน ซึ่งจะช่วยทำให้นักลงทุนสามารถติดตามการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
“ในเดือนหน้าทางสำนักงานก.ล.ต.จะออกประกาศเพื่อให้กองทุนรวมทั่วไปที่มีขนาดต่ำกว่า 50 ล้านบาท ไม่จำเป็นต้องยุบกองทุนด้วย โดยจะให้กลไกตลาดเป็นตัวตัดสินแทน หากบลจ.ไหนคิดว่ากองทุนเขาสามารถบริหารได้ด้วยขนาดที่เล็กก็ให้ดำเนินการไปได้ นอกจากนี้ในเดือนหน้าจะมีการประกาศในเรื่องที่จะเปิดให้แต่ละบลจ.เปิดช่วงเวลาในการสั่งขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย แต่ทางสำนักงานก.ล.ต.คงไม่ได้ไปกำหนดอะไร ขึ้นกับแต่ละบลจ.จะไปพิจารณากำหนดช่วงเวลากันเอง เราเพียงเปิดทางให้ทำได้เท่านั้น”
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถดูข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมได้ที่หน้าเว็บไซต์ของแต่ละ บลจ. โดยเริ่มตั้งแต่ข้อมูลการลงทุน ณ เดือนตุลาคม 2551 ซึ่งกองทุนรวมตามข้อ 1 จะเปิดเผยภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นไป ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไม่รวมถึงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
นายประกิดกล่าวต่อว่า ในเดือนหน้าทางสำนักงานก.ล.ต. จะออกประกาศเพื่ออนุญาตให้กองทุนรวมที่ไปลงทุนในต่างประเทศ สามารถที่จะเข้าไปลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ในต่างประเทศได้ 100% อีกด้วย ในส่วนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศเอง ทางสำนักงานก.ล.ต.อาจจะมีการพิจารณาเกณฑ์ในส่วนของการเข้าไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใหม่ให้รัดกุมยิ่งขึ้น จากปัจจุบันหากอสังหาริมทรัพย์นั้นจะสร้างเสร็จ 80% ได้ภายในปีนั้น ก็ให้กองทุนสามารถที่จะเข้าไปลงทุนได้ อาจจะต้องกำหนดให้กองทุนจะต้องเข้าไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างเสร็จแล้วไม่น้อยกว่า 80% ณ วันที่จะทำการตั้งกองทุนจึงจะเข้าไปลงทุนได้ หลังจากที่มีปัญหาเกิดขึ้นกับกรณีของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ทียูโดมเรสซิเดนท์เชียลคอมเพล็กซ์ (TU-PF) ซึ่งเกิดความล่าช้าในการก่อสร้างโครงการขึ้นมา