นิตยา เขียวขำ
บลจ.บัวหลวง จำกัด
เพียงระยะเวลาไม่กี่เดือน ที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจขึ้นจากปัญหาซับไพร์มในสหรัฐอเมริกา ความเสียหายได้ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ ส่งผลให้สถาบันการเงินหลายแห่งต้องประสบปัญหาอย่างหนัก เช่น วานิชธนกิจขนาดใหญ่อย่าง บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้งส์ อิ้งค์ ต้องล้มละลาย วิกฤตนี้ไม่เพียงแต่กระทบในสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบลุกลามไปยังสถาบันการเงินต่างๆ ทั่วโลกอีกหลายแห่ง แม้แต่บริษัทประกันภัยชั้นนำของโลก บริษัท อเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (AIG) ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
สำหรับประเทศไทย ก็ได้รับผลกระทบจากการที่นักลงทุนต่างชาติพากันเทขายหุ้นและ นำเงินออกนอกประเทศ ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง อีกทั้งปัญหาการเมืองภายในประเทศ เรื่องของการเมืองที่ยังคงมีปัญหาต่อเนื่อง และยังไม่เห็นช่องทางยุติปัญหาในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในประเทศไทย ทำให้และในวันที่ 10 และ 27 ตุลาคม 2551 ตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง มากกว่า 10% ทำให้ต้องหยุดพักการซื้อขายเป็นเวลา 30 นาที (เซอร์กิต เบรกเกอร์) นับเป็นครั้งที่ 2 และ 3 ในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย
จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นคงทำให้นักลงทุนหวาดกลัวกับการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหุ้น หรือแม้แต่การลงทุนในกองทุนรวมที่เป็นกองทุนหุ้น จึงมีคำถามต่อมาว่าถ้าเป็นเช่นนี้แล้วจะนำเงินไปพักไว้ที่ไหน ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยต่อปีในระยะยาวดีกว่าเงินฝาก ไม่เสียภาษี ที่มีความเสี่ยงต่ำ และมีสภาพคล่องสูง เพื่อรอจังหวะในการลงทุนครั้งต่อไป
กองทุน Money Market จึงเป็นคำตอบที่น่าสนใจสำหรับการพักเงินในช่วงนี้ เพราะผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับกำไรส่วนเกินทุนจากการขายคืนหน่วยลงทุน มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากธรรมชาติของกองทุน Money Market จะเน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีสภาพคล่อง และมีความมั่นคงสูง อาจเป็นตราสารหนี้ที่ออกหรือค้ำประกันโดยรัฐบาลและตราสารแห่งหนี้ภาคเอกชนที่มีความมั่นคง มีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถามหรือจะครบกำหนดชำระคืนหรือมีอายุสัญญาไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงทุนในทรัพย์สินหรือเข้าทำสัญญาเหล่านั้น มีสภาพคล่องสูง คือ สามารถ ซื้อ – ขาย ได้ทุกวันทำการ และส่วนใหญ่จะได้รับเงินในวันทำการถัดไป
อย่างไรก็ตามการลงทุนทุกอย่างย่อมมีความเสี่ยง แต่ขึ้นกับว่าความเสี่ยงนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นมากหรือน้อยเท่าใด ซึ่งสำหรับกองทุน Money Market นั้น ความเสี่ยงโดยทั่วไปจะมีเช่นเดียวกับกองทุนตราสารหนี้ เนื่องจาก กองทุน Money Market ก็เป็นกองทุนตราสารหนี้ประเภทหนึ่งเช่นกัน ซึ่งความเสี่ยงเหล่านั้น ได้แก่ 1.ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk) ผู้ออกตราสารอาจไม่สามารถชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้เต็มจำนวน หรือตามเวลาที่กำหนดเนื่องจากปัญหาเรื่องการดำเนินธุรกิจที่อาจทำให้ไม่ได้รับกระแสเงินสดเข้ามาตามเป้าหมาย ซึ่งความเสี่ยงนี้จะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับว่าตราสารที่เลือกลงทุนนั้นเป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยใคร ถ้าผู้ออกมีธุรกิจที่มีความมั่นคงสูง ความเสี่ยงส่วนนี้ก็จะน้อยลง
2. ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาตราสาร (Market Risk) ราคาของตราสารหนี้อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด การคาดการณ์ของนักลงทุน ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร เป็นต้น ซึ่งตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือสั้นๆ มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในเกณฑ์ดีก็จะมีความผันผวนลดลง
3.ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสาร (Liquidity Risk) ความเสี่ยงที่ไม่สามารถขายตราสารได้ หรือขายได้แต่ไม่อาจขายได้ในราคาที่ต้องการจำเป็นต้องขายในราคาต่ำ ซึ่งหากตราสารหนี้ที่กองทุนเลือกลงทุนเป็นที่นิยม มีการซื้อขายสูงความเสี่ยงนี้ก็จะน้อยลง
4.ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ (Default Risk) ความสามารถของผู้ออกตราสารหนี้หมดความสามารถในการชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นมูลค่าตราสารนั้น ๆ อาจเป็นศูนย์ ซึ่งกองทุนจะขาดทุนจากการถือครองตราสารนั้น ซึ่งความเสี่ยงนี้ถือว่ามีความสำคัญเนื่องจากมีผลต่อการขึ้นลงของราคามูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นอย่างมาก ผู้จัดการกองทุนจึงต้องนำความเสี่ยงส่วนนี้มาประกอบการพิจารณาในการตัดสินใจเลือกตราสารหนี้ลงทุนอย่างมาก
5.ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) ความผันผวนของราคาตราสารหนี้ที่เปลี่ยนมือได้อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง ราคาตราสารหนี้ก็จะมีมูลค่าสูงขึ้น ในทางกลับกันหากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มขึ้น ราคาตลาดสารหนี้ก็จะมีมูลค่าลดลง ซึ่งอาจจะทำให้กองทุนเกิดผลขาดทุนขึ้นได้ แม้ว่าผู้ออกตราสารจะมีความมั่นคงและมีความสามารถในการชำระหนี้สูงมากก็ตาม ทั้งนี้ตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือยาวๆ ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือสั้นๆ ซึ่งตราสารหนี้ที่กองทุน Money Market ลงทุนส่วนใหญ่จะมีอายุสั้นๆ
เมื่อทราบถึงข้อดีของการลงทุนในกองทุน Money Market Fund แล้ว วิธีการเลือกกองทุน ว่ากองทุนไหนน่าสนใจลงทุน เพราะในปัจจุบัน มีกองทุน Money Market Fund ให้เลือกหลากหลาย และมีผลการดำเนินงานที่ใกล้เคียงกัน วิธีการที่จะเลือกลงทุนในกองทุนควรพิจารณาคือ
1.เลือกกองทุน Money Market Fund ที่มีขนาดกองทุนกำลังพอดี ไม่เล็กจนเกินไป เนื่องจากกอง ทุนขนาดเล็กมีความเป็นไปได้ว่ากองทุนนั้นอาจจะมีนักลงทุนมีจำนวนน้อย หรือถ้ารายใดถือเป็นจำนวนมาก ถ้าลูกค้ารายนั้น ๆ ทำการขายคืนหน่วยลงทุน อาจจะทำให้ผู้จัดการกองทุนจำเป็นต้องขายตราสารหนี้ออกทั้งที่ยังไม่ถึงเวลาของการขายคืน และมีโอกาสทำให้กองทุนได้รับผลกระทบ แต่ถ้าเป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่ ก็จะสามารถซื้อขายตราสารได้หลายตัวมากกว่า และมีการกระจายการลงทุนได้ดีกว่า และลดความเสี่ยงได้ดีกว่าเช่นกัน ทั้งนี้อย่างไรก็ตามกองทุนที่มีขนาดเล็กหากผู้จัดการกองทุนวางแผนการบริหารเงินดีๆ ก็สามารถขจัดความเสี่ยงในประเด็นนี้ไปได้
2.รายละเอียดของตัวพอร์ตที่ลงทุน ว่ามีตราสารหนี้ที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน เพราะกองทุน Money Market สามารถลงทุนในตราสารหนี้ได้หลากหลายประเภท เช่น เงินฝาก/ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล/พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หุ้นกู้รัฐวิสาหกิจ/หุ้นกู้บริษัทเอกชน ตั๋วแลกเงินเเละ อื่น ๆ
ในปัจจุบันมี บลจ. ต่างๆ ได้ออกกองทุน Money Market ให้เลือกได้หลากหลาย มีประมาณ 17 กองทุน ซึ่งนักลงทุนสามารถเลือกกองทุนได้ตามความต้องการ รวมถึงการให้บริการที่สะดวกสบาย ในการซื้อ – ขาย หน่วยลงทุน ไม่ว่าจะเป็นทาง อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ เอทีเอ็ม และตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ ก็เป็นปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาเลือกลงทุนเช่นเดียวกัน
บลจ.บัวหลวง จำกัด
เพียงระยะเวลาไม่กี่เดือน ที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจขึ้นจากปัญหาซับไพร์มในสหรัฐอเมริกา ความเสียหายได้ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ ส่งผลให้สถาบันการเงินหลายแห่งต้องประสบปัญหาอย่างหนัก เช่น วานิชธนกิจขนาดใหญ่อย่าง บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้งส์ อิ้งค์ ต้องล้มละลาย วิกฤตนี้ไม่เพียงแต่กระทบในสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบลุกลามไปยังสถาบันการเงินต่างๆ ทั่วโลกอีกหลายแห่ง แม้แต่บริษัทประกันภัยชั้นนำของโลก บริษัท อเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (AIG) ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
สำหรับประเทศไทย ก็ได้รับผลกระทบจากการที่นักลงทุนต่างชาติพากันเทขายหุ้นและ นำเงินออกนอกประเทศ ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง อีกทั้งปัญหาการเมืองภายในประเทศ เรื่องของการเมืองที่ยังคงมีปัญหาต่อเนื่อง และยังไม่เห็นช่องทางยุติปัญหาในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในประเทศไทย ทำให้และในวันที่ 10 และ 27 ตุลาคม 2551 ตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง มากกว่า 10% ทำให้ต้องหยุดพักการซื้อขายเป็นเวลา 30 นาที (เซอร์กิต เบรกเกอร์) นับเป็นครั้งที่ 2 และ 3 ในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย
จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นคงทำให้นักลงทุนหวาดกลัวกับการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหุ้น หรือแม้แต่การลงทุนในกองทุนรวมที่เป็นกองทุนหุ้น จึงมีคำถามต่อมาว่าถ้าเป็นเช่นนี้แล้วจะนำเงินไปพักไว้ที่ไหน ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยต่อปีในระยะยาวดีกว่าเงินฝาก ไม่เสียภาษี ที่มีความเสี่ยงต่ำ และมีสภาพคล่องสูง เพื่อรอจังหวะในการลงทุนครั้งต่อไป
กองทุน Money Market จึงเป็นคำตอบที่น่าสนใจสำหรับการพักเงินในช่วงนี้ เพราะผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับกำไรส่วนเกินทุนจากการขายคืนหน่วยลงทุน มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากธรรมชาติของกองทุน Money Market จะเน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีสภาพคล่อง และมีความมั่นคงสูง อาจเป็นตราสารหนี้ที่ออกหรือค้ำประกันโดยรัฐบาลและตราสารแห่งหนี้ภาคเอกชนที่มีความมั่นคง มีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถามหรือจะครบกำหนดชำระคืนหรือมีอายุสัญญาไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงทุนในทรัพย์สินหรือเข้าทำสัญญาเหล่านั้น มีสภาพคล่องสูง คือ สามารถ ซื้อ – ขาย ได้ทุกวันทำการ และส่วนใหญ่จะได้รับเงินในวันทำการถัดไป
อย่างไรก็ตามการลงทุนทุกอย่างย่อมมีความเสี่ยง แต่ขึ้นกับว่าความเสี่ยงนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นมากหรือน้อยเท่าใด ซึ่งสำหรับกองทุน Money Market นั้น ความเสี่ยงโดยทั่วไปจะมีเช่นเดียวกับกองทุนตราสารหนี้ เนื่องจาก กองทุน Money Market ก็เป็นกองทุนตราสารหนี้ประเภทหนึ่งเช่นกัน ซึ่งความเสี่ยงเหล่านั้น ได้แก่ 1.ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk) ผู้ออกตราสารอาจไม่สามารถชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้เต็มจำนวน หรือตามเวลาที่กำหนดเนื่องจากปัญหาเรื่องการดำเนินธุรกิจที่อาจทำให้ไม่ได้รับกระแสเงินสดเข้ามาตามเป้าหมาย ซึ่งความเสี่ยงนี้จะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับว่าตราสารที่เลือกลงทุนนั้นเป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยใคร ถ้าผู้ออกมีธุรกิจที่มีความมั่นคงสูง ความเสี่ยงส่วนนี้ก็จะน้อยลง
2. ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาตราสาร (Market Risk) ราคาของตราสารหนี้อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด การคาดการณ์ของนักลงทุน ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร เป็นต้น ซึ่งตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือสั้นๆ มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในเกณฑ์ดีก็จะมีความผันผวนลดลง
3.ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสาร (Liquidity Risk) ความเสี่ยงที่ไม่สามารถขายตราสารได้ หรือขายได้แต่ไม่อาจขายได้ในราคาที่ต้องการจำเป็นต้องขายในราคาต่ำ ซึ่งหากตราสารหนี้ที่กองทุนเลือกลงทุนเป็นที่นิยม มีการซื้อขายสูงความเสี่ยงนี้ก็จะน้อยลง
4.ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ (Default Risk) ความสามารถของผู้ออกตราสารหนี้หมดความสามารถในการชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นมูลค่าตราสารนั้น ๆ อาจเป็นศูนย์ ซึ่งกองทุนจะขาดทุนจากการถือครองตราสารนั้น ซึ่งความเสี่ยงนี้ถือว่ามีความสำคัญเนื่องจากมีผลต่อการขึ้นลงของราคามูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นอย่างมาก ผู้จัดการกองทุนจึงต้องนำความเสี่ยงส่วนนี้มาประกอบการพิจารณาในการตัดสินใจเลือกตราสารหนี้ลงทุนอย่างมาก
5.ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) ความผันผวนของราคาตราสารหนี้ที่เปลี่ยนมือได้อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง ราคาตราสารหนี้ก็จะมีมูลค่าสูงขึ้น ในทางกลับกันหากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มขึ้น ราคาตลาดสารหนี้ก็จะมีมูลค่าลดลง ซึ่งอาจจะทำให้กองทุนเกิดผลขาดทุนขึ้นได้ แม้ว่าผู้ออกตราสารจะมีความมั่นคงและมีความสามารถในการชำระหนี้สูงมากก็ตาม ทั้งนี้ตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือยาวๆ ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือสั้นๆ ซึ่งตราสารหนี้ที่กองทุน Money Market ลงทุนส่วนใหญ่จะมีอายุสั้นๆ
เมื่อทราบถึงข้อดีของการลงทุนในกองทุน Money Market Fund แล้ว วิธีการเลือกกองทุน ว่ากองทุนไหนน่าสนใจลงทุน เพราะในปัจจุบัน มีกองทุน Money Market Fund ให้เลือกหลากหลาย และมีผลการดำเนินงานที่ใกล้เคียงกัน วิธีการที่จะเลือกลงทุนในกองทุนควรพิจารณาคือ
1.เลือกกองทุน Money Market Fund ที่มีขนาดกองทุนกำลังพอดี ไม่เล็กจนเกินไป เนื่องจากกอง ทุนขนาดเล็กมีความเป็นไปได้ว่ากองทุนนั้นอาจจะมีนักลงทุนมีจำนวนน้อย หรือถ้ารายใดถือเป็นจำนวนมาก ถ้าลูกค้ารายนั้น ๆ ทำการขายคืนหน่วยลงทุน อาจจะทำให้ผู้จัดการกองทุนจำเป็นต้องขายตราสารหนี้ออกทั้งที่ยังไม่ถึงเวลาของการขายคืน และมีโอกาสทำให้กองทุนได้รับผลกระทบ แต่ถ้าเป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่ ก็จะสามารถซื้อขายตราสารได้หลายตัวมากกว่า และมีการกระจายการลงทุนได้ดีกว่า และลดความเสี่ยงได้ดีกว่าเช่นกัน ทั้งนี้อย่างไรก็ตามกองทุนที่มีขนาดเล็กหากผู้จัดการกองทุนวางแผนการบริหารเงินดีๆ ก็สามารถขจัดความเสี่ยงในประเด็นนี้ไปได้
2.รายละเอียดของตัวพอร์ตที่ลงทุน ว่ามีตราสารหนี้ที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน เพราะกองทุน Money Market สามารถลงทุนในตราสารหนี้ได้หลากหลายประเภท เช่น เงินฝาก/ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล/พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หุ้นกู้รัฐวิสาหกิจ/หุ้นกู้บริษัทเอกชน ตั๋วแลกเงินเเละ อื่น ๆ
ในปัจจุบันมี บลจ. ต่างๆ ได้ออกกองทุน Money Market ให้เลือกได้หลากหลาย มีประมาณ 17 กองทุน ซึ่งนักลงทุนสามารถเลือกกองทุนได้ตามความต้องการ รวมถึงการให้บริการที่สะดวกสบาย ในการซื้อ – ขาย หน่วยลงทุน ไม่ว่าจะเป็นทาง อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ เอทีเอ็ม และตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ ก็เป็นปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาเลือกลงทุนเช่นเดียวกัน