"กองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี" ค่ายบัวหลวงฮอตไม่เลิก ล่าสุดก.ล.ต.ไฟเขียวเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 5,000 ล้านบาท เป็น 45,000 ล้านบาท หลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนล้นหลาม พร้อมเปิดขายกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 7/08 ระหว่างวันที่ 3 – 10 มี.ค. นี้ มีอายุโครงการ 9 – 11 เดือน เน้นลงทุนในตราสารหนี้ ชูผลตอบแทนอัตรา 2.65%
นายวศิน วัฒนวรกิจกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา บริษัทได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกำหับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ในการขอจดทะเบียนเพิ่มทุนกองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี (B-TNTV) อีก 5,000 ล้านบาท จากเดิมที่มีอยู่ 40,000 ล้านบาท เป็น 45,000 ล้านบาท
ทั้งนี้สาเหตุของการเพิ่มทุนของกองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี เนื่องจากกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนที่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดี อีกทั้งยังมีอัตราความเสี่ยงต่ำ ดังนั้นนักลงทุนจึงให้การตอบรับจากเป็นจำนวนมาก
สำหรับผลตอบแทนย้อนหลัง ณ วันที่ 25 มกราคม 2551 กองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 2.82% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 9.70% ผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 2.76% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 5.29% ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 3.32% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 5.61% และผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุนนั้นอยู่ที่ 3.52% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 4.35% ส่วนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนนั้นอยู่ที่ 36,466.06 ล้านบาท และมูลค่าหน่วยลงทุนอยู่ที่ 11.01 บาทต่อหน่วย
ทั้งนี้สัดส่วนการลงทุนคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันที่ 25 มกราคม 2551 แบ่งออกเป็นเงินฝาก/ตั๋วสัญญาใช้เงิน 32.66% , ตั๋วเงินคลัง 2.87% , พันธบัตรรัฐบาล / ธปท. 23.53% , หุ้นกู้รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน 10.52% , ตั๋วแลกเงิน 30.24% และอื่น ๆ อีก 0.18%
ส่วน 5 อันดับแรกของตราสารหนี้เอกชนและอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารและบริษัท ที่บริษัทเข้าไปลงทุนนั้นประกอบด้วย บ. โตโยต้า ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) 3.76% , ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด 2.19% , ธนาคารเมกะสากลพาณิชย์ 1.26% , ธนาคารดอยซ์แบงค์ 1.11% และธนาคารไทยพาณิชย์ 1.10%
นายวศิน กล่าวอีกว่า ล่าสุดบริษัทได้ทำการเสนอขายกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 7/08 เป็นครั้งแรกในระหว่างวันที่ 3 – 10 มีนาคม 2551 นี้ โดยกองทุนดังกล่าวมีอายุโครงการ 9 – 11 เดือน โดยมีมูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท และอาจเสนอขายเพิ่มได้อีกไม่เกิน 750 ล้านบาท โดยกองทุนมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยนำไปลงทุนในตราสารแห่งหนี้ภาครัฐ เงินฝาก รวมถึงบัตรเงินฝาก และตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงิน ที่มีความมั่นคงปลอดภัย และเพื่อให้ผลตอบแทนที่ดีกองทุน ซึ่งอาจทำธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนตราสารแห่งหนี้ภาครัฐกับสถาบันการเงินได้ตลอดอายุของโครงการด้วย
สำหรับกองทุนดังกล่าวมีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ส่วนที่เหลือจะลงทุนในเงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตราสารแห่งหนี้ของสถาบันการเงิน และหรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นด้วยการทำ ธุรกรรมการซื้อตราสารแห่งหนี้ภาครัฐกับสถาบันการเงิน โดยมีสัญญาที่จะขายคืนตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวตามวันที่กำหนดในสัญญา
นอกจากนี้ในหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 7/08 ระบุว่ากองทุนจะให้ผลตอบแทนในอัตรา 2.65% ในอัตรารับซื้อคืนต่อปี โดยกองทุนเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการความเสี่ยงที่ต่ำ แต่สามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการนำเงินไปฝากยังธนาคาร
“กองทุนบัวหลวงธนรัฐ 7/08 ผู้ที่เข้ามาลงทุนในกองทุนดังกล่าวจะได้สิทธิในการลดหย่อนภาษีด้วย อีกทั้งผลตอบแทนของกองทุนยังสามารถให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของเงินฝากธนาคารอีกด้วย และกองทุนดังกล่าวถือว่าเป็นกองทุนตราสารหนี้กองทุนที่ 7 ตั้งแต่ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนบุคคลธรรมดาที่เป็นฐานลูกค้าเก่าและฐานลูกค้าใหม่ และคาดว่าจะสามารถระดมทุนในการเปิดขายกองทุนดังกล่าวกว่า 5,000 ล้านบาท"” นายวศิน กล่าว
นายวศิน วัฒนวรกิจกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา บริษัทได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกำหับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ในการขอจดทะเบียนเพิ่มทุนกองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี (B-TNTV) อีก 5,000 ล้านบาท จากเดิมที่มีอยู่ 40,000 ล้านบาท เป็น 45,000 ล้านบาท
ทั้งนี้สาเหตุของการเพิ่มทุนของกองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี เนื่องจากกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนที่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดี อีกทั้งยังมีอัตราความเสี่ยงต่ำ ดังนั้นนักลงทุนจึงให้การตอบรับจากเป็นจำนวนมาก
สำหรับผลตอบแทนย้อนหลัง ณ วันที่ 25 มกราคม 2551 กองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 2.82% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 9.70% ผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 2.76% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 5.29% ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 3.32% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 5.61% และผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุนนั้นอยู่ที่ 3.52% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 4.35% ส่วนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนนั้นอยู่ที่ 36,466.06 ล้านบาท และมูลค่าหน่วยลงทุนอยู่ที่ 11.01 บาทต่อหน่วย
ทั้งนี้สัดส่วนการลงทุนคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันที่ 25 มกราคม 2551 แบ่งออกเป็นเงินฝาก/ตั๋วสัญญาใช้เงิน 32.66% , ตั๋วเงินคลัง 2.87% , พันธบัตรรัฐบาล / ธปท. 23.53% , หุ้นกู้รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน 10.52% , ตั๋วแลกเงิน 30.24% และอื่น ๆ อีก 0.18%
ส่วน 5 อันดับแรกของตราสารหนี้เอกชนและอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารและบริษัท ที่บริษัทเข้าไปลงทุนนั้นประกอบด้วย บ. โตโยต้า ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) 3.76% , ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด 2.19% , ธนาคารเมกะสากลพาณิชย์ 1.26% , ธนาคารดอยซ์แบงค์ 1.11% และธนาคารไทยพาณิชย์ 1.10%
นายวศิน กล่าวอีกว่า ล่าสุดบริษัทได้ทำการเสนอขายกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 7/08 เป็นครั้งแรกในระหว่างวันที่ 3 – 10 มีนาคม 2551 นี้ โดยกองทุนดังกล่าวมีอายุโครงการ 9 – 11 เดือน โดยมีมูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท และอาจเสนอขายเพิ่มได้อีกไม่เกิน 750 ล้านบาท โดยกองทุนมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยนำไปลงทุนในตราสารแห่งหนี้ภาครัฐ เงินฝาก รวมถึงบัตรเงินฝาก และตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงิน ที่มีความมั่นคงปลอดภัย และเพื่อให้ผลตอบแทนที่ดีกองทุน ซึ่งอาจทำธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนตราสารแห่งหนี้ภาครัฐกับสถาบันการเงินได้ตลอดอายุของโครงการด้วย
สำหรับกองทุนดังกล่าวมีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ส่วนที่เหลือจะลงทุนในเงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตราสารแห่งหนี้ของสถาบันการเงิน และหรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นด้วยการทำ ธุรกรรมการซื้อตราสารแห่งหนี้ภาครัฐกับสถาบันการเงิน โดยมีสัญญาที่จะขายคืนตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวตามวันที่กำหนดในสัญญา
นอกจากนี้ในหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 7/08 ระบุว่ากองทุนจะให้ผลตอบแทนในอัตรา 2.65% ในอัตรารับซื้อคืนต่อปี โดยกองทุนเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการความเสี่ยงที่ต่ำ แต่สามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการนำเงินไปฝากยังธนาคาร
“กองทุนบัวหลวงธนรัฐ 7/08 ผู้ที่เข้ามาลงทุนในกองทุนดังกล่าวจะได้สิทธิในการลดหย่อนภาษีด้วย อีกทั้งผลตอบแทนของกองทุนยังสามารถให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของเงินฝากธนาคารอีกด้วย และกองทุนดังกล่าวถือว่าเป็นกองทุนตราสารหนี้กองทุนที่ 7 ตั้งแต่ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนบุคคลธรรมดาที่เป็นฐานลูกค้าเก่าและฐานลูกค้าใหม่ และคาดว่าจะสามารถระดมทุนในการเปิดขายกองทุนดังกล่าวกว่า 5,000 ล้านบาท"” นายวศิน กล่าว