บลจ.ทิสโก้ เผยวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ทำนักลงทุนเทขายสินทรัพย์ในมือ สินค้าเกษตรโดนหางเร่ จนส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลง โดยเฉพาะราคากาแฟ ด้านผู้บริหาร ชี้ เป็นไปตามภาวะของราคา หากราคาดีก็ผลิตมาก ตรงกันข้าม ราคาไม่ดีก็ผลิตน้อย จนถึงกับขาดแคลน "ยํ้า" สินค้าไม่กระทบกองทุน เพราะมีสัดส่วนลงทุนน้อย
นายธีรนาถ รุจิเมธาภาส รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์ของราคาสินค้าเกษตรในช่วงนี้ ได้รับผลกระทบมาจากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ราคานํ้ามันปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆกับราคาสินค้าเกษตรซึ่งมีทิศทางของราคาไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากสินค้าเกษตรได้นำไปใช้เป็นพลังงานทดแทนกันมากขึ้นในปัจจุบัน
โดยสาเหตุที่ราคาสินค้าเกษตรได้มีการปรับตัวลดลงมาในช่วงนี้ เป็นเพราะสาเหตุหลักประการแรก ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่คือ เกิดจากวิกฤติของสถาบันการเงินที่ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความไม่เชื่อมั่นและพากับเทขายทรัพย์สินที่ลงทุนออกไปเป็นจำนวนมาก จึงส่งผลมาถึงการลงทุนในสินค้าเกษตร โดยที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้คือ ราคากาแฟที่ปรับตัวลดลงมา ส่วนประการต่อมาคือ การคาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจโลกจะไม่ขยายตัวและมีการชะลอตัวลง จึงส่งผลไปถึงความเชื่อมั่นในการลงทุนของนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย และประการสุดท้ายคือ สถานการณ์ของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น ในขณะที่เงินสกุลยูโรกลับอ่อนค่าลงมา ทำให้นักลงทุนหันไปเก็งกำไรในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมากกว่า
นายธีรนาถ กล่าวว่า ในส่วนกองทุนของ บลจ. ทิสโก้ ที่เข้าไปลงทุนอยู่ในสินค้าเกษตรนั้น จากภาวะสินค้าเกษตรดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อกองทุนมากนัก เพราะราคานํ้ามันในตลาดโลกก็ได้มีการปรับตัวลดลงมาด้วยเช่นกัน แตกต่างในช่วงต้นปีที่ผ่านมาที่ราคาสินค้าเกษตร ประเภทข้าวสาลี ได้ปรับตัวลดลงมาอย่างมากทำให้ทางกองทุนได้รับผลกระทบในส่วนนี้ ขณะที่สินค้าประเภทอื่นอย่าง ราคาถั่วเหลือง ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ทรงตัว
"อย่างไก็ตาม ในระยะยาวแล้ว การลงทุนในสินค้าเกษตรยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่า สินค้าประเภทอุตสาหกรรม เพราะสินนค้าเกษตรมีความต้องการในด้านการบริโภคอยู่ตลอดเวลา" รองกรรมการผู้จัดการ กล่าว
ทั้งนี้ จากรายงานข่าว ของทางสมาคมผู้ปลูกกาแฟประเทศโคลัมเบีย ที่ระบุว่า ตลาดกาแฟโลกอาจขาดแคลนกาแฟถึง 10 ล้านถุงในปีหน้า เนื่องจากความต้องการกาแฟที่สูงแซงหน้าการผลิต ในเรื่องนี้ นายธีรนาถ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามทิศทางของราคา ซึ่งหากราคาสินค้าเกษตรชนิดใดก็ตามมีราคาที่ดี จะมีกำลังการผลิตในปริมาณที่มาก ขณะเดียวกันในทางตรงกันข้าม เมื่อราคาสินค้าเกษตรถูกลงกำลังการผลิตก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้สินค้าที่ผลิตออกสู่ตลาดมีปริมาณน้อยจนถึงกับขาดแคลนในที่สุด ส่วนทางกองทุนเอง มีการลงทุนในสินค้ากาแฟอยู่ในปริมาณที่น้อยจึงคาดว่าไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
สำหรับ กองทุนเปิด ทิสโก้ อากริคัลเจอร์ ยูโร ฟันด์ ซึ่งเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน DB Platinum Agriculture Euro ซึ่งจดทะเบียนและจัดตั้งในประเทศลักเซมเบิร์ก บริหารและจัดการโดย DB Platinum Advisors เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนอ้างอิงกับผลตอบแทนของดัชนี db Agriculture Euro Index ซึ่งเป็นดัชนีที่มีผลตอบแทนสูง และมีความผันผวนต่ำ โดยอิงราคาสินค้าเกษตร 7 ชนิด ที่มีปริมาณการบริโภคในตลาดโลกสูงสุด ได้แก่ ข้าวสาลี, ข้าวโพด, อ้อย, ฝ้าย, เมล็ดกาแฟ, ถั่วเหลือง และโกโก้ นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มสินค้าเกษตรที่สามารถนำไปใช้ผลิตพลังงานทดแทนได้อีกด้วย
ส่วนผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 26 กันยายน 2551 กองทุนมีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือนอยู่ที่ -10.17% เทียบเกณฑ์มาตรฐาน db Agriculture Euro Index อยู่ที่ -9.40% ย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ -26.00% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ -20.86% และมีผลการดำเนินงานตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ -15.00% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ -14.15%
นายธีรนาถ รุจิเมธาภาส รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์ของราคาสินค้าเกษตรในช่วงนี้ ได้รับผลกระทบมาจากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ราคานํ้ามันปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆกับราคาสินค้าเกษตรซึ่งมีทิศทางของราคาไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากสินค้าเกษตรได้นำไปใช้เป็นพลังงานทดแทนกันมากขึ้นในปัจจุบัน
โดยสาเหตุที่ราคาสินค้าเกษตรได้มีการปรับตัวลดลงมาในช่วงนี้ เป็นเพราะสาเหตุหลักประการแรก ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่คือ เกิดจากวิกฤติของสถาบันการเงินที่ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความไม่เชื่อมั่นและพากับเทขายทรัพย์สินที่ลงทุนออกไปเป็นจำนวนมาก จึงส่งผลมาถึงการลงทุนในสินค้าเกษตร โดยที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้คือ ราคากาแฟที่ปรับตัวลดลงมา ส่วนประการต่อมาคือ การคาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจโลกจะไม่ขยายตัวและมีการชะลอตัวลง จึงส่งผลไปถึงความเชื่อมั่นในการลงทุนของนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย และประการสุดท้ายคือ สถานการณ์ของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น ในขณะที่เงินสกุลยูโรกลับอ่อนค่าลงมา ทำให้นักลงทุนหันไปเก็งกำไรในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมากกว่า
นายธีรนาถ กล่าวว่า ในส่วนกองทุนของ บลจ. ทิสโก้ ที่เข้าไปลงทุนอยู่ในสินค้าเกษตรนั้น จากภาวะสินค้าเกษตรดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อกองทุนมากนัก เพราะราคานํ้ามันในตลาดโลกก็ได้มีการปรับตัวลดลงมาด้วยเช่นกัน แตกต่างในช่วงต้นปีที่ผ่านมาที่ราคาสินค้าเกษตร ประเภทข้าวสาลี ได้ปรับตัวลดลงมาอย่างมากทำให้ทางกองทุนได้รับผลกระทบในส่วนนี้ ขณะที่สินค้าประเภทอื่นอย่าง ราคาถั่วเหลือง ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ทรงตัว
"อย่างไก็ตาม ในระยะยาวแล้ว การลงทุนในสินค้าเกษตรยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่า สินค้าประเภทอุตสาหกรรม เพราะสินนค้าเกษตรมีความต้องการในด้านการบริโภคอยู่ตลอดเวลา" รองกรรมการผู้จัดการ กล่าว
ทั้งนี้ จากรายงานข่าว ของทางสมาคมผู้ปลูกกาแฟประเทศโคลัมเบีย ที่ระบุว่า ตลาดกาแฟโลกอาจขาดแคลนกาแฟถึง 10 ล้านถุงในปีหน้า เนื่องจากความต้องการกาแฟที่สูงแซงหน้าการผลิต ในเรื่องนี้ นายธีรนาถ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามทิศทางของราคา ซึ่งหากราคาสินค้าเกษตรชนิดใดก็ตามมีราคาที่ดี จะมีกำลังการผลิตในปริมาณที่มาก ขณะเดียวกันในทางตรงกันข้าม เมื่อราคาสินค้าเกษตรถูกลงกำลังการผลิตก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้สินค้าที่ผลิตออกสู่ตลาดมีปริมาณน้อยจนถึงกับขาดแคลนในที่สุด ส่วนทางกองทุนเอง มีการลงทุนในสินค้ากาแฟอยู่ในปริมาณที่น้อยจึงคาดว่าไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
สำหรับ กองทุนเปิด ทิสโก้ อากริคัลเจอร์ ยูโร ฟันด์ ซึ่งเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน DB Platinum Agriculture Euro ซึ่งจดทะเบียนและจัดตั้งในประเทศลักเซมเบิร์ก บริหารและจัดการโดย DB Platinum Advisors เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนอ้างอิงกับผลตอบแทนของดัชนี db Agriculture Euro Index ซึ่งเป็นดัชนีที่มีผลตอบแทนสูง และมีความผันผวนต่ำ โดยอิงราคาสินค้าเกษตร 7 ชนิด ที่มีปริมาณการบริโภคในตลาดโลกสูงสุด ได้แก่ ข้าวสาลี, ข้าวโพด, อ้อย, ฝ้าย, เมล็ดกาแฟ, ถั่วเหลือง และโกโก้ นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มสินค้าเกษตรที่สามารถนำไปใช้ผลิตพลังงานทดแทนได้อีกด้วย
ส่วนผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 26 กันยายน 2551 กองทุนมีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือนอยู่ที่ -10.17% เทียบเกณฑ์มาตรฐาน db Agriculture Euro Index อยู่ที่ -9.40% ย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ -26.00% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ -20.86% และมีผลการดำเนินงานตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ -15.00% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ -14.15%