บลจ.บัวหลวงปลื้ม 10 เดือนแรก มูลค่าทรัพย์สินสุทธิโต 10% สูงกว่าอุตสาหกรรมกองทุนรวมที่ติดลบ 4% เผยกองทุนหุ้นอ่วมสุด เงินลงทุนหาย 4,700 ล้านบาท ฟุ้งกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ ขยับขึ้นมาอยู่อันดับ 3 ล่าสุด คลอด "กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ" รับเงินลงทุนช่วงปลายปี เน้นลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ความเสี่ยงต่ำ คาดระดมทุนได้ประมาณ 600 ล้านบาท เปิดขายไอพีโอถึง 10 พ.ย.นี้
นายวศิน วัฒนวรกิจกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของอุตสาหกรรมกองทุนรวมในช่วง 10 เดือนแรกติดลบไปประมาณ 4% ขณะที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) ของบริษัทมีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 6% โดยกองทุนตราสารหนี้ยังได้รับความสนใจในการเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมกองทุนรวมมากที่สุด รองลงมาเป็นกองทุนรวมหุ้น
ส่วนการที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของอุตสาหกรรมกองทุนรวมปรับตัวลดลง เนื่องจากตลาดหุ้นได้ปรับตัวลดลงมาจากต้นปี 2551 จนถึงปัจจุบันประมาณ 40% ส่งผลให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของอุตสาหกรรมกองทุนโดยรวมลดลงประมาณ 4,700 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาปริมาณการเข้ามาซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) จะมีการปรับตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แต่คาดว่าปริมาณการเข้ามาซื้อกองทุนทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวในช่วงปลายปีนี้น่าจะลดลง แต่ความต้องการยังคงมีอยู่ โดยนักลงทุนต้องการเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง
ขณะที่อัตราการเจริญเติบโตของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพของบริษัทอยู่ที่ประมาณ 16% โดยปรับตัวขึ้นมาจากอันดับ 4 ในปีที่แล้วมาอยู่ในดับ 3 ของอุตสาหกรรมกองทุนรวม โดยคาดว่าทั้งปี 2551 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจะเติบโตประมาณ 17% โดยบริษัทตั้งเป้าหมายจะพยายามรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) และรักษาอัตราการเจริญเติบโตเอาไว้ ทั้งนี้ คาดว่ากองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพที่เปิดเสนอขายใหม่จะสามารถดมทุนได้ประมาณ 600 ล้านบาท และน่าจะช่วยให้กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเจริญเติบโตได้
โดยล่าสุด ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2551 พบว่ามีมูลค่าสินทรัพย์สินสุทธิประมาณ 147,000 ล้านบาท ขณะที่ปี 2550 มีอยู่ประมาณ 145,000 ล้านบาท
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า ส่วนแผนงานในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ บริษัทจะออกกองทุนใหม่ที่เน้นลงทุนในตราสราหนี้ประมาณ 4 – 5 กองทุนต่อเดือน โดยจะเป็นการออกมาเพื่อรองรับกองทุนเดิมที่ทยอยหมดอายุในช่วงดังกล่าว
ขณะเดียวกัน บริษัทได้เปิดเสนอขายกองทุนใหม่ “กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ” (Bualuang Money Market RMF : MM-RMF) ที่เป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน มูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท โดยจะเน้นลงทุนเฉพาะตราสารหนี้ที่มีความมั่นคง และมีอายุไม่เกิน 1 ปี และจะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 10 พฤศจิกายน 2551 มูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 5,000 บาท
สำหรับวัตถุประสงค์ในการออกกองทุนดังกล่าว เพื่อส่งเสริมการออมผูกพันระยะยาว เพื่อการเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุของผู้ถือหน่วยลงทุนที่เน้นความมั่นคงในการดำรงเงินต้น โดยมีเป้าหมายจะได้รับผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ โดยคาดว่าจะสามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 3%
ส่วนจุดเด่นของกองทุน MM-RMF นับเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมตลาดเงิน จึงมีความเสี่ยงต่ำกว่ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพทั่วไป อีกทั้งผู้ลงทุนยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ขณะเดียวกัน กองทุนใหม่นี้เหมาะสมสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการสิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ว่ายังมีความกังวลเรื่องความเสี่ยงจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
“การเปิดตัวกองทุนดังกล่าวสอดคล้องกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน ที่ตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลก รวมทั้งเมืองไทยมีความผันผวน ซึ่งจะช่วยสร้างความอุ่นใจและความปลอดภัยให้กับนักลงทุนได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เพราะจะเน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น สภาพคล่องสูงและมีอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ A- ขึ้นไป รวมทั้งนักลงทุนยังจะได้รับสิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้อีกด้วย” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กล่าว
นายวศิน วัฒนวรกิจกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของอุตสาหกรรมกองทุนรวมในช่วง 10 เดือนแรกติดลบไปประมาณ 4% ขณะที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) ของบริษัทมีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 6% โดยกองทุนตราสารหนี้ยังได้รับความสนใจในการเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมกองทุนรวมมากที่สุด รองลงมาเป็นกองทุนรวมหุ้น
ส่วนการที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของอุตสาหกรรมกองทุนรวมปรับตัวลดลง เนื่องจากตลาดหุ้นได้ปรับตัวลดลงมาจากต้นปี 2551 จนถึงปัจจุบันประมาณ 40% ส่งผลให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของอุตสาหกรรมกองทุนโดยรวมลดลงประมาณ 4,700 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาปริมาณการเข้ามาซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) จะมีการปรับตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แต่คาดว่าปริมาณการเข้ามาซื้อกองทุนทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวในช่วงปลายปีนี้น่าจะลดลง แต่ความต้องการยังคงมีอยู่ โดยนักลงทุนต้องการเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง
ขณะที่อัตราการเจริญเติบโตของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพของบริษัทอยู่ที่ประมาณ 16% โดยปรับตัวขึ้นมาจากอันดับ 4 ในปีที่แล้วมาอยู่ในดับ 3 ของอุตสาหกรรมกองทุนรวม โดยคาดว่าทั้งปี 2551 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจะเติบโตประมาณ 17% โดยบริษัทตั้งเป้าหมายจะพยายามรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) และรักษาอัตราการเจริญเติบโตเอาไว้ ทั้งนี้ คาดว่ากองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพที่เปิดเสนอขายใหม่จะสามารถดมทุนได้ประมาณ 600 ล้านบาท และน่าจะช่วยให้กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเจริญเติบโตได้
โดยล่าสุด ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2551 พบว่ามีมูลค่าสินทรัพย์สินสุทธิประมาณ 147,000 ล้านบาท ขณะที่ปี 2550 มีอยู่ประมาณ 145,000 ล้านบาท
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า ส่วนแผนงานในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ บริษัทจะออกกองทุนใหม่ที่เน้นลงทุนในตราสราหนี้ประมาณ 4 – 5 กองทุนต่อเดือน โดยจะเป็นการออกมาเพื่อรองรับกองทุนเดิมที่ทยอยหมดอายุในช่วงดังกล่าว
ขณะเดียวกัน บริษัทได้เปิดเสนอขายกองทุนใหม่ “กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ” (Bualuang Money Market RMF : MM-RMF) ที่เป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน มูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท โดยจะเน้นลงทุนเฉพาะตราสารหนี้ที่มีความมั่นคง และมีอายุไม่เกิน 1 ปี และจะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 10 พฤศจิกายน 2551 มูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 5,000 บาท
สำหรับวัตถุประสงค์ในการออกกองทุนดังกล่าว เพื่อส่งเสริมการออมผูกพันระยะยาว เพื่อการเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุของผู้ถือหน่วยลงทุนที่เน้นความมั่นคงในการดำรงเงินต้น โดยมีเป้าหมายจะได้รับผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ โดยคาดว่าจะสามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 3%
ส่วนจุดเด่นของกองทุน MM-RMF นับเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมตลาดเงิน จึงมีความเสี่ยงต่ำกว่ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพทั่วไป อีกทั้งผู้ลงทุนยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ขณะเดียวกัน กองทุนใหม่นี้เหมาะสมสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการสิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ว่ายังมีความกังวลเรื่องความเสี่ยงจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
“การเปิดตัวกองทุนดังกล่าวสอดคล้องกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน ที่ตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลก รวมทั้งเมืองไทยมีความผันผวน ซึ่งจะช่วยสร้างความอุ่นใจและความปลอดภัยให้กับนักลงทุนได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เพราะจะเน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น สภาพคล่องสูงและมีอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ A- ขึ้นไป รวมทั้งนักลงทุนยังจะได้รับสิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้อีกด้วย” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กล่าว