ผู้จัดการกองทุนอัดรัฐ มติครม.ขยายวงเงินRMF – LTF แตะ7แสนบาทมีนัยแอบแฝง หากเพียงแค่ต้องการช่วยรักษาสภาพคล่องตลาดหุ้น ถือว่าผิดวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนที่เน้นสร้างวินัยการออมและเก็บเงินไว้ใช้ยามเกษียณ ระบุช่วงนี้ความเสี่ยงยังมีสูง หวั่นขาดทุนหนัก ขณะเดียวกันมีแต่กลุ่มคนรวยที่ได้รับผลประโยชน์ พร้อมแนะขยายเพดานลงทุนเพิ่มขึ้นยังดีกว่า
แหล่งข่าวผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) รายหนึ่ง กล่าวถึงมติครม.ในเรื่องการขยายวงเงินหักค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) จากเดิม 500,000 บาท เป็น 700,000 บาทว่า ถ้าภาครัฐมีวัตถุประสงค์ในการขยายวงเงินครั้งนี้ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดหุ้น นับว่าผิดกับวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนทั้ง 2 ประเภทนี้ขึ้นมา เพราะดูจากมติครม.ที่ออกมา มองว่าเป็นการช่วยพยุงราคาและสภาพคล่องในตลาดหุ้นมากกว่า
ทั้งนี้เนื่องจากการจัดตั้งกองทุนLTFและRMFมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังการออมในระยะกลางและระยะยาวให้กับนักลงทุน อีกทั้งการลงทุนในกองทุนดังกล่าวจะช่วยต่อยอดการเพิ่มเม็ดเงินของเงินออมให้กับนักลงทุนเอง โดยประโยชน์นอกเหนือจากผลตอบแทนที่ได้รับคือสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีและการปลูกฝังนิสัยรักการออม
“ลูกค้าส่วนใหญ่ของกองทุนเป็นมนุษย์เงินเดือน แต่การลงทุนในหุ้นเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงจึงไม่เหมาะกับมนุษย์เงินเดือนมากนัก ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยหากว่าการขายยวงเงินในครั้งนี้จะทำเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดหลักทรัพย์ฯที่กำลังแย่เพียงอย่างเดียว เพราะไม่มีใครบอกได้ว่าราคาหุ้นจะตกลงไปมากกว่านี้อีกหรือไม่ โดยหากนักลงทุนคนใดทำตามมติครม.คือลงทุนจนครบ 7แสนบาทในช่วงนี้ก็มีโอกาสที่จะขาดทุนจากราคาหุ้นช่วงนี้ได้”
แหล่งข่าวกล่าวว่า ภาครัฐไม่ควรที่จะต้องการรักษาเพียงความเชื่อมั่นด้านการลงทุน และดัชนีตลาดหุ้นเอาไว้ ด้วยการชูสิทธิประโยชน์จูงใจประชาชน แต่ควรคำนึงถึงความปลอดภัยในเม็ดเงินที่ลงทุนเพิ่มเข้ามาด้วย อย่างไรก็ตามถ้ามองในแง่ดีก็จะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุนได้ ในข้อแม้ต้องเป็นการลงทุนในระยะยาว 2- 3 ปีขึ้นไปเพื่อรอรับผลตอบแทนในระดับสูงนั้น แต่หากขาดทุนจะต้องทิ้งเงินก้อนนี้ไว้เป็นระยะเวลานาน เพื่อรอให้ทุกอย่างรีบาวด์กลับมา ซึ่งอาจจะเหมือนวิกฤตเมื่อปี 2540 ที่กองทุนหลายโครงการ แม้ปัจจุบันนี้มูลค่าหน่วยลงทุนยังไม่สามารถดีดตัวกลับมาอยู่เท่าราคาซื้อครั้งแรกได้
ด้านนายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ส่วนตัวหากมีการขยายวงเงินจริง เรื่องดังกล่าวจะต้องมีการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)และสมาคมบริษัทจัดการกองทุน(สมาคมบลจ.) ก่อนที่จะมาถึงบลจ.ให้ดำเนินการ
ทั้งนี้สำหรับ บลจ.อยุธยา มีความสนใจที่จะเข้าไปทำการซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มให้ครบวงเงินที่กำหนดอย่างแน่นอน เพราะเป็นการลงทุนที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ อีกทั้งอาจจะมีนักลงทุนที่สนใจลงทุนเต็มวงเงินที่เพิ่มขึ้นเป็น700,000บาทแน่นอน เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ที่ใหญ่ที่ใช้สิทธิการลดหย่อนภาษีจะเป็นนักลงทุนที่มีเงินทุนสำรองเก็บไว้อยู่ ไม่ได้เดือนร้อนในเรื่องการใช้จ่ายเงินแต่อย่างใด จึงทำให้มีเงินเหลือพอที่จะเข้ามาลงทุนเพิ่ม
“การซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มของกองทุนLTFและRMFจะสามารถช่วยในเรื่องของวงเงินการลดหย่อนให้เพิ่มขึ้นด้วย โดยหากมีการเพิ่มเม็ดเงินเป็น700,000บาท นักลงทุนที่จะสามารถใช้สิทธิดังกล่าวโดยคำนวณจากนักลงทุนที่มีฐานเงินตามที่กำหนดไว้ทั่วประเทศจะมีเพียง 2หมื่นคนเท่านั้น อีกทั้งยังมีระยะเวลาในการลงทุนเหลืออีกเพียง2เดือน ทำให้บริษัทคาดว่าเม็ดเงินที่ได้จากการขยายวงเงินในส่วนนี้ จะอยู่ที่ประมาณ 1,000-2,000ล้านบาท”นายประภาส กล่าว
นอกจากนี้จากการประชุมของ ครม. ที่ประกาศสนับสนุนการขยายวงเงินให้นักลงทุนที่ใช้สิทธิในเดือน ตุลาคม 2551-ธันวาคม 2551 ซึ่งรวมระยะเวลาเพียง3เดือน โดยถือว่าระยะเวลาที่ได้รับสิทธิดังกล่าวมีน้อยเกินไป อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการอนุมัติออกมา แต่เนื่องจากไม่มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ ทำให้บลจ.ไม่สามารถที่จะแจ้งเรื่องการเพิ่มวงเงินให้กับนักลงทุนทราบได้
ทั้งนี้ เมื่อต้นปีที่ผ่านมาที่ ครม.ในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช ได้มีการเพิ่มวงเงินการลดหย่อนภาษีมาแล้วรอบหนึ่ง โดยเพิ่มวงเงินจาก300,000 บาทมาเป็น500,000บาท แต่ได้หนังสือแจ้งการอนุมัติการเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีอย่างชัดเจน ทำให้บริษัทสามารถแจ้งการปรับเพิ่มการลงทุนให้นักลงทุนทราบและมีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรัฐบาลมีรายได้จากการเรียกเก็บภาษีจากนักลงทุน ดังนั้นการที่รัฐบาลเข้ามาผลักดันในเรื่องของกองทุนLTFและRMF ซึ่งนักลงทุนได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่ม จะทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่ากการลงทุนในกองทุนดังกล่าวจะเป็นการลงทุนในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์มีเงินทุนไหลเวียนเพิ่มขึ้น
อีกทั้ง บริษัทก็อยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยในเรื่องการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จักการลงทุนผ่านกองทุนประเภทดังกล่าวมากขึ้น เพราะเป็นการออมเงินให้กับนักลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีกลับคืนมาได้
ด้านนายวรรธนะ วงศ์สีนิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. ฟิลิป จำกัด กล่าวว่า จากมาตราการดังกล่าวที่รัฐบาลได้มีการอนุมัติออกมา ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับนักลงทุนและยังช่วยให้ตลาดทุนให้ดีขึ้น ดีกว่าที่รัฐบาลจะไม่ทำอะไรเลย หรือปล่อยให้ตลาดยังคงมีความผันผวนและความเสี่ยงในการลงทุนสูง แต่ทั้งนี้จากการที่หลายฝ่ายออกมาเสนอความคิดเห็นว่าการเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีจาก500,000บาทเป็น700,000บาทจะเอื้อผลประโยชน์เฉพาะนักลงทุนที่มีรายได้สูงนั้น โดยส่วนตัวมองว่าเนื่องจากนักลงทุนดังกล่าวมีรายได้สูงดังนั้นการเสียภาษีย่อมที่จะสูงตามไปด้วย
แต่หากรัฐบาลจะช่วยให้ประชาชนมีการออมมากยิ่งขึ้น นายวรรธนะ กล่าวว่านอกจากการเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีแล้ว รัฐบาลควรที่จะเพิ่มเพดานการลงทุนของรายได้ต่อปีจาก15%เป็น20%หรือ25%ภายในระยะเวลา3เดือนที่เหลือก็ยังดี เพราะการเพิ่มเพดานการลงทุนจะเป็นการเพิ่มจำนวนนักลงทุนได้หลายระดับและมากกว่าการเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษี ซึ่งจากเรื่องดังกล่าวจะมีผลตอบรับจากนักลงทุนอยู่ในวงจำกัด ไม่กว้างสักเท่าไหร่
โดยการเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีจะทำให้นักลงทุนที่สามารถลงทุนได้ จะต้องมีรายได้ 280,000 บาทขึ้นไป อีกทั้งคนกลุ่มนี้เมื่อมีการสำรวจออกมาแล้วพบว่ามีอยู่เพียงประมาณ5%ของทั่วประเทศ ดังนั้นหากรัฐบาลต้องการเม็ดเงินจากนักลงทุนเพิ่มขึ้นควรที่จะเพิ่มเพดานการลงทุน หรือหากจะให้ดีจะต้องเพิ่มทั้งวงเงินลดหย่อนภาษีและเพิ่มเพดานการลงทุนไปพร้อมๆกัน ซึ่งจะทำให้เม็ดเงินไหลเข้ามามากยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกัน รัฐบาลควรเน้นให้นักลงทุนหันมาลงทุนในกองทุนRMFมากกว่าการลงทุนในกองทุนLTFเพราะการลงทุนในRMFเป็นการออมเงินในระยะยาว จะทำให้นักลงทุนมีเงินเก็บใช้เมื่อเกษียณอายุมากกว่า เนื่องจากกองทุนRMFได้กำหนดการไถ่ถอนหน่วยลงทุนคืนได้เมื่อผู้ลงทุนนั้นมีอายุครบ55ปีบริบูรณ์และต้องลงทุนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า5ปีปฏิทิน
นอกจากนี้ การลงทุนในRMF ยังสามารถที่จะสับเปลี่ยนการลงทุนได้ เช่นในขณะนี้ตลาดหุ้นตก นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนหุ้นRMFสามารถที่จะสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปยังตราสารหนี้ได้ ขณะที่การลงทุนในกองทุนLTF ซึ่งเป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตลาดหุ้น การขยายวงเงินไม่น่าที่จะช่วยให้ตลาดปรับตัวดีขึ้นสักเท่าไหร่ เนื่องจากตลาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโลกมากกว่า
“บริษัทไม่หวังเม็ดเงินลงทุนจากการขยายวงเงินนี้มาสนับสนุนตลาด แต่ที่ต้องการคือให้มีคนเข้ามาออมเงินให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยใช้สิทธิทางด้านภาษีมาชักจูงใจนักลงทุน ส่วนเรื่องของเม็ดเงินที่เข้าไปยังตลาดถือว่าเป็นเรื่องของผลพลอยได้เพียงเท่านั้นเอง ทั้งนี้อยากให้รัฐบาลสนับสนุนการลงทุนในกองทุน ให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิการลดหย่อนภาษีและการลงทุนในกองทุนให้ประชาชนเข้าใจ เนื่องจากขณะนี้ยังมีนักลงทุนที่รู้ในเรื่องกองทุนยังมีน้อยมาก”นายวรรธนะ กล่าว
แหล่งข่าวผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) รายหนึ่ง กล่าวถึงมติครม.ในเรื่องการขยายวงเงินหักค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) จากเดิม 500,000 บาท เป็น 700,000 บาทว่า ถ้าภาครัฐมีวัตถุประสงค์ในการขยายวงเงินครั้งนี้ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดหุ้น นับว่าผิดกับวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนทั้ง 2 ประเภทนี้ขึ้นมา เพราะดูจากมติครม.ที่ออกมา มองว่าเป็นการช่วยพยุงราคาและสภาพคล่องในตลาดหุ้นมากกว่า
ทั้งนี้เนื่องจากการจัดตั้งกองทุนLTFและRMFมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังการออมในระยะกลางและระยะยาวให้กับนักลงทุน อีกทั้งการลงทุนในกองทุนดังกล่าวจะช่วยต่อยอดการเพิ่มเม็ดเงินของเงินออมให้กับนักลงทุนเอง โดยประโยชน์นอกเหนือจากผลตอบแทนที่ได้รับคือสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีและการปลูกฝังนิสัยรักการออม
“ลูกค้าส่วนใหญ่ของกองทุนเป็นมนุษย์เงินเดือน แต่การลงทุนในหุ้นเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงจึงไม่เหมาะกับมนุษย์เงินเดือนมากนัก ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยหากว่าการขายยวงเงินในครั้งนี้จะทำเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดหลักทรัพย์ฯที่กำลังแย่เพียงอย่างเดียว เพราะไม่มีใครบอกได้ว่าราคาหุ้นจะตกลงไปมากกว่านี้อีกหรือไม่ โดยหากนักลงทุนคนใดทำตามมติครม.คือลงทุนจนครบ 7แสนบาทในช่วงนี้ก็มีโอกาสที่จะขาดทุนจากราคาหุ้นช่วงนี้ได้”
แหล่งข่าวกล่าวว่า ภาครัฐไม่ควรที่จะต้องการรักษาเพียงความเชื่อมั่นด้านการลงทุน และดัชนีตลาดหุ้นเอาไว้ ด้วยการชูสิทธิประโยชน์จูงใจประชาชน แต่ควรคำนึงถึงความปลอดภัยในเม็ดเงินที่ลงทุนเพิ่มเข้ามาด้วย อย่างไรก็ตามถ้ามองในแง่ดีก็จะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุนได้ ในข้อแม้ต้องเป็นการลงทุนในระยะยาว 2- 3 ปีขึ้นไปเพื่อรอรับผลตอบแทนในระดับสูงนั้น แต่หากขาดทุนจะต้องทิ้งเงินก้อนนี้ไว้เป็นระยะเวลานาน เพื่อรอให้ทุกอย่างรีบาวด์กลับมา ซึ่งอาจจะเหมือนวิกฤตเมื่อปี 2540 ที่กองทุนหลายโครงการ แม้ปัจจุบันนี้มูลค่าหน่วยลงทุนยังไม่สามารถดีดตัวกลับมาอยู่เท่าราคาซื้อครั้งแรกได้
ด้านนายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ส่วนตัวหากมีการขยายวงเงินจริง เรื่องดังกล่าวจะต้องมีการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)และสมาคมบริษัทจัดการกองทุน(สมาคมบลจ.) ก่อนที่จะมาถึงบลจ.ให้ดำเนินการ
ทั้งนี้สำหรับ บลจ.อยุธยา มีความสนใจที่จะเข้าไปทำการซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มให้ครบวงเงินที่กำหนดอย่างแน่นอน เพราะเป็นการลงทุนที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ อีกทั้งอาจจะมีนักลงทุนที่สนใจลงทุนเต็มวงเงินที่เพิ่มขึ้นเป็น700,000บาทแน่นอน เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ที่ใหญ่ที่ใช้สิทธิการลดหย่อนภาษีจะเป็นนักลงทุนที่มีเงินทุนสำรองเก็บไว้อยู่ ไม่ได้เดือนร้อนในเรื่องการใช้จ่ายเงินแต่อย่างใด จึงทำให้มีเงินเหลือพอที่จะเข้ามาลงทุนเพิ่ม
“การซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มของกองทุนLTFและRMFจะสามารถช่วยในเรื่องของวงเงินการลดหย่อนให้เพิ่มขึ้นด้วย โดยหากมีการเพิ่มเม็ดเงินเป็น700,000บาท นักลงทุนที่จะสามารถใช้สิทธิดังกล่าวโดยคำนวณจากนักลงทุนที่มีฐานเงินตามที่กำหนดไว้ทั่วประเทศจะมีเพียง 2หมื่นคนเท่านั้น อีกทั้งยังมีระยะเวลาในการลงทุนเหลืออีกเพียง2เดือน ทำให้บริษัทคาดว่าเม็ดเงินที่ได้จากการขยายวงเงินในส่วนนี้ จะอยู่ที่ประมาณ 1,000-2,000ล้านบาท”นายประภาส กล่าว
นอกจากนี้จากการประชุมของ ครม. ที่ประกาศสนับสนุนการขยายวงเงินให้นักลงทุนที่ใช้สิทธิในเดือน ตุลาคม 2551-ธันวาคม 2551 ซึ่งรวมระยะเวลาเพียง3เดือน โดยถือว่าระยะเวลาที่ได้รับสิทธิดังกล่าวมีน้อยเกินไป อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการอนุมัติออกมา แต่เนื่องจากไม่มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ ทำให้บลจ.ไม่สามารถที่จะแจ้งเรื่องการเพิ่มวงเงินให้กับนักลงทุนทราบได้
ทั้งนี้ เมื่อต้นปีที่ผ่านมาที่ ครม.ในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช ได้มีการเพิ่มวงเงินการลดหย่อนภาษีมาแล้วรอบหนึ่ง โดยเพิ่มวงเงินจาก300,000 บาทมาเป็น500,000บาท แต่ได้หนังสือแจ้งการอนุมัติการเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีอย่างชัดเจน ทำให้บริษัทสามารถแจ้งการปรับเพิ่มการลงทุนให้นักลงทุนทราบและมีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรัฐบาลมีรายได้จากการเรียกเก็บภาษีจากนักลงทุน ดังนั้นการที่รัฐบาลเข้ามาผลักดันในเรื่องของกองทุนLTFและRMF ซึ่งนักลงทุนได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่ม จะทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่ากการลงทุนในกองทุนดังกล่าวจะเป็นการลงทุนในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์มีเงินทุนไหลเวียนเพิ่มขึ้น
อีกทั้ง บริษัทก็อยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยในเรื่องการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จักการลงทุนผ่านกองทุนประเภทดังกล่าวมากขึ้น เพราะเป็นการออมเงินให้กับนักลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีกลับคืนมาได้
ด้านนายวรรธนะ วงศ์สีนิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. ฟิลิป จำกัด กล่าวว่า จากมาตราการดังกล่าวที่รัฐบาลได้มีการอนุมัติออกมา ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับนักลงทุนและยังช่วยให้ตลาดทุนให้ดีขึ้น ดีกว่าที่รัฐบาลจะไม่ทำอะไรเลย หรือปล่อยให้ตลาดยังคงมีความผันผวนและความเสี่ยงในการลงทุนสูง แต่ทั้งนี้จากการที่หลายฝ่ายออกมาเสนอความคิดเห็นว่าการเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีจาก500,000บาทเป็น700,000บาทจะเอื้อผลประโยชน์เฉพาะนักลงทุนที่มีรายได้สูงนั้น โดยส่วนตัวมองว่าเนื่องจากนักลงทุนดังกล่าวมีรายได้สูงดังนั้นการเสียภาษีย่อมที่จะสูงตามไปด้วย
แต่หากรัฐบาลจะช่วยให้ประชาชนมีการออมมากยิ่งขึ้น นายวรรธนะ กล่าวว่านอกจากการเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีแล้ว รัฐบาลควรที่จะเพิ่มเพดานการลงทุนของรายได้ต่อปีจาก15%เป็น20%หรือ25%ภายในระยะเวลา3เดือนที่เหลือก็ยังดี เพราะการเพิ่มเพดานการลงทุนจะเป็นการเพิ่มจำนวนนักลงทุนได้หลายระดับและมากกว่าการเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษี ซึ่งจากเรื่องดังกล่าวจะมีผลตอบรับจากนักลงทุนอยู่ในวงจำกัด ไม่กว้างสักเท่าไหร่
โดยการเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีจะทำให้นักลงทุนที่สามารถลงทุนได้ จะต้องมีรายได้ 280,000 บาทขึ้นไป อีกทั้งคนกลุ่มนี้เมื่อมีการสำรวจออกมาแล้วพบว่ามีอยู่เพียงประมาณ5%ของทั่วประเทศ ดังนั้นหากรัฐบาลต้องการเม็ดเงินจากนักลงทุนเพิ่มขึ้นควรที่จะเพิ่มเพดานการลงทุน หรือหากจะให้ดีจะต้องเพิ่มทั้งวงเงินลดหย่อนภาษีและเพิ่มเพดานการลงทุนไปพร้อมๆกัน ซึ่งจะทำให้เม็ดเงินไหลเข้ามามากยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกัน รัฐบาลควรเน้นให้นักลงทุนหันมาลงทุนในกองทุนRMFมากกว่าการลงทุนในกองทุนLTFเพราะการลงทุนในRMFเป็นการออมเงินในระยะยาว จะทำให้นักลงทุนมีเงินเก็บใช้เมื่อเกษียณอายุมากกว่า เนื่องจากกองทุนRMFได้กำหนดการไถ่ถอนหน่วยลงทุนคืนได้เมื่อผู้ลงทุนนั้นมีอายุครบ55ปีบริบูรณ์และต้องลงทุนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า5ปีปฏิทิน
นอกจากนี้ การลงทุนในRMF ยังสามารถที่จะสับเปลี่ยนการลงทุนได้ เช่นในขณะนี้ตลาดหุ้นตก นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนหุ้นRMFสามารถที่จะสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปยังตราสารหนี้ได้ ขณะที่การลงทุนในกองทุนLTF ซึ่งเป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตลาดหุ้น การขยายวงเงินไม่น่าที่จะช่วยให้ตลาดปรับตัวดีขึ้นสักเท่าไหร่ เนื่องจากตลาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโลกมากกว่า
“บริษัทไม่หวังเม็ดเงินลงทุนจากการขยายวงเงินนี้มาสนับสนุนตลาด แต่ที่ต้องการคือให้มีคนเข้ามาออมเงินให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยใช้สิทธิทางด้านภาษีมาชักจูงใจนักลงทุน ส่วนเรื่องของเม็ดเงินที่เข้าไปยังตลาดถือว่าเป็นเรื่องของผลพลอยได้เพียงเท่านั้นเอง ทั้งนี้อยากให้รัฐบาลสนับสนุนการลงทุนในกองทุน ให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิการลดหย่อนภาษีและการลงทุนในกองทุนให้ประชาชนเข้าใจ เนื่องจากขณะนี้ยังมีนักลงทุนที่รู้ในเรื่องกองทุนยังมีน้อยมาก”นายวรรธนะ กล่าว