**คำถาม - เพิ่งจะเริ่มต้นลงทุนไม่นานค่ะ แต่ส่วนใหญ่จะอาศัยการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งจากทาง web site ของสถาบันต่างๆ และจากการอ่านหนังสือด้านการลงุทน พบว่า การจัดพอร์ต ส่วนใหญ่จะมุ่งประเด็นไปที่การบริหารเงินก้อนใหญ่ โดยแบ่งไปตามสัดส่วน ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ลงทุน เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเอง แต่กรณีมือใหม่อย่างดิฉัน เป็นเพียงมนุษย์เงินเดือนที่เก็บออมได้ทุกเดือนประมาณ เดือนละ 10,000 บาท และมีเป้าหมายว่า เงินที่เก็บครั้งนี้ คือ 1. เพื่อเป็นเงินทุนการศึกษาของบุตรในระดับมหาวิทยาลัย (ปัจจุบัน บุตรอายุ 4 ขวบ และ 7 ขวบ) 2. เพื่อเป็นเงินดาวน์ซื้อรถใหม่ ในอีก 3 ปีข้างหน้า (เพราะรถที่ใช้อยู่มันก็อายุเยอะแล้ว) จึงอยากขอคำแนะนำ ว่า เราจะวางแผนอย่างไร เช่นการศึกษาของบุตร ถ้าเรียนระดับมหาวิทยาลัย (เอกชน) ต้องใช้คนละ 400,000 บาท ยังไม่ได้คิดถึงเงินเฟ้อเลย เราจะแบ่งเงิน 10,000 บาท นั้น ไปลงทุนแบบไหนค่ะ ลงหุ้น 45% ส่วนที่เหลือลงตราสารหนี้ 55% แต่ค่อยๆ ทยอยสะสมไปแต่ละเดือนหรือเปล่าค่ะ และเราสามารถวางแผนเงินก้อนนี้ ให้ไปถึงเป้าหมายทั้ง 2 ประเภท ได้พร้อมๆ กันมั๊ยค่ะ
หมายเหตุ เงินเก็บออมที่ว่านี้ เป็นส่วนที่เหลือจากการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ ซื้อ LTF แล้ว ปัจจุบันดิฉันอายุ 36 ปี มีเงินออมอยู่บ้างบางส่วนประมาณ 0.5 ลบ. ( ส่วนใหญ่ ก็ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ ) เล็กน้อย
ตอบ - เจ้าหน้าที่จากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ได้ตอบคำถามให้กับคุณ เล็กน้อย ไว้ดังนี้ครับ การวางแผนการลงทุนให้บรรลุเป้าหมายทั้ง 2 สามารถทำได้ครับ แต่โอกาสที่จะทำให้เป้าหมาย1 มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ด้วย ดังนั้น คุณเล็กน้อยคงต้องพิจารณาและตัดสินใจก่อนว่าเป้าหมาย 1 มีความจำเป็นและสำคัญมากน้อยแค่ไหนสามารถยอมรับกับความไม่แน่นอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ การวางแผนการลงทุนให้บรรลุเป้าหมายทั้ง 2 ก็คงจะเกิดขึ้นได้ยากมากๆ เพราะจากหากคำนวณแบบอนุรักษ์นิยมด้วยเงินลงทุนในแต่ละเดือนไปจนถึงอายุของบุตรที่จะต้องเข้ารับการศึกษาดังกล่าว โดยมีการคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นล้ว เบื้องต้นจะพบว่าอาจจะได้พอๆ กับเงินที่จะต้องใช้ถ้านำไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือกองทุนรวมที่ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง เช่น พันธบัตรรัฐบาล เพื่อให้เป้าหมาย 1 นั้นประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
แต่ถ้าจะให้บรรลุเป้าหมายที่ 2 ด้วย ก็จะแบ่งส่วนเงินลงทุนในแต่ละเดือนนั้นมาเพื่อดาวน์รถใหม่ในอีก 3 ปี ไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ซึ่งในการดาวน์รถใหม่ ณ ปัจจุบันก็ต้องใช้เงินประมาณแสนถึงสองแสนบาท การลงทุนที่จะให้ได้มาซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวด้วยเงินลงทุนที่แบ่งจาก 10,000 บาท ต่อเดือนก็คงต้องลงทุนในตราสารทุนหรืออนุพันธ์ทางการเงินหรือกองทุนที่มีการลงทุนในตราสารดังกล่าวเพื่อให้โอกาสกับผู้ลงทุนในการรับผลตอบแทนในอัตราที่สูงๆ ได้ ซึ่งก็จะนำมาซึ่งโอกาสที่จะขาดทุนจากการลงทุนได้ในทางกลับกัน ซึ่งหากเกิดการขาดทุนขึ้นนอกจากเป้าหมาย 2 ที่จะไม่บรรลุผลแล้ว เป้าหมาย 1 จะถูกกระทบไปด้วยครับ คุณเล็กน้อย ต้องลองไปคิดทบทวนก่อนตัดสินใจก่อนนะครับ
คำถาม - การคำนวณ information ratio ของกองที่ไม่ได้ประกาศ NAV ทุกวัน จะต้องใช้ NAV ที่ประกาศหรือ NAV ที่ บลจ.คำนวณได้ค่ะ ธันยวลัย
ตอบ- Information Ratio นั้นเป็นอัตราส่วนซึ่งมีการนำค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของส่วนต่างของผลตอบแทนของพอร์ตหรือกองทุนเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้น หากผู้ใช้มีการคำนวณค่าดังกล่าวจากฐานข้อมูลย่อยมากเท่าใดผลการคำนวณสุดท้ายก็จะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น หากกองทุนรวมไม่ได้มีการประกาศ NAV ทุกวัน ผู้ใช้ข้อมูลก็คงจะไม่สามารถคำนวณจากฐานข้อมูลเป็นรายวันได้อยู่แล้ว แต่หากผู้คำนวณเป็นบริษัทจัดการกองทุนนั้นเอง หากจะนำ NAV ที่มีการคำนวณและตรวจสอบกับผู้ดูแลผลประโยชน์แล้วแต่ไม่ได้ประกาศเป็นทางการมาใช้ในการคำนวณ Information Ratio ก็จะทำให้ค่าที่คำนวณได้มีความชัดเจนที่มากกว่าการใช้เฉพาะค่า NAV เท่าที่ประกาศครับ
สำหรับผู้อ่านท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการลงทุน สามารถส่งคำถามเข้ามาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์ไว้เป็นคำถามไว้ที่ www.manager.co.th. หน้ากองทุนรวม ทางทีมงานจะอาสาคลายข้อสงสัยให้กับท่านผู้อ่านครับ
หมายเหตุ เงินเก็บออมที่ว่านี้ เป็นส่วนที่เหลือจากการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ ซื้อ LTF แล้ว ปัจจุบันดิฉันอายุ 36 ปี มีเงินออมอยู่บ้างบางส่วนประมาณ 0.5 ลบ. ( ส่วนใหญ่ ก็ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ ) เล็กน้อย
ตอบ - เจ้าหน้าที่จากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ได้ตอบคำถามให้กับคุณ เล็กน้อย ไว้ดังนี้ครับ การวางแผนการลงทุนให้บรรลุเป้าหมายทั้ง 2 สามารถทำได้ครับ แต่โอกาสที่จะทำให้เป้าหมาย1 มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ด้วย ดังนั้น คุณเล็กน้อยคงต้องพิจารณาและตัดสินใจก่อนว่าเป้าหมาย 1 มีความจำเป็นและสำคัญมากน้อยแค่ไหนสามารถยอมรับกับความไม่แน่นอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ การวางแผนการลงทุนให้บรรลุเป้าหมายทั้ง 2 ก็คงจะเกิดขึ้นได้ยากมากๆ เพราะจากหากคำนวณแบบอนุรักษ์นิยมด้วยเงินลงทุนในแต่ละเดือนไปจนถึงอายุของบุตรที่จะต้องเข้ารับการศึกษาดังกล่าว โดยมีการคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นล้ว เบื้องต้นจะพบว่าอาจจะได้พอๆ กับเงินที่จะต้องใช้ถ้านำไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือกองทุนรวมที่ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง เช่น พันธบัตรรัฐบาล เพื่อให้เป้าหมาย 1 นั้นประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
แต่ถ้าจะให้บรรลุเป้าหมายที่ 2 ด้วย ก็จะแบ่งส่วนเงินลงทุนในแต่ละเดือนนั้นมาเพื่อดาวน์รถใหม่ในอีก 3 ปี ไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ซึ่งในการดาวน์รถใหม่ ณ ปัจจุบันก็ต้องใช้เงินประมาณแสนถึงสองแสนบาท การลงทุนที่จะให้ได้มาซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวด้วยเงินลงทุนที่แบ่งจาก 10,000 บาท ต่อเดือนก็คงต้องลงทุนในตราสารทุนหรืออนุพันธ์ทางการเงินหรือกองทุนที่มีการลงทุนในตราสารดังกล่าวเพื่อให้โอกาสกับผู้ลงทุนในการรับผลตอบแทนในอัตราที่สูงๆ ได้ ซึ่งก็จะนำมาซึ่งโอกาสที่จะขาดทุนจากการลงทุนได้ในทางกลับกัน ซึ่งหากเกิดการขาดทุนขึ้นนอกจากเป้าหมาย 2 ที่จะไม่บรรลุผลแล้ว เป้าหมาย 1 จะถูกกระทบไปด้วยครับ คุณเล็กน้อย ต้องลองไปคิดทบทวนก่อนตัดสินใจก่อนนะครับ
คำถาม - การคำนวณ information ratio ของกองที่ไม่ได้ประกาศ NAV ทุกวัน จะต้องใช้ NAV ที่ประกาศหรือ NAV ที่ บลจ.คำนวณได้ค่ะ ธันยวลัย
ตอบ- Information Ratio นั้นเป็นอัตราส่วนซึ่งมีการนำค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของส่วนต่างของผลตอบแทนของพอร์ตหรือกองทุนเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้น หากผู้ใช้มีการคำนวณค่าดังกล่าวจากฐานข้อมูลย่อยมากเท่าใดผลการคำนวณสุดท้ายก็จะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น หากกองทุนรวมไม่ได้มีการประกาศ NAV ทุกวัน ผู้ใช้ข้อมูลก็คงจะไม่สามารถคำนวณจากฐานข้อมูลเป็นรายวันได้อยู่แล้ว แต่หากผู้คำนวณเป็นบริษัทจัดการกองทุนนั้นเอง หากจะนำ NAV ที่มีการคำนวณและตรวจสอบกับผู้ดูแลผลประโยชน์แล้วแต่ไม่ได้ประกาศเป็นทางการมาใช้ในการคำนวณ Information Ratio ก็จะทำให้ค่าที่คำนวณได้มีความชัดเจนที่มากกว่าการใช้เฉพาะค่า NAV เท่าที่ประกาศครับ
สำหรับผู้อ่านท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการลงทุน สามารถส่งคำถามเข้ามาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์ไว้เป็นคำถามไว้ที่ www.manager.co.th. หน้ากองทุนรวม ทางทีมงานจะอาสาคลายข้อสงสัยให้กับท่านผู้อ่านครับ