เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา...นักลงทุนไทยต้องตื่นตระหนกกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่รูดลงอย่างหนัก จนทำให้ตลาดหลักทรัพย์ต้องประกาศหยุดการซื้อขาย 30 นาที...และในขณะที่หุ้นทั่วโลกพากันปรับตัวลดลง เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤติการเงินของสหรัฐ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวมิได้ส่งผลเพียงเเค่ตลาดทุนเท่านั้น เเต่ ยังสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนด้วย โดยก่อนหน้านี้มีประชาชนในต่างประเทศบ้างกลุ่มเดินทางไปธนาคารพาณิชย์เพื่อถอนเงินฝากของตัวเองออก เนื่องจากไม่มั่นใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
จากเหตุการณ์ดังกล่าว รัฐบาลหลายๆประเทศ พากันหามาตรการป้องกันวิฤกติที่เกิดขึ้น โดยวิธีการเเก้ไขมาตรการ 1 ในนั้นคือ การรับประกันเงินฝากเเละการเพิ่มเพดานรับประกันเงินฝาก...
โดยที่ผ่านมา มีข่าวในทำนองนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง...ไม่ว่าจะเป็นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีคลังสหภาพยุโรป (อียู) ได้เห็นพ้องที่จะเพิ่มเพดานการประกันเงินฝากขั้นต่ำไปอยู่ที่ 5 หมื่นยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 2.32 ล้านบาท จากในปัจจุบันที่คุมครองอยู่ที่ 2 หมื่นยูโร หรือราว 9.29 แสนบาท
ขณะเดียวกัน...เยอรมนีเองก็ออกมาประกาศเช่นกันว่า รัฐบาลจะค้ำประกันเงินฝากในธนาคารพาณิชย์เอกชนทั้งหมด โดยยืนยันต่อประชาชนว่า เงินฝากของประชาชนจะปลอดภัย...ด้านแถลงการณ์ของรัฐบาลอังกฤษ ประกาศอีกเช่นกันว่า สำนักงานบริการการเงิน หรือเอฟเอสเอ จะเพิ่มการชดเชยเงินฝากจากเดิม 35,000 ปอนด์ เป็นเงินสูงสุดถึง 50,000 ปอนด์ สำหรับลูกค้าแต่ละราย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ส่วนลูกค้าที่มีบัญชีร่วมจะขอชดเชยได้สูงสุด 100,000 ปอนด์ โดยมาตรการดังกล่าวเป็นการพยายามเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาสู่ผู้ออมเงิน
ทางด้านกระทรวงเศรษฐกิจเดนมาร์ก ประกาศเข้ารับประกันเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ของประเทศ โดยไม่จำกัดเพดานเป็นระยะเวลา 2 ปี ขณะที่รัฐบาลสวีเดนประกาศเพิ่มเพดานรับประกันเงินฝากในธนาคารพาณิชย์จากเดิมที่ 3.55 หมื่นเหรียญสหรัฐ เป็น 7.1 หมื่นเหรียญสหรัฐต่อ 1 บัญชี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าธนาคารมากขึ้น โดความเคลื่อนไหวของทั้งสองประเทศดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่เยอรมนีประกาศเข้ารับประกันเงินฝากในธนาคาพาณิชย์ทั่วประเทศ โดยไม่จำกัดเพดานวงเงินเช่นกัน เพื่อบรรเทากระแสวิตกทางเศรษฐกิจ
ส่วนนายกรัฐมนตรี หลี่ จ้าว-ฉวน ประกาศว่า รัฐบาลจะคุ้มครองเงินฝากของประชาชนเเละเพิ่มวงเงินค้ำประกันเงินฝากเป็น 3 ล้านเหรียญไต้หวัน คิดเป็น 92,000 ดอลลาร์ จากเดิมที่คุ้มครองเพียง 1.3 ล้านเหรียญไต้หวัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ฝากเงิน
ล่าสุด อินโดนีเซียออกมาประกาศว่า รัฐบาลได้ออกคำสั่งใหม่ให้เพิ่มเพดานค้ำประกันเงินฝากธนาคารขึ้นเป็น 2 พันล้านรูเปียห์ (203,000 ดอลลาร์)หรือราว 7 ล้านบาทเพื่อให้ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีช่องทางมากขึ้นในการปล่อยเงินกู้ระยะสั้น
เช่นเดียวกับออสเตรเลีย ประกาศเช่นกันว่า รัฐบาลจะดำเนินมาตรการคุ้มครองเงินฝากทุกประเภทในสถาบันการเงินของออสเตรเลียเป็นเวลา 3 ปี เเละรัฐบาลจะดำเนินการค้ำประกันเงินกู้ยืมทุกประเภทของธนาคารออสเตรเลียที่ดำเนินธุรกิจในตลาดโลกเพื่อช่วยให้ธนาคารแต่ละแห่งมีสถานะต่อสู้กับคู่แข่งจากทั่วโลกได้ดีขึ้น พร้อมทั้งจะอัดฉีดเงินจำนวน 4 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เข้าสู่หลักทรัพย์ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยค้ำประกัน เพื่อกระตุ้นตลาดสินเชื่อบ้านภายในประเทศ
สำหรับประเทศไทยนั้นเเม้ พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากได้ประกาศใช้เเล้วเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ที่ผ่านมาเเต่ก็ยังคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวน ซึ่งในปีที่ 5 ทางสถาบันประกันเงินฝากจะคุ้มครองเงินฝากบัญชีละ 1 ล้านบาทเท่านั้น เรามาดูกันว่าประเทศไทยจะตื่นตัวกับพรบ.เงินอย่างไรบ้าง
จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุไว้ว่า ผู้มีบัญชีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาทจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มที่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.ประมาณ 39% กลุ่มที่เป็นกลาง 16% และไม่เห็นด้วยประมาณ 61%
สำหรับกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากมีความรู้สึกไม่แฟร์หากจะมีการลดการคุ้มครองลง ระยะเวลาที่ลดการคุ้มครองนั้นสั้นเกินไป และยังไม่แน่ใจในการบริหารงานของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งอาจไม่มีเงินจ่ายคืนได้รับวงเงินที่ตั้งไว้ โดยอยากให้รัฐบาลคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนต่อไป
ส่วนกลุ่มที่เห็นด้วยเกี่ยวกับสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ให้เหตุผลว่า...เป็นสร้างความยุติธรรมสำหรับทุกคน โดยรัฐไม่ต้องเอาภาษีไปสนับสนุนกรณีสถาบันการเงินล้ม และเข้าใจในภาระที่รัฐบาลต้องรับในขณะนี้ นอกจากนี้ สถาบันคุ้มครองเงินฝากที่ประกาศยังให้คุ้มครองถึง 1 ล้านบาทซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และลูกค้าธนาคารจะได้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทำให้ผลตอบแทนที่อาจได้รับเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน ในส่วนที่มีความคิดเห็นเป็นกลางได้ผลจากแบบสอบถามดังนี้ ประเทศอื่นๆก็ไม่น่าคุ้มครองเงินฝาก 100% เช่นกัน ผุ้ฝากสามารถถอนเงินไปลงทุนในผลิตภัณฑ์อื่นๆได้ และในส่วนของเงินฝาก 1 ล้านบาทยังคงได้รับการคุ้มครองอีกด้วย
ปฎิกริยาของผุ้ฝากเงินมีดังนี้ คือ ปีที่ 1 อาจจะยังอยู่เฉยๆ อาจจะเริ่มกระจายเงินฝากบ้าง เนื่องจากยังได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวน ปีที่ 2 อยู่เฉยๆ ศึกษาข้อมมูลลงทุน และในช่วงครึ่งปีหลังกระจายเงินฝากไปพันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวม ขณะที่ ใน ปีที่ 3 ประชาชนจะเริ่มหันมาศึกษาและปรับการลงทุนทุกๆ 6 เดือน กระจายเงินไปธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และลงทุนในทองคำ กระจายฝากไปธนาคารอื่น
สำหรับปีที่ 4 ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจะมีการปรับแผนการลงทุนทุก 6 เดือน โดยอาจมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ทองคำ และประกันภัย กระจายเงินฝากไปธนาคารอื่นมากขึ้น และในปีสุดท้าย การกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์อื่นจะเพิ่มขึ้นตามลำดับทั้ง อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ พันธบัตร กองทุนรวม รวมถึงการกระจายเงินฝากไปยังธนาคารอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
ผู้จัดการกองทุนเเนะหาช่องทางใหม่
จารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษั ทหลักทรัพย์ จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด อธิบายว่า การที่ต่างประเทศประกาศประกันเงินฝากเต็มจำนวนนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เเต่สิ่งที่ประชาชนควรจะเรียนรู้เเละเข้าใจคือช่องทางใหม่ในการออมเงินนอกจากเงินฝาก หรือตั๋วบีอี ซึ่งถามว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ก็ขึ้นอยู่ว่าผู้ลงทุนเข้าไปลงทุนในธนาคารพาณิชย์ที่มีชื่อเเละน่าเชื่อถือหรือไม่
สำหรับการลงทุนในกองทุนรวมก็เป็นอีกช่องทางหนึ่ง โดยนักลงทุนต้องดูว่าตนเองรับความเสี่ยงได้มากน้อยเเค่ไหน กองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ที่มีความเสี่ยงน้อยก็เป็นอีกทางหนึ่งเช่นกัน ในเเง่ของผลตอบเเทนก็ใกล้เคียงกับเงินฝากประจำ เเต่กองทุนรวมมีข้อดีที่ไม่ต้องเสียภาษีซึ่งการลงทุนในรูปแบบดังกล่าวเหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้น้อย
จากวิกฤติการเงินของสถาบันการเงินของสหรัฐ ยุโรป เเละ อังกฤษ เป็นตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งที่เราต้องมองหาวิธีการออมรูปเเบบใหม่ เเม้ว่าทางรัฐบาลจะออกมาให้ความมั่นใจเเละคุ้มครองเงินฝากในธนาคาร เเต่นั้นก็ไม่ใช่วิธีทางการเเก้ปัญหาที่ดีที่สุด เสมือนเป็นการเเก้ปัญหาที่ปลายเหตุนั้นเอง ซึ่งเราก็น่าจะถามตัวองได้เเล้วว่า ถึงเวลาเเล้วหรือยังที่เราต้องหาวิธีการออมเงินรูปเเบบใหม่ ที่ไม่ใช่การออมเงินไว้ในธนาคารเพียงอย่างเดียว