ธุรกิจประกันชีวิตตื่นตัวรับสถาบันคุ้มครองเงินฝากประกาศใช้ “เอเอซีพี” ระบุระบบประกันมีจุดแข็งการันตีคืนเงินต้น 100% และผลตอบแทนขั้นต่ำ 4% พร้อมมอบความคุ้มครองชีวิตตลอดอายุกรมธรรม์ เชื่ออนาคตจะมีสินค้าที่หลากหลายระยะเวลาการจ่ายกรมธรรม์ที่สั้นเข้าชิงเงินฝากระยะยาวของธนาคารพาณิชย์ ด้าน “ฟินันซ่า” เผยยังมีเวลาเตรียมความพร้อมอีก 5 ปีใช้ประโยชน์จากบริษัทในเครือขายสินค้าในรูปแบบยูนิตลิงก์
นางสาวพัชรา ทวีชัยวัฒนะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการตลาด บมจ. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต(เอเอซีพี) เปิดเผยว่า ธุรกิจประกันชีวิตได้เตรียมความพร้อมกับการประกาศใช้พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) สถาบันคุ้มครองเงินฝากที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคมนี้ โดยเชื่อว่าในระยะแรกจะยังไม่มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจมากนักเนื่องจากยัมคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวน แต่เชื่อว่าในระยะยาวภาคการเงินจะมีการปรับตัวและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายเพื่อรองรับเงินฝากที่อาจมีการโยกย้ายออกจากระบบธนาคารพาณิชย์
ซึ่งในส่วนของเอเอซีพีเองมองว่าการออมเงินผ่านทางกรมธรรม์จะมีความได้เปรียบในแง่ของการรับประกันคืนเงินต้นที่ออมไว้ในรูปแบบกรมธรรม์คืนเต็ม 100% พร้อมผลตอบแทนจากการออมขั้นต่ำ 4% ต่อปีตลอดอายุสัญญา นอกจากนั้นการออมผ่านทางกรมธรรม์ยังคุ้มครองชีวิตด้วยและสิทธิพิเศษที่เหนือกว่าเงินฝากในธนาคารพาณิชย์คือเบี้ยประกันที่จ่ายรายปีนั้นสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 1 แสนบาทในขณะที่ดอกเบี้ยจากการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ต้องเสียภาษี 15%
“การแข่งขันในอนาคตเชื่อว่าธุรกิจประกันจะมีช่องทางในการชิงเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งสิ่งที่ประกันชีวิตต้องดำเนินการคือสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทไหนที่เขาต้องการอย่างแท้จริง ออกแบบสินค้าให้โดนใจมีความพร้อมหรือไม่ที่จะออมเงินผ่านการประกันชีวิต เนื่องจากธรรมชาติของธุรกิจประกันชีวิตมีความได้เปรียบเงินฝากธนาคารในหลายๆ ด้านอยู่แล้วหากมีการสื่อสารที่ดีออกไปน่าจะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคแน่นอน” นางสาวพัชรา
**ปรับเวลาจ่ายเบี้ยสั้นชิงเงินฝากแบงก์**
นางสาวพัชรากล่าวว่า ทิศทางการแข่งขันของธุรกิจประกันชีวิตหลังจากที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้ เชื่อว่าจะมีการออกแบบกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาการจ่ายเบี้ยประกันที่สั้นลงแต่ระยะเวลาคุ้มครองเท่าเดิม เนื่องจากข้อจำกัดของธุรกิจประกันที่แตกต่างจากเงินฝากของธนาคารคือเรื่องของสภาพคล่องที่ธนาคารสามารถฝากถอนได้ทุกวัน แต่กรมธรรม์ประกันชีวิตต้องรอให้ครบสัญญาก่อนจึงจะสามารถรับเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยได้
โดยวิธีการที่จะลดข้อจำกัดในเรื่องนี้คือการออกกรมธรรม์ที่มีการจ่ายเบี้ยระยะสั้น 2-4 ปี เพื่อแข่งกับธนาคารพาณิชย์ในเงินฝากระยะยาว 24-48 เดือน ซึ่งเป็นตลาดที่มีความใกล้เคียงกันและสามารถพัฒนาสินค้าและผลตอบแทนที่มีความใกล้เคียงกันได้ ในขณะที่ระยะเวลาคุ้มครองตามกรมธรรม์จะเป็นระยะยาว 10 ปี ขึ้นไปเช่นเดิมตามความเหมาะสมของกรมธรรม์และหลักทรัพย์ที่บริษัทนำเงินในส่วนนี้ไปลงทุน
“รูปแบบของกรมธรรม์ที่ออกมาคงมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งหากมองอีกแง่หนึ่งเราไม่ได้เข้าไปแย่งลูกค้าของแบงก์โดยตรง แต่เป็นการเพิ่มช่องทางการออมและลงทุนที่หลากหลายให้กับลูกค้า นอกจากนี้ตลาดประกันชีวิตยังมีอีกมากประชากรทั้งประเทศกว่า 65 ล้านคนมีการทำประกันชีวิตเพียง 18% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศขึ้นอยู่กับว่าสินค้าที่ออกมาจะโดนใจและตรงกับความต้องการของประชาชนมากน้อยเพียงใดจึงไม่ใช่การแย่งลูกค้ากันโดยตรง” นางสาวพัชรากล่าว
**พัฒนาสินค้าขายรูปแบบยูนิตลิงก์**
นายมนตรี แสงอุไรพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด กล่าวว่า ในส่วนของฟินันซ่ายังไม่ได้เตรียมตัวเพื่อรองรับกับการประกาศใช้สถาบันประกันเงินฝากมากนักเพราะยังมีเวลาอีก 5 ปีกว่าการคุ้มครองเงินฝากแต่ละบัญชีเหลือ 1 ล้านบาท บริษัทจึงรอดูทิศทางของเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ก่อนว่าจะมีการเคลื่อนย้ายไปในทิศทางใดก่อนที่จะพัฒนาสินค้าออกมารองรับเม็ดเงินเหล่านั้น
โดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่าธุรกิจประกันจะพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้บริษัทในเครือเพื่อจำหน่ายสินค้าในลักษณะยูนิตลิงก์ เช่น หากบริษัทประกันชีวิตมีบริษัทในเครือหรือพันธมิตรเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ก็อาจออกแบบสินค้าโดยอาจขายหน่วยลงทุนที่คุ้มครองชีวิตไปในตัว หรือจำหน่ายกรมธรรม์ที่ลงทุนผ่านหน่วยลงทุนด้วย
“การทำประกันชีวิตเป็นเหมือนเงินฝากระยะยาวที่มีการคุ้มครองชีวิตไปในตัวอยู่แล้ว ซึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินในลักษณะนี้ก็สามารถตอบโจทย์ของสถาบันคุ้มครองเงินฝากได้อยู่แล้ว ทั้งในแง่การคืนเงินต้นทั้ง 100% และดอกผลที่ได้รับก็ไม่ได้น้อยไปกว่าเงินฝากแบงก์ เชื่อว่าตลาดยังสามารถไปได้อีกไกลและรูปแบบสินค้าที่ออกมาจะมีความหลากหลายมากขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม” นายมนตรีกล่าว
นางสาวพัชรา ทวีชัยวัฒนะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการตลาด บมจ. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต(เอเอซีพี) เปิดเผยว่า ธุรกิจประกันชีวิตได้เตรียมความพร้อมกับการประกาศใช้พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) สถาบันคุ้มครองเงินฝากที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคมนี้ โดยเชื่อว่าในระยะแรกจะยังไม่มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจมากนักเนื่องจากยัมคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวน แต่เชื่อว่าในระยะยาวภาคการเงินจะมีการปรับตัวและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายเพื่อรองรับเงินฝากที่อาจมีการโยกย้ายออกจากระบบธนาคารพาณิชย์
ซึ่งในส่วนของเอเอซีพีเองมองว่าการออมเงินผ่านทางกรมธรรม์จะมีความได้เปรียบในแง่ของการรับประกันคืนเงินต้นที่ออมไว้ในรูปแบบกรมธรรม์คืนเต็ม 100% พร้อมผลตอบแทนจากการออมขั้นต่ำ 4% ต่อปีตลอดอายุสัญญา นอกจากนั้นการออมผ่านทางกรมธรรม์ยังคุ้มครองชีวิตด้วยและสิทธิพิเศษที่เหนือกว่าเงินฝากในธนาคารพาณิชย์คือเบี้ยประกันที่จ่ายรายปีนั้นสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 1 แสนบาทในขณะที่ดอกเบี้ยจากการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ต้องเสียภาษี 15%
“การแข่งขันในอนาคตเชื่อว่าธุรกิจประกันจะมีช่องทางในการชิงเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งสิ่งที่ประกันชีวิตต้องดำเนินการคือสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทไหนที่เขาต้องการอย่างแท้จริง ออกแบบสินค้าให้โดนใจมีความพร้อมหรือไม่ที่จะออมเงินผ่านการประกันชีวิต เนื่องจากธรรมชาติของธุรกิจประกันชีวิตมีความได้เปรียบเงินฝากธนาคารในหลายๆ ด้านอยู่แล้วหากมีการสื่อสารที่ดีออกไปน่าจะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคแน่นอน” นางสาวพัชรา
**ปรับเวลาจ่ายเบี้ยสั้นชิงเงินฝากแบงก์**
นางสาวพัชรากล่าวว่า ทิศทางการแข่งขันของธุรกิจประกันชีวิตหลังจากที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้ เชื่อว่าจะมีการออกแบบกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาการจ่ายเบี้ยประกันที่สั้นลงแต่ระยะเวลาคุ้มครองเท่าเดิม เนื่องจากข้อจำกัดของธุรกิจประกันที่แตกต่างจากเงินฝากของธนาคารคือเรื่องของสภาพคล่องที่ธนาคารสามารถฝากถอนได้ทุกวัน แต่กรมธรรม์ประกันชีวิตต้องรอให้ครบสัญญาก่อนจึงจะสามารถรับเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยได้
โดยวิธีการที่จะลดข้อจำกัดในเรื่องนี้คือการออกกรมธรรม์ที่มีการจ่ายเบี้ยระยะสั้น 2-4 ปี เพื่อแข่งกับธนาคารพาณิชย์ในเงินฝากระยะยาว 24-48 เดือน ซึ่งเป็นตลาดที่มีความใกล้เคียงกันและสามารถพัฒนาสินค้าและผลตอบแทนที่มีความใกล้เคียงกันได้ ในขณะที่ระยะเวลาคุ้มครองตามกรมธรรม์จะเป็นระยะยาว 10 ปี ขึ้นไปเช่นเดิมตามความเหมาะสมของกรมธรรม์และหลักทรัพย์ที่บริษัทนำเงินในส่วนนี้ไปลงทุน
“รูปแบบของกรมธรรม์ที่ออกมาคงมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งหากมองอีกแง่หนึ่งเราไม่ได้เข้าไปแย่งลูกค้าของแบงก์โดยตรง แต่เป็นการเพิ่มช่องทางการออมและลงทุนที่หลากหลายให้กับลูกค้า นอกจากนี้ตลาดประกันชีวิตยังมีอีกมากประชากรทั้งประเทศกว่า 65 ล้านคนมีการทำประกันชีวิตเพียง 18% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศขึ้นอยู่กับว่าสินค้าที่ออกมาจะโดนใจและตรงกับความต้องการของประชาชนมากน้อยเพียงใดจึงไม่ใช่การแย่งลูกค้ากันโดยตรง” นางสาวพัชรากล่าว
**พัฒนาสินค้าขายรูปแบบยูนิตลิงก์**
นายมนตรี แสงอุไรพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด กล่าวว่า ในส่วนของฟินันซ่ายังไม่ได้เตรียมตัวเพื่อรองรับกับการประกาศใช้สถาบันประกันเงินฝากมากนักเพราะยังมีเวลาอีก 5 ปีกว่าการคุ้มครองเงินฝากแต่ละบัญชีเหลือ 1 ล้านบาท บริษัทจึงรอดูทิศทางของเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ก่อนว่าจะมีการเคลื่อนย้ายไปในทิศทางใดก่อนที่จะพัฒนาสินค้าออกมารองรับเม็ดเงินเหล่านั้น
โดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่าธุรกิจประกันจะพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้บริษัทในเครือเพื่อจำหน่ายสินค้าในลักษณะยูนิตลิงก์ เช่น หากบริษัทประกันชีวิตมีบริษัทในเครือหรือพันธมิตรเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ก็อาจออกแบบสินค้าโดยอาจขายหน่วยลงทุนที่คุ้มครองชีวิตไปในตัว หรือจำหน่ายกรมธรรม์ที่ลงทุนผ่านหน่วยลงทุนด้วย
“การทำประกันชีวิตเป็นเหมือนเงินฝากระยะยาวที่มีการคุ้มครองชีวิตไปในตัวอยู่แล้ว ซึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินในลักษณะนี้ก็สามารถตอบโจทย์ของสถาบันคุ้มครองเงินฝากได้อยู่แล้ว ทั้งในแง่การคืนเงินต้นทั้ง 100% และดอกผลที่ได้รับก็ไม่ได้น้อยไปกว่าเงินฝากแบงก์ เชื่อว่าตลาดยังสามารถไปได้อีกไกลและรูปแบบสินค้าที่ออกมาจะมีความหลากหลายมากขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม” นายมนตรีกล่าว