เศรษฐกิจไทยกับการส่งออกเป็นสิ่งคู่กันมาช้านาน แม้ว่าในช่วงหลังจะมีการกระตุ้นการท่องเที่ยงเพื่อนำมาเป็นรายได้หลักของประเทศก็ตาม แต่การส่งออกก็ยังนับเป็นพระเอกอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งคู่ค้าสำคัญของไทยยังคงหนีไม่พ้นประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในปัจจุบันนี้ การขยายตัวของประเทศจีน และอินเดียว ทำให้การค้าขายระหว่างประเทศในภูมิภาคร่วมถึงไทยมีมูลค่ามากขึ้นตามลำดับ
รายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้เปิดเผยถึงการส่งออกของไทยไปจีนในเดือนสิงหาคมปี 2551 ว่ามีการเติบโตชะลอลงเหลือเพียงร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปี 2550 (yoy) และนับว่าเป็นเดือนที่อัตราเติบโตของการส่งออกไปจีนอยู่ในระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ต้นปี 2551 โดยสาเหตุสำคัญทำให้การส่งออกของไทยไปจีนชะลอตัวลง เนื่องมาจากภาวะส่งออกของจีนที่อ่อนแรงจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยืดเยื้อ ส่งผลให้ความต้องการนำเข้าสินค้าของจีนเพื่อผลิตส่งออกชะลอลงด้วย โดยทั้งการนำเข้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนสิงหาคม 2551 ชะลอลงตามภาคส่งออกไปด้วย
ส่วนแรงกดดันจากวิกฤตภาคการเงินสหรัฐฯ ที่ยืดเยื้อและมีแนวโน้มส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวรุนแรงมากขึ้น ได้ลุกลามไปยังเศรษฐกิจประเทศยุโรปและญี่ปุ่นที่มีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับภาคการเงินสหรัฐฯ การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นจากวิกฤตที่รุนแรงขึ้นในครั้งนี้
ทั้งนี้ คาดว่าจะส่งผลให้ความต้องการบริโภคของประเทศเหล่านี้ที่ชะลอตัวลงและกระทบต่อภาคส่งออกของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศจีนด้วย โดยตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ถือเป็นตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรกของจีน คิดเป็นสัดส่วนรวมกันกว่าร้อยละ 45 ของการส่งออกทั้งหมดของจีน
แนวโน้มการส่งออกแดนมังกร
การส่งออกของจีนในช่วงที่เหลือของปีนี้คาดว่ายังคงต้องเผชิญกับแรงกดดันให้ชะลอตัวลงตามความอ่อนแรงของตลาดส่งออกสำคัญๆ ทั้งนี้ การส่งออกของจีนในเดือนสิงหาคม 2551 ชะลอลงเหลือร้อยละ 21.1 (yoy) จากที่ขยายตัวร้อยละ 26.9 ในเดือนกรกฎาคม 2551 (yoy) โดยการส่งออกของจีนไปยังตลาดหลักๆ ล้วนอ่อนแรงลง ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ขณะที่การนำเข้าของจีนในเดือนสิงหาคม 2551 ชะลอลงค่อนข้างมาก โดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 23.1 จากร้อยละ 33.7 ในเดือนก่อนหน้า การนำเข้าที่ชะลอลงนี้ได้ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาขยายตัวชะลอลงเหลือร้อยละ 12.8 จากที่เติบโตร้อยละ 17.5 ในช่วงเดียวกันของปี 2550 และร้อยละ 14.7 ในเดือนกรกฎาคม 2551 นับว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนสิงหาคม 2551 ขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 18 เดือน
ส่งออกของไทยไปตลาดจีนเดือนสิงหาคม 2551 ชะลอตัว
ผลกระทบจากการชะลอตัวของการนำเข้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนสิงหาคม 2551 ทำให้การส่งออกของไทยไปจีนในเดือนสิงหาคมชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 1.4 (yoy) มูลค่าส่งออก 1,445 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับว่าเป็นเดือนที่อัตราการเติบโตของการส่งออกอยู่ในระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ต้นปี 2551 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปจีนในเดือนสิงหาคม 2551 หลายรายการซึ่งเป็นสินค้าที่จีนใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรมมีมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า และน้ำมันสำเร็จรูป โดยมีอัตราลดลงร้อยละ 40 ร้อยละ 8.5 และร้อยละ 13.1 ตามลำดับ
ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปจีนที่ขยายตัวชะลอลงในเดือนสิงหาคม 2551 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบที่ขยายตัวร้อยละ 12.6 ในเดือนสิงหาคม 2551 (yoy) จากที่เติบโตร้อยละ 25.8 ในเดือนก่อนหน้า (yoy) เม็ดพลาสติกขยายตัวร้อยละ 0.1 จากที่ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 50 ในเดือนก่อนหน้า และไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่เติบโตร้อยละ 4.4 จากที่ขยายตัวร้อยละ 33 ในเดือนก่อนหน้า
การส่งออกของไทยไปจีนในเดือนสิงหาคม 2551 ที่ชะลอตัวอย่างมาก ส่งผลกดดันให้มูลค่าการส่งออกของไทยไปจีนในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้เติบโตชะลอลงเหลือร้อยละ 24.7 เทียบกับที่ขยายตัว ร้อยละ 29 ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ หากพิจารณาการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทยไปจีนในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2551 นี้ พบว่ามีอัตราขยายตัวชะลอลงเหลือร้อยละ 19.2 จากที่เติบโตร้อยละ 31.4 ในช่วงเดียวกันของปี 2550 สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกสำคัญของไทยไปจีนที่มีมูลค่าส่งออกลดลงในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ที่สำคัญ ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 39 และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ลดลงร้อยละ 32
การส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายจากผลกระทบของวิกฤตภาคการเงินสหรัฐฯ ที่ส่งให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น มีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคส่งออกของไทยไปยังประเทศเหล่านี้ และยังส่งผลทางอ้อมต่อการส่งออกไทยไปตลาดจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัวด้วย เนื่องจากจีนเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าส่งออกรายสำคัญของโลก การชะลอของภาคส่งออกจีนจากความต้องการของตลาดส่งออกที่ชะลอลง ย่อมส่งผลให้ความต้องการนำเข้าสินค้าของจีนจากประเทศต่างๆ ประเภทส่วนประกอบ/ชิ้นส่วน/สินค้าทุนที่ใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตามไปด้วย ทำให้ภาคส่งออกของประเทศต่างๆ ในเอเชีย รวมทั้งไทยได้รับผลกระทบตามไปด้วย เนื่องจากความเชื่อมโยงของห่วงโซ่การผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนกับประเทศต่างๆ ในเอเชียและไทยที่ส่งผลกระทบถึงกันอย่างเลี่ยงไม่ได้
หากพิจารณาตลาดส่งออกของไทยเป็นรายประเทศ จีนถือเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยไปมีมูลค่าสูงเป็นอันดับที่ 3 รองจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น โดยตลาดจีนคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 9.5 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจจัยจากการนำเข้าของสหรัฐฯ ที่อ่อนแรงลงอันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่งผลต่อความต้องการบริโภคและการนำเข้าของสหรัฐฯ ประกอบกับการส่งออกของไทยไปญี่ปุ่นที่ได้รับแรงหนุนจากสิทธิประโยชน์ด้านภาษีภายใต้ความตกลง FTA ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น (JTEPA) ส่งผลให้ญี่ปุ่นแซงสหรัฐฯ มาเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย เป็นครั้งแรกในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2551 นี้ ขณะที่จีนยังคงเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 3 ของไทย
ลุงแซมตัวแปรสำคัญการค้าไทย-จีน
หลังจากที่ภาคส่งออกของจีนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและส่งผลต่อไปถึงความต้องการนำเข้าสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนให้ชะลอลงด้วย โดยเริ่มส่งสัญญาณตั้งแต่ในเดือนสิงหาคม 2551 ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อภาคส่งออกของไทยไปจีนในสิงหาคม 2551 ให้อ่อนแรงลงด้วย โดยการส่งออกของไทยไปจีนในเดือนสิงหาคมปี 2551 เติบโตชะลอลงเหลือร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปี 2550 (yoy) นับว่าเป็นเดือนที่อัตราเติบโตของการส่งออกไปจีนอยู่ในระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ต้นปี 2551 สินค้าสำคัญหลายรายการที่จีนใช้สำหรับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่นำเข้าจากไทยมีมูลค่าลดลง ได้แก่ เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า และน้ำมันสำเร็จรูป ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปจีนที่ขยายตัวชะลอลงในเดือนสิงหาคม 2551 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และไม้/ผลิตภัณฑ์ไม้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากวิกฤตภาคการเงินของสหรัฐฯ ที่ส่งผลให้ภาคส่งออกจีนอ่อนแรงลง เป็นปัจจัยท้าทายที่จะส่งผลให้การส่งออกของไทยไปจีนในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตชะลอลงจากปี 2550 โดยประเมินว่าการส่งออกของไทยไปจีนในปีนี้อาจขยายตัวได้ราวร้อยละ 18-22 ชะลอลงจากที่เติบโตร้อยละ 26.3 ในปี 2550
หากทางการสหรัฐฯ สามารถหยุดยั้งปัญหาในภาคการเงินของสหรัฐฯ ขณะนี้ ไม่ให้ส่งผลลุกลามไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง คาดว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศต่างๆ รวมทั้งจีนจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่รุนแรงจะอยู่ในวงจำกัดและไม่ลุกลามไปในวงกว้างมากนัก ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อภาคส่งออกของจีน และบรรเทาผลกระทบจากการชะลอตัวของการส่งออกของไทยไปจีนด้วย โดยจีนถือเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย จากความต้องการบริโภคของจีนที่ขยายตัวต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจจีนเติบโตด้วยตัวเลข 2 หลักติดต่อกันมาโดยตลอด และเป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นการส่งออกและการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศต่างๆ ในเอเชียและประเทศไทยด้วย สำหรับไทย จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 3 ของไทย ที่มีสัดส่วนส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 4.4 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 9.5 ในปัจจุบัน
รายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้เปิดเผยถึงการส่งออกของไทยไปจีนในเดือนสิงหาคมปี 2551 ว่ามีการเติบโตชะลอลงเหลือเพียงร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปี 2550 (yoy) และนับว่าเป็นเดือนที่อัตราเติบโตของการส่งออกไปจีนอยู่ในระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ต้นปี 2551 โดยสาเหตุสำคัญทำให้การส่งออกของไทยไปจีนชะลอตัวลง เนื่องมาจากภาวะส่งออกของจีนที่อ่อนแรงจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยืดเยื้อ ส่งผลให้ความต้องการนำเข้าสินค้าของจีนเพื่อผลิตส่งออกชะลอลงด้วย โดยทั้งการนำเข้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนสิงหาคม 2551 ชะลอลงตามภาคส่งออกไปด้วย
ส่วนแรงกดดันจากวิกฤตภาคการเงินสหรัฐฯ ที่ยืดเยื้อและมีแนวโน้มส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวรุนแรงมากขึ้น ได้ลุกลามไปยังเศรษฐกิจประเทศยุโรปและญี่ปุ่นที่มีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับภาคการเงินสหรัฐฯ การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นจากวิกฤตที่รุนแรงขึ้นในครั้งนี้
ทั้งนี้ คาดว่าจะส่งผลให้ความต้องการบริโภคของประเทศเหล่านี้ที่ชะลอตัวลงและกระทบต่อภาคส่งออกของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศจีนด้วย โดยตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ถือเป็นตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรกของจีน คิดเป็นสัดส่วนรวมกันกว่าร้อยละ 45 ของการส่งออกทั้งหมดของจีน
แนวโน้มการส่งออกแดนมังกร
การส่งออกของจีนในช่วงที่เหลือของปีนี้คาดว่ายังคงต้องเผชิญกับแรงกดดันให้ชะลอตัวลงตามความอ่อนแรงของตลาดส่งออกสำคัญๆ ทั้งนี้ การส่งออกของจีนในเดือนสิงหาคม 2551 ชะลอลงเหลือร้อยละ 21.1 (yoy) จากที่ขยายตัวร้อยละ 26.9 ในเดือนกรกฎาคม 2551 (yoy) โดยการส่งออกของจีนไปยังตลาดหลักๆ ล้วนอ่อนแรงลง ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ขณะที่การนำเข้าของจีนในเดือนสิงหาคม 2551 ชะลอลงค่อนข้างมาก โดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 23.1 จากร้อยละ 33.7 ในเดือนก่อนหน้า การนำเข้าที่ชะลอลงนี้ได้ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาขยายตัวชะลอลงเหลือร้อยละ 12.8 จากที่เติบโตร้อยละ 17.5 ในช่วงเดียวกันของปี 2550 และร้อยละ 14.7 ในเดือนกรกฎาคม 2551 นับว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนสิงหาคม 2551 ขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 18 เดือน
ส่งออกของไทยไปตลาดจีนเดือนสิงหาคม 2551 ชะลอตัว
ผลกระทบจากการชะลอตัวของการนำเข้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนสิงหาคม 2551 ทำให้การส่งออกของไทยไปจีนในเดือนสิงหาคมชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 1.4 (yoy) มูลค่าส่งออก 1,445 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับว่าเป็นเดือนที่อัตราการเติบโตของการส่งออกอยู่ในระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ต้นปี 2551 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปจีนในเดือนสิงหาคม 2551 หลายรายการซึ่งเป็นสินค้าที่จีนใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรมมีมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า และน้ำมันสำเร็จรูป โดยมีอัตราลดลงร้อยละ 40 ร้อยละ 8.5 และร้อยละ 13.1 ตามลำดับ
ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปจีนที่ขยายตัวชะลอลงในเดือนสิงหาคม 2551 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบที่ขยายตัวร้อยละ 12.6 ในเดือนสิงหาคม 2551 (yoy) จากที่เติบโตร้อยละ 25.8 ในเดือนก่อนหน้า (yoy) เม็ดพลาสติกขยายตัวร้อยละ 0.1 จากที่ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 50 ในเดือนก่อนหน้า และไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่เติบโตร้อยละ 4.4 จากที่ขยายตัวร้อยละ 33 ในเดือนก่อนหน้า
การส่งออกของไทยไปจีนในเดือนสิงหาคม 2551 ที่ชะลอตัวอย่างมาก ส่งผลกดดันให้มูลค่าการส่งออกของไทยไปจีนในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้เติบโตชะลอลงเหลือร้อยละ 24.7 เทียบกับที่ขยายตัว ร้อยละ 29 ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ หากพิจารณาการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทยไปจีนในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2551 นี้ พบว่ามีอัตราขยายตัวชะลอลงเหลือร้อยละ 19.2 จากที่เติบโตร้อยละ 31.4 ในช่วงเดียวกันของปี 2550 สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกสำคัญของไทยไปจีนที่มีมูลค่าส่งออกลดลงในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ที่สำคัญ ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 39 และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ลดลงร้อยละ 32
การส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายจากผลกระทบของวิกฤตภาคการเงินสหรัฐฯ ที่ส่งให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น มีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคส่งออกของไทยไปยังประเทศเหล่านี้ และยังส่งผลทางอ้อมต่อการส่งออกไทยไปตลาดจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัวด้วย เนื่องจากจีนเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าส่งออกรายสำคัญของโลก การชะลอของภาคส่งออกจีนจากความต้องการของตลาดส่งออกที่ชะลอลง ย่อมส่งผลให้ความต้องการนำเข้าสินค้าของจีนจากประเทศต่างๆ ประเภทส่วนประกอบ/ชิ้นส่วน/สินค้าทุนที่ใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตามไปด้วย ทำให้ภาคส่งออกของประเทศต่างๆ ในเอเชีย รวมทั้งไทยได้รับผลกระทบตามไปด้วย เนื่องจากความเชื่อมโยงของห่วงโซ่การผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนกับประเทศต่างๆ ในเอเชียและไทยที่ส่งผลกระทบถึงกันอย่างเลี่ยงไม่ได้
หากพิจารณาตลาดส่งออกของไทยเป็นรายประเทศ จีนถือเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยไปมีมูลค่าสูงเป็นอันดับที่ 3 รองจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น โดยตลาดจีนคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 9.5 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจจัยจากการนำเข้าของสหรัฐฯ ที่อ่อนแรงลงอันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่งผลต่อความต้องการบริโภคและการนำเข้าของสหรัฐฯ ประกอบกับการส่งออกของไทยไปญี่ปุ่นที่ได้รับแรงหนุนจากสิทธิประโยชน์ด้านภาษีภายใต้ความตกลง FTA ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น (JTEPA) ส่งผลให้ญี่ปุ่นแซงสหรัฐฯ มาเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย เป็นครั้งแรกในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2551 นี้ ขณะที่จีนยังคงเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 3 ของไทย
ลุงแซมตัวแปรสำคัญการค้าไทย-จีน
หลังจากที่ภาคส่งออกของจีนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและส่งผลต่อไปถึงความต้องการนำเข้าสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนให้ชะลอลงด้วย โดยเริ่มส่งสัญญาณตั้งแต่ในเดือนสิงหาคม 2551 ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อภาคส่งออกของไทยไปจีนในสิงหาคม 2551 ให้อ่อนแรงลงด้วย โดยการส่งออกของไทยไปจีนในเดือนสิงหาคมปี 2551 เติบโตชะลอลงเหลือร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปี 2550 (yoy) นับว่าเป็นเดือนที่อัตราเติบโตของการส่งออกไปจีนอยู่ในระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ต้นปี 2551 สินค้าสำคัญหลายรายการที่จีนใช้สำหรับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่นำเข้าจากไทยมีมูลค่าลดลง ได้แก่ เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า และน้ำมันสำเร็จรูป ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปจีนที่ขยายตัวชะลอลงในเดือนสิงหาคม 2551 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และไม้/ผลิตภัณฑ์ไม้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากวิกฤตภาคการเงินของสหรัฐฯ ที่ส่งผลให้ภาคส่งออกจีนอ่อนแรงลง เป็นปัจจัยท้าทายที่จะส่งผลให้การส่งออกของไทยไปจีนในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตชะลอลงจากปี 2550 โดยประเมินว่าการส่งออกของไทยไปจีนในปีนี้อาจขยายตัวได้ราวร้อยละ 18-22 ชะลอลงจากที่เติบโตร้อยละ 26.3 ในปี 2550
หากทางการสหรัฐฯ สามารถหยุดยั้งปัญหาในภาคการเงินของสหรัฐฯ ขณะนี้ ไม่ให้ส่งผลลุกลามไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง คาดว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศต่างๆ รวมทั้งจีนจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่รุนแรงจะอยู่ในวงจำกัดและไม่ลุกลามไปในวงกว้างมากนัก ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อภาคส่งออกของจีน และบรรเทาผลกระทบจากการชะลอตัวของการส่งออกของไทยไปจีนด้วย โดยจีนถือเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย จากความต้องการบริโภคของจีนที่ขยายตัวต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจจีนเติบโตด้วยตัวเลข 2 หลักติดต่อกันมาโดยตลอด และเป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นการส่งออกและการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศต่างๆ ในเอเชียและประเทศไทยด้วย สำหรับไทย จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 3 ของไทย ที่มีสัดส่วนส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 4.4 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 9.5 ในปัจจุบัน