คอลัมน์คุยกับผู้จัดการกองทุน
โดย สุกฤษฏิ์ พุทธวงศ์
เจ้าหน้าที่บริหารความเสี่ยง
รัฐบาลสหรัฐฯขึ้นชื่อว่า เป็นหนึ่งในรัฐบาลของประเทศยักษ์ใหญ่ ที่พยายามแสดงบทบาทในการแทรกแซงระบบเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด ด้วยความคิดที่ว่า ระบบเศรษฐกิจที่อยู่ในสภาวะสมดุล (Equilibrium) สามารถเกิดขึ้นได้โดยการปล่อยให้กลไกทางการตลาด (Market Mechanism) ดำเนินการไปอย่างยุติธรรม ปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรของรัฐ หรือ มีการช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ระดับต่ำสุด เพราะฉะนั้น ในช่วงหลายๆทศวรรษที่ผ่านมา สหรัฐฯจึงเป็นประเทศผู้ซึ่งส่งเสริมการดำเนินเศรษฐกิจอย่างเสรี (Economic Liberalism) แก่สาธารณประเทศ
แต่อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งแสดงถึงเศรษฐกิจที่ถดถอยของสหรัฐฯ อันเนื่องมาจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ทำให้รัฐบาลกลางของสหรัฐฯจำเป็นต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือบริษัทและสถาบันที่ถูกผลกระทบ ดังจะเห็นได้ชัดเจนจากปัญหา Subprime ซึ่งเกิดจากลูกหนี้ซึ่งใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้ บวกกับที่อยู่อาศัยซึ่งถูกใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันมีมูลค่าสูงเกินกว่ามูลค่าจริงเกือบ 50% ทำให้ธนาคารใหญ่หลายๆ แห่งของสหรัฐฯต้องประสบกับปัญหาถือสินทรัพย์ที่อยู่อาศัยด้อยมูลค่า ธนาคารและบริษัทยักษ์หลายแห่งของสหรัฐฯที่ทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงต้องปิดฉากลง ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลสหรัฐฯจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทยักษ์ใหญ่ซึ่งประสบปัญหาหลักจาก Subprime Crisis เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและทั่วโลก โดยล่าสุด สหรัฐฯได้กลับมาจัดตั้งสถาบันความร่วมมือ Resolution Trust Corporation (RTC) เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
จากการกล่าวเบื้องต้น ทำให้นักวิเคราะห์จากหลายสถาบันเริ่มหันกลับมามองทฤษฎีเศรษฐกิจ Keynesian ซึ่งกล่าวถึง บทบาทของรัฐบาลต่อการดำเนินการทางเศรษฐกิจ “ทฤษฎี Keynesian” (Keynesian Theory) เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งยึดตามแนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ในยุคศรรตวรรษที่ 20 John Maynard Keynes โดยมีแนวความคิดที่ว่า รัฐบาลสามารถเข้ามาช่วยเหลือเพื่อให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตและรักษาความมั่นคงของประเทศ ทำให้บทบาทของภาครัฐมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการดำเนินงานจากภาคเอกชน ในทฤษฎี Keynesian พฤติกรรมของบริษัทหรือองค์กรต่างๆสามารถมีผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งทำให้การดำเนินการทางด้านการผลิตและการเติบโตต่ำกว่าศักยภาพที่มีอยู่
นอกจากนี้ Keynes ยังเชื่อว่าในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ความต้องการเพื่อการบริโภคโดยรวมอาจจะมีไม่เพียงพอจนส่งผลให้เกิดการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นและความเสียหายจากการผลิตที่ไม่เต็มศักยภาพ ดังนั้น นโยบายของรัฐบาลจึงถูกนำมาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มปริมาณความต้องการในระบบ ซึ่งส่งผลให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะช่วยลดอัตราการว่างงานและส่งเสริมให้มีการใช้จ่ายจากประชาชนมากขึ้น กระบวนการกระตุ้นเศรษฐกิจของ Keynes ในช่วงสภาวะที่ถดถอย สามารถใช้ควบคู่กันได้ใน 2 ลักษณะ คือ การลดอัตราดอกเบี้ยและการลงทุนจากภาครัฐในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) การลดต้นทุนในการกู้ยืมและการอัดฉีดรายได้จะช่วยให้เพิ่มการใช้จ่ายโดยรวมในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งเสริมภาคการผลิตและภาคการลงทุนทำให้เกิดการรับรู้รายได้ที่เพิ่มมากขึ้น
จากทฤษฎี Keynesian ซึ่งสอดคล้องกับการเข้ามามีบทบาทของรัฐบาลสหรัฐฯในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องของกลไกทางการตลาด (Market Failure) ที่ไม่สามารถสร้างความสมดุลในระบบเศรษฐกิจในขณะนี้ได้ เราอาจจะได้เห็นการหยุดพักแนวคิดที่จะปล่อยให้ตลาดดำเนินการอย่างเสรีเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเบื้องหน้า โดยการเปิดทฤษฎีเก่าเพื่อเสาะหาวิธีหรือกระบวนการที่เหมาะสมที่รัฐบาลสหรัฐฯจะสามารถนำมาใช้เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชนและประเทศ
โดย สุกฤษฏิ์ พุทธวงศ์
เจ้าหน้าที่บริหารความเสี่ยง
รัฐบาลสหรัฐฯขึ้นชื่อว่า เป็นหนึ่งในรัฐบาลของประเทศยักษ์ใหญ่ ที่พยายามแสดงบทบาทในการแทรกแซงระบบเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด ด้วยความคิดที่ว่า ระบบเศรษฐกิจที่อยู่ในสภาวะสมดุล (Equilibrium) สามารถเกิดขึ้นได้โดยการปล่อยให้กลไกทางการตลาด (Market Mechanism) ดำเนินการไปอย่างยุติธรรม ปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรของรัฐ หรือ มีการช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ระดับต่ำสุด เพราะฉะนั้น ในช่วงหลายๆทศวรรษที่ผ่านมา สหรัฐฯจึงเป็นประเทศผู้ซึ่งส่งเสริมการดำเนินเศรษฐกิจอย่างเสรี (Economic Liberalism) แก่สาธารณประเทศ
แต่อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งแสดงถึงเศรษฐกิจที่ถดถอยของสหรัฐฯ อันเนื่องมาจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ทำให้รัฐบาลกลางของสหรัฐฯจำเป็นต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือบริษัทและสถาบันที่ถูกผลกระทบ ดังจะเห็นได้ชัดเจนจากปัญหา Subprime ซึ่งเกิดจากลูกหนี้ซึ่งใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้ บวกกับที่อยู่อาศัยซึ่งถูกใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันมีมูลค่าสูงเกินกว่ามูลค่าจริงเกือบ 50% ทำให้ธนาคารใหญ่หลายๆ แห่งของสหรัฐฯต้องประสบกับปัญหาถือสินทรัพย์ที่อยู่อาศัยด้อยมูลค่า ธนาคารและบริษัทยักษ์หลายแห่งของสหรัฐฯที่ทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงต้องปิดฉากลง ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลสหรัฐฯจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทยักษ์ใหญ่ซึ่งประสบปัญหาหลักจาก Subprime Crisis เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและทั่วโลก โดยล่าสุด สหรัฐฯได้กลับมาจัดตั้งสถาบันความร่วมมือ Resolution Trust Corporation (RTC) เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
จากการกล่าวเบื้องต้น ทำให้นักวิเคราะห์จากหลายสถาบันเริ่มหันกลับมามองทฤษฎีเศรษฐกิจ Keynesian ซึ่งกล่าวถึง บทบาทของรัฐบาลต่อการดำเนินการทางเศรษฐกิจ “ทฤษฎี Keynesian” (Keynesian Theory) เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งยึดตามแนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ในยุคศรรตวรรษที่ 20 John Maynard Keynes โดยมีแนวความคิดที่ว่า รัฐบาลสามารถเข้ามาช่วยเหลือเพื่อให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตและรักษาความมั่นคงของประเทศ ทำให้บทบาทของภาครัฐมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการดำเนินงานจากภาคเอกชน ในทฤษฎี Keynesian พฤติกรรมของบริษัทหรือองค์กรต่างๆสามารถมีผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งทำให้การดำเนินการทางด้านการผลิตและการเติบโตต่ำกว่าศักยภาพที่มีอยู่
นอกจากนี้ Keynes ยังเชื่อว่าในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ความต้องการเพื่อการบริโภคโดยรวมอาจจะมีไม่เพียงพอจนส่งผลให้เกิดการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นและความเสียหายจากการผลิตที่ไม่เต็มศักยภาพ ดังนั้น นโยบายของรัฐบาลจึงถูกนำมาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มปริมาณความต้องการในระบบ ซึ่งส่งผลให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะช่วยลดอัตราการว่างงานและส่งเสริมให้มีการใช้จ่ายจากประชาชนมากขึ้น กระบวนการกระตุ้นเศรษฐกิจของ Keynes ในช่วงสภาวะที่ถดถอย สามารถใช้ควบคู่กันได้ใน 2 ลักษณะ คือ การลดอัตราดอกเบี้ยและการลงทุนจากภาครัฐในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) การลดต้นทุนในการกู้ยืมและการอัดฉีดรายได้จะช่วยให้เพิ่มการใช้จ่ายโดยรวมในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งเสริมภาคการผลิตและภาคการลงทุนทำให้เกิดการรับรู้รายได้ที่เพิ่มมากขึ้น
จากทฤษฎี Keynesian ซึ่งสอดคล้องกับการเข้ามามีบทบาทของรัฐบาลสหรัฐฯในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องของกลไกทางการตลาด (Market Failure) ที่ไม่สามารถสร้างความสมดุลในระบบเศรษฐกิจในขณะนี้ได้ เราอาจจะได้เห็นการหยุดพักแนวคิดที่จะปล่อยให้ตลาดดำเนินการอย่างเสรีเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเบื้องหน้า โดยการเปิดทฤษฎีเก่าเพื่อเสาะหาวิธีหรือกระบวนการที่เหมาะสมที่รัฐบาลสหรัฐฯจะสามารถนำมาใช้เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชนและประเทศ