วงการกองทุนขานรับ "กองทุนรวมสาธารณูปโภค" ประสานเสียงเป็นแนวทางระดมเงินทุน พัฒนาประเทศในระยะยาว "พิชิต" เผย สนใจตั้งมานานแล้ว ระบุเป็นแอสเซทคลาสที่ให้ผลตอบแทนดี สม่ำเสมอ แต่ภาครัฐ ต้องสร้างความชัดเจนก่อนว่า โครงการลงทุนจะเกิดขึ้นจริง ด้าน "โชติกา" แนะ ควรแบ่งสัดส่วนให้นักลงทุนต่างชาติด้วย เพื่อช่วยลดความผันผวน
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า สำหรับแนวคิดในการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค (infrastructure fund) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในส่วนของบลจ.เอ็มเอฟซี เราให้ความสนใจอยู่แล้ว ซึ่งเดิมที่เราเองก็เคยพูดมาตั้งแต่เป็นที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบัน เอ็มเอฟซีก็ศึกษาอยู่ตลอดและมีกองทุนประเภทเดียวกันนี้อยู่แล้ว โดยเป็นการลงทุนในพลังงานทดแทนที่ถือเป็นสาธารณูปโภคเช่นกัน
ทั้งนี้ การที่สำนักงานก.ล.ต. ออกมาริเริ่มและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค ถือเป็นเรื่องดีและเป็นประโยชน์ทั้งต่อเราเอง และประโยชน์ต่อการลงทุนโดยรวม โดยเฉพาะในแง่ของเม็ดเงินที่สามารถระดมทุนจากผู้ลงทุนในประเทศได้ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน ขณะเดียวกัน การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานยังเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อธุรกิจอื่นๆ ด้วย ในแง่ของการลดต้นทุนในการทำธุรกิจ ซึ่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเองต้องมีกฏหมายรองรับไว้จึงจะทำให้การลงทุนเติบโตได้
นายพิชิตกล่าวว่า ในต่างประเทศกองทุนรวมสาธารณูปโภคถือเป็นเป็นแอสเซทคลาสหนึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบัน ซึ่งการลงทุนประเภทนี้ เป็นการลงทุนระยะยาว ที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ แต่ไม่หวือหวามากนัก โดยการลงทุนในต่างประเทศมีทั้งการลงทุนในทางด่วน เขื่อน รถไฟฟ้า สนามบิน ไฟฟ้า ประปา ซึ่งได้รับความนิยมค่อนข้างมากในประเทศแถบเอเชีย เพราะเป็นกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น จีนและอินเดีย เป็นต้น ซึ่งการลงทุนมีทั้งการลงทุนในรูปแบบของหลักทรัพย์ หรือว่าเป็นการร่วมลงทุนแล้วมีส่วนในการบริหารด้วย
ทั้งนี้ การลงทุนในสาธารณูปโภคเป็นการลงทุนที่มีความสัมพันธ์กับภาครัฐ ดังนั้น ภาครัฐต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนก่อนว่าโครงการต่างๆ จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต หรือพูดง่ายๆ ว่า ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐก่อน การลงทุนจึงจะเกิดขึ้น ซึ่งในประเทศไทยเอง ภาครัฐต้องทำให้เห็นความชัดเจนก่อน โดยเฉพาะความชัดเจนในระดับการเข้าร่วมลงทุนของภาคเอกชน
"การลงทุนนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐด้วย เพราะถ้ารัฐไม่สนับสนุนทุกอย่างก็ไม่เกิดขึ้น เช่น หากเราจะลงทุนในถนน เราคงไม่สามารถไปสร้างถนนเองได้ หากรัฐไม่สนับสนุน"นายพิชิตกล่าว
นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ยื่นเสนอขอรับฟังการจัดตั้งกองทุนที่ลงทุนในสาธารณปูโภคนั้น ส่วนตัวเห็นด้วยกับการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง เนื่องมาจากจะเป็นแนวทางในการระดมเงินทุนเพื่อพัฒนาประเทศในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม ยังไม่เห็นรายละเอียดของการจัดตั้ง จึงยังไม่ทราบว่ากองทุนดังกล่าวจะลงทุนตั้งแต่เริ่มก่อสร้างในลักษณะคล้ายกองทุนไพรเวตร์อิคควิตี้ หรือลงทุนในสินทรัพย์หลังจากก่อสร้างเหมือนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ แต่ในการระดมทุนนั้นควรจะมีการแบ่งสัดส่วนให้กับนักลงทุนต่างชาติด้วย ซึ่งจะช่วยในการลดความผันผวนให้แก่กองทุนมากกว่าการระดมทุนกับนักลงทุนในประเทศเพียงอย่างเดียว
"การจัดตั้งกองทุนที่ลงทุนในสาธารณปูโภคเป็นเรื่องที่สมควรอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยในการระดมทุนเพื่อพัฒนาประเทศในระยะยาว แต่ตอนนี้ยังไม่เห็นถึงรายละเอียดจึงยังไม่รู้ว่ากองทุนจะเป็นลักษณะใด" นางโชติกา กล่าว
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. กำลังอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบธุรกิจจัดการลงทุนและผู้ที่สนใจ แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ในการจัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค (infrastructure fund) ซึ่งในเบื้องต้น สำนักงานกำหนดรูปแบบกองทุนเอาไว้ว่า กองทุนรวมต้องลงทุนโดยตรงในทรัพย์สินของโครงการสาธารณูปโภค หรือลงทุนผ่านการถือหุ้นในนิติบุคคลที่ลงทุนในทรัพย์สินของโครงการสาธารณูปโภค ในสัดส่วนที่ไม่ต่ำกว่าที่กำหนด ซึ่งทรัพย์สินของโครงการสาธารณูปโภคที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้ ได้แก่ (1) กรรมสิทธิ์ (2) สิทธิครอบครอง (3) สิทธิสัมปทาน (4) สิทธิการเช่า และ (5) สิทธิในการรับผลประโยชน์ในอนาคตหรือสิทธิเรียกร้องในอนาคต ในที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักรอุปกรณ์ หรือสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ที่ใช้ประโยชน์ในโครงการสาธารณูปโภค โดยโครงการสาธารณูปโภค หมายถึงกิจการหรือการดำเนินการ ไฟฟ้า ประปา รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ถนน โทรศัพท์ โทรคมนาคม หรือสนามบิน เป็นต้น
นอกจากนี้ สำนักงานก.ล.ต. ยังเปิดทางให้กองทุนรวมสามารถกู้ยืมหรือก่อภาระผูกพันได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ส่วนการจัดสรรหน่วยลงทุนนั้น ต้องไม่กระจุกตัวในบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือผู้ลงทุนต่างชาติ เกินกว่าสัดส่วนที่กำหนด ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. จะเปิดรับแสดงความคิดเห็นถึงวันที่ 15 กันยายน 2551
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า สำหรับแนวคิดในการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค (infrastructure fund) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในส่วนของบลจ.เอ็มเอฟซี เราให้ความสนใจอยู่แล้ว ซึ่งเดิมที่เราเองก็เคยพูดมาตั้งแต่เป็นที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบัน เอ็มเอฟซีก็ศึกษาอยู่ตลอดและมีกองทุนประเภทเดียวกันนี้อยู่แล้ว โดยเป็นการลงทุนในพลังงานทดแทนที่ถือเป็นสาธารณูปโภคเช่นกัน
ทั้งนี้ การที่สำนักงานก.ล.ต. ออกมาริเริ่มและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค ถือเป็นเรื่องดีและเป็นประโยชน์ทั้งต่อเราเอง และประโยชน์ต่อการลงทุนโดยรวม โดยเฉพาะในแง่ของเม็ดเงินที่สามารถระดมทุนจากผู้ลงทุนในประเทศได้ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน ขณะเดียวกัน การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานยังเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อธุรกิจอื่นๆ ด้วย ในแง่ของการลดต้นทุนในการทำธุรกิจ ซึ่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเองต้องมีกฏหมายรองรับไว้จึงจะทำให้การลงทุนเติบโตได้
นายพิชิตกล่าวว่า ในต่างประเทศกองทุนรวมสาธารณูปโภคถือเป็นเป็นแอสเซทคลาสหนึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบัน ซึ่งการลงทุนประเภทนี้ เป็นการลงทุนระยะยาว ที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ แต่ไม่หวือหวามากนัก โดยการลงทุนในต่างประเทศมีทั้งการลงทุนในทางด่วน เขื่อน รถไฟฟ้า สนามบิน ไฟฟ้า ประปา ซึ่งได้รับความนิยมค่อนข้างมากในประเทศแถบเอเชีย เพราะเป็นกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น จีนและอินเดีย เป็นต้น ซึ่งการลงทุนมีทั้งการลงทุนในรูปแบบของหลักทรัพย์ หรือว่าเป็นการร่วมลงทุนแล้วมีส่วนในการบริหารด้วย
ทั้งนี้ การลงทุนในสาธารณูปโภคเป็นการลงทุนที่มีความสัมพันธ์กับภาครัฐ ดังนั้น ภาครัฐต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนก่อนว่าโครงการต่างๆ จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต หรือพูดง่ายๆ ว่า ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐก่อน การลงทุนจึงจะเกิดขึ้น ซึ่งในประเทศไทยเอง ภาครัฐต้องทำให้เห็นความชัดเจนก่อน โดยเฉพาะความชัดเจนในระดับการเข้าร่วมลงทุนของภาคเอกชน
"การลงทุนนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐด้วย เพราะถ้ารัฐไม่สนับสนุนทุกอย่างก็ไม่เกิดขึ้น เช่น หากเราจะลงทุนในถนน เราคงไม่สามารถไปสร้างถนนเองได้ หากรัฐไม่สนับสนุน"นายพิชิตกล่าว
นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ยื่นเสนอขอรับฟังการจัดตั้งกองทุนที่ลงทุนในสาธารณปูโภคนั้น ส่วนตัวเห็นด้วยกับการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง เนื่องมาจากจะเป็นแนวทางในการระดมเงินทุนเพื่อพัฒนาประเทศในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม ยังไม่เห็นรายละเอียดของการจัดตั้ง จึงยังไม่ทราบว่ากองทุนดังกล่าวจะลงทุนตั้งแต่เริ่มก่อสร้างในลักษณะคล้ายกองทุนไพรเวตร์อิคควิตี้ หรือลงทุนในสินทรัพย์หลังจากก่อสร้างเหมือนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ แต่ในการระดมทุนนั้นควรจะมีการแบ่งสัดส่วนให้กับนักลงทุนต่างชาติด้วย ซึ่งจะช่วยในการลดความผันผวนให้แก่กองทุนมากกว่าการระดมทุนกับนักลงทุนในประเทศเพียงอย่างเดียว
"การจัดตั้งกองทุนที่ลงทุนในสาธารณปูโภคเป็นเรื่องที่สมควรอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยในการระดมทุนเพื่อพัฒนาประเทศในระยะยาว แต่ตอนนี้ยังไม่เห็นถึงรายละเอียดจึงยังไม่รู้ว่ากองทุนจะเป็นลักษณะใด" นางโชติกา กล่าว
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. กำลังอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบธุรกิจจัดการลงทุนและผู้ที่สนใจ แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ในการจัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค (infrastructure fund) ซึ่งในเบื้องต้น สำนักงานกำหนดรูปแบบกองทุนเอาไว้ว่า กองทุนรวมต้องลงทุนโดยตรงในทรัพย์สินของโครงการสาธารณูปโภค หรือลงทุนผ่านการถือหุ้นในนิติบุคคลที่ลงทุนในทรัพย์สินของโครงการสาธารณูปโภค ในสัดส่วนที่ไม่ต่ำกว่าที่กำหนด ซึ่งทรัพย์สินของโครงการสาธารณูปโภคที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้ ได้แก่ (1) กรรมสิทธิ์ (2) สิทธิครอบครอง (3) สิทธิสัมปทาน (4) สิทธิการเช่า และ (5) สิทธิในการรับผลประโยชน์ในอนาคตหรือสิทธิเรียกร้องในอนาคต ในที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักรอุปกรณ์ หรือสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ที่ใช้ประโยชน์ในโครงการสาธารณูปโภค โดยโครงการสาธารณูปโภค หมายถึงกิจการหรือการดำเนินการ ไฟฟ้า ประปา รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ถนน โทรศัพท์ โทรคมนาคม หรือสนามบิน เป็นต้น
นอกจากนี้ สำนักงานก.ล.ต. ยังเปิดทางให้กองทุนรวมสามารถกู้ยืมหรือก่อภาระผูกพันได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ส่วนการจัดสรรหน่วยลงทุนนั้น ต้องไม่กระจุกตัวในบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือผู้ลงทุนต่างชาติ เกินกว่าสัดส่วนที่กำหนด ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. จะเปิดรับแสดงความคิดเห็นถึงวันที่ 15 กันยายน 2551