ดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วงต้นๆ ปี ถือว่าดูดีเป็นอย่างมากในสายตานักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะด้วยปัจจัยพื้นฐานที่ดี ประกอบกับการได้คณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศ...แต่หลังจากเวลาผ่านไปได้สักพัก ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงไทยก็ประสบกับปัจจัยลบสาระพัด โดยเฉพาะปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการเทขายหุ้นของกองทุนเก็งกำไรเพื่อชดเชยส่วนที่ขาดทุนจากปัญหาซับไพรม์อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ปัจจัยในประเทศ จากความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล นำมาซึ่งความขัดแย้งทางสังคม ทำให้นักลงทุนขาดความมั่นใจเข้าไปอีก
สำหรับดัชนีหุ้นไทยในช่วง 1-2 เดือนล่าสุดที่ผ่านมา ต้องพบกับการเทขายของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง จนกดดันดัชนีหุ้นลงมาต่ำกว่า 700 จุด ซึ่งในบางขณะลดลงไปต่ำกว่า 650 จุดด้วยซ้ำ...และแน่นอนว่าความผันผวนที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่งผลโดยตรงต่อกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้น โดยเฉพาะกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นพลังงานขนาดใหญ่ ที่ราคาค่อนข้างแกว่งตัว
ดังนั้น "Best of Fund" จึงนำเสนอผลการดำเนินงานของกองทุนหุ้นล่าสุด ซึ่งรายงานโดยลิปเปอร์ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2551...ไปดูกันว่า จากความผันผวนทั้งหลายทั้งปวง จนทำให้ดัชนีหุ้นไทยติดลบไป 21.18% ในช่วง 7 เดือน ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของกองทุนหุ้นอย่างไรบ้าง แล้วกองไหนที่สามารถฝ่าแรงต้านจนให้ผลตอบแทนเป็นอันดับหนึ่งได้ ที่สำคัญ กองทุนอันดับ 1 เขามีกลยุทธ์การบริหารและจับจังหวะการลงทุนอย่างไรบ้าง
สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดมาเป็นอันดับ 1 คือ กองทุนเปิดอเบอร์ดีนไทย เอคควิตี้ ดีวิเด็น ภายใต้การบริหารของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)อเบอร์ดีน จำกัด โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 2,059.40 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -11.13% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 10.05% อันดับ 2 กองทุนเปิดอยุธยาทุนทวีปันผล 70/30 ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอวายเอฟ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 1,265.81ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -11.48% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯที่ 9.70%
อันดับ 3 กองทุนเปิดอยุธยาหุ้นปันผล70/30 ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอวายเอฟ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 359.82 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -13.33% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 7.85% อันดับ4 กองทุนเปิดธนชาติฟันดาเมนทอล พลัส ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 415.99 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -13.97% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 7.21%
อันดับ 5 กองทุนเปิดอยุธยาก้าวหน้า ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอวายเอฟ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 95.56 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -14.15% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 7.03% อันดับ 6 กองทุนเปิดออมสินพัฒนาภูมิภาค ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 2,507.90 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -15.08% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯที่ 6.10%
อันดับ 7 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุนปันผล ภายใต้การบริหารของ บลจ.ไทยพาณิชย์ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 736.54 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -15.11% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาดหลักทรัพย์ฯที่ 6.07% อันดับ 8 กองทุนเปิดอเบอร์ดีนสมอลแค็พ ภายใต้การบริหารของ บลจ.อเบอร์ดีน โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 394.07 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -15.17% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 6.01%
อันดับ 9 กองทุนเปิดอยุธยาทุนทวีผล ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอวายเอฟ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 1,238 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -15.28% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 5.90% และอันดับ 10 กองทุนเปิด ธนชาติทุนเพิ่มทวี ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาติ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 366.01 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -15.58% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 5.60%
เปิดกลยุทธ์การลงทุนอันดับ 1
นายอดิเทพ วรรณพฤกษ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุน บลจ.อเบอร์ดีน เล่าให้ฟังว่า สำหรับกองทุนเปิดอเบอร์ดีนไทย เอคควิตี้ ดีวิเด็น เป็นกองทุนตราสารทุนที่ลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 65% ซึ่งมีการลงทุนในหุ้นประมาณ 70% ของสินทรัพย์สุทธิ โดยเราเลือกลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีคุณภาพสูง ที่ผ่านการพิจารณาว่ามีปัจจัยพื้นฐานของบริษัทที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว อีกทั้ง มีราคาหุ้นที่น่าลงทุน และไม่คำนึงถึงภาพรวมของประเทศหรือภาคอุตสาหกรรม
ในส่วนของ กลยุทธ์การลงทุนแบบอเบอร์ดีนนั้น นับจากต้นปีจนถึงปัจจุบัน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีการปรับราคาลงไปมากกว่า 20% อันเป็นผลมาจากปัญหาเดิมๆ เกี่ยวกับวิกฤตสินเชื่อด้อยคุณภาพในสหรัฐฯซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจทั่วโลก นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับสูงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาก โดยรวมไปถึงปัญหาการเมืองภายในประเทศที่ยังคงเป็นข้อกังวล
อย่างไรก็ตาม เรื่องที่สำคัญของอเบอร์ดีน คือ การที่ผลการดำเนินงานในระยะยาวของกองทุนหุ้นยังคงดีอยู่ กลยุทธ์และกระบวนการการลงทุนแบบอเบอร์ดีนยังคงฝ่าฟันอุปสรรคมาได้อย่างแข็งแกร่ง บริษัทต่างๆที่ถือหุ้นอยู่มีงบดุลและกระแสเงินสดที่น่าพอใจ รวมไปถึงความสามารถสูงในการจ่ายเงินปันผล
"ผู้บริหารกองทุนค่อนข้างบริหารงานแบบอนุรักษ์นิยม โดยปัจจัยต่างๆเหล่านี้ส่งผลให้ราคาหุ้นเติบโตไปจนถึงช่วงที่ขายออกไปเพื่อทำกำไรให้แก่กองทุน และในการบริหารกองทุน เราไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงรายการหุ้นที่อยู่ในพอร์ตการลงทุน แต่เมื่อมีภาวะหุ้นตกหรือผันผวนจะมีการพิจารณาซื้อหุ้นที่ราคาจะเติบโตในระยะยาว และใช้โอกาสที่เกิดขึ้นเสมอ เพื่อซื้อหุ้นของบริษัทที่เราเห็นชอบ" นายอดิเทพ กล่าว
นายพงค์ธาริน ทรัพยานนท์ ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ บลจ. อเบอร์ดีน บอกว่า ภาวะความผันผวนของตลาดตราสารหนี้ไทยเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยมีแรงกระตุ้นทั้งในด้านบวกและลบมาบรรจบกัน ทำให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยในไตรมาสแรกของปีปรับตัวในแนวลบอย่างรุนแรง อีกทั้ง มีแรงกระตุ้นจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้น อันมีสาเหตุมาจากการคาดการณ์ของตลาดถึงนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เน้นการเติบโตของเศรษฐกิจเป็นหลัก รวมถึงมาตรการผ่อนคลายการควบคุมเงินทุนในตลาดตราสารหนี้ภายในประเทศ
ต่อมาในไตรมาสสอง อัตราเงินเฟ้อได้เร่งตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้ตลาดการลงทุนตกต่ำลง และสร้างภาวะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในหมู่นักลงทุน โดยซื้อและขายตราสารในระยะเวลาสั้น ถึงแม้ว่าจะมีผลทำให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของตราสารหนี้ภายในประเทศปรับตัวในแนวบวกอย่างรุนแรง โดยปรับขึ้นไปอยู่ระหว่าง 1.5% - 2.5% ก็ตาม แต่กระบวนการลงทุนที่คล่องตัวของบริษัท รวมถึงข้อพิจารณาทั้งในด้านภาพรวมเศรษฐกิจมหภาค โดยพิจารณาปัจจัยจากบนลงล่าง และด้านมูลค่าตราสาร ซึ่งพิจารณาปัจจัยจากล่างสู่บน อีกทั้ง การพิจารณามูลค่าเปรียบเทียบของตราสารในภูมิภาคเดียวกัน ทำให้เราสามารถกำหนดสัดส่วนการการสร้างพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้มีการซื้อและขายตราสารในระยะสั้นหรือยาวตามแต่สถานการณ์ แม้ว่าในภาวะความผันผวนของอัตราผลตอบแทน ก็ยังสามารถทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนดีกว่าเกณฑ์ดัชนี
สำหรับกองทุนเปิด อเบอร์ดีน ไทย อิคควิตี้ ดีวิเด็น เป็นกองทุนเปิดตราสารแห่งทุน จดทะเบียน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2546 โดยกองทุนเน้นลงทุนระยะปานกลางและระยะยาวในหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจสูง หรือมีปัจจัยพื้นฐานดี ซึ่งจะลงทุนในตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
สำหรับดัชนีหุ้นไทยในช่วง 1-2 เดือนล่าสุดที่ผ่านมา ต้องพบกับการเทขายของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง จนกดดันดัชนีหุ้นลงมาต่ำกว่า 700 จุด ซึ่งในบางขณะลดลงไปต่ำกว่า 650 จุดด้วยซ้ำ...และแน่นอนว่าความผันผวนที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่งผลโดยตรงต่อกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้น โดยเฉพาะกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นพลังงานขนาดใหญ่ ที่ราคาค่อนข้างแกว่งตัว
ดังนั้น "Best of Fund" จึงนำเสนอผลการดำเนินงานของกองทุนหุ้นล่าสุด ซึ่งรายงานโดยลิปเปอร์ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2551...ไปดูกันว่า จากความผันผวนทั้งหลายทั้งปวง จนทำให้ดัชนีหุ้นไทยติดลบไป 21.18% ในช่วง 7 เดือน ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของกองทุนหุ้นอย่างไรบ้าง แล้วกองไหนที่สามารถฝ่าแรงต้านจนให้ผลตอบแทนเป็นอันดับหนึ่งได้ ที่สำคัญ กองทุนอันดับ 1 เขามีกลยุทธ์การบริหารและจับจังหวะการลงทุนอย่างไรบ้าง
สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดมาเป็นอันดับ 1 คือ กองทุนเปิดอเบอร์ดีนไทย เอคควิตี้ ดีวิเด็น ภายใต้การบริหารของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)อเบอร์ดีน จำกัด โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 2,059.40 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -11.13% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 10.05% อันดับ 2 กองทุนเปิดอยุธยาทุนทวีปันผล 70/30 ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอวายเอฟ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 1,265.81ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -11.48% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯที่ 9.70%
อันดับ 3 กองทุนเปิดอยุธยาหุ้นปันผล70/30 ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอวายเอฟ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 359.82 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -13.33% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 7.85% อันดับ4 กองทุนเปิดธนชาติฟันดาเมนทอล พลัส ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 415.99 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -13.97% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 7.21%
อันดับ 5 กองทุนเปิดอยุธยาก้าวหน้า ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอวายเอฟ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 95.56 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -14.15% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 7.03% อันดับ 6 กองทุนเปิดออมสินพัฒนาภูมิภาค ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 2,507.90 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -15.08% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯที่ 6.10%
อันดับ 7 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุนปันผล ภายใต้การบริหารของ บลจ.ไทยพาณิชย์ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 736.54 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -15.11% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาดหลักทรัพย์ฯที่ 6.07% อันดับ 8 กองทุนเปิดอเบอร์ดีนสมอลแค็พ ภายใต้การบริหารของ บลจ.อเบอร์ดีน โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 394.07 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -15.17% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 6.01%
อันดับ 9 กองทุนเปิดอยุธยาทุนทวีผล ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอวายเอฟ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 1,238 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -15.28% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 5.90% และอันดับ 10 กองทุนเปิด ธนชาติทุนเพิ่มทวี ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาติ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 366.01 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -15.58% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 5.60%
เปิดกลยุทธ์การลงทุนอันดับ 1
นายอดิเทพ วรรณพฤกษ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุน บลจ.อเบอร์ดีน เล่าให้ฟังว่า สำหรับกองทุนเปิดอเบอร์ดีนไทย เอคควิตี้ ดีวิเด็น เป็นกองทุนตราสารทุนที่ลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 65% ซึ่งมีการลงทุนในหุ้นประมาณ 70% ของสินทรัพย์สุทธิ โดยเราเลือกลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีคุณภาพสูง ที่ผ่านการพิจารณาว่ามีปัจจัยพื้นฐานของบริษัทที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว อีกทั้ง มีราคาหุ้นที่น่าลงทุน และไม่คำนึงถึงภาพรวมของประเทศหรือภาคอุตสาหกรรม
ในส่วนของ กลยุทธ์การลงทุนแบบอเบอร์ดีนนั้น นับจากต้นปีจนถึงปัจจุบัน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีการปรับราคาลงไปมากกว่า 20% อันเป็นผลมาจากปัญหาเดิมๆ เกี่ยวกับวิกฤตสินเชื่อด้อยคุณภาพในสหรัฐฯซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจทั่วโลก นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับสูงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาก โดยรวมไปถึงปัญหาการเมืองภายในประเทศที่ยังคงเป็นข้อกังวล
อย่างไรก็ตาม เรื่องที่สำคัญของอเบอร์ดีน คือ การที่ผลการดำเนินงานในระยะยาวของกองทุนหุ้นยังคงดีอยู่ กลยุทธ์และกระบวนการการลงทุนแบบอเบอร์ดีนยังคงฝ่าฟันอุปสรรคมาได้อย่างแข็งแกร่ง บริษัทต่างๆที่ถือหุ้นอยู่มีงบดุลและกระแสเงินสดที่น่าพอใจ รวมไปถึงความสามารถสูงในการจ่ายเงินปันผล
"ผู้บริหารกองทุนค่อนข้างบริหารงานแบบอนุรักษ์นิยม โดยปัจจัยต่างๆเหล่านี้ส่งผลให้ราคาหุ้นเติบโตไปจนถึงช่วงที่ขายออกไปเพื่อทำกำไรให้แก่กองทุน และในการบริหารกองทุน เราไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงรายการหุ้นที่อยู่ในพอร์ตการลงทุน แต่เมื่อมีภาวะหุ้นตกหรือผันผวนจะมีการพิจารณาซื้อหุ้นที่ราคาจะเติบโตในระยะยาว และใช้โอกาสที่เกิดขึ้นเสมอ เพื่อซื้อหุ้นของบริษัทที่เราเห็นชอบ" นายอดิเทพ กล่าว
นายพงค์ธาริน ทรัพยานนท์ ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ บลจ. อเบอร์ดีน บอกว่า ภาวะความผันผวนของตลาดตราสารหนี้ไทยเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยมีแรงกระตุ้นทั้งในด้านบวกและลบมาบรรจบกัน ทำให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยในไตรมาสแรกของปีปรับตัวในแนวลบอย่างรุนแรง อีกทั้ง มีแรงกระตุ้นจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้น อันมีสาเหตุมาจากการคาดการณ์ของตลาดถึงนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เน้นการเติบโตของเศรษฐกิจเป็นหลัก รวมถึงมาตรการผ่อนคลายการควบคุมเงินทุนในตลาดตราสารหนี้ภายในประเทศ
ต่อมาในไตรมาสสอง อัตราเงินเฟ้อได้เร่งตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้ตลาดการลงทุนตกต่ำลง และสร้างภาวะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในหมู่นักลงทุน โดยซื้อและขายตราสารในระยะเวลาสั้น ถึงแม้ว่าจะมีผลทำให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของตราสารหนี้ภายในประเทศปรับตัวในแนวบวกอย่างรุนแรง โดยปรับขึ้นไปอยู่ระหว่าง 1.5% - 2.5% ก็ตาม แต่กระบวนการลงทุนที่คล่องตัวของบริษัท รวมถึงข้อพิจารณาทั้งในด้านภาพรวมเศรษฐกิจมหภาค โดยพิจารณาปัจจัยจากบนลงล่าง และด้านมูลค่าตราสาร ซึ่งพิจารณาปัจจัยจากล่างสู่บน อีกทั้ง การพิจารณามูลค่าเปรียบเทียบของตราสารในภูมิภาคเดียวกัน ทำให้เราสามารถกำหนดสัดส่วนการการสร้างพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้มีการซื้อและขายตราสารในระยะสั้นหรือยาวตามแต่สถานการณ์ แม้ว่าในภาวะความผันผวนของอัตราผลตอบแทน ก็ยังสามารถทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนดีกว่าเกณฑ์ดัชนี
สำหรับกองทุนเปิด อเบอร์ดีน ไทย อิคควิตี้ ดีวิเด็น เป็นกองทุนเปิดตราสารแห่งทุน จดทะเบียน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2546 โดยกองทุนเน้นลงทุนระยะปานกลางและระยะยาวในหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจสูง หรือมีปัจจัยพื้นฐานดี ซึ่งจะลงทุนในตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน