ณัฐพัชร์ ลัคนาธรรมพิชิต
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บีที จำกัด
0-2686-9500
ถ้าท่านผู้อ่านได้ทำตามแนวทางในการลดความเสี่ยงด้วยการใช้ตราสารอนุพันธ์ Futures ตามที่ได้เขียนแนะนำไว้ในครั้งก่อน 24 มิ.ย. 51 ก็คงจะพอร้องเพลง Hakuna Matata (สบายใจไร้กังวล) จากภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง The Lion King ได้อย่างสบายใจบ้าง เพราะการขาย (Short) SET50 Index Futures สามารถลดขาดทุนจากการลงทุนในตราสารทุนในช่วงที่ผ่านมาได้ไม่น้อยกว่า 6.50% ตามตารางผลตอบแทนของพอร์ตโฟลิโอที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยง ซึ่งถ้าหากปิดความเสี่ยงได้เต็ม 100% (fully hedged) คือการลงทุนในตราสารทุนในช่วงดังกล่าวจะมีผลตอบแทนเท่ากับ 0% แล้ว พอร์ตโฟลิโอก็จะมีผลตอบแทนเท่ากับ 0.87% และผลตอบแทนสะสมได้ 5.34%
(ตาราง)
หลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุดในช่วงที่ผ่านมาก็คงหนีไม่พ้น เจ้าของเพลง Hakuna Matata หรือ ทีโมนและพุมบ้า นั่นเอง เพราะราคาทองคำได้ขยับตัวสูงขึ้นเกินกว่า 940 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ และค่าเงินของ USD ก็แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินบาท จาก 33.149 บาท เป็น 33.363 บาท หรือคิดเป็นกำไรจากราคาทองคำและค่าเงินเท่ากับ 8.77% และ 0.65% ตามลำดับ แม้ว่าแนวโน้มราคาทองคำจะมีโอกาสขยับตัวสูงขึ้นไปได้อีก ตามอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ แต่ก็จะมีช่วงเวลาและราคาในการปรับตัวลงและขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นผู้ลงทุนจะต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากสำหรับการลงทุนในสินค้าประเภทโภคภัณฑ์ (Commodities) เข้าทำนอง High Risk High Return
รวมทั้งมีข่าวล่าจากตลาดอนุพันธ์ TFEX ของบ้านเราว่า จะมีการเปิดหลักทรัพย์ Futures ตัวใหม่ที่อ้างอิงกับราคาทองคำที่เป็นบาทภายในปีนี้ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับเพิ่มประเภทของหลักทรัพย์ในการสร้างพอร์ตโฟลิโอของผู้ลงทุน และเริ่มมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนบางแห่งมีแผนที่จะออกกองทุนที่ไปลงทุนในตลาดเงิน (Money Market) ของเงินสกุลต่างๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนเฉพาะภายในประเทศหรือเป็นการเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนจากค่าเงินของสกุลอื่นบ้าง (FX Risk) เมื่อถึงเวลานั้นจะสามารถแยก ทีโมนและพุมบ้า ออกจากกันได้อย่างอิสระ คือแยกจังหวะของการลงทุนในทองคำและค่าเงินได้ ไม่ต้องมาเป็นแบบแพคคู่อีก
เนื่องจากความผันผวนของตลาดต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ รวมทั้งความผันผวนที่ยังจะเกิดขึ้นอีกในปีนี้ ทำให้บทความที่มีการเขียนถึงการจัดหรือปรับพอร์ตโฟลิโอทำได้ไม่คล่องตัวนัก เพราะบางครั้งจำเป็นต้องปรับทันทีเมื่อมีสัญญาณหรือเหตุการณ์เกิดขึ้น ทำให้ไม่สามารถเขียนล่วงหน้าได้ หรือวันที่ลงบทความไม่พอดีกัน ครั้นจะมาเขียนหลังจากที่ตลาดปรับตัวไปแล้วก็ดูจะไม่ทันการณ์หรือมีผู้ไปมองว่า เป็นการปรับพอร์ตหลังการปรับตัวของราคาไปแล้ว (After Facts) ฉะนั้นจะขอหยุดการใช้พอร์ตโฟลิโอจำลองในการอ้างอิงหรือประเมินผลตอบแทน จนกว่าจะหารูปแบบในการนำเสนอได้อย่างลงตัวมากกว่านี้
บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัว เพื่อเป็นตัวอย่างด้วยการใช้ข้อมูลจริงในการจัดสัดส่วนของพอร์ตโฟลิโอและหาจังหวะในการปรับน้ำหนักในการลงทุน ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ แต่อย่างใดทั้งสิ้น
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บีที จำกัด
0-2686-9500
ถ้าท่านผู้อ่านได้ทำตามแนวทางในการลดความเสี่ยงด้วยการใช้ตราสารอนุพันธ์ Futures ตามที่ได้เขียนแนะนำไว้ในครั้งก่อน 24 มิ.ย. 51 ก็คงจะพอร้องเพลง Hakuna Matata (สบายใจไร้กังวล) จากภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง The Lion King ได้อย่างสบายใจบ้าง เพราะการขาย (Short) SET50 Index Futures สามารถลดขาดทุนจากการลงทุนในตราสารทุนในช่วงที่ผ่านมาได้ไม่น้อยกว่า 6.50% ตามตารางผลตอบแทนของพอร์ตโฟลิโอที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยง ซึ่งถ้าหากปิดความเสี่ยงได้เต็ม 100% (fully hedged) คือการลงทุนในตราสารทุนในช่วงดังกล่าวจะมีผลตอบแทนเท่ากับ 0% แล้ว พอร์ตโฟลิโอก็จะมีผลตอบแทนเท่ากับ 0.87% และผลตอบแทนสะสมได้ 5.34%
(ตาราง)
หลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุดในช่วงที่ผ่านมาก็คงหนีไม่พ้น เจ้าของเพลง Hakuna Matata หรือ ทีโมนและพุมบ้า นั่นเอง เพราะราคาทองคำได้ขยับตัวสูงขึ้นเกินกว่า 940 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ และค่าเงินของ USD ก็แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินบาท จาก 33.149 บาท เป็น 33.363 บาท หรือคิดเป็นกำไรจากราคาทองคำและค่าเงินเท่ากับ 8.77% และ 0.65% ตามลำดับ แม้ว่าแนวโน้มราคาทองคำจะมีโอกาสขยับตัวสูงขึ้นไปได้อีก ตามอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ แต่ก็จะมีช่วงเวลาและราคาในการปรับตัวลงและขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นผู้ลงทุนจะต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากสำหรับการลงทุนในสินค้าประเภทโภคภัณฑ์ (Commodities) เข้าทำนอง High Risk High Return
รวมทั้งมีข่าวล่าจากตลาดอนุพันธ์ TFEX ของบ้านเราว่า จะมีการเปิดหลักทรัพย์ Futures ตัวใหม่ที่อ้างอิงกับราคาทองคำที่เป็นบาทภายในปีนี้ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับเพิ่มประเภทของหลักทรัพย์ในการสร้างพอร์ตโฟลิโอของผู้ลงทุน และเริ่มมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนบางแห่งมีแผนที่จะออกกองทุนที่ไปลงทุนในตลาดเงิน (Money Market) ของเงินสกุลต่างๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนเฉพาะภายในประเทศหรือเป็นการเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนจากค่าเงินของสกุลอื่นบ้าง (FX Risk) เมื่อถึงเวลานั้นจะสามารถแยก ทีโมนและพุมบ้า ออกจากกันได้อย่างอิสระ คือแยกจังหวะของการลงทุนในทองคำและค่าเงินได้ ไม่ต้องมาเป็นแบบแพคคู่อีก
เนื่องจากความผันผวนของตลาดต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ รวมทั้งความผันผวนที่ยังจะเกิดขึ้นอีกในปีนี้ ทำให้บทความที่มีการเขียนถึงการจัดหรือปรับพอร์ตโฟลิโอทำได้ไม่คล่องตัวนัก เพราะบางครั้งจำเป็นต้องปรับทันทีเมื่อมีสัญญาณหรือเหตุการณ์เกิดขึ้น ทำให้ไม่สามารถเขียนล่วงหน้าได้ หรือวันที่ลงบทความไม่พอดีกัน ครั้นจะมาเขียนหลังจากที่ตลาดปรับตัวไปแล้วก็ดูจะไม่ทันการณ์หรือมีผู้ไปมองว่า เป็นการปรับพอร์ตหลังการปรับตัวของราคาไปแล้ว (After Facts) ฉะนั้นจะขอหยุดการใช้พอร์ตโฟลิโอจำลองในการอ้างอิงหรือประเมินผลตอบแทน จนกว่าจะหารูปแบบในการนำเสนอได้อย่างลงตัวมากกว่านี้
บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัว เพื่อเป็นตัวอย่างด้วยการใช้ข้อมูลจริงในการจัดสัดส่วนของพอร์ตโฟลิโอและหาจังหวะในการปรับน้ำหนักในการลงทุน ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ แต่อย่างใดทั้งสิ้น