บลจ.บัวหลวง เดินหน้าส่งกองทุนตราสารหนี้ต่อเนื่อง ล่าสุดเปิดขายกองทุนพันธบัตรไทย-เกาหลีใต้ เพิ่มอีก 5 กองทุน รวมมูลค่าทั้งสิ้น 18,800 ล้านบาท ไอพีโอพร้อมกันถึงวันที่ 14 กรกฎาคมนี้ เผยตราสารหนี้ยังให้เป็นทางเลือกให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุน ระบุเดือนหน้าเตรียมออกกองทุนเพิ่มอีก 10 กองทุน กระจายลงทุนบอนด์ทั้งในและต่างประเทศเหมือนเดิม
นายวศิน วัฒนวรกิจกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า การลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ในช่วงระยะ 1 ปียังมีความน่าสนใจอยู่ เนื่องจากว่ากองทุนประเภทดังกล่าว ยังสามารถให้ผลตอบแทนที่แก่นักลงทุน โดยในส่วนของบลจ.บัวหลวงเอง คาดว่าในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ บริษัทมีแผนที่จะออกกองทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกประมาณ 10 กองทุน เพื่อออกมารอบรับให้แก่นักลงทุน ล่าสุดบริษัทเปิดขายกองทุนเพิ่มอีก 5 กองทุน ซึ่งเป็นการลงทุนทั้งพันธบัตรในประเทศและต่างประเทศ โดยเริ่มเปิดขายในวันที่ 4 – 14 กรกฎาคม 2551 นี้
โดยกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรเกาหลีต่างประเทศมีด้วยกัน 3 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 32/08 ซึ่งมีอายุโครงการ 2 - 3เดือน ส่วนกองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 33/08 มีอายุโครงการ 4-6 เดือน ซึ่ง 2 กองทุนดังกล่าวจะมีมูลค่ากองทุนละ 5,000 ล้านบาท และกองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 34/08 มีอายุโครงการ 10-12 เดือน มีมูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท
สำหรับทั้ง 3 กองทุนดังกล่าว มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศ มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวออกโดยภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และ/หรือสถาบันการเงิน ซึ่งผู้ออกหรือตราสารได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ตั้งแต่ A- ขึ้นไป ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) กำหนดหรือเห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้ รวมถึงการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives contract) เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราหรือความเสี่ยงอื่นใดที่เกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศตามที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) ประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ กองทุนจะไม่ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร (Structured Note)
นายวศิน กล่าวว่า ส่วนกองทุนที่ลงทุนพันธบัตรรัฐบาลในประเทศอีก 2 กองทุนประกอบด้วยกองทุน รวมบัวหลวงธนรัฐ 17/08 อายุโครงการประมาณ 4 - 6 เดือน โดยมีมูลค่าโครงการ 3,000 ล้านบาท และอาจเสนอขายเพิ่มได้อีกไม่เกิน 450 ล้านบาท ส่วนกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 18/08 โดยมีอายุโครงการประมาณ 10 - 12 เดือน มีมูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท และอาจเสนอขายเพิ่มได้อีกไม่เกิน 300 ล้านบาท
ส่วนนโยบายการลงทุนของทั้งสองกองทุนนั้น ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือจะลงทุนในเงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตราสารแห่งหนี้ของสถาบันการเงิน และหรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นด้วยการทำธุรกรรมการซื้อตราสารแห่งหนี้ภาครัฐกับสถาบันการเงิน โดยมีสัญญาที่จะขายคืนตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวตามวันที่กำหนดในสัญญา นอกจากนี้กองทุนจะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) และตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Notes)
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะได้รับเงินจากการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติในวันครบกำหนดอายุกองทุน ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% แล้ว ณ วันที่เสนอขายกองทุน
นายวศิน วัฒนวรกิจกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า การลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ในช่วงระยะ 1 ปียังมีความน่าสนใจอยู่ เนื่องจากว่ากองทุนประเภทดังกล่าว ยังสามารถให้ผลตอบแทนที่แก่นักลงทุน โดยในส่วนของบลจ.บัวหลวงเอง คาดว่าในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ บริษัทมีแผนที่จะออกกองทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกประมาณ 10 กองทุน เพื่อออกมารอบรับให้แก่นักลงทุน ล่าสุดบริษัทเปิดขายกองทุนเพิ่มอีก 5 กองทุน ซึ่งเป็นการลงทุนทั้งพันธบัตรในประเทศและต่างประเทศ โดยเริ่มเปิดขายในวันที่ 4 – 14 กรกฎาคม 2551 นี้
โดยกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรเกาหลีต่างประเทศมีด้วยกัน 3 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 32/08 ซึ่งมีอายุโครงการ 2 - 3เดือน ส่วนกองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 33/08 มีอายุโครงการ 4-6 เดือน ซึ่ง 2 กองทุนดังกล่าวจะมีมูลค่ากองทุนละ 5,000 ล้านบาท และกองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 34/08 มีอายุโครงการ 10-12 เดือน มีมูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท
สำหรับทั้ง 3 กองทุนดังกล่าว มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศ มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวออกโดยภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และ/หรือสถาบันการเงิน ซึ่งผู้ออกหรือตราสารได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ตั้งแต่ A- ขึ้นไป ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) กำหนดหรือเห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้ รวมถึงการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives contract) เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราหรือความเสี่ยงอื่นใดที่เกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศตามที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) ประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ กองทุนจะไม่ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร (Structured Note)
นายวศิน กล่าวว่า ส่วนกองทุนที่ลงทุนพันธบัตรรัฐบาลในประเทศอีก 2 กองทุนประกอบด้วยกองทุน รวมบัวหลวงธนรัฐ 17/08 อายุโครงการประมาณ 4 - 6 เดือน โดยมีมูลค่าโครงการ 3,000 ล้านบาท และอาจเสนอขายเพิ่มได้อีกไม่เกิน 450 ล้านบาท ส่วนกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 18/08 โดยมีอายุโครงการประมาณ 10 - 12 เดือน มีมูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท และอาจเสนอขายเพิ่มได้อีกไม่เกิน 300 ล้านบาท
ส่วนนโยบายการลงทุนของทั้งสองกองทุนนั้น ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือจะลงทุนในเงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตราสารแห่งหนี้ของสถาบันการเงิน และหรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นด้วยการทำธุรกรรมการซื้อตราสารแห่งหนี้ภาครัฐกับสถาบันการเงิน โดยมีสัญญาที่จะขายคืนตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวตามวันที่กำหนดในสัญญา นอกจากนี้กองทุนจะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) และตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Notes)
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะได้รับเงินจากการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติในวันครบกำหนดอายุกองทุน ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% แล้ว ณ วันที่เสนอขายกองทุน