บลจ.บัวหลวง เตรียมเปิดตัวกองทุนเกาหลีล็อตใหญ่ 6-9 โครงการ มูลค่ากองละ 3,000 ล้านบาท รวมประมาณ 18,000 - 27,000 ล้านบาท ในเดือนมิถุนายนนี้ พน้อมส่งกองอาร์เอ็มเอฟ น้องใหม่มานำเสนอเพิ่มเติมอีก 1 โครงการ มูลค่า 5,000 ล้านบาทในช่วงปลายปี "วรวรรณ"ใช้ IN-RMF และ B-TNTV ตัวชูโรงในงาน มันนีเอ็กซ์โป 08 เชื่อมั่นฐานลูกค้าขยายตัวเพิ่ม
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีแผนที่จะเปิดขายกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ ในเดือนมิถุนายน จำนวน 6-9 กองทุน ซึ่งแต่ละกองทุนนี้จะมีอายุโครงการ 6 เดือนถึง 1 ปี โดยที่กองทุนดังกล่าวมีมูลค่ากองละ 3,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ เนื่องจาก กระแสการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนอยู่มาก แม้ว่าจะมีหลาย บลจ. เปิดขายกองทุนดังกล่าวออกมาหลายกองทุนแล้วก็ตาม นอกจากนี้ผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ยังอยู่ในระดับที่สูงรวมถึงการปิดความเสี่ยงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนที่ดี จึงทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่สนใจที่จะมาลงทุนในกองทุนนี้อยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ในช่วงปลายปี 2551 ทางบลจ. เตรียมที่จะเปิดขายกองทุนสำรองเพื่อการเลี้ยงชีพหรือ อาร์เอ็มเอฟ เพิ่มขึ้นอีก 1 กอง มูลค่า 5,000 ล้านบาท
โดย ก่อนหน้านี้ บริษัทได้ทำการเปิดขายหน่วยลงทุนเครั้งแรก (ไอพีโอ)สำหรับกองทุนตราสารหนี้จำนวน 3 กองทุน ซึ่งประกอบด้วย กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 20/08 , กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 21/08 ซึ่งมีมูลค่าโครงการละ 3,000 ล้านบาท และกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 11/08 มีมูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท ซึ่งกองทุนเหล่านี้ ล้วนมีนโยบายลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ และตลอดช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา บลจ.ได้ทำการเปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ไปแล้ว 12 กองทุน คือ กองทุนเปิดธนสารพลัส 5/08 , กองทุนเปิดธนสารพลัส 6/08 , กองทุนเปิดธนสารพลัส 7/08 , กองทุนเปิดธนสารพลัส 8/08, กองทุนเปิดธนสารพลัส 9/08, กองทุนเปิดธนสารพลัส 10/08, กองทุนเปิดธนสารพลัส 11/08, กองทุนเปิดธนสารพลัส 12/08, กองทุนเปิดธนสารพลัส 13/08, กองทุนเปิดธนสารพลัส 14/08 , กองทุนเปิดธนสารพลัส 15/08 และกองทุนเปิดธนสารพลัส 16/08 โดยกองทุนทั้งหมดจะเน้นลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ และมีขนาดกองทุนละ 1,500 ล้านบาท มูลค่ารวมประมาณ 18,000 ล้านบาท
ส่วนในเรื่องนโยบายการดำเนินงานของกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลประเทศเกาหลีใต้นั้น กองทุนดังกล่าว จะมีนโยบายการลงทุนเหมือนกับกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีที่ออกมาก่อนหน้านี้ คือ มีนโยบายลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวออกโดยภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และ/หรือ สถาบันการเงินที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ตั้งแต่ A- ขึ้นไป ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดหรือเห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้ รวมถึงการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives contract) เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราหรือความเสี่ยงอื่นใดที่เกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ กองทุนจะไม่ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร (Structured Note)
ในขณะที่ การจัดงานมหกรรมการเงิน หรือ มันนี่เอ็กซ์โป ครั้งที่ 8 ที่เริ่มขึ้นเมื่อวานนี้ (8พ.ค.) เป็นวันแรกนั้น ทางด้าน บลจ. บัวหลวงได้นำกองทุนสำรองเพื่อการเลี้ยงชีพหรือ (อาร์เอ็มเอฟ) กองล่าสุดที่เพิ่งเปิดขายไปเมื่อวันที่ 7 พฤษพาคมที่ผ่านมาคือ กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ และ กองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี มาเปิดตัว พร้อมทั้งแนะนข้อมูลด้านการให้นักลงทุนที่สนใจได้ซื้อหน่วยลงทุน
" บลจ.ได้นำจุดเด่นของทั้ง 2 กองทุนนี้มาแนะนำให้แก่ผู้ลงทุนได้ทราบเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุน รวมถึง ได้มอบสิทธิพิเศษให้แก่ผู้ลงทุนที่ซื้อกองทุน อาร์เอ็มเอฟ หรือ แอลทีเอฟ โดยลูกค้าที่ซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่ 50,000 แต่ไม่ถึง 100,000 รับกระเป๋า sport bag 1 ใบ และสำหรับลูกค้าที่หน่วยลงทุนตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไปรับฟรี เครื่องชั่งนํ้าหนักดิจิตอล 1 เครื่อง"
นางวรวรรณ กล่าวว่า ในงานนี้ทางด้าน บลจ.บัวหลวงได้ให้ความสำคัญกับการลงทุน รวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักลงทุนให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการลงทุนต่างๆ ได้ดีขึ้น ท่ามกลางปัจัจัยและสถานการณ์ในการลงทุนต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ทั้งปัจจัยภายในและต่างประเทศ
สำหรับ กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ (IN-RMF) เป็นกองทุนที่เป็นทางเลือกกับผู้ลงทุนที่ต้องการเน้นการลงทุนระยะยาวในหุ้นเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยกองทุนนี้มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุนของบริษัทซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจไทย โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เช่น บริษัทในกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วัสดุก่อสร้าง ขนส่งและโลจิสติกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดขายหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่ 7-21 พ.ค. 2551
ส่วน กองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี (B-TNTV) เป็นกองทุนประเภท กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน มีนโยบายการลงทุนใน ตราสารหนี้ที่ออกหรือคํ้าประกันโดยรัฐบาล และตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีความมั่นคง ซึ่งเพน้นลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในตัวตราสารหรือผู้ออกตราสาร หรือผู้คํ้าประกัน ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือรับรองตราสารหนี้นั้นๆ ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือ ตั้งแต่ A- ขึ้นไป และมีมูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท
ขณะที่ผลการดำเนินงานของกองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี มีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 2.69% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ 8.20% ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 2.72% เทียบกับเกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ 4.50% ส่วนผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 3.00% เทียบกับเกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ 3.22% และย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 3.49% ทียบกับเกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ 3.91%
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีแผนที่จะเปิดขายกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ ในเดือนมิถุนายน จำนวน 6-9 กองทุน ซึ่งแต่ละกองทุนนี้จะมีอายุโครงการ 6 เดือนถึง 1 ปี โดยที่กองทุนดังกล่าวมีมูลค่ากองละ 3,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ เนื่องจาก กระแสการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนอยู่มาก แม้ว่าจะมีหลาย บลจ. เปิดขายกองทุนดังกล่าวออกมาหลายกองทุนแล้วก็ตาม นอกจากนี้ผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ยังอยู่ในระดับที่สูงรวมถึงการปิดความเสี่ยงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนที่ดี จึงทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่สนใจที่จะมาลงทุนในกองทุนนี้อยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ในช่วงปลายปี 2551 ทางบลจ. เตรียมที่จะเปิดขายกองทุนสำรองเพื่อการเลี้ยงชีพหรือ อาร์เอ็มเอฟ เพิ่มขึ้นอีก 1 กอง มูลค่า 5,000 ล้านบาท
โดย ก่อนหน้านี้ บริษัทได้ทำการเปิดขายหน่วยลงทุนเครั้งแรก (ไอพีโอ)สำหรับกองทุนตราสารหนี้จำนวน 3 กองทุน ซึ่งประกอบด้วย กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 20/08 , กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 21/08 ซึ่งมีมูลค่าโครงการละ 3,000 ล้านบาท และกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 11/08 มีมูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท ซึ่งกองทุนเหล่านี้ ล้วนมีนโยบายลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ และตลอดช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา บลจ.ได้ทำการเปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ไปแล้ว 12 กองทุน คือ กองทุนเปิดธนสารพลัส 5/08 , กองทุนเปิดธนสารพลัส 6/08 , กองทุนเปิดธนสารพลัส 7/08 , กองทุนเปิดธนสารพลัส 8/08, กองทุนเปิดธนสารพลัส 9/08, กองทุนเปิดธนสารพลัส 10/08, กองทุนเปิดธนสารพลัส 11/08, กองทุนเปิดธนสารพลัส 12/08, กองทุนเปิดธนสารพลัส 13/08, กองทุนเปิดธนสารพลัส 14/08 , กองทุนเปิดธนสารพลัส 15/08 และกองทุนเปิดธนสารพลัส 16/08 โดยกองทุนทั้งหมดจะเน้นลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ และมีขนาดกองทุนละ 1,500 ล้านบาท มูลค่ารวมประมาณ 18,000 ล้านบาท
ส่วนในเรื่องนโยบายการดำเนินงานของกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลประเทศเกาหลีใต้นั้น กองทุนดังกล่าว จะมีนโยบายการลงทุนเหมือนกับกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีที่ออกมาก่อนหน้านี้ คือ มีนโยบายลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวออกโดยภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และ/หรือ สถาบันการเงินที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ตั้งแต่ A- ขึ้นไป ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดหรือเห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้ รวมถึงการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives contract) เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราหรือความเสี่ยงอื่นใดที่เกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ กองทุนจะไม่ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร (Structured Note)
ในขณะที่ การจัดงานมหกรรมการเงิน หรือ มันนี่เอ็กซ์โป ครั้งที่ 8 ที่เริ่มขึ้นเมื่อวานนี้ (8พ.ค.) เป็นวันแรกนั้น ทางด้าน บลจ. บัวหลวงได้นำกองทุนสำรองเพื่อการเลี้ยงชีพหรือ (อาร์เอ็มเอฟ) กองล่าสุดที่เพิ่งเปิดขายไปเมื่อวันที่ 7 พฤษพาคมที่ผ่านมาคือ กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ และ กองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี มาเปิดตัว พร้อมทั้งแนะนข้อมูลด้านการให้นักลงทุนที่สนใจได้ซื้อหน่วยลงทุน
" บลจ.ได้นำจุดเด่นของทั้ง 2 กองทุนนี้มาแนะนำให้แก่ผู้ลงทุนได้ทราบเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุน รวมถึง ได้มอบสิทธิพิเศษให้แก่ผู้ลงทุนที่ซื้อกองทุน อาร์เอ็มเอฟ หรือ แอลทีเอฟ โดยลูกค้าที่ซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่ 50,000 แต่ไม่ถึง 100,000 รับกระเป๋า sport bag 1 ใบ และสำหรับลูกค้าที่หน่วยลงทุนตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไปรับฟรี เครื่องชั่งนํ้าหนักดิจิตอล 1 เครื่อง"
นางวรวรรณ กล่าวว่า ในงานนี้ทางด้าน บลจ.บัวหลวงได้ให้ความสำคัญกับการลงทุน รวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักลงทุนให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการลงทุนต่างๆ ได้ดีขึ้น ท่ามกลางปัจัจัยและสถานการณ์ในการลงทุนต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ทั้งปัจจัยภายในและต่างประเทศ
สำหรับ กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ (IN-RMF) เป็นกองทุนที่เป็นทางเลือกกับผู้ลงทุนที่ต้องการเน้นการลงทุนระยะยาวในหุ้นเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยกองทุนนี้มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุนของบริษัทซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจไทย โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เช่น บริษัทในกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วัสดุก่อสร้าง ขนส่งและโลจิสติกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดขายหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่ 7-21 พ.ค. 2551
ส่วน กองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี (B-TNTV) เป็นกองทุนประเภท กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน มีนโยบายการลงทุนใน ตราสารหนี้ที่ออกหรือคํ้าประกันโดยรัฐบาล และตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีความมั่นคง ซึ่งเพน้นลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในตัวตราสารหรือผู้ออกตราสาร หรือผู้คํ้าประกัน ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือรับรองตราสารหนี้นั้นๆ ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือ ตั้งแต่ A- ขึ้นไป และมีมูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท
ขณะที่ผลการดำเนินงานของกองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี มีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 2.69% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ 8.20% ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 2.72% เทียบกับเกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ 4.50% ส่วนผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 3.00% เทียบกับเกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ 3.22% และย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 3.49% ทียบกับเกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ 3.91%