คงปฏิเสธไม่ได้ว่าผลพวงจากปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในสหรัฐอเมริกาหรือซับไพรม์ที่เกิดขึ้นในช่วงกลางปีที่แล้ว ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้อย่างชัดเจน และยังไม่ได้สร่างซาลงไปมากนัก แต่ว่าก็เผยต้นตอออกมาไม่น้อยพอสมควรแล้ว และหากจะรอไปจนปัญหาซับไพรม์หมดพิษสงไป บางครั้งโอกาสในการพลิกวิกฤติเข้าไปควานหาผลตอบแทนอาจจะสายไปแล้วก็ได้
วันนี้ “MutualFund IPO” ขอพาไปดูกองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท ไฟเนียลเชียล ออพพอร์จูนนิตี้ (UOB Smart Financials Opportunities Fund : UOBSFO) ซึ่งจะเน้นลงทุนในตราสารทุนของสถาบันการเงินระดับโลกในสหรัฐ และทวีปยุโรป ที่มีโอกาสฝ่าวิกฤติในครงนี้ได้ เนื่องจากในปีที่ผ่านมา ราคาของหุ้นในกลุ่มการเงินถูกเทขายอย่างหนักจากวิกฤติซับไพรม์ในสหรัฐ โดยกองทุนหลักมองเห็นโอกาสว่าบริษัทการเงินที่มีความเข้มแข็งจะกลับมาสร้างผลตอบแทนที่ดีได้
วนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปว่า ปัญหาซับไพรม์ใกล้จะสิ้นสุดลงในช่วงครึ่งปีหลัง 2551 โดยที่ผ่านมาปัญหาซับไพรม์ได้กระทบต่อตลาดในวงกว้าง ไม่ใช่ส่งผลกระทบเพียงตลาดสหรัฐฯเท่านั้น ทำให้สถาบันการเงินส่วนใหญ่ต้องมีการตั้งกองทุนสำรองขึ้นมา และในช่วงดังกล่าวนับว่าเป็นช่วงที่ดีในการเข้าไปช้อนซื้อหุ้น เนื่องจากผู้จัดการกองทุนได้เทขายหุ้นออกมา ทำให้ราคาของกลุ่มสถาบันการเงินในปัจจุบันต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน 0.8 เท่า และนับจากหลังจากปลายปี 2549 เป็นต้นมา ราคาหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินได้ลดลงไปแล้ว 33% แต่คาดว่าภายในปีนี้ราคาหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินจะปรับขึ้นมาอยู่ที่ 1 เท่าหรือมากกว่าได้
จากเหตุผลข้างต้น บริษัทจึงเตรียมเปิดเสนอขายกองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท ไฟเนียลเชียล ออพพอร์จูนนิตี้ (UOB Smart Financials Opportunities Fund : UOBSFO) โดยจะเน้นลงทุนในสถาบันการเงินในสหรัฐฯ และทวีปยุโรปที่ได้รับปัญหาจากวิกฤตซับไพรม์ แต่ยังมีแนวโน้มที่เติบโต และมีโอกาสในการฟื้นตัวได้ในครึ่งปีหลัง มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท อายุโครงการ 5 ปี โดยมีเงื่อนไขว่าหากภายใน 3 ปีแรก มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนหลักเพิ่มขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 100% ของราคาเสนอขายครั้งแรก (มูลค่าหน่วยลงทุนเริ่มต้นของกองทุนหลักเท่ากับ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์) กองทุน UOBSFO จะทำการยกเลิกโครงการก่อนกำหนด
ทั้งนี้ การลงทุนในบริษัทที่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมการเงิน ประกอบไปด้วย 1. ธนาคารพาณิชย์ (commercial Bank) 2. บริษัท ที่มีอุตสาหกรรมหลากหลายทางด้านการเงิน (Multi-financial business Company) 3. บริษัทประกันภัย Insurance Company) ขณะที่ในส่วนที่ 4. บริษัทอสังหาริมทรัพย์ (Real Estates Company) ทางกองทุนหลักจะไม่เข้าไปลงทุนแต่อย่างใด
ส่วนกลยุทธ์ในการเลือกบริษัทที่จะลงทุนมีดังนี้ ได้แก่ 1. บริษัทจะต้องมีแฟรนไชส์ที่แข็งแกร่ง มีสภาพคล่อง และมีความสามารถในการชำระหนี้ที่ดี 2. เป็นบริษัทที่มีธุรกิจที่มีความสามารถในการทำกำไรสูง แม้ว่าจะประสบกับปัญหาภาวะถดถอยของอุตสาหกรรม 3. มีศักยภาพในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันในช่วงเวลาที่ยากลำบาก 4. จะต้องเป็นบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตผ่านธุรกิจที่หลากหลาย
และประการสุดท้ายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าในปัจจุบนัอยู่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงตามปัจจัยพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญ นอกจานี้นั้น การลงทุนของกองทุนอาจรวมถึงตราสารทุน หรือหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีปัญหาด้านฐานะทางการเงิน อันเกิดจากปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐ ปัญหาในตลาดสินเชื่อ และปัญหาสภาพคล่อง
“กองทุนนี้ถือเป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มองภาพวิกฤติซับไพรม์ที่เกิดขึ้นว่าจะจบ และตอนนี้หลายบริษัทก็มีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ในการเลือกจะต้องเป็นบริษัทที่มีศักยภาพการเติบโตผ่านธุรกิจที่หลากหลายและมีมูลค่าในปัจจุบันต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง เหมาะสำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูง และยอมรับความผันผวนของหุ้นปรับตัวขึ้นและลดลงได้ โดยควรเป็นการลงทุนในระยะปานกลางตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป” วนา กล่าว
โดยกองทุน UOBSFO มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน United Financials Opportunities ซึ่งเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) ซึ่งจัดตั้งและบริหารจัดการโดย UOB Asset Management ประเทศสิงคโปร์ โดยมีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ตราสารทุนจำนวน 10 – 20 หลักทรัพย์ ของสถาบันการเงินระดับโลก กองทุนจะหาโอกาสทำกำไรจากการฟื้นตัวในอุตสาหกรรมการเงิน นอกจากนั้น อาจทำการลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงินด้วย
บริษัทจัดการจะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน United Financials Opportunities โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และกองทุนจะนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ส่วนการลงทุนในส่วนที่อยู่ในประเทศไทยนั้น บริษัทจัดการจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก และ/หรือตราสารแห่งหนี้ทั่วไป และ/หรือเงินฝากในสถาบันการเงินตามกฎหมายไทย ที่มีอายุของตราสาร หรือสัญญา หรือระยะเวลาการฝากเงิน แล้วแต่กรณี น้อยกว่า 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน
ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) ที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น (Hedging) เท่านั้น แต่จะไม่ลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Notes)
พิเศษ!!! สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนเป็นจำนวนเงินตั้งแต่ 1,000,000 – 1,999,999 ล้านบาท จะได้รับของสมนาคุณเป็นสร้อยคอทองคำ 1 สลึง ลงทุนตั้งแต่ 2,000,000 – 2,999,999 ล้านบาท จะได้รับของสมนาคุณเป็นสร้อยคอทองคำ 2 สลึง ลงทุนตั้งแต่ 3,000,000 – 3,999,999 ล้านบาท จะได้รับของสมนาคุณเป็นสร้อยคอทองคำ 3 สลึง นลงทุนตั้งแต่ 4,000,000 – 6,999,999 ล้านบาท จะได้รับของสมนาคุณเป็นสร้อยคอทองคำ 1 บาท + บตรของขวัญ 1,000 บาท ลงทุนตั้งแต่ 7,000,000 – 9,999,999 ล้านบาท จะได้รับของสมนาคุณเป็นสร้อยคอทองคำ 2 บาท + บตรของขวัญ 2,000 บาท และลงทุนทุกๆ 10,000,000 ล้านบาท จะได้รับของสมนาคุณเป็นสร้อยคอทองคำ 3 บาท + บตรของขวัญ 3,000 บาท
สำหรับกองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท ไฟเนียลเชียล ออพพอร์จูนนิตี้ มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท อายุโครงการ 5 ปี โดยจะเปิดเสนอขายครั้งแรก (IPO) และครั้งเดียวระหว่างวันที่ 7 – 14 กรกฎาคม 2551 และมีมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท นักลงทุนที่สนใจสามารถสอบถามและติดต่อจองซื้อหน่วยลงทุนได้ที่ ฝ่ายบริการผู้ถือหน่วย บลจ.ยูโอบี (ไทย) โทร. 02-679-5577 หรือเครือข่ายสาขาทั่วประเทศของธนาคารยูโอบี หรือเว็บไซต์ www.uobam.co.th